ประมวลเรื่องปรัมปรากรีก
ประมวลเรื่องปรัมปรากรีก (กรีกโบราณ: ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นประมวลเรื่องปรัมปราของอารยธรรมกรีกโบราณ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานประมวลเรื่องปรัมปราขึ้น[1]
ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อนค.ศ.[2] แต่ปัจจุบันเรื่องราวปรัมปราเหล่านี้ เราทราบจากวรรณกรรมกรีกโบราณทั้งสิ้น
วรรณกรรมกรีกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันคือ มหากาพย์ อีเลียด และ โอดิสซีย์ ของโฮเมอร์ ซึ่งจับเรื่องราวเหตุการณ์ในระหว่างสงครามเมืองทรอย นอกจากนี้มีบทกวีมหากาพย์ร่วมสมัยอีกสองชุดของเฮสิโอดกวีร่วมสมัยของโฮเมอร์ คือ ธีออโกนี และ งานและวัน เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก พงศาวลีของผู้ปกครองกึ่งเทพ การผลัดเปลี่ยนยุคสมัยของมนุษย์ ต้นกำเนิดความทุกข์ยากของมนุษย์ และพิธีบูชายัญต่าง ๆ เรื่องเล่าปรัมปรายังพบได้ในบทเพลงสวดสรรเสริญของโฮเมอร์ (Homeric hymns) จากส่วนเสี้ยวที่หลงเหลือของบทกวีมหากาพย์ใน วัฎมหากาพย์ (Epic Cycle) จากบทร้อยกรองประกอบพิณ (lyric poems) จากงานละครโศกนาฏกรรมและสุขนาฎกรรมในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล จากงานเขียนของปราชญ์และกวีในยุคเฮเลนนิสติก และในตำราจากยุคของจักรวรรดิโรมันที่เขียนโดยพลูตาร์คกับเพาซานิอัส
งานค้นพบของนักโบราณคดีเป็นแหล่งข้อมูลอย่างละเอียดของประมวลเรื่องปรัมปรากรีก เพราะมีภาพของเทพและวีรบุรุษกรีกมากมายเป็นเนื้อหาหลักอยู่ในการตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภาพเรขาคณิตบนเครื่องปั้นดินเผาในยุคศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลแสดงให้เห็นฉากต่าง ๆ ในสงครามเมืองทรอย รวมไปถึงการผจญภัยของเฮราคลีส ในยุคต่อ ๆ มาเช่น กรีซยุคอาร์เคอิก ยุคคลาสสิก และสมัยเฮลเลนิสต์ ก็พบภาพฉากเกี่ยวกับมหากาพย์ของโฮเมอร์และตำนานปรัมปราอื่น ๆ ซึ่งช่วยเพิ่มเติมแก่หลักฐานทางวรรณกรรมที่มีอยู่[3]
ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกมีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณกรรมของอารยธรรมตะวันตก รวมถึงมรดกและภาษาทางตะวันตกด้วย กวีและศิลปินมากมายนับแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันได้รับแรงบันดาลใจจากประมวลเรื่องปรัมปรากรีก และได้คิดค้นนัยยะร่วมสมัยกับการตีความใหม่ที่สัมพันธ์กับตำนานปรัมปราเหล่านี้[4]
แหล่งข้อมูลของประมวลเรื่องปรัมปรากรีก
ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกซึ่งรู้จักกันอยู่ทุกวันนี้ มีรากฐานมาจากวรรณกรรมกรีกโบราณและภาพในสื่อที่มองเห็นด้วยตาซึ่งมีอายุนับย้อนไปถึงยุคจีโอเมทริก (Geometric Style) ประมาณปีที่ 900-800 ก่อนคริสตกาล[5]
แหล่งข้อมูลทางโบราณคดี
