ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี

ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานPublic
เจ้าของCity of New York[1]
ผู้ดำเนินงานPort Authority of New York and New Jersey[1]
พื้นที่บริการNew York City
สถานที่ตั้งSouthern Queens, NY
ฐานการบิน
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล4 เมตร / 13 ฟุต
เว็บไซต์[2]
FAA airport diagram as of 20 November 2008
FAA airport diagram as of 20 November 2008
JFKตั้งอยู่ในนิวยอร์กซิตี
JFK
JFK
Location within New York City
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
4L/22R 3,460 11,351 Asphalt
4R/22L 2,560 8,400 Asphalt
13L/31R 3,048 10,000 Asphalt
13R/31L 4,423 14,572 Concrete
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
เลข ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
H1 18 60 Asphalt
H2 18 60 Asphalt
H3 18 60 Asphalt
H4 18 60 Asphalt
สถิติ (2010)
Aircraft operations (ACI)[3]445,777
Passengers (ACI)[3]58,320,000

ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy International Airport) หรือเดิมคือท่าอากาศยานไอเดิลไวล์ด (Idlewild Airport) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ตั้งอยู่ในเขตชุมชนจาเมกา, ควีนส์ ทางตะวันออกเฉียงใต้นิวยอร์กซิตี อยู่ห่างจากตอนใต้ของเกาะแมนแฮตตันประมาณ 19 กิโลเมตร (12 ไมล์)

เจเอฟเค เป็นประตูหลักสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางมายังสหรัฐ[5] และยังเป็นจุดขนส่งสินค้าที่สำคัญของประเทศอีกด้วย[6]

ท่าอากาศยานแห่งนี้บริหารงานโดยการท่าเรือนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี (Port Authority of New York and New Jersey) ซึ่งเป็นผู้ดูแลท่าอากาศยานแห่ง 3 แห่ง ในเขตเมืองนิวยอร์กซิตีและปริมณฑล ได้แก่ นูอาร์ก ลิเบอร์ตี, ลากวาเดีย และเทเตอร์โบโร โดยทั้งหมดนี้เจเอฟเคเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นฐานการให้บริการของเจ็ตบลู แอร์เวย์ รวมทั้งเป็นท่าอากาศยานหลักของเดลต้า แอร์ไลน์ และอเมริกัน แอร์ไลน์

ในปีพ.ศ. 2547 จำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศขาออกจากเจเอฟเคมีสัดส่วนร้อยละ 17 ของผู้โดยสารชาวอเมริกันที่เดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าท่าอากาศยานอื่นๆในสหรัฐ ในปีพ.ศ. 2543 เจเอฟเคให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศโดยเฉลี่ย 50,000 คนต่อวัน เส้นทางบินเจเอฟเค-ลอนดอน ฮีทโธรว์ เป็นเส้นทางระหว่างประเทศจากอเมริกาที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด มีจำนวนกว่า 2.9 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2543[2] เก็บถาวร 2006-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ส่วนจุดหมายปลายทางหลักอื่นๆ ในเที่ยวบินระหว่างประเทศของเจเอฟเค ได้แก่ ปารีส , แฟรงค์เฟิร์ต และโตเกียว นอกจากมีสายการบินเกือบ 100 บริษัท จาก 50 ประเทศทั่วโลกให้บริการเส้นทางมายังเจเอฟเค

และแม้ว่าเจเอฟเคจะเป็นที่รับรู้กันว่าเป็นท่าอากาศยานหลักทั้งของนิวยอร์กซิตีและสหรัฐ แต่เจเอฟเคก็ยังให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเส้นทางไปยังฝั่งตะวันตกของประเทศ ในปีพ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับการใช้บริการผู้โดยสารจำนวน 41 ล้านคน ส่วนท่าอากาศยานนูอาร์ก ลิเบอร์ตี ให้บริการ 33 ล้านคน และท่าอากาศยานลากวาเดียให้บริการ 26 ล้านคน รวมแล้วมีผู้มาใช้บริการท่าอากาศยานในเขตเมืองนิวยอร์กกว่า 100 ล้านคน ทำให้น่านฟ้านครนิวยอร์กมีการจราจรทางอากาศหนาแนที่สุดในประเทศ ทะลุผ่านสถิติของน่านฟ้าเมืองชิคาโก

