ญิฮาดี จอห์น

มุฮัมมัด เอ็มวาซี
เอ็มวาซีซึ่งสวมหน้ากากในวิดีโอการสังหาร
เกิดมุฮัมมัด จัสซิม อับดุลคาริม โอลายัน อัซซอฟิรี
17 สิงหาคม ค.ศ. 1988(1988-08-17)[1]
ประเทศคูเวต[2]
เสียชีวิต12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015(2015-11-12) (27 ปี)
อัรร็อกเกาะฮ์ ประเทศซีเรีย
สาเหตุเสียชีวิตโดรนโจมตี
ชื่ออื่น"มุฮัมมัด เอ็มวาซี"[3]
"จอห์นเดอะบีเทิล"[4]
"จอห์นผู้คุม"[5]
อะบู อับดุลลอฮ์ อัล-บริทานี[6]
อะบู มูฮาริบ อัล-เยเมนี[7]
มุฮัมมัด อัล-เอยาน[8]
มุฮัมมัด อิบน์ มูอัสซัม[9]
มุฮัมมัด อัล-ซูฮารี[10]
อะบู มูฮาริบ อัล-มูฮาจีร์[11]
พลเมืองอังกฤษ[12]
การศึกษาวท.บ. (เกียรตินิยมอันดับสองระดับล่าง) ในสาขาระบบสารสนเทศกับการจัดการธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 2009)[13][14]
มีชื่อเสียงจากการตัดศีรษะ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ แนวร่วมอัลนุสเราะ (ค.ศ. 2012–13)[7]
ไอเอส (ค.ศ. 2013–15)[7]
ประจำการค.ศ. 2013–2015[15]
การยุทธ์ประเทศซีเรีย

มุฮัมมัด เอ็มวาซี (ชื่อเกิด มุฮัมมัด จัสซิม อับดุลคาริม โอลายัน อัซซอฟิรี; อาหรับ: محمد جاسم عبد الكريم عليان الظفيري; 17 สิงหาคม ค.ศ. 1988 – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015) เป็นชาวอังกฤษอาหรับ ที่เชื่อว่าเป็นบุคคลที่ปรากฎในหลายวิดีโอที่ทำขึ้นโดยกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงไอเอส ด้วยการอวดการตัดศีรษะของเชลยจำนวนหนึ่งในปี ค.ศ. 2014 และ 2015 กลุ่มตัวประกันเรียกชื่อเขาว่า "จอห์น" เนื่องจากเขาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มก่อการร้ายสี่คนที่มีสำเนียงอังกฤษ ซึ่งพวกเขาถูกเรียกในนาม "เดอะบีเทิล" และภายหลังทางหนังสือพิมพ์ได้เรียกเขาในชื่อ "ญิฮาดี จอห์น"[3]

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 เจ้าหน้าที่สหรัฐรายงานว่าเอ็มวาซีถูกโจมตีด้วยโดรนโจมตีในอัรร็อกเกาะฮ์ ประเทศซีเรีย[16] การตายของเขาได้รับการยืนยันโดยกลุ่มไอเอสในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016[11]

ชีวิตช่วงต้น

เอ็มวาซีมีชื่อแรกเกิดคือมุฮัมมัด จัสซิม อับดุลคาริม โอลายัน อัซซอฟิรี[17] เขาเกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ที่ประเทศคูเวต[1] ในฐานะลูกคนโตของพี่น้องรวมห้าคน[18] โดยเป็นบุตรของจัสเซ็ม และกาเนยะฮ์ เอ็มวาซี[15] ครอบครัวของเขามาจากประเทศอิรักโดยไม่มีสัญชาติ[15] ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองอัลยะฮ์รออ์[19] ก่อนที่จะย้ายไปสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1994 เมื่อเขาอายุหกขวบ[20] พวกเขาตั้งรกรากอยู่ในลอนดอนฝั่งตะวันตก โดยย้ายทรัพย์สมบัติมาอยู่ในไมดาเวล[18] ต่อมาได้อยู่ในเซนต์จอห์นสวูดและควีนส์พาร์กในที่สุด[18][21] เอ็มวาซีเข้าเรียนที่โรงเรียนประถมแห่งประเทศอังกฤษเซนต์แมรีแม็กดาลีนเชิร์ช และต่อมาที่โรงเรียนควินติน คีนาสตัน[12]

ในปี ค.ศ. 2006 เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ สาขาระบบสารสนเทศและการจัดการธุรกิจ โดยได้รับวิทยาศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับสองระดับล่างเมื่อสำเร็จการศึกษาในสามปีต่อมา[12] ขณะอายุ 21 ปี เขาทำงานเป็นพนักงานขายของบริษัทไอทีในประเทศคูเวต และได้รับการพิจารณาจากเจ้านายว่าเป็นพนักงานที่ดีที่สุดของบริษัทเท่าที่เคยมีมา[15]