การค้นพบอารยธรรมไมซีนี โดยนักโบราณคดีสมัครเล่น ไฮน์ริช ชลีมาน ในศตวรรษที่ 19 และการค้นพบอารยธรรมไมนอสที่เกาะครีตโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ อาร์เธอร์ อีวานส์ ในศตวรรษที่ 20 มีส่วนช่วยอธิบายเกี่ยวกับมหากาพย์ของโฮเมอร์ และให้หลักฐานรับรองทางโบราณคดีเกี่ยวกับรายละเอียดของนิทานปรัมปราหลาย ๆ เรื่อง อย่างไรก็ดีหลักฐานเหล่านี้เป็นหลักฐานสิ่งปลูกสร้างและอนุสาวรีย์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีการใช้ตัวอักษรเขียนเพื่อจดบันทึกเรื่องราว และแผ่นจารึกไลเนียร์บีที่ขุดพบ ก็เป็นเพียงบันทึกเกี่ยวกับคลังเก็บสินค้าเท่านั้น[6]
การตกแต่งด้วยลวดลายเราขาคณิตบนเครื่องปั้นดินเผาสมัยศตวรรษที่ 8 ก่อนค.ศ. แสดงภาพเนื้อเรื่องของวัฎมหากาพย์กรุงทรอย และการผจญภัยของเฮราคลีส[6] การแสดงออกเชิงประจักษ์ของเรื่องราวปรัมปราเหล่านี้มีความสำคัญสองประการ ประการแรก ตำนานปรัมปราส่วนใหญ่ปรากฏอยู่บนเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสี ก่อนที่จะมีหลักฐานทางวรรณคดีนานหลายศตวรรษ[7][5] ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของวีรกรรมสิบสองประการของเฮราคลีส มีแค่การผจญสุนัขปีศาจเคเบรอสเท่านั้นที่มีบันทึกไว้ในวรรณกรรมร่วมสมัย ประการที่สอง แหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์บางครั้งแสดงรายละเอียด หรือฉากของเรื่องราวในตำนานที่ไม่ปรากฏอยู่ในแหล่งข้อมูลทางวรรณคดีใด ๆ เลย ในสมัยอาร์เคอิก (ปีที่ 750-500 ก่อนค.ศ.), สมัยคลาสสิก (ปีที่ 480-323 ก่อนค.ศ.), และสมัยเฮลเลนิสติก (ปีที่ 323-146 ก่อนค.ศ.) หลักฐานเชิงประจักษ์เหล่านี้มีบทบาทในการสนับสนุนและเพิ่มเติมหลักฐานทางวรรณคดี[6]
แหล่งข้อมูลในทางวรรณกรรม
การปูพื้นหลังเกี่ยวกับตำนานประมวลเรื่องปรัมปรามีบทบาทอย่างมากกับวรรณกรรมกรีกโบราณในทุกสาขา ถึงกระนั้น หนังสือตำนานปรัมปราเพียงเล่มเดียวที่เหลือรอดมาจากยุคกรีกโบราณ ก็คือ Library หรือ บิบลิโอเธกา (Bibliotheca) ของอพอลโลดอรัสตัวปลอม งานชิ้นนี้พยายามหาข้อยุติในความขัดแย้งกันระหว่างเรื่องเล่าต่าง ๆ ของบทกวีมากมาย และพยายามเรียบเรียงออกมาเป็นตำนานเทพเจ้าและวีรบุรุษกรีกในยุคดั้งเดิม[8] อพอลโลดอรัสแห่งเอเธนส์มีชีวิตในช่วงปีที่ 180-125 ก่อนคริสตกาล และเขียนเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นหลายชิ้น งานเขียนของเขาอาจจัดเป็นชุดที่ต่อเนื่องกัน แต่ "Library" นั้นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการเสียชีวิตของเขาเป็นเวลานาน ดังนั้นมันจึงได้ชื่อว่าเป็นของอพอลโลดอรัสเทียม
ในบรรดาแหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด มีบทกวีมหากาพย์ของโฮเมอร์ สองเรื่อง คือ อีเลียด และ โอดิสซีย์ นอกจากนี้ยังมีกวีรายอื่นอีกที่ช่วยเติมเต็ม "วัฏมหากาพย์" ทว่าในภายหลังต่างสูญหายไปเกือบหมด บทกวีเหล่านี้มักเรียกกันว่า "เพลงสวดของโฮเมอร์" (Homeric Hymns) แต่อันที่จริงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับโฮเมอร์เลย มันเป็นบทสวดสรรเสริญที่สืบทอดมาแต่ยุคบทกวีไลริค (Lyric Poetry)[9] เฮสิโอดซึ่งน่าจะเป็นกวีร่วมสมัยกับโฮเมอร์ ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับตำนานกรีกที่เก่าแก่ที่สุดไว้ในผลงานชื่อ ธีออโกนี (เทวพงศาวดาร) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างโลก พงศาวดารการกำเนิดของเทพเจ้าต่าง ๆ ตลอดจนพงศาวลีที่มีรายละเอียดสูง มีนิทานพื้นบ้าน และตำนานเกี่ยวกับจุดกำเนิดของสิ่งต่าง ๆ ในงานเขียนของเฮสิโอดอีกเรื่องคือ งานและวัน (Works and Days) ซึ่งเป็นบทกวีสั่งสอนเกี่ยวกับชีวิตในไร่ ได้รวมเอาตำนานเกี่ยวกับโพรมีเทียส แพนดอรา และยุคทั้งห้าของมนุษยชาติเอาไว้ด้วย ผู้ประพันธ์ได้แนะนำวิธีที่ดีที่สุดในการประสบความสำเร็จในโลกอันแสนอันตราย ซึ่งยิ่งถูกทำให้เป็นอันตรายมากขึ้นโดยพวกเทพนั่นเอง[6]
บทกวีประกอบเสียงพิณ (lyric poetry) มักจะนำเนื้อเรื่องมาจากตำนาน แต่วิธีการเล่าจะมีเนื้อหาน้อยกว่าและค่อนข้างคลุมเครือกว่า กวีเพลงของกรีกซึ่งรวมไปถึง พินดาร์, แบคคิลิดีส (Bacchylides), ไซโมนิดีส (Simonides of Ceos) และกวีท้องทุ่ง (bucolic poet) หรือพาสโตรัล เช่น ธีโอคริตัส (Theocritus) และ ไบออนแห่งสเมอร์นา (Bion of Smyrna) มักรวมเอาเหตุการณ์เหนือธรรมชาติของแต่ละคนเข้าไปด้วย[10] นอกจากนี้ นิทานประมวลเรื่องปรัมปรายังเป็นแกนกลางของศิลปะการละครในเอเธนส์ยุคคลาสสิก นักเขียนบทละครโศกนาฏกรรม เช่น เอสคิลัส, โซโฟคลีส, และ ยูริพิดีส ใช้พล็อตเรื่องส่วนใหญ่จากตำนานในยุคแห่งวีรบุรุษและสงครามเมืองทรอย เรื่องราวโศกนาฏกรรมที่สำคัญ ๆ (เช่น อะกาเมมนอนกับลูก ๆ, อีดิปัส, เจสัน, เมเดีย, ฯลฯ) ก็ถูกเล่าผ่านละครโศกนาฏกรรมของกวีที่สำคัญเหล่านี้ จนกลายเป็นเวอร์ชันที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐาน อริสโตฟานีส นักเขียนบทละครตลกขบขันยังใช้ตำนานเหล่านี้ในงานบทละครเรื่อง วิหก (The Birds) และ กบ (The Frogs)[11]
นักประวัติศาสตร์ เฮโรโดตัส และ ดิโอดอรัส ซิคุลัส กับนักภูมิศาสตร์ เปาซาเนีย และ สตราโบ ซึ่งเดินทางไปทั่วแผ่นดินกรีกและบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ยิน ได้ให้ข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับตำนานและเรื่องเล่าของท้องถิ่น โดยมักจะเป็นเวอร์ชันที่ต่างออกไปและไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก[10] โดยเฉพาะเฮรอโดตัสนั้นเที่ยวค้นหาประเพณีต่าง ๆ ที่ตนพบเจอและพบรากฐานทางประวัติศาสตร์หรือตำนานปรัมปราอยู่ในการเผชิญหน้าระหว่างกรีกกับประเทศตะวันออก[12] เฮรอโดตัสพยายามจะนำต้นกำเนิดต่าง ๆ เหล่านี้ที่มาจากต้นกำเนิดวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน
บทกวีในยุคเฮลเลนิสติกและยุคโรมันโบราณล้วนมีต้นกำเนิดในฐานะวรรณกรรมมากกว่าที่จะเป็นพิธีกรรมทางศาสนา ถึงกระนั้นมันก็ยังบรรจุรายละเอียดสำคัญมากมาย ซึ่งอาจจะสูญหายไปหมดแล้ว บทกวีจำพวกนี้รวมถึงงานต่าง ๆ ต่อไปนี้คือ
- กวีชาวโรมัน โอวิด, สเตเชียส, วาเลเรียส ฟลัคคัส, เซเนกาผู้เยาว์, และเวอร์จิล กับบทบรรยายของเซอร์วิอัส
- กวีชาวกรีกในยุค ปลายสมัยโบราณ ได้แก่ นอนนัส, อันโตนินัส ลิเบราลิส และ ควินตัส สมีเนียส
- กวีชาวกรีกในยุคเฮเลนนิสติก ได้แก่ อพอลโลนีอัสแห่งโรดส์, คัลลิมาคัส, เอราทอสเทนีสเทียม, และ พาร์ธีนิอัส
- นิยายยุคโบราณของกรีกและโรมัน เช่น แอพิวลีอัส, เปโตรนิอัส, Lollianus, และ เฮลิโอดอรัส
สันนิษฐานของที่มาของประมวลเรื่องปรัมปรากรีก-โรมัน
อาจเป็นเพราะชาวกรีกโบราณพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองว่าทำไมฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือเหตุใดจึงมีเสียงสะท้อนจากถ้ำเมื่อเราส่งเสียง หรือ ฯลฯ นั่นเพราะความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติจึงพยายามหาเหตุผลและชาวกรีกชอบฟังนิทานเรื่องเล่าปรัมปรา ชอบแต่งโคลงกลอน จึงรักการขับลำนำและดีดพิณคลอไปด้วยจึงทำให้การขับลำนำเป็นที่นิยม เล่ากันว่าโฮเมอร์ (Homer) ก็เป็นนักขับลำนำชั้นยอดคนหนึ่งของกรีก ใคร ๆ ก็รักน้ำเสียงการเล่านิทานของเขา แรกเริ่มเทวตำนานเป็นบทกลอนที่ท่องจำกันมาเป็นรุ่น ๆ ต่อมามีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เราจึงไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งประมวลเรื่องปรัมปรา บ้างก็ว่า โฮเมอร์ เป็นผู้แต่ง อีเลียด (Iliad) บ้างก็ว่าแค่รวบรวม บ้างก็ว่ากวีกรีกนาม เฮสิโอด (Hesiod) เป็นผู้แต่ง ส่วนโอวิด (Ovid) กวีชาวโรมันก็เล่าถึงเทวตำนานแต่ใช้ชื่อตัวละครต่างกัน เล่มของโอวิดจะเล่าได้พิสดารกว่าของนักเขียนคนอื่น
เค้าโครงของประมวลเรื่องปรัมปรากรีกโดยสังเขป
ต้นกำเนิดของโลกและของเทพเจ้า
ตำนานปรัมปราว่าด้วยต้นกำเนิด หรือการสร้างโลก คือความพยายามที่จะอธิบายต้นกำเนิดของสรรพสิ่งในภาษาของมนุษย์ แบบฉบับที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดเป็นบทประพันธ์ของเฮสิโอด ได้แก่ ธีออโกนี (Theogony: เทวพงศาวดาร) เฮสิโอดเริ่มบรรยายตั้งแต่ เคออส หรือความว่างเปล่าไร้ก้นบึ้ง จากความว่างเปล่านั้นก็เกิด ไกอา (โลก) และเทพยุคดึกดำบรรพ์อื่น ๆ ได้แก่ เอรอส (ความรัก), ทาร์ทารัส (ก้นบึ้ง), และเอเรบัส (เงาและความมืดมิด) ไกอาให้กำเนิดยูเรนัส (โดยไม่มีความช่วยเหลือจากเพศชาย) ผู้ซึ่งเข้ามีสัมพันธ์กับเธอ จากการอยู่ร่วมกันนั้นก่อให้เกิด ไทแทน พวกแรกสุด เป็นเพศชาย 6 ตน: คอยอัส (Coeus), ไครอัส (Crius), โครนัส (Cronus), ไฮเพเรียน (Hyperion), ไอแอพิตัส (Iapetus), และ โอซีอานัส (Oceanus)