ประวัติ

ท่าอากาศยานแห่งนี้บริหารงานโดยการท่าเรือนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี เช่าพื้นที่จากเมืองนิวยอร์กซิตี มาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2490 การก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใช้เงินจำนวนถึง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปัจจุบัน ได้มีการประเมินแล้วว่าทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจถึง 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการว่าจ้างงานถึง 207,000 ตำแหน่ง

การก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อพ.ศ. 2485 ด้วยเนื้อที่เพียง 4 ตารางกิโลเมตร (1,000 เอเคอร์) บนสนามกอล์ฟไอเดิลไวล์ด ชื่อของท่าอากาศยานจึงใช้ชื่อตามสนามกอล์ฟว่า ท่าอากาศยานไอเดิลไวล์ด

เที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกให้บริการวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 และได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานใหม่ในวันที่ 31 กรกฎาคม ในปีเดียวกันว่า ท่าอากาศยานนานาชาตินิวยอร์ก แต่อย่างไรก็ตามชื่อ "ไอเดิลไวล์ด" ก็ยังถูกใช้เรียกโดยทั่วไปและยังคงใช้รหัสสนามบิน IATA ว่า IDL

ในขณะที่อุตสาหกรรมการบินเติบโตขึ้น ไอเดิลไวล์ดเองก็เติบโตตามไปด้วย และด้วยความสำคัญของการเป็นศูนย์กลางธุรกิจระดับโลกของนิวยอร์ก ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจึงต้องเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการ จึงขยายพื้นที่ไปถึง 16 ตารางกิโลเมตร (4,000 เอเคอร์) และสร้างอาคารผู้โดยสารเป็น 8 หลังในเวลาต่อมา ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านสายการบินต่างไม่ว่าจะเป็นแพนแอม , ทีดับเบิลยูเอ, อีสเทิร์นแอร์ไลน์, เนชั่นเนลแอร์ไลน์, ทาวเวอร์แอร์ และฟลายอิงไทเกอร์ไลน์ ทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้กลายศูนย์กลางการบินระดับโลก

อาคารผู้โดยสารชั่วคราวที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 เป็นอาคารผู้โดยสารเพียงหลังเดียวจนกระทั่ง พ.ศ. 2500 จึงได้เปิดอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศขึ้น ส่วนอาคารหลังอื่นๆสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2501-2515 อาคารแต่ละหลังออกแบบโดยสายการบินหลักของท่าอากาศยาน

อาคารเวิร์ลพอร์ต แพนแอม (the Worldport (Pam Am)) เปิดใช้เมื่อพ.ศ. 2505 ปัจจุบันคืออาคารผู้โดยสาร 3 ประกอบด้วยหลังคารูปวงรีขนาดใหญ่ แขวนด้วยสายเคเบิลอยู่กับเสา 32 ต้น ส่วนของหลังคาครอบคลุมพื้นที่อาคารและพื้นที่รอขึ้นเครื่อง และยังมีทางเชื่อม (Jetway) หรืองวงช้าง เชื่อมต่อกับอาคารและเครื่องบิน

the TWA Filght Center ปัจจุบันคืออาคารผู้โดยสาร 5

อาคารสายการบินทีดับเบิลยูเอ (the TWA Flight Center) เปิดใช้ในปีพ.ศ. 2505 เช่นกัน ปัจจุบันอาคารผู้โดยสาร 5 ออกแบบโดย Eero Saarinen มีรูปร่างเป็นสัญลักษณ์แทนการบิน เป็นอาคารผู้โดยสารที่ได้ชื่อว่ามีเอกลักษณ์โดดเด่นแห่งหนึ่งของโลก หลังจากที่ดับเบิลยูเอถอดตัวออกไป ก็ไม่ได้ใช้งานอีกเลย โดยอาคารหลังนี้จะเป็นส่วนหนึ่งกับอาคารผู้โดยสาร 5 หลังใหม่ที่กำลังก่อสร้างโดยเจ็ตบลู

ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อพ.ศ. 2506 เพียง 1 เดือนหลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ท่าอากาศยานแห่งนี้จึงได้รับรหัสสนามบิน IATA ใหม่เป็น JFK และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ก็มักจะใช้ตัวย่อนี้เรียกเป็นชื่อท่าอากาศยานกันติดปาก

