ชาวกะเหรี่ยง
ธงสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงมักใช้แทนชาวกะเหรี่ยง | |
เด็กหญิงชาวกะเหรี่ยงในชุดพื้นเมือง | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
พม่า | 3,604,000[1] |
ไทย | 350,000[2] |
สหรัฐ | 215,000[3] |
ออสเตรเลีย | 11,000[4] |
แคนาดา | 6,050[5] |
อินเดีย (หมู่เกาะอันดามัน) | 2,500[6] |
สวีเดน | 1,500 |
ภาษา | |
ภาษากะเหรี่ยง, ภาษาพม่า, ภาษาไทย | |
ศาสนา | |
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท, ศาสนาคริสต์ และนับถือผี |
กะเหรี่ยง (กะเหรี่ยงสะกอ: ကညီကလုာ်, ออกเสียง: [kɲɔklɯ]; กะเหรี่ยงโปตะวันตก: ၦဖျိၩ့ဆၨၩ; กะเหรี่ยงโปตะวันออก: ပ်ုဖၠုံဆိုဒ်; พม่า: ကရင်လူမျိုး, ออกเสียง: [kəjɪ̀ɰ̃ lù mjó]) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต อาศัยอยู่มากในรัฐกะเหรี่ยงทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศพม่า มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 7 ของประชากรประเทศพม่าทั้งหมด[7] ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากอพยพมายังประเทศไทย โดยส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานบริเวณชายแดนพม่า–ไทย ชาวกะเหรี่ยงจำนวนหนึ่งตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย และประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
ส่วนใหญ่มักสับสนชาวกะเหรี่ยงกับชาวกะยันซึ่งรู้จักกันดีจาการสวมห่วงคอในผู้หญิง ซึ่งพวกเขาเป็นกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงแดง (กะยีนนี) หนึ่งในชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในรัฐกะยาของประเทศพม่า
ชาวกะเหรี่ยงนำโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ได้เข้าร่วมสงครามต่อต้านทหารพม่าตั้งแต่ต้นปี 1949 จุดมุ่งหมายเดิมของเคเอ็นยูคือสถาปนาดินแดนกะเหรี่ยงอิสระที่มีชื่อว่า กอซูเล ทว่านับตั้งแต่ปี 1976 กลุ่มติดอาวุธได้เรียกร้องรัฐบาลกลางในการปกครองตนเองมากกว่าการที่จะแยกเป็นอิสระ กระนั้น ทางเคเอ็นยูยังปฏิเสธคำเชิญให้พูดคุยกับรัฐบาลพม่า[8]
ต้นกำเนิด
ชาวกะเหรี่ยง สื่อถึงกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่ไม่ได้มีภาษา วัฒนธรรม ศาสนา หรือลักษณะเฉพาะตัวร่วมกัน[9] อัตลักษณ์รวมชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาวกะเหรี่ยงบางส่วนที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ และก่อร่างจากนโยบายและแนวปฏิบัติของอาณานิคมอังกฤษ[10][11]
"Karen" เป็นรูปแผลงอังกฤษจากศัพท์ภาษาพม่าว่า Kayin (ကရင်) ที่ต้นกำเนิดของคำศัพท์ยังไม่ชัดเจน[9] คำนี้อาจเคยเป็นคำเหยียดที่ใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่นับถือศาสนาพุทธ หรืออาจมาจากคำว่า Kanyan ซึ่งเป็นชื่อที่อาจมาจากภาษามอญที่แปลว่า อารยธรรมสาบสูญ[9]
จำนวน
ชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากเป็นอันดับ 3 ในประเทศพม่า เป็นรองเพียงชาวพม่าและไทใหญ่[12] ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนเนินในภูมิภาคภูเขาทางตะวันออกและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีของประเทศพม่า[13] โดยหลักอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง และมีบางส่วนอยู่ในรัฐกะยา, รัฐชานตอนใต้, ภาคอิรวดี, ภาคตะนาวศรี, ภาคพะโค และภาคเหนือ[14]กับตะวันตกของประเทศไทย
จำนวนประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดประมาณการยาก โดยสำมะโนพม่าสุดท้ายที่น่าเชื่อถือจัดทำขึ้นใน ค.ศ. 1931[15]
ชาวกะเหรี่ยงส่วนหนึ่งเดินทางออกจากค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเพื่อเดินทางไปยังที่อื่น เช่น ทวีปอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสแกนดิเนเวีย ใน ค.ศ. 2011 ประชากรกะเหรี่ยงพลัดถิ่นประมาณการว่ามีประมาณ 67,000 คน[16]
ในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน 69,353 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของจำนวนประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด ของภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, เชียงราย, เชียงใหม่, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ราชบุรี, ลำปาง, ลำพูน, สุโขทัย, สุพรรณบุรี และอุทัยธานี