แนวคิดของกรีกและโรมันเกี่ยวกับนิทานประมวลเรื่องปรัมปรา
การตีความสมัยใหม่
ประมวลเรื่องปรัมปราในฐานะแม่บทของงานศิลปะและวรรณกรรม
อ้างอิง
- ↑ "Volume: Hellas, Article: Greek Mythology". Encyclopaedia The Helios. 1952.
- ↑ Cartwirght, Mark. "Greek Mythology". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 26 March 2018.
- ↑ "Greek Mythology". Encyclopaedia Britannica. 2002.
- ↑ J.M. Foley, Homer's Traditional Art, 43
- ↑ 5.0 5.1 F. Graf, Greek Mythology, 200
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Greek Mythology". Encyclopædia Britannica. 2002.
- ↑ Homer, Iliad, 8. An epic poem about the Battle of Troy. 366–369
- ↑ R. Hard, The Routledge Handbook of Greek Mythology, 1
- ↑ Miles, Classical Mythology in English Literature, 7
- ↑ 10.0 10.1 Klatt-Brazouski, Ancient Greek nad Roman Mythology, xii
- ↑ Miles, Classical Mythology in English Literature, 8
- ↑ P. Cartledge, The Spartans, 60, and The Greeks, 22
แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (กรีกและโรมัน)
- Aeschylus, The Persians. See original text in Perseus program.
- Aeschylus, Prometheus Bound. See original text in Perseus program.
- Apollodorus, Library and Epitome. See original text in Perseus program.
- Apollonius of Rhodes, Argonautica, Book I. See original text in Sacred Texts.
- Cicero, De Divinatione. See original text in the Latin Library.
- Cicero, Tusculanae resons. See original text in the Latin Library.
- Herodotus, The Histories, I. See original text in the Sacred Texts.
- Hesiod, Works and Days. Translated into English by Hugh G. Evelyn-White.
- Homer, Iliad. See original text in Perseus program.
- Homeric Hymn to Aphrodite. Translated into English เก็บถาวร 2003-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Gregory Nagy.
- Homeric Hymn to Demeter. See original text in Perseus project.
- Homeric Hymn to Hermes. See the English translation in the Online Medieval and Classical Library เก็บถาวร 2008-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- Ovid, Metamorphoses. See original text in the Latin Library.
- Pausanias.
- Pindar, Pythian Odes, Pythian 4: For Arcesilas of Cyrene Chariot Race 462 BC. See original text in the Perseus program.
- Plato, Apology. See original text in Perseus program.
- Plato, Theaetetus. See original text in Perseus program.
แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ
- Ackerman, Robert (1991). "Introduction". Prolegomena to the Study of Greek Religion by Jane Ellen Harrison (Reprint ed.). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-01514-9.
- Albala Ken G; Johnson Claudia Durst; Johnson Vernon E. (2000). "Origin of Mythology". Understanding the Odyssey. Courier Dover Publications. ISBN 978-0-486-41107-1.
- Algra, Keimpe (1999). "The Beginnings of Cosmology". The Cambridge Companion to Early Greek Philosophy. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-44667-9.
- Allen, Douglas (1978). "Early Methological Approaches". Structure & Creativity in Religion: Hermeneutics in Mircea Eliade's Phenomenology and New Directions. Walter de Gruyter. ISBN 978-90-279-7594-2.
- "Argonaut". Encyclopædia Britannica. 2002.
- Betegh, Gábor (2004). "The Interpretation of the poet". The Derveni Papyrus. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80108-9.
- Bonnefoy, Yves (1992). "Kinship Structures in Greek Heroic Dynasty". Greek and Egyptian Mythologies. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-06454-3.
- Bulfinch, Thomas (2003). "Greek Mythology and Homer". Bulfinch's Greek and Roman Mythology. Greenwood Press. ISBN 978-0-313-30881-9.
- Burkert, Walter (2002). "Prehistory and the Minoan Mycenaen Era". Greek Religion: Archaic and Classical (translated by John Raffan). Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-15624-6.
- Burn, Lucilla (1990). Greek Myths. University of Texas Press. ISBN 978-0-292-72748-9.
- Bushnell, Rebecca W. (2005). "Helicocentric Stoicism in the Saturnalia: The Egyptian Apollo". Medieval A Companion to Tragedy. Blackwell Publishing. ISBN 978-1-4051-0735-8.
- Chance, Jane (1994). "Helicocentric Stoicism in the Saturnalia: The Egyptian Apollo". Medieval Mythography. University Press of Florida. ISBN 978-0-8130-1256-8.
- Caldwell, Richard (1990). "The Psychoanalytic Interpretation of Greek Myth". Approaches to Greek Myth. Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-3864-4.
- Calimach, Andrew (2002). "The Cultural Background". Lovers' Legends: The Gay Greek Myths. Haiduk Press. ISBN 978-0-9714686-0-3.
- Cartledge, Paul A. (2002). "Inventing the Past: History v. Myth". The Greeks. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280388-7.
- Cartledge, Paul A. (2004). The Spartans (translated in Greek). Livanis. ISBN 978-960-14-0843-9.
- Cashford, Jules (2003). "Introduction". The Homeric Hymns. Penguin Classics. ISBN 978-0-14-043782-9.
- Dowden, Ken (1992). "Myth and Mythology". The Uses of Greek Mythology. Routledge (UK). ISBN 978-0-415-06135-3.
- Dunlop, John (1842). "Romances of Chivalry". The History of Fiction. Carey and Hart. ISBN 978-1-149-40338-9.
- Edmunds, Lowell (1980). "Comparative Approaches". Approaches to Greek Myth. Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-3864-4.
- "Euhemerus". Encyclopædia Britannica. 2002.
- Foley, John Miles (1999). "Homeric and South Slavic Epic". Homer's Traditional Art. Penn State Press. ISBN 978-0-271-01870-6.
- Gale, Monica R. (1994). "The Cultural Background". Myth and Poetry in Lucretius. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-45135-2.
- "Greek Mythology". Encyclopædia Britannica. 2002.
- "Greek Religion". Encyclopædia Britannica. 2002.
- Griffin, Jasper (1986). "Greek Myth and Hesiod". The Oxford Illustrated History of Greece and the Hellenistic World edited by John Boardman, Jasper Griffin and Oswyn Murray. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-285438-4.
- Grimal, Pierre (1986). "Argonauts". The Dictionary of Classical Mythology. Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-20102-1.
