ค่าคาดหมาย

สำหรับทฤษฎีความน่าจะเป็นแล้ว ค่าคาดหมาย (อังกฤษ: expected value, expectation) ของ ตัวแปรสุ่ม คือ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) ของทุก ๆ ค่าที่เป็นไปได้ของตัวแปรสุ่ม โดยในการคำนวณการถ่วงน้ำหนักจะใช้ค่าฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็น (probability density function) สำหรับตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง หรือใช้ค่าฟังก์ชันมวลของความน่าจะเป็น (probability mass function) สำหรับตัวแปรวิยุต [1] หากกำหนดให้ เป็นตัวแปรสุ่ม จะแทนค่าคาดหมายของ ด้วย หรือ หรือบางครั้งแทนด้วย

ค่าความคาดหมายนี้เมื่อพิจารณาจากกฎว่าด้วยจำนวนมาก ก็คือค่าลิมิตแบบ almost surely ของค่าเฉลี่ยที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง โดยที่จำนวนการสุ่มโตเข้าสู่ค่าอนันต์ หรือกล่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า ค่าความคาดหมายคือค่าเฉลี่ยจากการสุ่มวัดที่ทำหลาย ๆ ครั้งมาก ๆ

นิยาม

ตัวแปรสุ่มวิยุต (discrete random variable), กรณีค่าจำกัด

สมมติ ตัวแปรสุ่ม มีโอกาสมีค่าเป็น ด้วยความน่าจะเป็น , มีโอกาสมีค่าเป็น ด้วยความน่าจะเป็น , ... , มีโอกาสมีค่าเป็น ด้วยความน่าจะเป็น ดังตาราง

ตัวแปรสุ่ม ความน่าจะเป็น
... ...

ค่าคาดหมายของตัวแปรสุ่ม จะถูกนิยามได้เป็น

An illustration of the convergence of die roll sequence averages to the expected value of 3.5 as the number of rolls (trials) grows.

ตัวอย่างที่ 1. ให้ เป็นตัวแปรสุ่มแทนหน้าที่ออกจากการทอยลูกเต๋า ค่าที่เป็นไปได้ของ คือ 1, 2, 3, 4, 5, และ 6, โดยแต่ละค่ามีโอกาสออกได้เท่า ๆ กัน (แต่ละค่ามีความน่าจะเป็น 1/6) ค่าคาดหมายของ คือ

ดังนั้นถ้าเราทอยลูกเต๋า ครั้งและคำนวณค่าเฉลี่ย ของหน้าที่ออกแล้ว ค่าเฉลี่ยนี้จะลู่เข้าสู่ค่าคาดหมายเมื่อ ใหญ่ขึ้น

ตัวแปรสุ่มวิยุต (discrete random variable), กรณีค่าไม่จำกัด

สมมติ ตัวแปรสุ่ม มีโอกาสมีค่าเป็น , , ... ด้วยความน่าจะเป็น , , ... ตามลำดับ ค่าคาดหมายของ จะนิยามได้ว่า

ถ้าค่าของอนุกรมนี้ไม่เป็นการลู่เข้าสัมบูรณ์ จะเรียกว่า ค่าคาดหมายของ ไม่ปรากฏ ตัวอย่างเช่น สมมติ ตัวแปรสุ่ม มีโอกาสมีค่าเป็น 1, −2, 3, −4, ..., ด้วยความน่าจะเป็น c/, c/, c/, c/, ..., โดย c = π²/6 (ค่าของ c นี้มีแค่เพื่อทำให้ผลรวมของความน่าจะเป็นทั้งหมดรวมเป็น 1) ค่าของอนุกรมจะเป็น

ซึ่งลู่เข้าและลู่เข้าสู่ค่า ln(2) ≈ 0.69315 แต่อนุกรมนี้ไม่ได้เป็นการลู่เข้าสัมบูรณ์ ดังนี้ค่าคาดหมายของ ในกรณีนี้จึงไม่มี

ตัวแปรต่อเนื่อง

เมื่อตัวแปรสุ่ม มีฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็น ค่าคาดหมายของ สามารถคำนวณได้จาก

คุณสมบัติค่าคาดหมาย


เมื่อ คือค่าคงที่, และ เป็นตัวแปรสุ่มจากการแจกแจงใด ๆ

อ้างอิง

  1. Sheldon M Ross (2007). "§2.4 Expectation of a random variable". Introduction to probability models (9th ed.). Academic Press. p. 38 ff. ISBN 0125980620.