กาลิทาส

กาลิทาส
ภาพจำลองของศิลปินในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงกาลิทาสเขียนเรื่อง เมฆทูต
ภาพจำลองของศิลปินในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงกาลิทาสเขียนเรื่อง เมฆทูต
อาชีพกวี, นักเขียนบทละคร
ภาษาสันสกฤต, ปรากฤต
ช่วงเวลาป. คริสต์ศตวรรษที่ 4–5
แนวละครสันสกฤต, วรรณกรรมคลาสสิก
หัวข้อมหากาพย์, ปุราณะ
ผลงานที่สำคัญกุมารสัมภวะ, อภิชญานศากุนตลัม, รฆุวงศ์, เมฆทูต, วิกรโมรวศียัม, มาลวิกาคนิมิตรัม

กาลิทาส (สันสกฤต: कालिदास, "ผู้รับใช้กาลี"; คริสต์ศตวรรษที่ 4–5) เป็นนักเขียนภาษาสันสกฤตที่มักถือเป็นกวีและนักเขียนบทละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณ[1][2] บทละครและกวีของเขาโดยหลักอิงจากปุราณะและปรัชญา ผลงานที่เหลือรอดของเขาประกอบกันเป็นบทละคร 3 เรื่อง บทกวีแบบมหากาพย์ 2 เรื่อง และกวีสั้น 2 เรื่อง

ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของเขาไม่มีใครทราบมากนัก เว้นแต่สิ่งที่อนุมานได้จากบทกวีและบทละครของเขา[3] ผลงานของเขาไม่สามารถระบุวันที่ได้อย่างแม่นยำ แต่มีแนวโน้มสูงว่าเขียนขึ้นก่อนคริสตศตวรรษที่ 5 ในสมัยจักรวรรดิคุปตะ ส่วนในทสมครันถ์ คัมภีร์ที่สองของชาวซิกข์ที่เขียนโดยคุรุโควินทสิงห์ กล่าวถึงอวตารทั้ง 7 ของพระพรหม โดยกาลิทาสเป็นหนึ่งในบรรดาอวตาร[4]

เขาได้รับการยกย่องเป็นรัตนกวี และกวิกุลคุรุ (ครูใหญ่แห่งกวีทั้งปวง) กาลิทาสเป็นกวีที่นับถือพระศิวะ และได้เขียนบทกวีและบทละครจำนวนมากตามขนบของปกรณัมและปรัชญาฮินดู

ชีวิตช่วงต้น

นักวิชาการคาดการณ์ว่ากาลิทาสอาจอาศัยอยู่ใกล้หิมาลัย ในพื้นที่อุชเชน และในกลิงคะ ข้อสันนิษฐานนี้อิงจากคำอธิบายอย่างละเอียดของหิมาลัยโดยกาลิทาสในกุมารสัมภวัม การแสดงความรักของเขาต่ออุชเชนในเมฆทูต และการสรรเสริญอย่างสูงของเขาต่อ Hemāngada จักรพรรดิกลิงคะ ในรฆุวงศ์

Lakshmi Dhar Kalla (1891–1953) นักวิชาการสันกฤตและบัณฑิตกัศมีร์ เขียนหนังสือเรื่อง The birth-place of Kalidasa (1926) ที่พยายามสืบบ้านเกิดของกาลิทาสโดยอิงจากงานเขียนของเขา เขาสรุปว่ากาลิทาสเกิดที่กัศมีร์ แต่ย้ายลงใต้และแสวงหาการอุปถัมภ์จากผู้ปกครองท้องถิ่นเพื่อให้ตนเองเจริญรุ่งเรือง หลักฐานที่เขาอ้างจากงานเขียนของกาลิทาสประกอบด้วย:[5][6][7]