ในปีพ.ศ. 2513 เนชั่นเนลแอร์ไลน์ ได้เปิดใช้อาคารซันโดรม (Sundrome) ซึ่งออกแบบโดย Pei Cobb Freed & Partners ปัจจุบันคืออาคารผู้โดยสาร 6 และใช้งานโดยเจ็ตบลู ในเวลาต่อมาการจราจรทางอากาศของนิวยอร์กมีปริมาณมากขึ้น จึงมีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร 3 และ 5 ใหม่ในช่วงปีพ.ศ. 2513-2522 เพื่อรองรับเครื่องบิน โบอิง 747 ส่วนเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง คองคอร์ด ซึ่งบริติช แอร์เวย์และแอร์ฟรานซ์ เปิดให้บริการเส้นทางบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยความเร็วเหนือเสียงจากเจเอฟเค ตั้งแต่พ.ศ. 2520 จนถึงพ.ศ. 2546 ปีที่ทั้งสองสายการบินยกเลิกการให้บริการเครื่องบินคองคอร์ด เจเอฟเคเป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเครื่องบินคองคอร์ดต่อปีมากที่สุดในโลก

ในปีพ.ศ. 2541 ได้มีการก่อสร้างระบบขนส่งระบบรางแอร์เทรน เจเอฟเค ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2546 ทางรถไฟนี้เชื่อมต่ออาคารผู้โดยสารแต่ละอาคารกับระบบรถไฟใต้ดินของนิวยอร์กและรถไฟชานเมืองกับโฮวาร์ดบีชและโอโซนปาร์ค

ช่วงเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เจเอฟเคเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานแรกๆในสหรัฐที่หยุดการให้บริการชั่วคราว

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550 เจเอฟเคเป็นท่าอากาศยานแห่งแรกในสหรัฐที่รองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ที่มีผู้โดยสารเดินทางมาด้วย ณ อาคารผู้โดยสาร 1 ซึ่งการบินทดสอบครั้งนี้บรรทุกผู้โดยสารมากกว่า 500 คน ดำเนินการโดยลุฟต์ฮันซาและแอร์บัส

แผนการในอนาคต

เจเอฟเคกำลังอยู่ในช่วงการปรับปรุงด้วยงบจำนวนมากถึง 10.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสาร 1 ใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว รวมถึงอาคารผู้โดยสาร 4 ที่สร้างแทนที่อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ซึ่งได้เปิดให้บริการไปเมื่อพ.ศ. 2544 ส่วนอาคารผู้โดยสาร 5 ใหม่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ แต่ก็ยังรักษาอาคารเดิมไว้ อาคารผู้โดยสาร 2 และ 3 กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะทุบทิ้งหรือปรับปรุงใหม่ และอาคารผู้โดยสาร 8 และ 9 กำลังดำเนินการเชื่อมต่อให้เป็นอาคารเดียวกัน

