ชาร์เลอมาญ

ชาร์เลอมาญ
จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน
ชาร์เลอมาญที่มีตราเหยี่ยวดำและตราดอกลิลลีเหนือพระเศียร (ภาพโดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์)
จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิการอแล็งเฌียง
ครองราชย์25 ธันวาคม 800 – 28 มกราคม 814
ราชาภิเษก25 ธันวาคม 800
มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม กรุงโรม
ถัดไปหลุยส์ผู้ศรัทธา
พระมหากษัตริย์แห่งชาวลอมบาร์ด
ครองราชย์10 กรกฎาคม 774 – 28 มกราคม 814
ราชาภิเษก10 กรกฎาคม 774
ก่อนหน้าDesiderius
ถัดไปพระเจ้าเบอร์นาร์ด
พระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์
ครองราชย์9 ตุลาคม 768 – 28 มกราคม 814
ราชาภิเษก9 ตุลาคม 768
นัวอียง
ก่อนหน้าพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย
ถัดไปหลุยส์ผู้ศรัทธา
พระราชสมภพ2 เมษายน ค.ศ. 747[1]
อาเคิน หรือ ลีแยฌ (แอร์สตาล)
สวรรคต28 มกราคม ค.ศ. 814 (66 พรรษา)
อาเคิน ราชอาณาจักรแฟรงก์
ฝังพระศพอาสนวิหารอาเคิน
พระราชบุตร
ราชวงศ์การอแล็งเฌียง
พระราชบิดาพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย
พระราชมารดาเบรทราดแห่งล็อง
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าชาร์เลอมาญ (อังกฤษ: Charlemagne; ภาษาฝรั่งเศส: [ʃaʁləmaɲ]) หรือ "มหาราชชาร์ล"[a] นามในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (เยอรมัน: Karl der Große; ละติน: Carolus Magnus; 2 สิงหาคม ค.ศ. 748 – 28 มกราคม ค.ศ. 814) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ตั้งแต่ ค.ศ. 768 จนถึงวันสวรรคต เป็นผู้ทำให้ราชอาณาจักรแฟรงก์รวมเป็นหนึ่งเดียวและเรืองอำนาจ กองทัพของชาวแฟรงก์ได้ช่วยคุ้มครองพระสันตปาปาและกรุงโรมจากการรุกรานของประเทศลอมบาร์เดีย ทำให้ศาสนจักรโรมันคาทอลิกกลายเป็นผู้สนับสนุนราชวงศ์การอแล็งเฌียง พระองค์เข้ารับพิธีราชาภิเษกจากสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ในกรุงโรมให้เป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน เนื่องจากมีจักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์ แห่งราชวงศ์อิซอเรียน เป็นจักรพรรดินีแห่งโรมัน และเป็นสตรีคนแรกที่ปกครองจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่คอนสแตนติโนเปิล โดยที่พระสันตปาปาไม่ยอมรับนาง ชาร์เลอมาญจึงเป็นจักรพรรดิองค์แรก ในนาม "จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" ถือเป็นจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุโรปในสมัยกลาง

ชาร์เลอมาญได้รับการขนานพระนามว่าเป็น "พระบิดาแห่งยุโรป"[2] จากการที่ทรงรวมรวมดินแดนยุโรปตะวันตกเป็นปึกแผ่นครั้งแรกนับตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน ชาร์เลอมาญทรงเป็นผู้ริเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งเป็นยุคแห่งความเจริญทางวัฒนธรรมและปัญญาของศาสนจักรตะวันตก จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ในกาลต่อมาต่างอ้างว่าอาณาจักรของพวกเขาเป็นอาณาจักรที่สืบทอดมาจากจักรวรรดิของชาร์เลอมาญ แม้บทเพลงแห่งโรลองด์ (ฝรั่งเศส: La Chanson de Roland) วรรณกรรมภาษาฝรั่งเศสที่เก่าแก่ที่สุด ก็แต่งขึ้นโดยอ้างถึงสงครามขับไล่อาณาจักรมุสลิมของกองทัพของพระองค์

ชาร์เลอมาญเสด็จสวรรคตในค.ศ. 814 หลังจากเป็นจักรพรรดิได้ 13 ปี พระศพถูกฝังไว้ที่อาสนวิหารอาเคิน นครหลวงในขณะนั้น ทรงอภิเษกสมรสอย่างน้อยสี่ครั้งและมีพระโอรสตามกฎหมายอยู่สามองค์

พระประวัติ

ชาร์เลอมาญรับการสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปาให้เป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน

ชาร์เลอมาญเป็นพระโอรสของพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยแห่งราชวงศ์การอแล็งเฌียง ทรงร่วมตามเสด็จในกองทัพของพระบิดาในการสู้รบในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งทำให้ราชอาณาจักรแฟรงก์แผ่ไพศาลไปอย่างกว้างไกล

