ทูพัค ชาเคอร์
ทูพัค ชาเคอร์ | |
---|---|
ชาเคอร์ในปี 1996 | |
เกิด | Lesane Parish Crooks 16 มิถุนายน ค.ศ. 1971 นครนิวยอร์ก สหรัฐ |
เสียชีวิต | 13 กันยายน ค.ศ. 1996 ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐ | (25 ปี)
ชื่ออื่น |
|
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 1989–1996 |
คู่สมรส | คีชา มอร์ริส (สมรส 1995; 1996) |
บิดามารดา |
|
ญาติ |
|
รางวัล | รายการทั้งหมด |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง |
|
ค่ายเพลง |
|
อดีตสมาชิก |
|
เว็บไซต์ | www |
ลายมือชื่อ | |
ทูพัค อมารู ชาเคอร์ (อังกฤษ: Tupac Amaru Shakur; 16 มิถุนายน ค.ศ. 1971 – 13 กันยายน ค.ศ. 1996) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ทูพัค (2Pac) และ มาคาเวลี (Makaveli) เป็นแร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในแร็ปเปอร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดตลอดกาล[1][2] ชาเคอร์เป็นหนึ่งในศิลปินที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในโลก โดยขายได้มากกว่า 75 ล้านชุดทั่วโลก เพลงของชาเคอร์ส่วนใหญ่มักกล่าวถึงการโตมาท่ามกลางความรุนแรง ความยากลำบากในชุมชนสลัม การเหยียดเชื้อชาติ ปัญหาในสังคม การขัดแย้งกันในหมู่แร็ปเปอร์ และเขาถือเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านความเหลื่อมล้ำด้วย
ชาเคอร์เกิดในนครนิวยอร์ก พ่อแม่ของเขาเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและสมาชิกพรรคแบล็กแพนเทอร์ โดยแม่ของเขา อาเฟนี ชาเคอร์ เป็นคนดูแล เขาย้ายไปที่บอลทิมอร์ในปี 1984 และไปยังบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโกในปี 1988 และออกอัลบั้มชุดแรก 2Pacalypse Now ในปี 1991 เขากลายเป็นบุคคลสำคัญในวงการเพลงเวสต์โคสต์ฮิปฮอป จากเนื้อเพลงที่แร็ปเกี่ยวกับการตระหนักรู้ (conscious)[3][4] ชาเคอร์ได้รับคำสรรเสริญจากนักวิจารณ์และประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์มากขึ้นด้วยอัลบั้มชุดถัดมา Strictly 4 My N.I.G.G.A.Z... (1993) และ Me Against the World (1995)[5] อัลบั้มชุดที่ห้า All Eyez on Me (1996) ได้รับการยืนยันระดับแผ่นเสียงเพชร และยังเป็นอัลบั้มคู่ชุดแรกในประวัติศาสตร์ของวงการฮิปฮอป นอกจากงานดนตรี ชาเคอร์ยังประสบความสำเร็จอย่างมากในฐานะนักแสดง โดยเขาได้รับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง Juice, Poetic Justice (1993), Above the Rim (1994), Bullet (1996), Gridlock'd (1997) และ Gang Related (1997)
ในช่วงบั้นปลายของอาชีพ ชาเคอร์ถูกยิงห้าครั้งในห้องพักผ่อนของสตูดิโอบันทึกเสียงในนิวยอร์กและยังประสบปัญหาทางกฎหมาย รวมถึงถูกกักขัง ในปี 1995 ชาเคอร์ถูกจำคุกแปดเดือนในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ แต่ได้รับการปล่อยตัวระหว่างรอการอุทธรณ์คำตัดสินของเขา หลังจากได้รับการปล่อยตัว เขาได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงเดธโรว์เรเคิดส์ของชู้ก ไนต์ และมีส่วนร่วมอย่างมากในฉนวนความขัดแย้งของอีสต์โคสต์ฮิปฮอป–เวสต์โคสต์ฮิปฮอปที่กำลังเติบโต[6] เมื่อวันที่ 7 กันยายน 1996 ชาเคอร์ถูกยิงสี่ครั้งโดยผู้จู่โจมที่ไม่ทราบชื่อในเหตุกราดยิงขณะขับรถอยู่ในลาสเวกัส เขาเสียชีวิตในอีกหกวันต่อมา
ในปี 2002 ชาเคอร์ได้รับการบรรจุชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศฮิปฮอป[7] ในปี 2017 เขาได้รับการบรรจุชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล[8] นิตยสาร โรลลิงสโตน จัดให้เขาเป็นหนึ่งใน 100 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[9]
ผลงานเพลง
- สตูดิโออัลบั้ม
- 2Pacalypse Now (1991)
- Strictly 4 My N.I.G.G.A.Z... (1993)
- Me Against the World (1995)
- All Eyez on Me (1996)
- สตูดิโออัลบั้มหลังมรณกรรม
- The Don Killuminati: The 7 Day Theory (1996) (ในชื่อ มาคาเวลี)
- R U Still Down? (Remember Me) (1997)
- Until the End of Time (2001)
- Better Dayz (2002)
- Loyal to the Game (2004)
- Pac's Life (2006)
- อัลบั้มความร่วมมือ
- This Is an EP Release กับดิจิทัลอันเดอร์กราวด์ (1991)
- Thug Life: Volume 1 กับธักไลฟ์ (1994)
- อัลบั้มความร่วมมือหลังมรณกรรม
- Still I Rise กับเอาต์ลอว์ซ (1999)
อ้างอิง
- ↑ Okwerekwu, Ike (May 5, 2019). "Tupac: The Greatest Inspirational Hip Hop Artist". Music For Inspiration. สืบค้นเมื่อ March 9, 2022.
- ↑ "8 Ways Tupac Shakur Changed the World". Rolling Stone. September 13, 2016. สืบค้นเมื่อ March 9, 2022.
- ↑ Tupac Shakur – Thug Angel (The Life of an Outlaw). 2002.
- ↑ Alexander, Leslie M.; Rucker, Walter C., บ.ก. (February 28, 2010). Encyclopedia of African American History. Vol. 1. ABC-CLIO. pp. 254–257. ISBN 9781851097692.
- ↑ Edwards, Paul (2009). How to Rap: The Art & Science of the Hip-Hop MC. Chicago Review Press. p. 330.
- ↑ Jay-Z (2011). Bailey, Julius (บ.ก.). Essays on Hip Hop's Philosopher King. McFarland & Company. p. 55. ISBN 978-0786463299.
- ↑ "Notorious B.I.G., Tupac Shakur To Be Inducted Into Hip-Hop Hall Of Fame". BET. December 30, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2006. สืบค้นเมื่อ January 7, 2012.
- ↑ "Rock and Roll Hall of Fame taps Tupac, Journey, Pearl Jam". USA TODAY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2016. สืบค้นเมื่อ December 20, 2016.
- ↑ "100 Greatest Artists". Rolling Stone. December 3, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2018. สืบค้นเมื่อ June 11, 2019.