การค้าประเวณีเด็ก
รูปปั้นของเด็กหญิงโสเภณี The White Slave โดย Abastenia St. Leger Eberle พ.ศ. 2456[1] | |
เขตปฏิบัติ | ทั่วโลก |
---|---|
จำนวนเด็ก | มากถึง 10 ล้าน[2] |
สถานะกฎหมาย | ผิดกฎหมายทั้งไทยและสากล |
การค้าประเวณีเด็ก (อังกฤษ: Prostitution of children, child prostitution) เป็นการค้าประเวณีที่เกี่ยวกับเด็ก เป็นรูปแบบหนึ่งของการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก เด็กในที่นี้มักจะหมายถึงผู้เยาว์ หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในเขตกฎหมายโดยมาก การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายโดยเป็นส่วนของกฎหมายห้ามการค้าประเวณีโดยทั่ว ๆ ไป
การค้าประเวณีเด็กมักจะปรากฏในรูปแบบของการค้าเซ็กซ์ (sex trafficking) ที่เด็กถูกลักพาตัว หรือถูกหลอกให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าเพศ หรือว่า เป็นเซ็กซ์เพื่อการอยู่รอด ที่เด็กจะร่วมกิจกรรมทางเพศแลกเปลี่ยนกับปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อชีวิตรวมทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย การค้าประเวณีเด็กมักจะเกี่ยวข้องกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และบางครั้งจะเกิดขึ้นคาบเกี่ยวกัน และมีคนที่เดินทางไปต่างประเทศเพื่อจะเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์เด็ก งานวิจัยแสดงว่า อาจจะมีเด็กมากถึง 10 ล้านคนทั่วโลกที่ค้าประเวณี[2] โดยมีปัญหาหนักที่สุดในทวีปอเมริกาใต้และเอเชีย แต่ก็เป็นปัญหาทั่วโลก[3] ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว[4]
สหประชาชาติได้กำหนดว่า การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายสากล โดยมีการรณรงค์และองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติการเช่นนี้
เด็กโดยมากที่เกี่ยวข้องเป็นหญิง อาจจะอายุเพียงแค่ 4-5 ขวบ เรียนน้อยมากและถูกคนแปลกหน้าหลอกได้ง่าย
นิยาม
มีนิยามหลายอย่างสำหรับการค้าประเวณีเด็ก สหประชาชาตินิยามว่า "การผูกมัดว่าจ้างเด็กหรือการให้บริการเด็ก เพื่อทำกิจกรรมทางเพศแลกกับเงินหรือประโยชน์อื่น ๆ โดยทำกับบุคคลนั้นหรือกับบุคคลอื่น"[5] ส่วน "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก" (Convention on the Rights of the Child) แห่งสหประชาชาติ นิยามว่า "การได้มา การจัดหา หรือการเสนอให้ ซึ่งบริการของเด็ก หรือการชักชวนเด็กให้ร่วมกิจกรรมทางเพศเพื่อค่าตอบแทนหรือรางวัลทุกรูปแบบ" โดยทั้งสองเน้นว่า เด็กเป็นเหยื่อของการถูกฉวยประโยชน์ แม้ว่าดูเหมือนจะให้ความยินยอม[6] ส่วน "อนุสัญญาว่าด้วยรูปแบบเลวที่สุดของแรงงานเด็กปี 1999" ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) นิยามว่า "การใช้ การจัดหา หรือการเสนอให้ เด็กเพื่อประเวณี"[7]
ตาม ILO ณ กรุงเจนีวา การค้าประเวณีและสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นรูปแบบหลักของการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็ก ซึ่งมักจะกล้ำกัน[3] โดยการค้าประเวณีบางครั้งใช้อธิบายเป็นส่วนของรูปแบบที่กว้างกว่าของการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (CSEC) โดยไม่รวมเอาแบบที่ปรากฏอื่น ๆ ของ CSEC เช่นการแต่งงานเด็ก การใช้แรงงานเด็กในบ้าน และการค้าเด็กเพื่อเซ็กซ์ (การลักลอบพาเด็กเพื่อค้าเซ็กซ์)[8]
แต่ว่า คำว่า การค้าประเวณีเด็ก ก็ยังเป็นเรื่องโต้แย้งกันอยู่ คือ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าวว่า "คำแสดงนัยความคิดว่าเป็นการเลือกทำ แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น"[9] กลุ่มต่อต้านต่าง ๆ เชื่อว่า คำว่า "child prostitution" (การค้าประเวณีเด็ก) และ "child prostitute" (โสเภณีเด็ก) มีปัญหาเพราะว่า โดยทั่วไปเด็กไม่สามารถตัดสินใจอย่างรอบรู้เกี่ยวกับการค้าประเวณี และดังนั้น จึงใช้คำว่า "prostituted children" (เด็กที่ถูกค้าประเวณี) และ "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก"[10] ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ใช้คำว่า "child sex worker" (เด็กทำงานเซ็กซ์) เพื่อแสดงว่า เด็กทุกคนไม่ใช่เป็นแค่เหยื่อที่ไม่ได้ทำอะไร[10]
เหตุและประเภท
เด็กมักจะถูกบังคับโดยโครงสร้างทางสังคมและโดยบุคคล ให้อยู่ในสถานการณ์ที่ผู้ใหญ่อาจฉวยประโยชน์จากความความอ่อนแอ แล้วทารุณเด็กหรือฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็ก ทั้งโครงสร้างสังคมและบุคคลรวมกันบังคับให้เด็กเข้าไปสู่การค้าทางเพศ เช่น การค้าประเวณีเด็กบ่อยครั้งจะติดตามการถูกทารุณทางเพศ และบ่อยครั้งเกิดขึ้นที่บ้าน[11] นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่า เด็กโสเภณีโดยมากมาจากเอเชียอาคเนย์ และลูกค้าโดยมากเป็นนักท่องเที่ยวเซ็กซ์ชาวตะวันตก แต่ว่าก็มีนักสังคมวิทยาคนหนึ่งที่อ้างว่า แม้ว่าคนตะวันตกจะมีส่วนให้อุตสาหกรรมนี้โตขึ้น แต่ว่า ลูกค้าโดยมากของเด็กเป็นชาวเอเชียในพื้นที่[12]
