ชิรากาวะ (จังหวัดฟูกูชิมะ)
ชิรากาวะ 白河市 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศาลาว่าการนครชิรากาวะ | |||||||||||||
![]() ที่ตั้งของชิรากาวะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูชิมะ | |||||||||||||
พิกัด: 37°07′34.7″N 140°12′39.3″E / 37.126306°N 140.210917°E | |||||||||||||
ประเทศ | ![]() | ||||||||||||
ภูมิภาค | โทโฮกุ | ||||||||||||
จังหวัด | ![]() | ||||||||||||
บันทึกครั้งแรก | ค.ศ. 315 | ||||||||||||
จัดตั้งเทศบาลเมือง | 1 เมษายน ค.ศ. 1889 | ||||||||||||
จัดตั้งเทศบาลนคร | 1 เมษายน ค.ศ. 1949 | ||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• ประเภท | เทศบาลนคร | ||||||||||||
• นายกเทศมนตรี | คาซูโอะ ซูซูกิ (鈴木 和夫; ตั้งแต่กรกฎาคม ค.ศ. 2007) | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 305.32 ตร.กม. (117.88 ตร.ไมล์) | ||||||||||||
ประชากร (1 เมษายน ค.ศ. 2024)[1] | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 56,711 คน | ||||||||||||
• ความหนาแน่น | 186 คน/ตร.กม. (480 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||||
โทรศัพท์ | 0248-22-1111 | ||||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 7-1 Hachimankōji, Shirakawa, Fukushima 961-0941 | ||||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 07205-2 | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||
|
ชิรากาวะ (ญี่ปุ่น: 白河市; โรมาจิ: Shirakawa-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2024 ชิรากาวะมีจำนวนประชากรประมาณ 56,711 คน[1] มีความหนาแน่นของประชากร 186 คนต่อตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 305.32 ตารางกิโลเมตร (117.88 ตารางไมล์)
ภูมิศาสตร์
ชิรากาวะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภูมิภาคนากาโดริ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ตอนกลาง (กลางระหว่างตะวันตกกับตะวันออก) ของจังหวัดฟูกูชิมะ ติดกับที่ราบสูงนาซุ และครอบคลุมไปถึงพื้นที่ต่ำแอ่งชิรากาวะ
- แม่น้ำ: แม่น้ำอาบูกูมะ
เทศบาลข้างเคียง
- จังหวัดฟูกูชิมะ
- หมู่บ้านนิชิโง
- หมู่บ้านอิซูมิซากิ
- หมู่บ้านนากาจิมะ
- เมืองยาบูกิ
- เมืองทานางูระ
- เมืองอิชิกาวะ
- เมืองอาซากาวะ
- หมู่บ้านเท็งเอ
- จังหวัดโทจิงิ
- เมืองนาซุ
ภูมิอากาศ
ชิรากาวะมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) โดยมีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวที่หนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในชิรากาวะอยู่ที่ 11.4 °C ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,377 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 25.0 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 0.3 °C[2]
ข้อมูลภูมิอากาศของชิรากาวะ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะสุดขั้ว 1940−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 17.1 (62.8) |
19.9 (67.8) |
23.5 (74.3) |
28.9 (84) |
32.9 (91.2) |
34.1 (93.4) |
36.0 (96.8) |
36.9 (98.4) |
33.5 (92.3) |
28.7 (83.7) |
22.7 (72.9) |
20.7 (69.3) |
36.9 (98.4) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 5.0 (41) |
6.0 (42.8) |
9.8 (49.6) |
15.9 (60.6) |
21.1 (70) |
24.0 (75.2) |
27.4 (81.3) |
28.7 (83.7) |
24.5 (76.1) |
18.9 (66) |
13.3 (55.9) |
7.8 (46) |
16.87 (62.36) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 0.6 (33.1) |
1.2 (34.2) |
4.5 (40.1) |
10.2 (50.4) |
15.5 (59.9) |
19.1 (66.4) |
22.8 (73) |
23.7 (74.7) |
19.8 (67.6) |
14.0 (57.2) |
8.1 (46.6) |
3.1 (37.6) |
11.88 (53.39) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -3.3 (26.1) |
-3.0 (26.6) |
-0.3 (31.5) |
4.7 (40.5) |
10.3 (50.5) |
15.0 (59) |
19.3 (66.7) |
20.2 (68.4) |
16.2 (61.2) |
9.9 (49.8) |