คำว่า กะเหรี่ยง สันนิษฐานว่า มาจากภาษามอญ ကရေၚ် กะเรียง ที่ใช้เรียก ชาวปกาเกอะญอ (ส่วนมากเป็นกะเหรี่ยงพุทธ) อาจมีความเชื่อมโยงกับ ชื่อกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานที่มีอยู่ใน ธิเบต เนปาล ที่เรียกว่า กะยูปา หรือ ปากะญู ซึ่งมักแต่งกายด้วยชุดสีขาว และมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ซึ่งความเชื่อนี้อาจแพร่หลายเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อกว่าพันปีก่อน กะเหรี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่มย่อย และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ทั้งยังมีประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันด้วย กะเหรี่ยงในประเทศไทยมี มี 4 กลุ่มย่อยคือ
- สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
- โปวฺ เรียกตัวเองว่า โผล่วฺ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
- ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ถิ่นที่อยู่
แม้ว่าชาวกะเหรี่ยงจะได้ชื่อว่าเป็นชาวเขา แต่ก็ไม่ได้อาศัยอยู่บนที่สูงเสียทั้งหมด บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ในหมู่บ้านบางแห่งมีทั้งกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป แต่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ชาวกะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่นิยมย้ายถิ่นบ่อย ๆ และมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรดินและแหล่งน้ำเป็นอย่างดี และเป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำหรือต้นน้ำลำธาร
บ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงนิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้น มีชานบ้าน หรือไม่ก็ใช้เสาสูง แม้ว่าอยู่บนที่สูงก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ ที่นิยมสร้างบ้านชั้นเดียว พื้นติดดิน เช่น ชาวม้ง หรือชาวเมี่ยน เป็นต้น
ระบบครอบครัว
ระบบครอบครัวของกะเหรี่ยงเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว และไม่มีการอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานเป็นอันขาดการหย่าร้างมีน้อยมาก ขณะที่การแต่งงานใหม่ก็ไม่ค่อยปรากฏ ส่วนการเลือกคู่ครองนั้น ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เลือกชายก่อน และบางครั้งฝ่ายหญิงก็ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการแต่งงาน
สังคมกะเหรี่ยงเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อลูกแต่งงานก็จะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ ถ้าแต่งงานแล้ว ชายจะต้องมาอยู่กับบ้านพ่อแม่ภรรยาเป็นเวลา 1 ฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นจึงปลูกบ้านใกล้กับพ่อแม่ฝ่ายภรรยา
ถ้ามีลูกสาวคนเล็กจะต้องอยู่ดูแลพ่อกับแม่
ความเชื่อ
ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทที่ยังมีความเชื่อแบบวิญญาณนิยม ส่วนอีกร้อยละประมาณ 15–30 นับถือศาสนาคริสต์[17][18][19]
วิญญาณนิยม
ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด 37 ขวัญ[17] เมื่อคนตายไป ขวัญจะละทิ้งหรือหายไป[18] นอกจากนี้ยังเชื่อว่าขวัญจะหนีไปท่องเที่ยว และอาจถูกผีทำร้ายหรือกักขังไว้ ทำให้เจ้าของขวัญล้มป่วย การรักษาหรือช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยก็คือ ต้องล่อและเรียกขวัญให้กลับคืนมา
พุทธ
ชาวกะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาพุทธมีจำนวนประมาณร้อยละ 65 ของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมด[20] อิทธิพลศาสนาพุทธมาจากชาวมอญที่เคยเป็นใหญ่ในพม่าตอนล่างจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18
คริสต์
การเลี้ยงชีพ
ชาวกะเหรี่ยงใช้ชีวิตในชนบท มีชุมชนขนาดเล็ก และทำมาหากินในลักษณะเพื่อการยังชีพ อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นการเกษตรทั้งปลูกพืช ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์