การค้าประเวณีมักจะเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ รวมทั้งซ่องโสเภณี บาร์ ไนต์คลับ บ้าน ตามถนนหรือเขตชุมชนต่าง ๆ ตามงานศึกษาหนึ่ง เด็กโสเภณีประมาณ 10% มีแมงดา และมากกว่า 45% เริ่มทำงานเพราะเพื่อน[13] นักวิชาการในสำนักงานแรงงานเด็กสากลมอรีน แจ็ฟ และซ็อนเนีย โรเซ็น กล่าวว่า กรณีต่าง ๆ กันมาก
เหยื่อบางคนหนีออกจากบ้านหรือจากสถาบันของรัฐ บางคนถูกขายโดยผู้ปกครอง หรือถูกบังคับหรือถูกหลอกให้ค้าประเวณี และบางคนเป็นเด็กจรจัด บางคนทำแค่ชั่วครั้งชั่วคราว บางคนทำเป็นอาชีพ แม้ว่าเราอาจจะคิดถึงเด็กหญิงก่อนและมากที่สุดในเรื่องการค้าประเวณี แต่ก็มีจำนวนเด็กชายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กรณีที่น่าสลดใจที่สุดก็คือเด็กที่ถูกบังคับให้ค้าประเวณีแล้วต่อมาถูกจำขัง (เพราะ) เด็กเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการถูกทรมานและต่อความตายที่ติดตามมา[4]
การค้ามนุษย์
สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) นิยามคำว่า "การค้ามนุษย์" (human trafficking) ว่า "การสรรหาชักชวน การขนส่ง การย้าย การให้ที่ซ่อนเร้น และการรับบุคคล โดยใช้วิธีต่าง ๆ เช่นการข่มขู่หรือใช้กำลังหรือวิธีบีบบังคับอื่น ๆ การลักพาตัว การฉ้อฉลหรือการหลอกลวง เพื่อจะฉวยเอาประโยชน์"[14] UNODC ประเมินจำนวนเหยื่อทั่วโลกที่ 2.5 ล้านคน[14] UNICEF รายงานว่าตั้งแต่ปี 1982 มีเด็กถูกค้าประมาณ 30 ล้านคน[15] การค้ามนุษย์เพื่อเป็นทาสทางเพศอยู่ในอัตรา 79% ของกรณีค้ามนุษย์ทั้งหมด โดยเหยื่อส่วนใหญ่เป็นหญิง และประมาณ 20% ของเหยื่อเป็นเด็ก ผู้กระทำผิดบ่อยครั้งก็เป็นหญิงด้วย[16]
ในปี ค.ศ. 2007 สหประชาชาติจัดตั้งโปรแกรมริ่เริ่มระดับโลกเพื่อสู้การค้ามนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN.GIFT) โดยร่วมมือกับ UNICEF องค์การเพื่อความมั่นคงและการร่วมมือในยุโรป (OSCE) และกองทุนสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสตรี (UNIFEM) โดยได้เงินทุนมาจากรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ UN.GIFT มีจุดมุ่งหมายต่อต้านการค้ามนุษย์โดยร่วมมือกับผู้มีส่วนในองค์กรรวมทั้งรัฐบาล ธุรกิจ และผู้ทำการระดับโลกอื่น ๆ งานริเริ่มแรกก็คือเผยแพร่เนื้อความว่า การค้ามนุษย์เป็นเรื่องผิดจริยธรรมและเป็นปัญหาที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่ต้องอาศัยการร่วมมือระดับโลกเพื่อที่จะยุติ UN.GIFT พยายามลดความต้องการในการฉวยประโยชน์ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยให้กับผู้ที่เสี่ยงต่อความเป็นเหยื่อ[17]
ในบางกรณี เหยื่อค้ามนุษย์เพื่อเซ็กซ์ถูกลักพาตัวโดยคนแปลกหน้า หรือถูกบังคับหรือถูกหลอกให้เข้าร่วมโดยเรื่องโกหกและคำสัญญาหลอกลวงอื่น ๆ[18] ในบางกรณี ครอบครัวอนุญาตหรือบังคับให้เด็กเข้าสู่ระบบเพราะเหตุความยากจนรุนแรง[19] ถ้าถูกนำออกจากประเทศ ผู้ค้าเด็กจะฉวยประโยชน์จากความที่เด็กมักจะไม่เข้าใจภาษาในประเทศใหม่และไม่รู้สิทธิทางกฎหมายของตน[18]
งานวิจัยแสดงว่า ผู้ค้าเด็กมักจะเลือกเด็กหญิงอายุ 12 ขวบหรือน้อยกว่านั้น เพราะว่าง่ายกว่าที่จะให้ทำตามต้องการ และเพราะเชื่อว่าเป็นหญิงพรหมจารี ซึ่งเป็นที่ต้องการจากลูกค้า แล้วจะแต่งให้เด็กดูแก่กว่าจริง และปลอมเอกสารเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่ทางกฎหมาย[18] เหยื่อมักจะมีพื้นเพคล้ายกัน บ่อยครั้งมาจากชุมชนที่มีอาชญากรรมสูงและไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา แต่ว่า เหยื่อไม่ใช่จำกัดแต่เพียงเท่านี้ เพราะว่ามีทั้งชายและหญิงที่มาจากพื้นเพต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้าเด็กเพื่อเซ็กซ์[18]
นักจิตบำบัดหญิงผู้หนึ่งระบุขั้นตอน 5 ขั้นตอนในกระบวนการค้ามนุษย์เพื่อเซ็กซ์ คือขั้นมีจุดอ่อน ขั้นถูกสรรหาชักชวน ขั้นถูกขนส่ง ขั้นถูกฉวยประโยชน์ และขั้นปล่อยตัว[20] แต่ว่า เหยื่อมักจะไม่ค่อยถึงขั้นสุดท้าย ฆาตกรรมและความตายจากอุบัติเหตุมีอัตราสูง เช่นเดียวกับการฆ่าตัวตาย และมีเหยื่อน้อยมากที่รับการช่วยชีวิตหรือหนีไปได้[21]
การค้ามนุษย์เพื่อเซ็กซ์เป็นธุรกิจที่กำไรดีเพราะว่ามีความเสี่ยงต่ำและมีความต้องการทางตลาดสูง กำไรที่สูงเป็นสิ่งล่อใจหลักในการแพร่ขยายของการค้ามนุษย์ ในปัจจุบัน การค้ามนุษย์เพื่อเซ็กซ์มักจะทำออนไลน์โดยอำพรางรูปโฉมทำเป็นร้านค้า ทำให้ยากขึ้นที่จะบังคับใช้กฎหมาย ตัวอย่างรวมทั้งบริการผู้ติดตาม (เอ๊สขอร์ต) ออนไลน์ ซ่องโสเภณีในชุมชน และซ่องที่ทำเป็นโรงนวดหรือที่อาบน้ำ ซึ่งหลาย ๆ ที่มีเด็กเป็นทาสให้บริการ[22]
เซ็กซ์เพื่อชีวิต
รูปแบบหลักอีกอย่างหนึ่งของการค้าประเวณีเด็กก็คือ เซ็กซ์ทรงชีพ (survival sex) โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้กำหนดไว้ว่า