3.4 (38.1) |
-1.0 (30.2) |
7.62 (45.71) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -13.4 (7.9) |
-13.6 (7.5) |
-12.3 (9.9) |
-6.0 (21.2) |
-2.3 (27.9) |
5.1 (41.2) |
7.2 (45) |
11.1 (52) |
3.9 (39) |
-2.5 (27.5) |
-6.8 (19.8) |
-12.4 (9.7) |
−13.6 (7.5) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 44.1 (1.736) |
34.8 (1.37) |
78.9 (3.106) |
101.7 (4.004) |
122.6 (4.827) |
149.8 (5.898) |
233.2 (9.181) |
206.0 (8.11) |
211.4 (8.323) |
166.3 (6.547) |
66.3 (2.61) |
41.7 (1.642) |
1,456.7 (57.35) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 36 (14.2) |
25 (9.8) |
14 (5.5) |
2 (0.8) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
1 (0.4) |
12 (4.7) |
90 (35.4) |
ความชื้นร้อยละ | 67 | 64 | 63 | 64 | 69 | 78 | 83 | 82 | 82 | 78 | 74 | 70 | 72.8 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 5.3 | 4.9 | 8.5 | 8.8 | 10.6 | 13.0 | 15.5 | 12.9 | 12.4 | 9.4 | 6.3 | 5.6 | 113.2 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 1 cm) | 8.2 | 6.0 | 3.6 | 0.5 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0.2 | 3.2 | 21.7 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 151.4 | 156.1 | 179.9 | 182.8 | 182.0 | 130.5 | 120.9 | 142.1 | 119.3 | 134.0 | 145.7 | 146.8 | 1,790.7 |
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[3][4] |
สถิติประชากร
จากข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[5] จำนวนประชากรของชิรากาวะถึงจุดสูงสุดประมาณ ค.ศ. 2000 และลดลงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1950 | 65,543 | — |
1960 | 62,480 | −4.7% |
1970 | 58,896 | −5.7% |
1980 | 60,253 | +2.3% |
1990 | 63,839 | +6.0% |
2000 | 66,048 | +3.5% |
2010 | 64,704 | −2.0% |
2020 | 59,491 | −8.1% |
ประวัติศาสตร์
พื้นที่ที่เป็นชิรากาวะในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นมุตสึ และเป็นที่ตั้งของด่านประตูกั้นที่ชื่อ ชิรากาวะโนะเซกิ (白河の関) บนเส้นทางสายโอชูไคโด (奥州街道) ที่เชื่อมระหว่างเมืองหลวงที่เกียวโตกับแคว้นทางตอนเหนือ ในยุคเฮอังเคยมีพระภิกษุและกวีวากะที่ชื่อ โนอิง (ญี่ปุ่น: 能因; โรมาจิ: Nōin) แต่งบทกวีเกี่ยวกับพื้นที่แห่งนี้ไว้ว่า

ในยุคเอโดะ บริเวณนี้เจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองปราสาทแห่งแคว้นศักดินาชิรากาวะ และเป็นสถานที่ที่มีการสู้รบครั้งใหญ่ในสงครามโบชิงในช่วงการฟื้นฟูเมจิ ในยุคเมจิ พื้นที่แห่งนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคนากาโดริของแคว้นอิวากิ
เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล เมืองชิรากาวะ (白河町) ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1949 เมืองชิรากาวะได้รับการยกฐานะเป็นนครหลังจากผนวกรวมหมู่บ้านโอนูมะ (大沼村) ที่อยู่ใกล้เคียง การควบรวมเทศบาลในเวลาต่อมาเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1954 และ 1955 โดยการรวมหมู่บ้านชิราซากะ (白坂村), โอดางาวะ (小田川村), โกกะ (五箇村) และส่วนหนึ่งของหมู่บ้านโอโมเตโง (表郷村) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตนครชิรากาวะ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 หมู่บ้านไทชิง (大信村), ฮิงาชิ (東村) และส่วนที่เหลือของหมู่บ้านโอโมเตโง (ทั้งหมดขึ้นกับอำเภอนิชิชิรากาวะ) ถูกรวมเข้ากับนครชิรากาวะ ทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 48,297 คน กลายเป็นประมาณ 66,000 คน และขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 117.67 ตารางกิโลเมตร (45.43 ตารางไมล์) กลายเป็น 305.30 ตารางกิโลเมตร (117.88 ตารางไมล์)
การเมืองการปกครอง
ชิรากาวะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานคร ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติระบบสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 26 คน พื้นที่นครชิรากาวะรวมกับอำเภอนิชิชิรากาวะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดฟูกูชิมะจำนวน 3 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ ชิรากาวะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดฟูกูชิมะที่ 3 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
ชิรากาวะมีเศรษฐกิจแบบผสมผสานและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคโดยรอบ อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง และเสื้อผ้า[6] กลุ่มบริษัทดีแอนด์เอ็มมีโรงงานที่ผลิตส่วนประกอบเครื่องเสียงยี่ห้อ Marantz และ Denon ตั้งอยู่ในชิรากาวะ
การศึกษา
ชิรากาวะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ประกอบด้วย โรงเรียนประถม 15 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 8 แห่ง และโรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดฟูกูชิมะ ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมปลาย 4 แห่ง
การขนส่ง
รถไฟ
บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก: สายหลักโทโฮกุ
- สถานี: ชิราซากะ – (ชินชิรากาวะ) – ชิรากาวะ – คูตาโนะ
ทางหลวง
ทางด่วนโทโฮกุ - ทางแยกต่างระดับชิรากาวะชูโอ, จุดพักรถอาบูกูมะ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 289
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 294
สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น

- แหล่งชิรากาวะโนะเซกิ (白河関跡) - โบราณสถานแห่งชาติ[7]
- ปราสาทโคมิเนะ (小峰城) - 1 ใน 100 ปราสาทของญี่ปุ่น[8]
- สวนนังโกะ (南湖公園) - โบราณสถานแห่งชาติและจุดชมทิวทัศน์แห่งชาติ[9]
- แหล่งชิรากาวะฟูนาดะ-โมโตนูมะ (白河舟田・本沼遺跡群) - สุสานฝังศพในยุคโคฟุง โบราณสถานแห่งชาติ[10]
- ปราสาทยูกิชิรากาวะ (結城白川城) - โบราณสถานแห่งชาติ[11]
- เทศกาลที่จัดขึ้นในชิรากาวะ ได้แก่ "ดารูมะอิจิ" (だるま市) ซึ่งเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองตุ๊กตาดารูมะ ซึ่งถนนในเมืองจะเต็มไปด้วยแผงขายดารูมะ อาหารประจำเทศกาล และเครื่องรางอันหลากหลาย และ "โชชินมัตสึริ" (提灯祭り) หรือเทศกาลโคมไฟ ซึ่งจัดขึ้นทุกฤดูร้อนเป็นระยะเวลาสามวัน ทุก ๆ สามปี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กงเปียญ ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1988
อะโนคา (Anoka) รัฐมินนิโซตา สหรัฐ ตั้งแต่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2002
บุคคลที่มีชื่อเสียง
- กิชู นากายามะ (中山 義秀) - นักเขียน
- อัตสึชิ ฟูจิตะ (藤田 敦史) - นักวิ่งมาราธอนโอลิมปิก
- ฮิเดโอะ มาดาราเมะ (班目 秀雄) - นักปั่นจักรยานโอลิมปิก
- โทชิอากิ ฟูชิมิ (伏見 俊昭) - นักปั่นจักรยานโอลิมปิก
- โคจิ อิงาราชิ (五十嵐 孝司) - ผู้ผลิตซีรีส์ Castlevania และผู้สร้าง Bloodstained: Ritual of the Night
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "福島県の推計人口(令和6年4月1日現在)" [ประชากรโดยประมาณของจังหวัดฟูกูชิมะ (ณ วันที่ 1 เมษายน 2024)]. จังหวัดฟูกูชิมะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2024.
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศชิรากาวะ
- ↑ 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ สถิติประชากรชิรากาวะ
- ↑ Campbell, Allen; Nobel, David S (1993). Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. pp. 1396. ISBN 406205938X.
- ↑ "白河関跡" [Aizu-Shirakawa no seki ato] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
- ↑ "小峰城跡". Cultural Heritage Online (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 25 December 2016.
- ↑ "南湖公園" [Nanko Koen] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
- ↑ "白河舟田・本沼遺跡群 ん" [Shirakawa Funada-Motonuma iseki gun] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
- ↑ "白川城跡" [Shirakawa-jō ato] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)