กรีซโบราณ

ประวัติศาสตร์กรีซ
Coat of Arms of Greece
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ
ประเทศกรีซ

กรีซยุคสำริด
อารยธรรมเฮลลาดิค
อารยธรรมซิคละดีส
อารยธรรมไมนอส
อารยธรรมไมซีนี
กรีซโบราณ
กรีซยุคมืด
กรีซยุคอาร์เคอิก
กรีซยุคคลาสสิก
กรีซยุคเฮลเลนิสติก
กรีซยุคโรมัน
กรีซยุคกลาง
กรีซยุคไบแซนไทน์
กรีซยุคฟรังโคคราเชีย
กรีซยุคออตโตมัน
กรีซยุคใหม่
สงครามประกาศเอกราชกรีซ
ราชอาณาจักรกรีซ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
คณะการปกครอง 4 สิงหาคม
กรีซยุคยึดครองโดยอักษะ
สงครามกลางเมืองกรีซ
กรีซยุคปกครองโดยทหาร ค.ศ. 1967-1974
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ
ศิลปะกรีก · รัฐธรรมนูญ · เศรษฐกิจ · การทหาร · ชื่อ

สถานีย่อยกรีซ
ซากปรักหักพังของวิหารที่ เดลฟี ตามที่ปรากฏใน ค.ศ. 1938

กรีซโบราณ (อังกฤษ: Ancient Greece) เป็นอารยธรรมที่ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดำรงอยู่ตั้งแต่ยุคมืดของกรีซในช่วงศตวรรษที่ 12-9 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงปลายยุคคลาสสิก (ประมาณ ค.ศ. 600) ประกอบด้วยกลุ่มนครรัฐและดินแดนอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันทางวัฒนธรรมและภาษาศาสตร์ ภูมิภาคเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รวมเป็นหนึ่งอย่างเป็นทางการเพียงครั้งเดียวเป็นเวลา 13 ปีภายใต้การปกครองของอเล็กซานเดอร์มหาราชตั้งแต่ 336 ถึง 323 ปีก่อนคริสตกาล (กล่าวคือ ไม่รวมนครรัฐกรีกจำนวนหนึ่งที่เป็นอิสระจากเขตอำนาจของอเล็กซานเดอร์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก รอบทะเลดำ ไซปรัส และไซเรไนกา) ทั้งนี้ ในประวัติศาสตร์ตะวันตก ยุคกรีซโบราณจะตามมาด้วยยุคกลางตอนต้นและยุคไบแซนไทน์

ประมาณ 300 ปีหลังการล่มสลายปลายยุคสัมฤทธิ์ของอารยธรรมกรีซแบบไมซีนี เมืองในลักษณะโพลิส (poleis) ของกรีกได้เริ่มก่อตัวขึ้นในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช นำไปสู่ยุคอาร์เคอิกและการล่าอาณานิคมรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากนั้นตามมาด้วยยุคคลาสสิก ตั้งแต่สงครามกรีก-เปอร์เซีย จนถึงศตวรรษที่ 5 ถึง 4 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งรวมถึงยุคทองของเอเธนส์ด้วย การพิชิตของอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซีโดเนียได้แพร่กระจายอารยธรรมแบบเฮลเลนิสต์จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกไปจนถึงภูมิภาคเอเชียกลาง ก่อนที่จะสิ้นสุดลงด้วยการพิชิตภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกของสาธารณรัฐโรมัน และการผนวกมณฑลมาซิโดเนียและอาเคียในสมัยจักรวรรดิโรมัน

วัฒนธรรมกรีกคลาสสิก โดยเฉพาะปรัชญา มีอิทธิพลอย่างมากต่อโรมโบราณ ตลอดจนทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและส่วนใหญ่ของยุโรป ด้วยเหตุผลนี้ จึงถือเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกโดยทั่วไป และเป็นวัฒนธรรมต้นทางที่ชาวตะวันตกสมัยใหม่ได้รับต้นแบบและเป็นรากฐานในการเมือง ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศิลปะ[1][2][3]