"เซ็กซ์ทรงชีพ" เกิดขึ้นเมื่อเด็กร่วมกิจกรรมทางเพศเพื่อจะได้เงิน อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า หรือสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ต่อการรอดชีวิต ในสถานการณ์อย่างนี้ มักจะเป็นเรื่องที่เกิดแค่ระหว่างเด็กกับลูกค้าเท่านั้น เด็กที่รับจ้างร่วมกิจกรรมทางเพศทรงชีพมักจะไม่มีแมงดา หรือบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าเด็ก
บุคคลที่จ่ายค่าตอบแทนเพื่อเซ็กซ์กับเด็ก ไม่ว่าเด็กจะถูกควบคุมโดยแมงดา หรือจะรับจ้างทำเซ็กซ์ทรงชีพหรือไม่ สามารถถูกดำเนินคดีได้[23]
งานที่ว่าจ้างโดย UNICEF และองค์การนอกภาครัฐ Save the Children ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการค้าประเวณีเด็กในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาหลังสงคราม นักสังคมวิทยาที่เป็นหัวหน้างานรายงานว่า ความยากจนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการค้าประเวณี โดยกล่าวว่า
การค้าเซ็กซ์ในระดับโลกเป็นผลของความพยายามที่บุคคลจะอยู่รอดทุก ๆ วัน เพราะเหตุความยากลำบากทางเศรษฐกิจ เท่า ๆ กับที่เป็นปัญหากลุ่มอาชญากรรม (ดังนั้น) การสู้กับอาชญากรรมแต่ไม่สู้กับความยากจน จึงเป็นการบำบัดอาการแต่ไม่ได้บำบัดโรค... เป็นเรื่องไม่สามัญที่หญิงจะรู้ว่าตนกำลังจะเข้าไปทำอะไร และจึงเข้าไปอย่างอาสาสมัครโดยบางส่วน บางทีพวกเธออาจจะคิดว่าตนจะต่างจากคนอื่นและจะสามารถหลีกออกจากสถานการณ์ได้ หรือว่า อาจจะต้องการเสี่ยงโชค มากกว่าที่จะรู้สึกทำอะไรไม่ได้ถ้าอยู่ที่บ้านในท่ามกลางความยากจน[19]
ส่วนนักวิชาการแจ็ฟและโรเซ็นไม่เห็นด้วยและอ้างว่า ความยากจนเพียงอย่างเดียวบ่อยครั้งไม่ได้บังคับให้เด็กค้าประเวณี เพราะว่าการกระทำเช่นนี้ไม่แพร่หลายในกลุ่มสังคมที่ยากจนหลายกลุ่ม แต่ว่าต้องมีอิทธิพลภายนอกอื่น ๆ เช่นสถานการณ์ทางครอบครัวและความรุนแรงในบ้าน ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหา[24]
การค้าประเวณีเด็กเพื่อเซ็กซ์ทรงชีพเกิดขึ้นทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว ในเอเชีย เด็กหญิงต่ำกว่าอายุบางครั้งทำงานในซ่องโสเภณีเพื่อช่วยเหลือครอบครัว ในประเทศศรีลังกา ผู้ปกครองมักจะให้ลูกชายมากกว่าลูกสาวเป็นโสเภณี เพราะว่าสังคมให้ความสำคัญกับพรหมจรรย์ของหญิงมากกว่าชาย[25] นักวิชาการแจ็ฟและโรเซ็นเขียนไว้ว่า การค้าประเวณีเด็กในอเมริกาเหนือมักจะเป็นผลของ "ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ความรุนแรงและทารุณกรรมในบ้าน ครอบครัวที่แตกสาแหรกขาด และการติดยาเสพติด"[26] ในประเทศแคนาดา มีหนุ่มเยาวชนคนหนึ่งที่ถูกตัดสินว่าผิดในข้อหาเกี่ยวกับการค้าประเวณีเด็กหญิงอายุ 15 ปีออนไลน์ในปี ค.ศ. 2012 คือ เขาได้ชักชวนเธอให้ขายประเวณีเพื่อจะได้เงิน เก็บเงินที่เธอได้ทั้งหมด แล้วข่มขู่เธอด้วยความรุนแรงถ้าไม่ทำต่อไป[27]
ผลเสียหาย
การปฏิบัติต่อเด็ก
เด็กมักจะถูกบังคับให้ทำงานในสถานการณ์ที่สกปรกและอันตราย[28] เสี่ยงต่อความรุนแรงและบางครั้งถูกตีและถูกข่มขืน นักวิจัยกล่าวว่า พวกเขา "ต้องทนทุกข์กับทารุณกรรม การไร้ความสุข และสุขภาพที่แย่"[29] ยกตัวอย่างเช่น นักเขียนผู้หนึ่งรายงานว่า เหยื่อการค้าเซ็กซ์หญิงจากประเทศเนปาล "ถูกบังคับให้ยินยอมโดยกระบวนการข่มขืนและตบตี แล้วให้ค้าประเวณีอาจจะถึง 35 ครั้งต่อคืนเพื่อเงิน 1-2 ดอลลาร์สหรัฐต่อลูกค้าชาย"[30] อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นเรื่องเด็กชายชาวเนปาลจำนวนมาก ที่ถูกชักชวนให้ไปประเทศอินเดียแล้วถูกขายให้ซ่องโสเภณีในเมืองมุมไบ ไฮเดอราบาด นิวเดลี และลัคเนา คือเหยื่อคนหนึ่งจากประเทศเนปาลไปเมื่ออายุ 14 ปีแล้วถูกขายเป็นทาส ถูกขัง ถูกตี ถูกอดอาหาร ถูกบังคับให้แต่งตัวเป็นเด็กหญิง และถูกบังคับให้ขริบหนังหุ้มปลายองคชาต เขารายงานว่าถูกขังในซ่องกับเด็กชายอื่นอีก 40-50 คน ที่จำนวนมากถูกตอน ก่อนที่เขาจะหนีและกลับไปเนปาลหลังจากผ่านไป 7 ปี[31]
นักอาชญาวิทยาผู้หนึ่งกล่าวว่า การค้าประเวณีเด็กและสื่อลามกอนาจารเด็กสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด คือ เด็กโสเภณี 1 ใน 3 เกี่ยวข้องกับสื่อลามก จะเป็นภาพยนตร์หรือสิ่งตีพิมพ์ก็ดี วัยรุ่นที่หนีออกจากบ้าน มักจะถูกใช้ในภาพยนตร์และภาพลามก[32] นอกจากปัญหาสื่อลามกแล้ว
เด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศในโลกทั้งสองนี้มักจะเป็นเหยื่อของการทำร้ายทางเพศ (sexual assault) ความวิปริตทางเพศ กามโรค จะได้ความทรงจำที่ไม่ลืมเลือนเกี่ยวกับการถูกใช้ทางเพศอย่างผิด ๆ และจะได้ร่างกายที่ถูกล่วงล้ำอย่างน่าบัดสี ที่ถูกทารุณ ที่จะมีรอยด่างชั่วกาลนาน[33]
ผลทางกายและใจ
ตามองค์กรต่อต้านนอกภาครัฐองค์กรหนึ่ง การค้าประเวณีทำให้บาดเจ็บเช่น การฉีกขาดของช่องคลอด ผลทางกายต่าง ๆ จากการถูกทรมานและการถูกทำให้เจ็บ การติดเชื้อ หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ[34] เนื่องจากลูกค้าน้อยนักที่จะระวังเรื่องเอชไอวี[34] เด็กที่ถูกค้าประเวณีจึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดโรค และในบางพื้นที่เด็กโดยมากจะติดโรค กามโรคอื่น ๆ ก็เป็นความเสี่ยงด้วย เช่น ซิฟิลิสและเริม นอกจากนั้นแล้วเด็กยังมีวัณโรคในระดับสูงอีกด้วย[29] โรคเหล่านี้บ่อยครั้งทำให้ถึงตาย[2]
