คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 15
คณะรัฐมนตรีปรีดี | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
มีนาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2489 | |
วันแต่งตั้ง | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 |
วันสิ้นสุด | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (0 ปี 79 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ปรีดี พนมยงค์ |
พรรคฝ่ายค้าน | พรรคประชาธิปัตย์ |
ผู้นำฝ่ายค้าน | ควง อภัยวงศ์ |
ประวัติ | |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 14 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 16 |
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 15 ของไทย (24 มีนาคม พ.ศ. 2489 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
หลวงประประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) เป็นนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นผู้ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ
พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 ของไทย
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี (จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีลอย | ||
ออกจากตำแหน่ง | |||
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย | |||
แต่งตั้งเพิ่ม |
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 ของไทย | |||||
ตำแหน่ง | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
นายกรัฐมนตรี | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงกลาโหม | พลโท จิร วิชิตสงคราม | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงการคลัง | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
วิจิตร ลุลิตานนท์ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | |||
กระทรวงการต่างประเทศ | ดิเรก ชัยนาม | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงเกษตราธิการ | ทวี บุณยเกตุ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงคมนาคม | นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงพาณิชย์ | หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงมหาดไทย | ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงยุติธรรม | หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี) |
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงศึกษาธิการ | เดือน บุนนาค | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงสาธารณสุข | พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) |
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงอุตสาหกรรม | สงวน จูฑะเตมีย์ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
รัฐมนตรี | ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
รัฐมนตรี | นายวิโรจน์ กมลพันธ์ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
รัฐมนตรี | พันเอก ทวน วิชัยขัทคะ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | ||
รัฐมนตรี | พันเอก พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค) | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 |
การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 ของไทย
คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2489 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2489 เล่ม 63 ตอน 16 หน้า 370
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 ของไทย
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2489 และตามมาตรา 95 แห่งรัฐธรรมนูญนั้นบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีซึ่งบริหารราชการแผ่นดินอยู่ก่อนวันใช้รัฐธรรมนูญนี้ อยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการไปจนกว่าจะได้ตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่
เมื่อได้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา และเลือกซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแล้วก็ได้มีการเปิดประชุมสภาทั้งสอง ต่อจากนั้นก็จะได้ดำเนินการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีต่อไป
คณะรัฐมนตรีคณะนี้จึงได้กราบถวายบังคมลาออกตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489