กรีซโบราณ' เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต์


ประวัติศาสตร์

ความเสื่อมโทรมของสปาต้า

ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริตศักราช ชาวกรีกมีความสามารถที่จะเรียนรู้การเขียนและอ่านหนังสือ พวกเขาเรียนตัวอักษรมาจาก อีกกลุ่มบุคคลหนึ่งคือพวกโปรนีเซียน ตอนแรกชาวกรีกยังไม่เป็นประเทศแต่เป็นเพียงแค่ นครรัฐ จำนวนชาวกรีกเพิ่มจำนวนขึ้นและจนวันหนึ่งอาหารทีมีไม่เพียงพอแก่ทุกคน เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ทางรัฐจึงส่งคนออกไปหาเริ่มต้นเมืองแห่งใหม่ เนื่องด้วยพื้นที่ภูมิประเทศขรุขระและมีลมพายุ ด้วยเหตุผลนี้การสร้างเมืองใหม่จึงอยู่ตามแถบชายฝั่ง เมืองแรกที่ตั้งเริ่มในเขต อนาโตเลีย หลังจากนั้นก็แถวทะเลดำ ไซปรัส ทางตอนใต้ของอิตาลี และในซิซิลี ซึ่งในปัจจุบันคือ ลิเบีย และ แอลบาเนีย และเริ่มตั้งเมืองใน นูคราตีส ในแม่น้ำไนล์ ในอิยิปต์ ซึ่งในปัจจุบันคือเมือง เซราคิวส์, เนเปิ้ล, มาไซเลสและ อิสตันบูล ในศตวรรษที่ 6 บางเมืองมีความสำคัญมากเช่น คอริส, ธีบส์ (กรีซ), สปาร์ต้า, และ เอเธนส์ที่เรารู้จักกันดี

ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ากรีกโบราณนั้นมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดอยู่ตำแหน่งใด โดยทั่วไปแล้วจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์กรีกก่อนหน้าจักรวรรดิโรมัน แต่นักประวัติศาสตร์ต้องการความแม่นยำมากกว่า ผู้เขียนบางคนรวมยุคของอารยธรรมไมนวน และไมซีนีเข้าไปด้วย (ตั้งแต่ประมาณ 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง 1100 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในขณะที่บางคนแย้งว่าอารยธรรมเหล่านั้นมีความแตกต่างกับอารยธรรมกรีกในยุคต่อมามากจึงควรมีการแบ่งแยกออกจากกัน

โดยทั่วไปแล้วจะกล่าวถึงกรีกยุคโบราณตั้งแต่การล่มสลายของไมซีนีจนกระทั่งถึงการพิชิตของโรมัน ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่

  • ช่วงเรขาคณิต 1100 - 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • ช่วงอาร์ไคกา 800 - 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • ช่วงคลาสสิก 500 - 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • ช่วงเฮเลนนิส 323 - 146 ปีก่อนคริสต์ศักราช

การปกครอง

ในยุคแรก ๆ แต่ละตระกูลจะส่งผู้เฒ่า เป็นตัวแทนเข้าไปหารือกัน เป็นรากฐานของประชาธิปไตย และต่อมามีการเลือกตั้งพระราชาเป็นผู้ปกครอง ต่อมาในยุคสปาร์ตาได้เริ่มมีการวางกฎระเบียบ โดย ลิเคอร์คุส ซึ่งถือเป็นกฎหมายมีสามส่วน คือ

  1. การอบรมเด็ก
  2. ฐานะพลเมือง
  3. ระเบียบการปกครอง

ในยุคสมัยของโซลอน ได้แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 5 ส่วน[4] คือ

  1. อาร์คอนส์ (Archons)
  2. สภาเซเนต
  3. ที่ประชุมราษฏร
  4. ศาลสูง
  5. ศาลต่ำ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Maura Ellyn; Maura McGinnis (2004). Greece: A Primary Source Cultural Guide. The Rosen Publishing Group. p. 8. ISBN 978-0-8239-3999-2.
  2. John E. Findling; Kimberly D. Pelle (2004). Encyclopedia of the Modern Olympic Movement. Greenwood Publishing Group. p. 23. ISBN 978-0-313-32278-5.
  3. Wayne C. Thompson; Mark H. Mullin (1983). Western Europe, 1983. Stryker-Post Publications. p. 337. ISBN 9780943448114. for ancient Greece was the cradle of Western culture ...
  4. หลวงวิจิตรวาทการ,การปกครองสมัยโบราณ หนังสือพิมพ์แจกงานศพนายอินทร์ วัฒนปฤดา 5 มีนาคม 2475