อดีตเด็กโสเภณีมักจะมีอาการเจ็บป่วยทางจิต รวมทั้งภาวะซึมเศร้า และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD)[29] มีผลลบทางใจอื่น ๆ รวมทั้งความโกรธ การนอนไม่หลับ ความสับสนเรื่องเพศและบุคลิกภาพ ความไม่เชื่อใจผู้ใหญ่ การสูญเสียความมั่นใจ มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับฟัน ตับอักเสบ บี และซี และปัญหารุนแรงเกี่ยวกับตับและไต มีปัญหาการแพทย์อื่น ๆ รวมทั้งปัญหาในระบบสืบพันธุ์และความบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายทางเพศ (sexual assault) มีปัญหาทางกายและทางประสาทจากการถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง และมีปัญหาสุขภาพทั่วไปอื่น ๆ รวมทั้งระบบลมหายใจและการเจ็บข้อ[34][35]
การห้าม
การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายสากล อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กแห่งสหประชาชาติ มาตราที่ 34 กล่าวว่า "รัฐผู้ร่วมอนุสัญญาจะดำเนินการป้องกันเด็กจากการฉวยประโยชน์และทารุณกรรมทางเพศ รวมทั้งการค้าประเวณีและการมีส่วนร่วมในสื่อลามกอนาจาร"[37] เป็นอนุสัญญาที่เริ่มทำเมื่อปี 1989 และมีประเทศ 193 ประเทศได้เข้าร่วมอนุสัญญาแล้ว ในปี 1990 สหประชาชาติได้จัดตั้งตำแหน่ง "ผู้รายงานการประชุมพิเศษว่าด้วยการขายเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกอนาจารเด็ก" (Special Rapporteur on the sale of children, child prostitution and child pornography)[38] ที่จะสืบสวนการฉวยประโยชน์จากเด็กทั่วโลกแล้วให้คำแนะนำกับรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อยุติปัญหา แม้ว่าการค้าประเวณีของผู้ใหญ่จะถูกผิดกฎหมายต่างกันในประเทศต่าง ๆ แต่ว่าการค้าประเวณีเด็กเป็นเรื่องผิดกฎหมายเกือบในทุกประเทศ และทุกประเทศล้วนมีข้อจำกัดบางอย่างในเรื่องนั้น[4]
มีข้อโต้เถียงกันว่าอย่างไรเป็นเด็กที่ถูกค้าประเวณี กฎหมายสากลนิยามเด็กว่าเป็นบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี[39] แต่มีประเทศบางประเทศที่มีอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้และอายุความเป็นผู้ใหญ่ที่ต่ำกว่านั้น โดยปกติอยู่ในระหว่าง 13-17 ปี[4] ดังนั้น บางครั้งเจ้าหน้าที่จึงลังเลที่จะตรวจสอบกรณีต่าง ๆ เนื่องจากความแตกต่างของอายุที่ยอมรับ[4] แต่ว่าก็มีกฎหมายของบางประเทศที่แยกแยะระหว่างวัยรุ่นและเด็กที่ถูกค้าประเวณี ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลญี่ปุ่นจัดเด็กโสเภณีระหว่าง 13-18 ปีว่าเป็นวัยรุ่น[40]
โทษของผู้ทำผิดต่าง ๆ กันในแต่ละประเทศ ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา โทษของการมีส่วนร่วมกับการค้าประเวณีเด็กรวมทั้งการจำคุก 5-20 ปี[41] ส่วนในประเทศไทย นอกจากจะมีกำหนดโทษในกรณีต่าง ๆ ของการค้าประเวณีแล้ว ยังมีกำหนดลงโทษพิเศษเกี่ยวกับเด็กในกรณีที่เป็นผู้กระทำชำเราเด็กในสถานการค้าประเวณี[42]: มาตรา 8 เป็นผู้จัดหา ล่อไป หรือชักพาไป[42]: มาตรา 9 รับตัวหรือสนับสนุนให้รับเด็กที่ถูกจัดหาล่อไปหรือชักพาไป[42]: มาตรา 9 บิดามารดาผู้ปกครองมีส่วนร่วม[42]: มาตรา 10 หรือเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ดูแล ผู้จัดการ หรือผู้ควบคุม[42]: มาตรา 11
สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐได้ตั้งแผนกใหม่ (Innocence Lost) ที่ทำงานปลดปล่อยเด็กจากการค้าประเวณี โดยตอบสนองต่อปฏิกิริยาของประชาชนทั่วประเทศเกี่ยวกับปฏิบัติการของสำนักงานที่ปล่อยเด็ก 23 คนจากการค้าประเวณีโดยบังคับในปี 2011[43]
ความแพร่หลาย
การค้าประเวณีเด็กมีอยู่ในทุกประเทศ แต่มีปัญหามากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้และเอเชีย[24] แต่ว่า จำนวนเด็กโสเภณีก็กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในส่วนอื่น ๆ ของโลกรวมทั้ง อเมริกาเหนือ แอฟริกา และยุโรป[24] สถิติที่แน่นอนหาได้ยาก[44] แต่ว่าโดยประเมิน มีเด็กประมาณ 10 ล้านคนที่ค้าประเวณีทั่วโลก[2]
- ให้สังเกตว่านี้เป็นแค่รายการตัวอย่าง เพราะว่าไม่ได้รวมทุกประเทศที่มีเด็กถูกค้าประเวณี
ประเทศ/เขต | จำนวนเด็ก | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|
ทั่วโลก | มากถึง 10,000,000 | [2] | |
ออสเตรเลีย | 4,000 | [45] | |
บังกลาเทศ | 10,000 - 29,000 | [46] | |
บราซิล | 250,000 - 500,000 | บราซิล เป็นประเทศที่มีการค้าเด็กแย่ที่สุดหลังจากประเทศไทย | [47] |
กัมพูชา | 30,000 | [48][49] | |
ชิลี | 3,700 | จำนวนเด็กโสเภณีเชื่อว่ากำลังลดลง | [50] |
โคลอมเบีย | 35,000 | มีเด็กโสเภณี 5,000-10,000 คนตามถนนเมืองโบโกตา | [51] |
สาธารณรัฐโดมินิกัน | 30,000 | [52] | |
เอกวาดอร์ | 5,200 | [53] | |
เอสโตเนีย | 1,200 | [54] | |