- Hacklin, Joseph (1994). "The Mythology of Persia". Asiatic Mythology. Asian Educational Services. ISBN 978-81-206-0920-4.
- Hanson, Victor Davis; Heath, John (1999). Who Killed Homer (translated in Greek by Rena Karakatsani). Kakos. ISBN 978-960-352-545-5.
- Hard, Robin (2003). "Sources of Greek Myth". The Routledge Handbook of Greek Mythology: based on H. J. Rose's "A Handbook of Greek mythology". Routledge (UK). ISBN 978-0-415-18636-0.
- "Heracles". Encyclopædia Britannica. 2002.
- Jung Carl Gustav, Kerényi Karl (2001). "Prolegomena". Essays on a Science of Mythology (Reprint ed.). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-01756-3.
- Jung, C.J. (2002). "Troy in Latin and French Joseph of Exeter's "Ylias" and Benoît de Sainte-Maure's "Roman de Troie"". Science of Mythology. Routledge (UK). ISBN 978-0-415-26742-7.
- Kelly, Douglas (2003). "Sources of Greek Myth". An Outline of Greek and Roman Mythology. Douglas Kelly. ISBN 978-0-415-18636-0.
- Kelsey, Francis W. (1889). A Handbook of Greek Mythology. Allyn and Bacon.
- Kirk, Geoffrey Stephen (1973). "The Thematic Simplicity of the Myths". Myth: Its Meaning and Functions in Ancient and Other Cultures. University of California Press. ISBN 978-0-520-02389-5.
- Kirk, Geoffrey Stephen (1974). The Nature of Greek Myths. Harmondsworth: Penguin. ISBN 978-0-14-021783-4.
- Klatt J. Mary, Brazouski Antoinette (1994). "Preface". Children's Books on Ancient Greek and Roman Mythology: An Annotated Bibliography. Greenwood Press. ISBN 978-0-313-28973-6.
- "Lexicon Iconographicum Mythologiae Classicae". Lexicon Iconographicum Mythologiae Classicae. Artemis-Verlag. 1981–1999.
- Miles, Geoffrey (1999). "The Myth-kitty". Classical Mythology in English Literature: A Critical Anthology. University of Illinois Press. ISBN 978-0-415-14754-5.
- Morris, Ian (2000). Archaeology As Cultural History. Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19602-0.
- "myth". Encyclopædia Britannica. 2002.
- Nagy, Gregory (1992). "The Hellenization of the Indo-European Poetics". Greek Mythology and Poetics. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-8048-5.
- Nilsson, Martin P. (1940). "The Religion of Eleusis". Greek Popular Religion. Columbia University Press.
- North John A.; Beard Mary; Price Simon R.F. (1998). "The Religions of Imperial Rome". Classical Mythology in English Literature: A Critical Anthology. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-31682-8.
- Papadopoulou, Thalia (2005). "Introduction". Heracles and Euripidean Tragedy. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-85126-8.
- Percy, William Armostrong III (1999). "The Institutionalization of Pederasty". Pederasty and Pedagogy in Archaic Greece. Routledge (UK). ISBN 978-0-252-06740-2.
- Poleman, Horace I. (March 1943). "Review of "Ouranos-Varuna. Etude de mythologie comparee indo-europeenne by Georges Dumezil"". Journal of the American Oriental Society. 63 (1): 78–79. doi:10.2307/594160. ISSN 0003-0279. JSTOR 594160.
- Reinhold, Meyer (20 October 1970). "The Generation Gap in Antiquity". Proceedings of the American Philosophical Society. 114 (5): 347–65. JSTOR 985800.
- Rose, Herbert Jennings (1991). A Handbook of Greek Mythology. Routledge (UK). ISBN 978-0-415-04601-5.
- Segal, Robert A. (1991). "A Greek Eternal Child". Myth and the Polis edited by Dora Carlisky Pozzi, John Moore Wickersham. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-2473-1.
