คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 55
คณะรัฐมนตรีทักษิณ 2 | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2548 - 2549 | |
วันแต่งตั้ง | 11 มีนาคม พ.ศ. 2548[1] |
วันสิ้นสุด | 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (1 ปี 192 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร ชิดชัย วรรณสถิตย์ ปฏิบัติหน้าที่แทน |
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด | 35 |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคไทยรักไทย |
สถานะในสภานิติบัญญัติ | รัฐบาลเสียงข้างมาก 377 / 500
|
พรรคฝ่ายค้าน | พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน |
ผู้นำฝ่ายค้าน | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ประวัติ | |
การเลือกตั้ง | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 |
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี | 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 |
วาระสภานิติบัญญัติ | 4 ปี |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 54 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 56 |
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 (11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549) หรือที่รู้จักกันในชื่อ คณะรัฐมนตรีทักษิณ ชุดที่ 2 (ครม.ทักษิณ 2)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548[2] โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และได้มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
ประวัติ
หลังจากการบริหารประเทศครบวาระของทักษิณ ชินวัตร ในช่วงระหว่างปี (2544-2548) (คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 54) และได้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในปี 2548 และได้มีการประกาศผลการเลือกตั้ง โดยปรากฏว่า พรรคไทยรักไทย ที่ได้มีการรวบรวมพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองก่อนหน้า ได้รับคะแนนเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร (377 ที่นั่ง ใน สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 21 สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี (จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีลอย | ||
ออกจากตำแหน่ง | |||
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย | |||
แต่งตั้งเพิ่ม |
การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี
- วันที่ 6 กรกฎาคม 2548 นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- วันที่ 2 สิงหาคม 2548 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
- 1. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- 2. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายเนวิน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายทนง พิทยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายประชา มาลีนนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- นายวัฒนา เมืองสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- นายอดิศร เพียงเกษ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- นายประวิช รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- วันที่ 4 สิงหาคม 2548 มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
- วันที่ 31 ตุลาคม 2548 นายสุชัย เจริญรัตนกุล ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- วันที่ 31 ตุลาคม 2548 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
- 1. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
- นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- 2. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
- นายสุชัย เจริญรัตนกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549 นางอุไรวรรณ เทียนทอง ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้รักษาราชการแทน รองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย เจริญรัตนกุล) , รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
- กระทรวงวัฒนธรรม ผู้รักษาราชการแทน รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) , รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
- วันที่ 24 มิถุนายน 2549 นายวิษณุ เครืองาม ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล
เศรษฐกิจ
- โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป OTOP)
- กองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ให้ชาวบ้านนำไปลงทุนทำงานสร้างรายได้
- การเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรี (FTA) กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
- การเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรีกับ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย
- ลดหนี้สาธารณะ จาก 57% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี พ.ศ. 2544 เหลือ 41% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2549[4][5]
สาธารณสุข
- โครงการ สามสิบบาทรักษาทุกโรค
การเกษตร
- โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย เป็นเวลา 3 ปี
- โครงการโคล้านครอบครัว (แนวคิดของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน)
- นโยบายปล่อยราคายางพาราให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยราคายางพาราในสมัยนั้น เพิ่มขึ้นจาก 18 บาท ขึ้นสูงสุดเป็น 80 บาท และลดต่ำลงเหลือ 50-55 บาท มีนักวิเคราะห์กล่าวว่า การปล่อยราคา มีผลดีต่อราคา มากกว่าการแทรกแซง [6]
- โครงการกล้ายางพารา สืบเนื่องจากราคายางพาราที่สูงขึ้น นายเนวิน ชิดชอบ จึงเสนอโครงการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี โดยนำยางพาราจากภาคใต้ ไปปลูกที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพืช จำกัด ได้รับสัมปทานในการจัดหากล้ายาง โดยหลังจาก รัฐประหาร 19 กันยายน มีข้อกล่าวหาว่า กล้ายางในโครงการไม่ได้คุณภาพ ซึ่ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ[7]
การจัดงานและการท่องเที่ยว
- เป็นเจ้าภาพจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในส่วนรัฐพิธี และได้กราบบังคมทูลเชิญ พระราชอาคันตุกะ เพื่อทรงร่วมถวายพระพรในการนี้ ในนามรัฐบาลไทย
- จัดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ในนามรัฐบาลไทย
- โครงการสวนสัตว์กลางคืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี [8]
- เตรียมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในนามรัฐบาลไทย จนเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดให้เข้าชม ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน
อื่นๆ
- ทุนการศึกษาให้นักเรียนต่างจังหวัด มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศ โดยใช้รายได้จากการจำหน่ายสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว (โอดอส ODOS)
- ปราบปรามยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล [9]
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ได้จัดสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเปิดใช้บริการ ก่อนการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และ โครงการจัดตั้งจังหวัดสุวรรณภูมิมหานคร เพื่อสร้างเมืองใหม่ ในบริเวณท่าอากาศยาน
- นโยบายต่อต้านการคอรัปชั่น
- ตู้ไปรษณีย์ นายกฯ (เช่น กรณียายไฮ ขันจันทา เรียกร้องที่ดินคืนจากการสร้างฝาย เป็นเวลา 20 ปี จนได้รับที่คืน)
- รายการ "นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน" ทุกเช้าวันเสาร์ เวลา 08.00-09.00 น. ทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เครือข่ายทั่วประเทศ
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป และมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อ
แต่เนื่องจาก การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขัน ถูกประกาศให้เป็นโมฆะ คณะรัฐมนตรีชุดนี้จึงต้องรักษาการต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งประกาศว่าจะเลือกตั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 แต่ก่อนจะถึงการเลือกตั้งก็เกิด การก่อรัฐประหารโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) จึงทำให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง
อ้างอิง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี [พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร สมัยที่ ๒]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 มีนาคม 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน ลาออก, ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง จำนวน ๑๖ ราย, แต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๗ ราย)
- ↑ The Nation, Public debt end-Sept falls to 41.28% of GDP เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 November 2006
- ↑ World Bank, Thailand Economic Monitor, October 2003
- ↑ ทวี มีเงิน, "ทักษิณ"ปั้นหรือปั่นศก. (2) "ยางพารา-ข้าว"เก่งหรือเฮง เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, มติชน
- ↑ ข่าว 'คตส.'เตรียมสอบ 4 ประเด็นใหญ่ ทุจริตกล้ายาง กรุงเทพธุรกิจบิซวีค 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549
- ↑ "นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2009-06-19.
- ↑ บทความ สงครามต่อต้านยาเสพย์ติด คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 26 ฉบับที่ 3462 (2662) วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2546 หน้า 2