กรีซ | 2,900 | มากกว่า 200 คนเชื่อว่าอายุน้อยกว่า 12 ขวบ | [55] |
ฮังการี | 500 | [56] | |
อินเดีย | 1,200,000 | ในประเทศอินเดีย โสเภณีทั้งหมดมีเด็ก 40 % | [57] |
อินโดนีเซีย | 40,000 - 70,000 | UNICEF กล่าวว่า หญิงโสเภณี 30% มีอายุต่ำกว่า 18 ปี | [58][59] |
มาเลเซีย | 43,000 - 142,000 | [60] | |
เม็กซิโก | 16,000 - 20,000 | เด็กจรจัด 13,000 คนในเมืองเม็กซิโกซิตี 95% เคยมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อยครั้งหนึ่งกับผู้ใหญ่ (หลายคนผ่านการค้าประเวณี) | [61] |
เนปาล | 200,000 | [30] | |
นิวซีแลนด์ | 210 | [62] | |
เปรู | 500,000 | [63] | |
ฟิลิปปินส์ | 60,000 - 100,000 | [64] | |
ศรีลังกา | 40,000 | UNICEF กล่าวว่า หญิงโสเภณี 30% อายุต่ำกว่า 18 ปี | [65] |
ไต้หวัน | 100,000 | [63] | |
ประเทศไทย | 200,000 - 800,000 | เชื่อว่าประเทศไทยมีจำนวนเด็กโสเภณีมากที่สุดในโลก ต่อจากนั้นจึงเป็นบราซิล | [60] |
สหรัฐอเมริกา | 100,000 | [66][67] | |
แซมเบีย | 70,000 | [68] |
โดยปี 1999 มีรายงานว่าการค้าประเวณีเด็กในประเทศอาร์เจนตินากำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ และอายุเฉลี่ยก็กำลังลดลง องค์การนอกภาครัฐองค์กรหนึ่งกล่าวว่า อาร์เจนตินาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็กยอดนิยมแห่งหนึ่งสำหรับคนใคร่เด็กจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา[69] แต่ว่า การค้าประเวณีเด็กอายุ 18 ปีและน้อยกว่าจัดเป็นอาชญากรรมตามกฎหมายของประเทศ[70] แต่ลงโทษบุคคลที่ "โปรโหมตหรืออำนวย" การค้าประเวณีเท่านั้น ไม่ลงโทษลูกค้าที่ฉวยประโยชน์จากเด็ก[71]
ความเห็น
จากสาธารณชน
นักมานุษยวิทยาคนหนึ่งกล่าวว่า สังคมโดยมากมีความเห็นเชิงลบเกี่ยวกับการค้าประเวณีเด็ก ส่วนหนึ่งเพราะมองว่าเด็กถูกทอดทิ้งหรือขายโดยผู้ปกครองและครอบครัว[72] องค์การแรงงานระหว่างประเทศรวมการค้าประเวณีเด็กในรายการ "รูปแบบแรงงานเด็กที่แย่ที่สุด"[73] งานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็กในปี 1996 เรียกการค้าประเวณีเด็กว่า "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" "การทรมาน" และ "การเป็นทาส"[74] ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รัฐบาลกลางสหรัฐผู้เชี่ยวชาญเรื่องการฉวยประโยชน์จากเด็กและการค้ามนุษย์ พร้อมกับผู้ร่วมเขียนที่เป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมายกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสะเทือนอารมณ์ที่มีมุมมองหลายด้านเกี่ยวกับการป้องกัน คือ
ประเด็นการห้ามและการลงโทษเพราะการฉวยประโยชน์จากเด็กเป็นเรื่องที่สะเทือนอารมณ์อย่างรุนแรง แม้ว่าจะมีมติโดยทั่วไปว่า การฉวยประโยชน์จากเด็ก ไม่ว่าจะมาจากอินเทอร์เน็ต จากการค้าประเวณีแบบบังคับ จากการลักลอบพาเด็กข้ามประเทศหรือภายในประเทศเพื่อค้าเซ็กซ์ หรือว่าจากการทำร้ายเด็กทางเพศ (molestation) เป็นเรื่องที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ที่รู้เหตุการณ์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและที่อื่น ๆ มีข้อตกลงร่วมกันน้อยว่า เป็นพฤติกรรมที่เลวร้ายแค่ไหน หรือว่าควรจะทำอะไรเพื่อแก้ปัญหานี้ถ้าต้องทำโดยประการทั้งปวง[75]
นักข่าวสืบสวนคนหนึ่งกล่าวว่า การเหมารวมเรื่องการค้าประเวณีเด็กดำเนินมาเรื่อย ๆ จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 จนกระทั่งเมื่อเกิดองค์กรต่อต้านขึ้นองค์กรแรก และเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มทำการเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด[76] นักอาชญาวิทยาคนหนึ่งกล่าวว่า ความเป็นห่วงเรื่องโรคใคร่เด็กและการทารุณเด็กทางเพศ และทัศนคติเกี่ยวกับเยาวชนที่เปลี่ยนไป ทำให้ประชาชนเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างการค้าประเวณีของผู้ใหญ่กับของเด็ก คือ แม้ว่าประชาชนจะไม่ชอบใจการค้าประเวณีของผู้ใหญ่ แต่เห็นการค้าของเด็กว่ารับไม่ได้[77] นอกจากนั้นแล้ว เด็กยังมองว่าเป็นผู้ "ไร้เดียงสา" หรือ "บริสุทธิ์" และการถูกค้าประเวณีจึงเทียมเท่ากับถูกจับเป็นทาส[77] โดยทัศนคติที่เปลี่ยนไปเช่นนี้ ประชาชนจึงเริ่มเห็นเด็กในการค้าเพศว่าเป็นเหยื่อแทนที่จะเป็นผู้กระทำผิด เป็นผู้ควรที่จะฟื้นฟูสภาพแทนที่จะลงโทษ[78]
จากผู้ต่อต้าน