เดิมชาวกะเหรี่ยงปลูกฝิ่นเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ แต่ปัจจุบันได้หันมาปลูกพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพืชเมืองหนาว โดยได้รับการสนับสนุนและให้ความรู้จากโครงการพัฒนาชนบทจากหลาย ๆ หน่วยงาน เช่น โครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนมีความผาสุก
กะเหรี่ยงได้ชื่อว่ารู้จักการใช้พื้นที่ทำกินแบบ "ไร่หมุนเวียน" นั่นคือ ทำครั้งหนึ่ง แล้วพักไว้ 3-7 ปี จึงกลับไปทำใหม่ วนเวียนไปโดยตลอด เพื่อป้องกันดินเสื่อมคุณภาพ และรักษาสมดุลของนิเวศป่าไม้ มิได้ทำไร่เลื่อนลอยอันเป็นการตัดไม้ทำลายป่าอย่างที่เคยเข้าใจกัน
กะเหรี่ยงยังนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร พูดว่า (เถาะ) ไก่ พูดว่า (ชอ) โดยเฉพาะสุกรและไก่และสุกร ที่เลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใกล้บ้าน เพื่อใช้ในพิธีกรรม และบางชุมชนยังนิยมเลี้ยงช้าง พูดว่า (เกอะชอ) ในอดีตเคยมีการใช้ช้างเพื่อทำนา และชักลากไม้ แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก และใช้เพียงเพื่อบริการนักท่องเที่ยว มากกว่าการใช้งานแบบอื่น
ชื่อที่ตั้งให้
ตุ๊กแกสายพันธุ์ Hemidactylus karenorum ถูกตั้งชื่อเพื่อยกย่องชาวกะเหรี่ยง[21]
ดูเพิ่ม
- กะเหรี่ยงเคเอ็นยู หรือ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง
อ้างอิง
- ↑ "Largest Ethnic Groups In Myanmar". Worldatlas.com. Reunion Technology. 18 July 2019.
- ↑ International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 October 2016. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
- ↑ "Jobs and housing lure karen refugees to spread across minnesota". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
- ↑ "Burmese Community Profile" (PDF). dss.gov.au. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2017.
- ↑ "Profile table, Census Profile, 2021 Census of Population – Canada". Statistics Canada. Government of Canada. 9 February 2022.
- ↑ Maiti, Sameera. "The Karen – A Lesser Known Community of the Andaman Islands (India)". Man in India. CiteSeerX 10.1.1.517.7093.
- ↑ Radnofsky, Louise (14 February 2008). "Burmese rebel leader shot dead". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2013. สืบค้นเมื่อ 8 March 2008.
- ↑ "The Karen National Union in Post-Coup Myanmar • Stimson Center". Stimson Center (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-04-07. สืบค้นเมื่อ 2022-07-26.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Cheesman, Nick (2 September 2002). "Seeing 'Karen' in the Union of Myanmar". Asian Ethnicity. Carfax Publishing. 3 (2): 199–220. doi:10.1080/14631360220132736. S2CID 145727605.
- ↑ Guo, Rongxing; Carla Freeman (2010). Managing Fragile Regions: Method and Application. Springer. p. 19. ISBN 978-1-4419-6435-9.
- ↑ Keyes, Charles F. (March 2004). Living at The Edge of Thai Society: The Karen in The Highlands of Northern Thailand. Routledge. pp. 210–212. ISBN 978-1-134-35907-3.
- ↑ "Kayin". Myanmar.com. May 2006. สืบค้นเมื่อ 28 February 2011.
- ↑ This area is generally referred to as the Karen Hills in colonial literature, especially natural history texts such as Evans (1932).
- ↑ Yumnam, Jiten (11 November 2018). "The Karen people's pursuit for survival in Northern Thailand". E-Pao. สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
- ↑ Ethnicity without Meaning, Data without Context- The 2014 Census: Identity and Citizenship in Burma/Myanmar 24 February 2014 www.tni.org, accessed 7 January 2020
- ↑ Thawnghmung, Ardeth Maung (22 June 2013). The "Other" Karen in Myanmar: Ethnic Minorities and the Struggle without Arms. Lanham: Lexington Books. p. 84. ISBN 978-0739184523.
- ↑ 17.0 17.1 "The Karen People". Karen Culture and Social Support Foundation. 20 December 2015. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.