  • รายละเอียดเกี่ยวกับพืชและสัตว์ที่พบในกัศมีร์ แต่ไม่พบในอุชเชนหรือกลิงคะ เช่น หญ้าฝรั่น, ต้น deodar, กวางชะมด เป็นต้น
  • รายละเอียดลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่พบได้ทั่วไปในกัศมีร์ เช่น ทาร์น และ เกลด
  • กล่าวถึงสถานที่บางแห่งที่ไม่สำคัญมากนัก ซึ่ง Kalla บอกว่าสามารถระบุได้ว่าเป็นสถานที่อยู่อาศัยในกัศมีร์ สถานที่เหล่านี้ไม่ได้มีชื่อเสียงนอกกัศมีร์มากนัก ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้มีความใกล้ชิดกับกัศมีร์จึงไม่น่าจะรู้จัก
  • อ้างอิงถึงตำนานบางส่วนที่มีต้นตอจากกัศมีร์ เช่น Nikumbha (ระบุไว้ในNīlamata Purāṇa); กล่าวถึง (ใน Shakuntala) ตำนานกัศมีร์สร้างขึ้นจากทะเลสาบ ตำนานนี้ระบุไว้ใน Nīlamata Purāṇa ว่า หัวหน้าเผ่านาม Ananta สูบน้ำออกจากทะเลสาบเพื่อฆ่าอสูร Ananta ได้ตั้งชื่อสถานที่ของทะเลสาบเดิม (ปัจจุบันคือแผ่นดิน) เป็น "Kashmir" ตามพระราชบิดาของตนว่ากาศยปะ
  • Kalla รายงานว่า Śakuntalā เป็นการอุปมาเชิงละครของปรัชญา Pratyabhijna (สาขาหนึ่งของลัทธิไศวะกัศมีร์) Kalla โต้แย้งเพิ่มว่าในเวลานั้น สาขานี้ยังไม่เป็นที่รู้จักนอกกัศมีร์

ตำนานเก่าอีกแห่งระบุว่า กาลิทาสเดินทางพบกับกุมารทาส กษัตริย์ลังกา และถูกฆ่าที่นั่นเนื่องด้วยความทรยศ[8]

ยุคสมัย

หนังสือสมัยโบราณถึงสมัยกลางหลายแห่งระบุว่ากาลิทาสเป็นกวีในราชสำนักของพระเจ้าวิกรมาทิตย์ กล่าวกันว่าพระเจ้าวิกรมาทิตย์ในตำนานทรงปกครองอุชเชนเมื่อประมาณศตวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ. นักวิชาการส่วนหนึ่งเชื่อว่าพระเจ้าวิกรมาทิตย์ในตำนานไม่ใช่บุคคลในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำ พระมหากษัตริย์ที่ปกครองจากเมืองอุชเชนและได้รับบรรดาศักดิ์เป็น วิกรมาทิตย์ มีหลายพระองค์ โดยบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ. 380 – 415) และ Yaśodharman (คริสต์ศตวรรษที่ 6)[2]

ทฤษฎีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือกาลิทาสเจริญรุ่งเรื่องในรัชสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ดังนั้นจึงมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4-5 นักวิชาการตะวันตกหลายคนสนับสนุนทฤษฎีนี้ เช่น วิลเลียม โจนส์กับเอ. บี. คีธ[2] นักภารตวิทยาและนักวิชาการตะวันตกสมัยใหม่อย่าง Stanley Wolpert ก็สนับสนุนทฤษฎีนี้[9] นักวิชาการอินเดียหลายคน เช่น วาสุเทพ วิษณุ มิรษิ (Vasudev Vishnu Mirashi) และราม คุปตะ ก็จัดให้กาลิทาสอยู่ในยุคนี้[10][11] ตามทฤษฎีนี้ งานอาชีพของเขาอาจอยู่ยาวถึงรัชสมัยกุมารคุปต์ที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 414 – 455) และอาจถึงรัชสมัย Skandagupta (ครองราชย์ ค.ศ. 455 – 467)[12][13]

หลักฐานทางบรรพชีวินวิทยาที่เก่าแก่ที่สุดของกาลิทาสพบในจารึกภาษาสันสกฤตที่มีอายุถึง ป. ค.ศ. 473 พบในวิหารสุริยะที่ Mandsaur โดยมีบางโองการที่ดูคล้ายกับเมฆทูต Purva, 66; และฤตุสังหาร V, 2–3 แม้ว่าจะไม่มีการระบุชื่อกาลิทาสโดยตรง[14] ชื่อของเขากับกวีนามภารวีได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกใน ค.ศ. 634 บนจารึกไอโหเฬที่พบในรัฐกรณาฏกะ[15]

ทฤษฎีกาลิทาสหลายคน

นักวิชาการบางคน เช่น M. Srinivasachariar และ T. S. Narayana Sastri เชื่อว่าผลงานที่ระบุที่มาจาก "กาลิทาส" ไม่ใช่แค่บุคคลเดียว Srinivasachariar นักเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 9 บอกเป็นนัยถึงการมีอยู่ของนักวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงสามคนซึ่งมีชื่อว่ากาลิทาส ได้แก่ Devendra (ผู้เขียน Kavi-Kalpa-Latā), Rājaśekhara และ Abhinanda. Sastri จัดรายการผลงานของกาลิทาสทั้งสามออกเป็นดังนี้:[16]