แม้ว่าการรณรงค์ต่อต้านการค้าประเวณีเด็กจะมีตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1800 แล้ว[79] แต่การประท้วงโดยคนจำนวนมากเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1990 ในสหรัฐอเมริกา นำโดยองค์กร ECPAT (ย่อมาจากคำว่า หยุดการค้าประเวณีเด็ก สื่อลามกเด็ก และการค้าเด็กเพื่อเซ็กซ์) นักประวัติศาสตร์กล่าวถึงกลุ่มนี้ว่า "เป็นกลุ่มรณรงค์ต่อต้านการค้าประเวณีเด็กที่สำคัญที่สุด" โดยเบื้องต้นกลุ่มให้ความสนใจในปัญหาเด็กถูกฉวยประโยชน์ในเอเชียอาคเนย์โดยนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก[80] ต่อมา กลุ่มสิทธิสตรีและกลุ่มต่อต้านเซ็กซ์ทัวร์ได้เข้าร่วมประท้วงการดำเนินการเซ็กซ์ทัวร์ในกรุงเทพมหานคร เพราะการจุดชนวนจากรูปเยาวชนไทยที่ค้าประเวณีและออกข่าวในนิตยสาร ไทม์ และจากการตีพิมพ์พจนานุกรมในสหราชอาณาจักรที่กล่าวถึงกรุงเทพว่า "เป็นแหล่งที่มีโสเภณีมาก"[81] นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมกล่าวว่า แม้ว่า การประท้วงจะไม่ช่วยลดเซ็กซ์ทัวร์หรืออัตราการค้าประเวณีเด็กที่กำลังเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มเหล่านี้ "กระตุ้นความเห็นมวลชนทั้งระดับชาติและระดับสากล" และประสบผลสำเร็จในการชักให้สื่อมวลชนใส่ใจในเรื่องนี้อย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรก[81] ECPAT ต่อมาจึงขยายการประท้วงเรื่องการค้าประเวณีเด็กไปทั่วโลก[80]
ในสหรัฐอเมริกาปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 และต้นทศวรรษ 2000 มีการตั้งบ้านหลีกภัยและโปรแกรมฟื้นฟูสภาพสำหรับเด็กที่ถูกค้าประเวณี และตำรวจก็เริ่มสืบสวนปัญหานี้อย่างเอาจริงเอาจัง[76] ศูนย์ทรัพยากรการค้ามนุษย์แห่งชาติก็ได้รับการก่อตั้งขึ้น สามารถโทรไปหาได้ฟรี 24 ชม. ตลอด 7 วัน[82] โดยออกแบบให้ผู้โทรสามารถรายงานข้อมูลหรือรับข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์[83]
การต่อต้านการค้าประเวณีเด็กและความเป็นทาสทางเพศขยายไปยังยุโรปและประเทศอื่น ๆ โดยองค์การต่าง ๆ ผลักดันให้ยอมรับเด็กว่าเป็นเหยื่อแทนที่จะเป็นผู้กระทำผิด[77] ซึ่งก็ยังเป็นประเด็นที่ยังเด่นในปีต่อ ๆ มา ที่องค์กรต่าง ๆ ช่วยรณรงค์ในทศวรรษ 2000 และ 2010[77]
ประวัติ
การค้าประเวณีเด็กมีอยู่ตั้งแต่ในสมัยโบราณ เด็กชายก่อนวัยหนุ่มถูกขายประเวณีโดยทั่วไปในซ่องทั้งในกรีซและโรมโบราณ[84] ตามนักเขียนท่านหนึ่ง "เด็กหญิงชาวอียิปต์ที่สวยที่สุดและตระกูลสูงที่สุดจะถูกบังคับให้ค้าประเวณี... และจะเป็นเด็กหญิงโสเภณีจนเริ่มมีประจำเดือนเป็นครั้งแรก" ส่วนการขายเด็กเพื่อค้าประเวณีของพ่อแม่เด็กจีนและอินเดียเป็นเรื่องปกติ[85] และพ่อแม่ในอินเดียบางครั้งจะอุทิศลูกสาวให้กับวัดฮินดูเป็น "เทวทาสี" ซึ่งในอดีตเป็นตำแหน่งมีศักดิ์ศรีในสังคม คือเทวทาสีดั้งเดิมมีหน้าที่รักษาและทำความสะอาดวัดของเทวดาฮินดูที่ตนอุทิศให้ และเรียนรู้การดนตรีและการเต้นรำ แต่เมื่อระบบวิวัฒนาการต่อ ๆ มา บทบาทเปลี่ยนกลายเป็นโสเภณีวัด และเด็กหญิงที่ถูกอุทิศให้ก่อนเป็นสาว ก็จะถูกบังคับให้ค้าประเวณีกับชายชั้นสูง[86][87] แม้ว่าข้อปฏิบัติเช่นนี้จะผิดกฎหมายแล้ว แต่ก็ยังมีอยู่ในปัจจุบัน[87]
ในยุโรป การค้าประเวณีเด็กรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1800[85] เช่นมีเด็กในอัตรา 50% ของคนค้าประเวณีในนครปารีส[88] ต่อมาเรื่องอื้อฉาวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอังกฤษมีผลให้รัฐบาลปรับอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ขึ้น[89] คือในเดือนกรกฎาคม 1885 นายวิลเลียม โทมัส สเตด ผู้เป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Pall Mall Gazette พิมพ์บทความชุด "ส่วยจากเด็กหญิงของเมืองบาบิโลนปัจจุบัน (The Maiden Tribute of Modern Babylon)" มี 4 บทความที่บรรยายกลุ่มอาชญากรรมขายเซ็กซ์เด็กใต้ดินที่นายสเตดรายงานว่า ขายเด็กให้ผู้ใหญ่ รายงานของนายสเตดพุ่งความสนใจไปที่เด็กหญิงอายุ 13 ปีนามว่า เอลิซา อารม์สตองก์ ผู้ถูกขายในราคา 5 ปอนด์สเตอร์ลิง (เท่ากับ 500 ปอนด์ในปี 2012 หรือประมาณ 24,490 บาท) แล้วนำไปหาหมอตำแยเพื่อตรวจดูว่ายังเป็นหญิงพรหมจรรย์ และภายในอาทิตย์ที่พิมพ์ชุดบทความ รัฐบาลอังกฤษได้ปรับอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้จาก 13 เป็น 16 ปี[90] ซึ่งเป็นยุคนี้นั่นแหละที่คำว่า "white slavery" (ทาสขาว) กลายเป็นศัพท์ที่ใช้ทั่วยุโรปและสหรัฐหมายถึงเด็กที่ถูกค้าประเวณี[85][91]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- ↑ doi:10.2307/1358234
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Willis, Brian M.; Levy, Barry S. (2002-04-20). "Child prostitution: global health burden, research needs, and interventions". National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ 3.0 3.1 Lim 1998, p. 171.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Jaffe & Rosen 1997, p. 10
- ↑ Lim 1998, p. 170:the act of engaging or offering the services of a child to perform sexual acts for money or other consideration with that person or any other person
- ↑ Lim 1998, p. 170-171:the act of obtaining, procuring or offering the services of a child or inducing a child to perform sexual acts for any form of compensation or reward
- ↑ "C182 - Worst Forms of Child Labour Convention, 1999 (No. 182)". International Labour Organization. 1999-06-17. สืบค้นเมื่อ 2013-09-26.