นามสมญา

เอ็มวาซีได้รับฉายา "จอห์น" โดยกลุ่มตัวประกันของเขา ตัวประกันกล่าวว่าเขาได้เตรียมตัวประกันชาวตะวันตกไว้ในขณะที่จัดการสื่อสารกับครอบครัวของพวกเขา และเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ได้รับการเรียกในนาม 'เดอะบีเทิล' เพราะสมาชิกทุกคนในกลุ่มมีสำเนียงอังกฤษ[22] ฉายาของเขาอิงมาจากจอห์น เลนนอน แห่งวงเดอะบีเทิลส์ โดยสมาชิกกลุ่มอีกสามคนที่เหลือได้รับการตั้งชื่อตามสมาชิกวงเดอะบีเทิลส์เช่นกัน

นามสมญา "ญิฮาดี จอห์น", "จอห์นผู้คุม" และ "จอห์นเดอะบีเทิล" ได้รับการตั้งขึ้นโดยนักข่าว[3] ชื่อ "ญิฮาดี จอห์น" ถูกนำมาใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ในนิตยสารอนุรักษ์นิยมของอังกฤษอย่างเดอะสเปกเตเตอร์ ในหัวข้อ "ญิฮาดี จอห์น - การส่งออกของอังกฤษโดยแท้" โดยดักลาส เมอร์เรย์ ซึ่งเป็นนักวิจารณ์ศาสนาอิสลามอยู่เป็นประจำ[23] ส่วนเดอะเดลีเมล์ ใช้ชื่อ "ญิฮาดี จอห์น" ครั้งแรกในวันที่ 21 สิงหาคม[24] ไม่นานหลังจากประสมโรงโดยบีบีซีและแหล่งข้อมูลอื่น ๆ[25]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "First Photo of 'Jihadi John' As Adult Revealed". Sky News. 27 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-17. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  2. "Mother recognised Mohammed Emwazi's voice on hostage videos". BBC. 2 March 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 "'Jihadi John': Why do we give notorious criminals nicknames?". The Independent. 2 March 2015.
  4. "British doctor could lead to jihadist 'John the Beatle". New York Post. 22 August 2014.
  5. "The hunt for British jihadist 'Jailer John'". The Times. 21 August 2014.
  6. "Dozens of jihadis in fighting in Syria using the name 'al-Britani'". The Independent. 27 February 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Jihadi John: A quiet man who hated Britain and was 'always ready for war'". ITV News. 25 February 2015.
  8. "Mohammed Emwazi Revealed As Jihad John: What We Know About Islamic State's Most Wanted Man". The Huffington Post. 2 March 2015.
  9. "Mohammed Emwazi: Man identified as Isis killer 'Jihadi John' 'stopped by MI5' while on safari holiday in Africa in 2010". The Independent. 26 February 2015.
  10. "The moment Jihadi John may have become a terrorist". The Washington Post. 2 March 2015.
  11. 11.0 11.1 คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name cnn_obituary cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  12. 12.0 12.1 12.2 Topping, Alexandra; Halliday, Josh (2 March 2015). "Who is Mohammed Emwazi? From 'lovely boy' to Islamic State killer". The Guardian. Guardian News & Media Limited. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
  13. "'Jihadi John' Used To Be 'Kind And Gentle'". Sky News. 27 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-27. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  14. "Jihadi John: Student record of Mohammed Emwazi leaked". The Daily Telegraph. 27 February 2015.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 "'The best employee we ever had': Mohammed Emwazi's former boss in Kuwait". The Guardian. 2 March 2015.
  16. "'Jihadi John': high degree of certainty US airstrike killed Mohammed Emwazi, sources say". The Guardian. 13 November 2015.
  17. O'Neill, Sean; Tomlinson, Hugh (3 March 2015). "Spies were so much on Emwazi's case they bought his computer". The Australian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-26. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
  18. 18.0 18.1 18.2 Malnick, Edward (26 February 2015). "Mohammed Emwazi timeline: from school years with Tulisa Contostavlos to becoming Jihadi John". The Telegraph. Telegraph Media Group Limited. p. 2. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
  19. Al-Qatari, Hussain (2 March 2015). "'Jihadi John' born into stateless family in poor corner of wealthy Kuwait". CTV News. BellMedia. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
  20. Casciani, Dominic (27 February 2015). "Islamic State: Profile of Mohammed Emwazi aka 'Jihadi John'". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
  21. Hamilton, Fiona; O'Neill, Sean; Simpson, John; Gardham, Duncan (27 February 2015). "Pious teenager who turned intoa zealot and heartless murderer". The Times. Times Newspapers Limited. p. 2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-22. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
  22. Levy, Megan (5 August 2014). "How London rapper L Jinny became Jihadi John, suspected of beheading James Foley". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
  23. Murray, Douglas (20 August 2014). "Jihadi John – a very British export". The Spectator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-24. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.
  24. Williams, David; Marsden, Sam; Reid, Sue (21 August 2014). "Sadistic reign of 'jihadi John': British murderer brutally beat hostages and staged terrifying executions before demanding £80million ransom to free US journalist he later beheaded on video". Daily Mail. Associated Newspapers Ltd. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.
  25. McFarlane, Andy (22 August 2014). "'Jihadi John', fears for Gazza and GCSE 'ghost of Gove' in headlines". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.