ชาร์เลอมาญขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ใน ค.ศ. 768 หลังจากนั้นทรงประกอบพระกรณียกิจตามธรรมเนียมผู้นำนักรบของชาวแฟรงก์ด้วยการขยายอำนาจของอาณาจักร เริ่มด้วยการผูกมิตรกับชาวลอมบาร์ดทางตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการอภิเษกกับธิดากษัตริย์แห่งชาวลอมบาร์ด ซึ่งจะทำให้พระองค์มีสิทธิเหนืออาณาเขตของพวกลอมบาร์ดด้วย แต่ต่อมาก็เกิดความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับพวกลอมบาร์ด พระมเหสีถูกขับออกจากราชอาณาจักรแฟรงก์ พวกลอมบาร์ดยังพยายามยึดกรุงโรมและควบคุมพระสันตะปาปา ชาร์เลอมาญจึงส่งกองทัพไปช่วยพระสันตะปาปาและมีชัยชนะเหนือพวกลอมบาร์ด ราชอาณาจักรแฟรงก์จึงทำหน้าที่คุ้มครองศาสนจักรที่กรุงโรมนับแต่นั้น และพระสันตะปาปาก็ให้การรับรองชาร์เลอมาญในฐานะ "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" ในพิธีราชาภิเษกโดย สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ที่มหาวิหารนักบุญเปโตรในกรุงโรม ในปี ค.ศ. 800 ซึ่งหมายถึงการยอมรับว่าชาร์เลอมาญมีฐานะเทียบเท่าจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันในสมัยโบราณและเป็นประมุขเหนือดินแดนอิตาลี ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญยังทรงขยายดินแดนไปทางตะวันตกเฉียงใต้และสเปนต่อเนื่องจากสมัยพระบิดาและยึดครองเยอรมันใต้ (รัฐบาวาเรียในปัจจุบัน)

การปกครอง

จักรพรรดิชาร์เลอมาญทรงเริ่มสร้างความมั่นคงและทำให้อาณาจักรแฟรงก์กลายเป็นอาณาจักรที่เป็นเอกภาพมากขึ้นกว่ายุคก่อน ทรงตั้งราชสำนักที่เมืองแอกซ์ลาชาแปล เริ่มการสร้างพระราชวังและอาสนวิหารอาเคิน ที่เมืองอาเคิน ในประเทศเยอรมนีปัจจุบัน เป็นสัญลักษณ์ของการอุปถัมภ์ของอาณาจักรและศาสนจักรนับแต่นั้น โบสถ์วิหารได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากกรุงโรม เรียกกันว่าสถาปัตยกรรมแบบโรมาแนสก์ (Romanesque) ชาร์เลอมาญทรงส่งเสริมการศึกษาด้วยการสร้างโรงเรียนหลวง นำพระจากวาติกันมาสอนวิทยาการต่าง ๆ ทำให้ฝรั่งเศสเริ่มก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการศึกษาและอารยธรรมของยุโรปในเวลาต่อมา ชาร์เลอมาญทรงพยายามขยายพระราชอำนาจของราชสำนักไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาณาจักรผ่านการส่งข้าหลวง และการเก็บภาษี แต่เมื่อทรงสวรรคต ราชสำนักก็ไม่อาจควบคุมพื้นที่ส่วนต่าง ๆได้อย่างเต็มที่นัก กลายเป็นปัญหาสำคัญต่อการสร้างอาณาจักรที่เป็นเอกภาพในสมัยกลางหลังสวรรคต อาณาจักรของพระองค์แบ่งแยกให้แก่พระโอรส 3 พระองค์ บางส่วนอยู่ในดินแดนเยอรมนีปัจจุบัน

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. Ansegisel
 
 
 
 
 
 
 
8. แปแป็งแห่งแอร์สตัล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. Begga
 
 
 
 
 
 
 
4. ชาร์ล มาร์แตล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9. Alpaida
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10. ? Lambert, Count of Hesbaye
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. โอทรุยด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. ? Chrotlind
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. ชาร์เลอมาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. ชารีแบร์แห่งเลออน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
13. Bertrada of Prüm
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. แบร์ทาร์ดแห่งเลออน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

หมายเหตุ

  1. ใน ภาษาแฟรงก์โบราณ: Keril, Karil หรือ Karal มีศัพท์มาจากคำว่า Karl ภาษาเยอรมัน และ Karel ในภาษาดัตช์

อ้างอิง

  1. Karl Ferdinand Werner: Das Geburtsdatum Karls des Großen, in: Francia 1, 1973, pp. 115–157 (online เก็บถาวร 17 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน);
    Matthias Becher: Neue Überlegungen zum Geburtsdatum Karls des Großen, in: Francia 19/1, 1992, pp. 37-60 (online เก็บถาวร 17 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน);
    McKitterick 2008, p. 72
  2. Papst Johannes Paul II (2004). "Ansprache von seiner Heiligkeit Papst Johannes Paul II" (ภาษาเยอรมัน). Internationaler Karlspreis zu Aachen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 2017-02-03.
  • Microsoft Encarta Encyclopedia Standard 2003.