- Segal, Robert A. (4 April 1990). "The Romantic Appeal of Joseph Campbell". Christian Century. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2007.
- Segal, Robert A. (1999). "Jung on Mythology". Theorizing about Myth. Univ of Massachusetts Press. ISBN 978-1-55849-191-5.
- Stoll, Heinrich Wilhelm (translated by R. B. Paul) (1852). Handbook of the religion and mythology of the Greeks. Francis and John Rivington.
- Trobe, Kala (2001). "Dionysus". Invoke the Gods. Llewellyn Worldwide. ISBN 978-0-7387-0096-0.
- "Trojan War". Encyclopaedia The Helios. 1952.
- "Troy". Encyclopædia Britannica. 2002.
- "Volume: Hellas, Article: Greek Mythology". Encyclopaedia The Helios. 1952.
- Walsh, Patrick Gerald (1998). "Liberating Appearance in Mythic Content". The Nature of the Gods. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-282511-7.
- Weaver, John B. (1998). "Introduction". The Plots of Epiphany. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-018266-8.
- Winterbourne, Anthony (2004). "Spinning and Weaving Fate". When the Norns Have Spoken. Fairleigh Dickinson University Press. ISBN 978-0-8386-4048-7.
- Wood, Michael (1998). "The Coming of the Greeks". In Search of the Trojan War. University of California Press. ISBN 978-0-520-21599-3.
หนังสืออ่านเพิ่ม
- Gantz, Timothy (1993). Early Greek Myth: A Guide to Literary and Artistic Sources. Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-4410-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-24. สืบค้นเมื่อ 2022-01-08.
- Graves, Robert (1993) [1955]. The Greek Myths (Cmb/Rep ed.). Penguin (Non-Classics). ISBN 978-0-14-017199-0.
- Hamilton, Edith (1998) [1942]. Mythology (New ed.). Back Bay Books. ISBN 978-0-316-34151-6.
- Kerenyi, Karl (1980) [1951]. The Gods of the Greeks (Reissue ed.). Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-27048-6.
- Kerenyi, Karl (1978) [1959]. The Heroes of the Greeks (Reissue ed.). Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-27049-3.
- Luchte, James (2011). Early Greek Thought: Before the Dawn. Bloomsbury. ISBN 978-0-567-35331-3.
- Morford M.P.O., Lenardon L.J. (2006). Classical Mythology. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-530805-1.
- Pinsent, John (1972). Greek Mythology. Bantam. ISBN 978-0-448-00848-6.
- Pinsent, John (1991). Myths and Legends of Ancient Greece. Library of the World's Myths and Legends. Peter Bedrick Books. ISBN 978-0-87226-250-8.
- Powell, Barry (2008). Classical Myth (6th ed.). Prentice-Hall. ISBN 978-0-13-606171-7.
- Powell, Barry (2001). A Short Introduction to Classical Myth. Prentice-Hall. ISBN 978-0-13-025839-7.
- Ruck Carl, Staples Blaise Daniel (1994). The World of Classical Myth. Carolina Academic Press. ISBN 978-0-89089-575-7.
- Smith, William (1870), Dictionary of Greek and Roman Biography and Mythology.
- Veyne, Paul (1988). Did the Greeks Believe in Their Myths? An Essay on Constitutive Imagination. (translated by Paula Wissing). University of Chicago. ISBN 978-0-226-85434-2.
- Woodward, Roger D. (editor) (2007). The Cambridge Companion to Greek Mythology. Cambridge; New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-84520-5.
{cite book}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
- Library of Classical Mythology Texts เก็บถาวร 2007-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน translations of works of classical literature
- LIMC-France provides databases dedicated to Graeco-Roman mythology and its iconography.
- Theoi Project, Guide to Greek Mythology biographies of characters from myth with quotes from original sources and images from classical art
- Martin P. Nilsson, The Mycenaean Origin of Greek Mythology, on Google books