อาคารผู้โดยสาร และสายการบิน

อาคารผู้โดยสาร 1

อาคารผู้โดยสาร 2

อาคารผู้โดยสาร 3

อาคารผู้โดยสาร 4

  • การบินไทย (กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ)
  • คอนติเนนตัล แอร์ไลน์ (ฮิวส์ตัน-อินเตอร์คอนติเนนตัล)
    • คอนติเนนตัลเอ็กซ์เพรส ให้บริการโดย เอ็กซ์เพรสเจ็ตแอร์ไลน์ (คลีฟแลนด์)
  • คูเวตแอร์เวย์ (คูเวตซิตี, ลอนดอน-ฮีทโธรว์)
  • เคแอลเอ็ม โรยัลดัตช์ แอร์ไลน์ (อัมสเตอร์ดัม)
  • แคริบเบียนแอร์ไลน์ (กูยานา, พอร์ทออฟสเปน)
  • โคปาแอร์ไลน์ (ปานามาซิตี)
  • เจ็ตบลูแอร์เวย์ (แคนคูน, ซานติเอโก[DR], ซานโตโดมินิโก (เริ่ม 24พฤษภาคม 2550), ซานฮวน[PR])
  • เชคแอร์ไลน์ (ปราก)
  • ซันคันทรีย์แอร์ไลน์ (มินนีอาโปลิส/เซนต์ปอล)
  • ซูมแอร์ไลน์ (ลอนดอน-แกตวิค (เริ่ม 1 มิถุนายน 2550))
  • เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ (โจฮันเนสเบิร์ก, ดาการ์)
  • ทีเอซีเอ (กัวเตมาลาซิตี, ซาซัลวาดอร์, ซานเปโดรซูลา)
    • ลาคซา (ซานโจเซ่[CR])
  • ทีเอเอ็มลิฮาสเอเรียส์ (เซาเปาลู-กัวรูลอส)
  • นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ (ดีทรอยส์, มินนีอาโปลิส/เซนต์ปอล)
  • นอร์ทอเมริกันแอร์ไลน์ (จอร์จทาวน์, ลากอส, อักกรา)
  • ปากีสถานอินเตอร์เนชั่นเนลแอร์ไลน์ (การาจี, ละฮอร์, อิสลามาบาด)
  • พรีมาริสแอร์ไลน์ (จอร์จทาวน์, พอร์ทออฟสเปน)
  • เม็กซิกานา (เม็กซิโกซิตี)
  • ไมอะมีแอร์ (เที่ยวบินเช่าเหมาลำ)
  • ยูโรฟลาย (เนเปิลส์ (เฉพาะฤดูกาล), โบโลนญา (เฉพาะฤดูกาล), ปาเลอโม (เฉพาะฤดูกาล), โรม-ฟีอูมิชิโน (เฉพาะฤดูกาล))
  • รอยัลจอร์แดเนียน (อัมมาน)
  • แลนแอร์ไลน์ (กัวยากิว, ซานติเอโก, ลิมา)
  • เวอร์จิ้น แอตแลนติก แอร์เวย์ (ลอนดอน-ฮีทโธรว์)
  • สิงคโปร์แอร์ไลน์ (แฟรงค์เฟิร์ต, สิงคโปร์)
  • อิสแรร์ (เทลอาวีฟ)
  • อียิปต์แอร์ (ไคโร)
  • อีออสแอร์ไลน์ (ลอนดอน-สแตนสเต็ด)
  • อุซเบกิสถานแอร์เวย์ (ทัชเคนต์, ริกา)
  • เอ็กซ์ตราแอร์เวย์ (จอร์จทาวน์, พอร์ทออฟสเปน)
  • เอเชียนาแอร์ไลน์ (โซล-อินซอน)
  • เอทิฮัดแอร์เวย์ (อาบูดาบี)
  • เอมิเรตส์ (ดูไบ, ฮัมบวร์ค)
  • เอล อัล (เทลอาวีฟ)
  • เอวิอองคา (คาลี, บาร์แรนกิลลา, เปไรรา, มาเดลลิน)
  • แอร์จาเมกา (กรีเนดา, คิงส์ตัน, บาร์เบโดส, มอนเตโกเบย์, เซนต์ลูเชีย)
  • แอร์อินเดีย (เชนไน, เดลี, มุมไบ, ลอนดอน-ฮีทโธรว์)
  • แอร์ตาฮีตี นูอี (ปาเปเอเต)
  • แอร์ลินกัส (ดับลิน, แชนนอน)
  • แอโรลีเนียส์ อาร์เจนตินาส (บูโนสไอเรส-เอไซซา)
  • แอโรสวิตแอร์ไลน์ (เคียฟ-โปริสปิล)
  • แอลทียูอินเตอร์เนชั่นเนล (ดึสเซลดอร์ฟ)
  • แอลโอทีโปลิชแอร์ไลน์ (กราโกว (เริ่ม 4 มิถุนายน 2550), รเซสโซว (เริ่ม 2 มิถุนายน 2550), วอร์ซอ)

อาคารผู้โดยสาร 6

อาคารผู้โดยสาร 7

อาคารผู้โดยสาร 8

อาคารผู้โดยสาร 9

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name panynj_pr cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  2. "John F. Kennedy International Airport". Panynj.gov. สืบค้นเมื่อ 2010-03-11.
  3. 3.0 3.1 คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name ACI cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  4. FAA Airport Master Record for JFK (Form 5010 PDF). Federal Aviation Administration. August 27, 2009.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-10-02. สืบค้นเมื่อ 2007-03-28.
  6. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น