- ↑ Narayan 2005, p. 138.
- ↑ "Child Exploitation and Obscenity". United States Department of Justice. สืบค้นเมื่อ 2013-09-26.
- ↑ 10.0 10.1 Rodriguez 2011, p. 187.
- ↑ Bagley & King 2004, p. 124.
- ↑ Brown 2001, p. 1-3.
- ↑ Hinman, Kristen (2011-11-02). "Child sex trafficking stereotypes demolished". Westword. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-05. สืบค้นเมื่อ 2011-12-04.
- ↑ 14.0 14.1 "Human Trafficking FAQs". United Nations Office on Drugs and Crime. สืบค้นเมื่อ 2013-09-26.
- ↑ "Who are the Victims?". End Human Trafficking Now. 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-09-26.
- ↑ "UNODC report on human trafficking exposes modern form of slavery". United Nations Office on Drugs and Crime. สืบค้นเมื่อ 2013-09-26.
- ↑ "About UN.GIFT". Ungift.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-04. สืบค้นเมื่อ 2015-08-18.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 Kendall & Funk 2012, p. 31.
- ↑ 19.0 19.1 "Child sex-trafficking study in Bosnia reveals misperceptions". Medical News Today. 2005-03-01. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
- ↑ De Chesnay 2013, p. 3.
- ↑ De Chesnay 2013, p. 4.
- ↑ "Human Trafficking | Polaris | Combating Human Trafficking and Modern-day Slavery". Polarisproject.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2015-08-18.
- ↑ "Frequently Asked Questions (FAQs) for: Prostitution of Children". United States Department of Justice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-26.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Jaffe & Rosen 1997, p. 11
- ↑ Rodriguez 2011, p. 188-189.
- ↑ Jaffe & Rosen 1997, p. 26
- ↑ Dickson, Louise (2012-05-30). "Pimp who sold girl, 15, for sex gets three years". Times Colonist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
- ↑ Madsen & Strong 2009, p. 293.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 Clark, Freeman Clark & Adamec 2007, p. 68
- ↑ 30.0 30.1 Jensen 2004, p. 41
- ↑ "Former sex worker's tale spurs rescue mission". Gulf Times. Gulf-Times.com. 2005-04-10. สืบค้นเมื่อ 2010-10-05.
“I spent seven years in hell,” says Raju, now 21, trying hard not to cry. Thapa Magar took him to Rani Haveli, a brothel in Mumbai that specialised in male sex workers and sold him for Nepali Rs 85,000. A Muslim man ran the flesh trade there in young boys and girls, most of them lured from Nepal. For two years, Raju was kept locked up, taught to dress as a girl and circumcised. Many of the other boys there were castrated. Beatings and starvation became a part of his life. “There were 40 to 50 boys in the place,” a gaunt, brooding Raju recalls. “Most of them were Nepalese.”
- ↑ Flowers 1998, p. 123.
- ↑ Flowers 1998, p. 124.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 "Child Prostitution". Humanium. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
- ↑ Du Mont & McGregor, 2004: Edinburgh; Saewye, Thao, & Levitt, 2006; Farley et al., 2003; Hoot et al., 2006; Izugbara, 2005; Nixon et al., 2002; Potter, Martin, & Romans,1999; Pyett & Warr, 1977
- ↑ "FBI — Operation Cross Country II". FBI. 2008-10. สืบค้นเมื่อ 2013-07-30.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Rodriguez 2011, p. 189.
- ↑ "Special Rapporteur on the sale of children, child prostitution and child pornography". United Nations Human Rights. สืบค้นเมื่อ 2013-09-26.
- ↑ Jaffe & Rosen 1997, p. 9
- ↑ Chan 2004, p. 66.
- ↑ O'Connor et al. 2007, p. 264.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 42.3 42.4 "พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
- ↑ C.G. Niebank (2011-09-07). "Human network". Oklahoma Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-05.
- ↑ Jaffe & Rosen 1997, p. 10-11.
- ↑ "Link to High Beam Research Site". Highbeam.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-04. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
- ↑ "2008 Human Rights Report: Bangladesh". United States Department of State. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ "Highway of hell: Brazil's child prostitution scandal". news.com.au. 2013-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-26. สืบค้นเมื่อ 2013-11-26.
- ↑ Bramham, Daphne (2012-03-23). "In Cambodia, there's a price on childhood". Vancouver Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-28. สืบค้นเมื่อ 2013-11-30.
- ↑ "Child Prostitution". Children of Cambodia. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ "Bureau of International Labor Affairs - Chile". Department of Labor. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ "Soaring child prostitution in Colombia". BBC Online. 2001-01-27. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ "Worst Forms of Child Labour Data - Dominican Republic". International Labour Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 2013-10-11.
- ↑ "Report". United States Department of State. 2006-03-08. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
- ↑ "Worst Forms of Child Labour Data - Estonia". International Labour Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 2013-10-11.
- ↑ "Worst Forms of Child Labour Data - Greece". International Labour Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ 2013-10-12.
- ↑ "Worst Forms of Child Labour Data - Hungary". International Labour Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 2013-10-11.
- ↑ "Official: More than 1M child prostitutes in India". CNN. 2009-05-11. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ "Indonesia". United States Department of Labor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ "Indonesia". HumanTrafficking.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-16. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ 60.0 60.1 Lim 1998, p. 7.
- ↑ "16,000 Victims of Child Sexual Exploitation". Inter Press Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
- ↑ ECPAT (2005-04-21). "Under Age Prostitution" (Press release). Scoop. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
- ↑ 63.0 63.1 "Child prostitution becomes global problem, with Russia no exception". Pravda. Pravda.Ru. 2006-11-10. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ "Factsheet: Child Trafficking in the Philippines" (PDF). UNICEF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-01-24. สืบค้นเมื่อ 2013-11-30.
