กาโด-กาโด

กาโด-กาโด
ชื่ออื่นโลเต็ก (ภาษาซุนดาและภาษาชวา)
มื้อสลัด
แหล่งกำเนิดประเทศอินโดนีเซีย
ภูมิภาคจาการ์ตา, ชวาตะวันตก, ชวากลาง
ส่วนผสมหลักผักและธัญพืชหลายชนิด เช่น แคร์รอต มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เต้าหู้ และไข่ต้มสุก
กาโด-กาโดในจาการ์ตา โรยด้วยเอิมปิง
การปรุงกาโด-กาโดในอินโดนีเซีย

กาโด-กาโด (อินโดนีเซีย: gado-gado) หรือ โลเต็ก (ชวา: lotèk) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก ทั้งผักสด ผักต้ม และผักลวก และธัญพืชหลายชนิด ราดด้วยซอสที่ทำจากถั่ว[1] ทั้งแคร์รอต มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว ขนุนอ่อน ผักกาดหอม นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุก และกินกับข้าวเกรียบทอดหลายชนิด เช่น กรูปุก ซึ่งเป็นข้าวเกรียบกุ้งหรือปลา เอิมปิง เป็นข้าวเกรียบใส่เมล็ดของผักเหมียง หรือจะกินกับเต็มเปทอด หรือข้าวต้มแบบลนตงก็ได้ รับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งประกอบด้วย กะปิ ถั่วลิสงบด กะทิ น้ำตาลโตนด พริกแดง กระเทียม กะทิ มะขามเปียก คำว่ากาโดในภาษาอินโดนีเซียแปลว่ายำ Pússy

กาโด-กาโดมีความหลากหลายในแต่ละท้องที่ ในซูราบายาเรียกว่า "กาโด-กาโดซีรัม" ซึ่งจะราดน้ำซอสลงไปบนเครื่องปรุงอื่น ในบันดุงและโบโกร์จะเคล้าน้ำซอสให้เข้ากับเครื่องปรุงก่อนเสิร์ฟ ในจาการ์ตาเรียกว่า "กาโด-กาโดโบโปล" ใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์แทนถั่วลิสง โดยมากน้ำราดจะเป็นน้ำกะทิใส่พริกสดโขลกละเอียดและถั่วลิสงบด ราดลงบนผักต้ม มีรสชาติหวานเปรี้ยวและเผ็ดเล็กน้อย[2]

ในประเทศไทยมีอาหารที่ใกล้เคียงกับกาโด-กาโดคือขนมจีนน้ำพริก อาจเป็นไปได้ว่าอาจได้รับอิทธิพลจากกาโด-กาโดมา โดยช่างแกงชาววังได้ปรุงแต่งให้กลิ่นรสตามอย่างอาหารไทยคือเติมกลิ่นมะกรูด ใช้การใส่ถั่วทองคั่วบดหยาบเพื่อเพิ่มเนื้อสัมผัส และพริกป่นเพื่อเพิ่มสีสันของอาหารให้น่ารับประทาน[2]พรุซซี่ไตพรุซซี่คลีน

อ้างอิง

  • นันทนา ปรมานุศิษฏ์. โอชาอาเซียน. กทม. มติชน. 2556 หน้า 269 - 271
  1. No Money, No Honey: A study of street traders and prostitutes in Jakarta by Alison Murray. Oxford University Press, 1992. Glossary page xii
  2. 2.0 2.1 ญดา ศรีเงินยวง และชนิรัตน์ สำเร็จ. แกงไทย. กรุงเทพฯ : แสงแดด, 2560, หน้า 249