  1. กาลิทาส นามแฝงของ Mātṛgupta, ผู้เขียน Setu-Bandha และบทละคร 3 เรื่อง (อภิชญานศากุนตลัม, มาลวิกาคนิมิตรัม และ วิกรโมรวศียัม)
  2. กาลิทาส นามแฝงของ Medharudra, ผู้เขียน กุมารสัมภวัม, เมฆทูต และ รฆุวงศ์
  3. กาลิทาส นามแฝงของ Kotijit: ผู้เขียน ฤตุสังหาร, Śyāmala-Daṇḍakam และ Śṛngāratilaka กับผลงานอื่น ๆ

K. Krishnamoorthy รายงานว่า ชื่อ "วิกรมาทิตย์" และ "กาลิทาส" ใช้งานเป็นคำนามทั่วไป เพื่ออธิบายถึงพระมหากษัตริย์ผู้อุปถัมภ์และกวีในราชสำนักตามลำดับ[17]

ผลงาน

บทละครที่มีชื่อเสียง 3 เรื่องของกาลิทาส ได้แก่ มาลวิกาคฺนิมิตฺร (มาลวิกา และ อัคนิมิตร), วิกฺรโมรฺวศียะ (วิกรม และอุรวศิ) และอภิชฺญานศากุนฺตลํ (ศกุนตลา)

นอกจากนี้ยังมีบทร้อยกรองที่รู้จักกันดีอีกจำนวนไม่น้อย ได้แก่ รฆุวงศ์ (ประวัติของพระราม) เมฆทูต และฤตุสํหาร เป็นต้น

ผลงานของกาลิทาสได้รับการเปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ทั้งเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส แม้กระทั่งในภาษาไทยด้วย

อิทธิพล

อิทธิพลของกาลิทาสส่งผลไปถึงผลงานสันสกฤตยุคหลังทั้งหมดที่ดำเนินตามรอยของเขา และวรรณกรรมอินเดียโดยกว้าง กลายเป็นต้นแบบของวรรณกรรมสันสกฤต[1][14]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 กาลิทาส ที่สารานุกรมบริตานิกา.
  2. 2.0 2.1 2.2 Chandra Rajan (2005). The Loom Of Time. Penguin UK. pp. 268–274. ISBN 9789351180104.
  3. Kālidāsa (2001). The Recognition of Sakuntala: A Play In Seven Acts. Oxford University Press. pp. ix. ISBN 9780191606090. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 14 January 2016.
  4. Kapoor, S.S. Dasam Granth. Hemkunt Press. p. 16. ISBN 9788170103257. สืบค้นเมื่อ 2017-02-24.
  5. Gopal 1984, p. 3.
  6. P. N. K. Bamzai (1 January 1994). Culture and Political History of Kashmir. Vol. 1. M.D. Publications Pvt. Ltd. pp. 261–262. ISBN 978-81-85880-31-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2015.
  7. M. K. Kaw (1 January 2004). Kashmir and Its People: Studies in the Evolution of Kashmiri Society. APH Publishing. p. 388. ISBN 978-81-7648-537-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2015.
  8. "About Kalidasa". Kalidasa Academi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2015.
  9. Wolpert, Stanley (2005). India. University of California Press. pp. 38. ISBN 978-0-520-24696-6.
  10. Vasudev Vishnu Mirashi and Narayan Raghunath Navlekar (1969). Kālidāsa; Date, Life, and Works. Popular Prakashan. pp. 1–35. ISBN 9788171544684.
  11. Gopal 1984, p. 14.
  12. C. R. Devadhar (1999). Works of Kālidāsa. Vol. 1. Motilal Banarsidass. pp. vii–viii. ISBN 9788120800236.
  13. Sastri 1987, pp. 77–78.
  14. 14.0 14.1 Gopal 1984, p. 8.
  15. Sastri 1987, p. 80.
  16. M. Srinivasachariar (1974). History of Classical Sanskrit Literature. Motilal Banarsidass. pp. 112–114. ISBN 9788120802841.
  17. K. Krishnamoorthy (1994). Eng Kalindi Charan Panigrahi. Sahitya Akademi. pp. 9–10. ISBN 978-81-7201-688-3.

หมายเหตุ

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

  • Kālidāsa (1984). Miller, Barbara Stoler (บ.ก.). The Plays of Kālidāsa: Theater of Memory (ภาษาอังกฤษ). New York: Columbia University Press. ISBN 978-81-208-1681-7.
  • Sethna, Kaikhushru Dhunjibhoy (2000). Problems of Ancient India (ภาษาอังกฤษ). Aditya Prakashan. pp. 79–120. ISBN 978-81-7742-026-5.
  • Venkatachalam, V. (1986). "Kalidasa Special Number (X), The Vikram". Bhāsa (ภาษาอังกฤษ). Sahitya Akademi. pp. 130–140.

แหล่งข้อมูลอื่น