- ↑ "40,000 child prostitutes in Sri Lanka, says Child Rights Group". TamilNet. 2006-12-06. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ Regehr, Roberts & Wolbert Burgess 2012, p. 230.
- ↑ "100,000 Children Are Forced Into Prostitution Each Year". ThinkPorgress Blog. 2013-07-09.
- ↑ "Worst Forms of Child Labour Data - Zambia". International Labour Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 2013-10-11.
- ↑ "ECPAT International, A Step Forward". Gvnet.com. 1999.
- ↑ 1 Codigo Penal y Leyes Complementarias, art. 125 bis (6th ed.). Buenos Aires: Editorial Astrea. 2007.
- ↑ "Children\'s Rights: Argentina | Law Library of Congress". Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
- ↑ Panter-Brick & Smith 2000, p. 182.
- ↑ "The worst forms of child labour". International Labour Organization. สืบค้นเมื่อ 2013-09-26.
- ↑ Cowan & Wilson 2001, p. 86.
- ↑ Kendall & Funk 2012, p. 9.
- ↑ 76.0 76.1 Sher 2011, p. 35.
- ↑ 77.0 77.1 77.2 77.3 Matthews 2008, p. 17.
- ↑ Sher 2011, p. 35-36.
- ↑ Matthews 2008, p. 15.
- ↑ 80.0 80.1 Rodriguez 2011, p. 190.
- ↑ 81.0 81.1 Dewey & Kelly 2011, p. 148.
- ↑ "Combating Human Trafficking and Modern-day Slavery". Polaris Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
- ↑ "National Human Trafficking Resource Center | Polaris Project | Combating Human Trafficking and Modern-day Slavery". Polaris Project. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
- ↑ Clark, Freeman Clark & Adamec 2007, p. 68-69
- ↑ 85.0 85.1 85.2 Flowers 1994, p. 81.
- ↑ Institute of Social Sciences (New Delhi, India) & National Human Rights Commission 2005, p. 504.
- ↑ 87.0 87.1 Penn 2003, p. 49.
- ↑ Cossins 2000, p. 7.
- ↑ Clark, Freeman Clark & Adamec 2007, p. 69
- ↑ Hogenboom, Melissa (2013-11-01). "Child prostitutes: How the age of consent was raised to 16". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2013-11-30.
- ↑ Fine & Ellis 2011, pp. 83–85.
อ้างอิง
- Bagley, Christopher; King, Kathleen (2004). Child Sexual Abuse: The Search for Healing. Routledge. ISBN 0203392590.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Brown, Louise (2001). Sex Slaves: The Trafficking of Women in Asia. Virago Press. ISBN 1860499031.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Chan, Jennifer (2004). Gender and Human Rights Politics in Japan: Global Norms and Domestic Networks. Stanford University Press. ISBN 080475022X.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Clark, Robin; Freeman Clark, Judith; Adamec, Christine A. (2007). The Encyclopedia of Child Abuse. Infobase Publishing. ISBN 0788146068.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Cossins, Anne (2000). Masculinities, Sexualities and Child Sexual Abuse. Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 904111355X.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Cowan, Jane K.; Wilson, Richard J. (2001). Culture and Rights: Anthropological Perspectives. Cambridge University Press. ISBN 0521797357.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - De Chesnay, Mary (2013). Sex Trafficking: A Clinical Guide for Nurses. Springer Publishing Company. ISBN 0826171168.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Dewey, Susan; Kelly, Patty (2011). Policing Pleasure: Sex Work, Policy, and the State in Global Perspective. Cambridge University Press. ISBN 0521797357.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Fine, Gary Alan; Ellis, Bill (2011). The Global Grapevine: Why Rumors of Terrorism, Immigration, and Trade Matter. NYU Press. ISBN 0814785115.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Flowers, Ronald (1998). The Prostitution of Women and Girls. McFarland Publishing. ISBN 0786404906.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Flowers, Ronald (1994). The Victimization and Exploitation of Women and Children: A Study of Physical, Mental and Sexual Maltreatment in the United States. McFarland Publishing. ISBN 0899509789.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Institute of Social Sciences (New Delhi, India); National Human Rights Commission (2005). Trafficking in Women and Children in India. Orient Blackswan. ISBN 8125028455.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Jaffe, Maureen; Rosen, Sonia (1997). Forced Labor: The Prostitution of Children: Symposium Proceedings. Diane Publishing. ISBN 0788146068.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Jensen, Derrick (2004). The Culture of Make Believe. Chelsea Green Publishing. ISBN 1603581839.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Kendall, Virginia M.; Funk, Markus T. (2012). Child Exploitation and Trafficking: Examining the Global Challenges and U.S Responses. Rowman & Littlefield. ISBN 1442209801.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Lim, Lin Lean (1998). The Sex Sector: The Economic and Social Bases of Prostitution in Southeast Asia. International Labour Organization. ISBN 9221095223.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Madsen, Richard; Strong, Tracy B. (2009). The Many and the One: Religious and Secular Perspectives on Ethical Pluralism in the Modern World. Princeton University Press. ISBN 1400825598.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Matthews, Roger (2008). Prostitution, Politics & Policy. Routledge. ISBN 0203930878.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Narayan, O.P. (2005). Harnessing Child Development: Children and the culture of human. Gyan Publishing House. ISBN 8182053005.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - O'Connor, Vivienne M.; Rausch, Colette; Klemenčič, Goran; Albrecht, Hans-Jörg (2007). Model Codes for Post-conflict Criminal Justice: Model criminal code. US Institute of Peace Press. ISBN 1601270127.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Panter-Brick, Catherine; Smith, Malcolm T. (2000). Abandoned Children. Cambridge University Press. ISBN 0521775558.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Penn, Michael L. (2003). Overcoming Violence Against Women and Girls: The International Campaign to Eradicate a Worldwide Problem. Rowman & Littlefield. ISBN 0742525007.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Regehr, Cheryl; Roberts, Albert R.; Wolbert Burgess, Ann (2012). Victimology: Theories and Applications. Jones & Bartlett Publishers. ISBN 1449665330.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Rodriguez, Junius P. (2011). Slavery in the Modern World: A History of Political, Social, and Economic Oppression. ABC-CLIO. ISBN 1851097880.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Sher, Julian (2011). Somebody's Daughter: The Hidden Story of America's Prostituted Children and the Battle to Save Them. Chicago Review Press. ISBN 1569768331.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Whetsell-Mitchell, Juliann (1995). Rape of the Innocent: Understanding and Preventing Child Sexual Abuse. Taylor and Francis. ISBN 1560323949.
{cite book}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help)