- ↑ 18.0 18.1 Keenan, Paul. "Faith at a Crossroads; Religions and Beliefs of the Karen People of Burma" (PDF). Karen Heritage. 1 (1).
- ↑ "Karen". Minority Rights Group. 19 June 2015.
- ↑ Hayami, Yoko (2011). "Pagodas and Prophets: Contesting Sacred Space and Power among Buddhist Karen in Karen State" (PDF). The Journal of Asian Studies. 70 (4): 1083–1105. doi:10.1017/S0021911811001574. hdl:2433/152402. JSTOR 41349984. S2CID 52888240.
- ↑ Beolens, Bo; Watkins, Michael; Grayson, Michael (2011). The Eponym Dictionary of Reptiles. Baltimore: Johns Hopkins University Press. xiii + 296 pp. ISBN 978-1-4214-0135-5. ("Karen", p. 138).
อ่านเพิ่ม
- Marshall, Harry Ignatius (1997) [1922]. The Karen People of Burma. A Study in Anthropology and Ethnology. White Lotus.
- Anderson, Jon Lee (2004) [1992]. Guerrillas: Journeys in the Insurgent World. Penguin Books.
- Delang, Claudio O., บ.ก. (2003). Living at the Edge of Thai Society: The Karen in the Highlands of Northern Thailand. London: Routledge. ISBN 978-0-415-32331-4.
- Falla, Jonathan (1991). True Love and Bartholomew: Rebels of the Burmese Border. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-39019-4.
- Forbes, Andrew, and Henley, David, 'Chiang Mai's Hill Peoples' in: Ancient Chiang Mai Volume 3. Chiang Mai, Cognoscenti Books, 2012. ASIN: B006IN1RNW
- Gravers, Mikael (2007). Exploring Ethnic Diversity in Burma. Copenhagen: Nordic Institute of Asian Studies. ISBN 978-87-91114-96-0.
- Phan, Zoya (2009). Little Daughter: a Memoir of Survival in Burma and the West. Simon & Schuster. ISBN 978-1847374202.
- Craig, Charmaine (2017). Miss Burma. Grove Press. ISBN 978-0802126450.
- Scott, James C. (2009). The Art of Not Being Governed: An Anarchist History of Upland Southeast Asia. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-15228-9.
- Silverstein, Josef (1977). Burma: Military Rule and the Politics of Stagnation. Ithaca: Cornell University press. ISBN 978-0-8014-0911-0.
- Smith, Martin (1991). Burma - Insurgency and the Politics of Ethnicity. London and New Jersey: Zed Books. ISBN 978-0-86232-868-9.
- Thawngmung, Ardeth Maung (2012). The 'Other' Karen in Myanmar: Ethnic Minorities and the Struggle Without Arms. Lanham, UK: Lexington Books. ISBN 978-0-7391-6852-3.
- Ikeda, Kazuto (December 2012). "Two Versions of Buddhist Karen History of the Late British Colonial Period in Burma: Kayin Chronicle (1929) and Kuyin Great Chronicle (1931)". Southeast Asian Studies. Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University. 1 (3). hdl:2433/167312.
- OTA, Tsunezo (1959). ビルマにおける Karen 人の説話 [Folktales of the Karen in Burma]. 民族學研究 (Japanese Journal of Ethnology) (ภาษาJapanese). 日本民族学会 (Japanese Society of Ethnology). 23 (4). doi:10.14890/minkennewseries.23.4_315. ISSN 2424-0508.
{cite journal}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
- the Karen people of Burma by David Tharckabaw, Roland Watson (2003)
- San C. Po, Burma and the Karens (London 1928)
- Karenvoice.net, shares the information of Karen interacting in the world from the past, struggling in Burma in the present and transiting in the world again in the future
- Karens Around the World Unite.
- Karen Human Rights Group, a new website documenting the human rights situation of Karen villagers in rural Burma
- Kawthoolei meaning "a land without evil", is the Karen name of the land of Karen people. An independent and impartial media outlet aimed to provide contemporary information of all kinds — social, cultural, educational and political
- Adventist World Radio Karen เก็บถาวร 2011-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kwekalu literally "Karen Traditional Horn", the only online Karen language news outlet based in Mergui/Tavoy District of Kawthoolei
- Karen Women's Organization
- Karen Don Dance (YouTube)