ท่าอากาศยานไทย

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ชื่อท้องถิ่น
Airport of Thailand PCL
ประเภท
การซื้อขาย
SET:AOT
ISINTH0765010010 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมการบริการ
ก่อนหน้าการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522; 45 ปีก่อน (2522-07-01)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 333 หมู่ที่ 7 ถนนเชิดวุฒากาศ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
จำนวนที่ตั้งท่าอากาศยาน 6 แห่ง
พื้นที่ให้บริการประเทศไทยและต่างประเทศ
บุคลากรหลัก
  • พลตำรวจเอก วิสนุ ปราสาททองโอสถ
  • (ประธานกรรมการ)
  • กีรติ กิจมานะวัฒน์[1](กรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
ผลิตภัณฑ์การบริหารท่าอากาศยาน
บริการ
  • บรรเทาสาธารณภัยทางอากาศ
  • รักษาความปลอดภัยทางอากาศ
  • ขนส่งและโลจิสติกส์
รายได้
  • ลดลง 7,838.44 ล้านบาท
  • (พ.ศ. 2564)[2]
รายได้จากการดำเนินงาน
  • ลดลง 7,085.60 ล้านบาท
  • (พ.ศ. 2564)[2]
รายได้สุทธิ
  • ลดลง 17,751.94 ล้านบาท
  • (พ.ศ. 2564)[2]
สินทรัพย์
  • เพิ่มขึ้น 195,085.76 ล้านบาท
  • (พ.ศ. 2564)[2]
ส่วนของผู้ถือหุ้น
  • ลดลง 113,421.37 ล้านบาท
  • (พ.ศ. 2564)[2]
เจ้าของกระทรวงการคลัง (70.000 %)
พนักงาน
  • 8,176 คน
  • (พ.ศ. 2564)[2]
บริษัทแม่กระทรวงคมนาคม
แผนก
  • โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย
  • รักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานไทย
  • ท่าอากาศยานไทย ทาฟ่า โอเปอร์เรเตอร์
บริษัทในเครือ
  • ฟอร์ท เอ็มอาร์โอ เซอร์วิส
  • ครัวการบินภูเก็ต
  • ไทยเชื้อเพลิงการบิน
  • ดอนเมือง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต โฮเตล
  • บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ
  • เทรดสยาม
  • ไทย แอร์พอร์ตส์ กราว เซอร์วิสเซส
เว็บไซต์เว็บไซต์ของบริษัท
สัญลักษณ์เมื่อครั้งยังเป็น การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Airports of Thailand Public Company Limited) เดิมใช้ชื่อว่า การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย หรือ ทอท. เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม เป็นองค์กรบริหารงานท่าอากาศยานระดับแห่งชาติของไทย โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 เพื่อดำเนินกิจการท่าอากาศยานต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ และรับโอนกิจการท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งเคยสังกัดกรมการบินพลเรือน (กองทัพอากาศ) โดยอาศัยตามความบทเฉพาะกาล มาตรา 50 ของพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2522 ต่อมา ทอท. ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทภายใต้นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย โดยได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนาม "บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)" และปรับตราสัญลักษณ์ใหม่เพียงเล็กน้อย โดยชื่อย่อของบริษัทยังคงใช้ "ทอท." เช่นเดิม ส่วนชื่อภาษาอังกฤษคือ Airports of Thailand Public Company Limited และใช้ชื่อย่อว่า AOT ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา โดยกระทรวงการคลัง ถือหุ้นร้อยละ 70

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ยังถือหุ้นใน บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด 60%, บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด 10%, บริษัท ครัวการบินภูเก็ต จำกัด 10%, บริษัท ดอนเมือง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต โฮเต็ล จำกัด 9%, บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด 4.94%, บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด อีก 28.50%

ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานภูเก็ตมีจำนวนประเทศที่ให้บริการรวม 25 ประเทศ ไม่รวม ฮ่องกง และ มาเก๊า ท่าอากาศยานดอนเมืองให้บริการจำนวนประเทศรวม 15 ประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ให้บริการรวม 9 ประเทศ ไม่รวม ฮ่องกง และ มาเก๊า ท่าอากาศยานหาดใหญ่ให้บริการ 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศจีน และ ประเทศมาเลเซีย ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงรายให้บริการ 1 ประเทศ ได้แก่ประเทศจีน ไม่นับรวม ฮ่องกง ซึ่งเป็นเขตบริหารพิเศษของจีนซึ่งให้บริการในปีดังกล่าวด้วย ในปีเดียวกันคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอน ท่าอากาศยานชุมพร ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานสกลนคร และ ท่าอากาศยานตาก[3]

ในปี พ.ศ. 2562 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตลอดทั้งปี มีสายการบินทำการบินทั้งหมด 118 สายการบิน แบ่งเป็นขนส่งผู้โดยสาร 105 สายการบิน ขนส่งอากาศยาน อย่างเดียว 13 สายการบิน

มี สายการบินเที่ยวบิน สายการบินเช่าเหมาลำ ระหว่างประเทศ 2 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำ ภายในประเทศ ทำการบินไป สนามบินเกาะไม้ซี้ 1 สายการบิน รวม 121 สายการบิน

จำนวนประเทศที่ให้บริการสายการบินประจำรวม 55 ประเทศ ไม่รวม ฮ่องกง และ มาเก๊า ตลอดปี พ.ศ. 2562


สำหรับปีสิ้นสุดงบประมาณวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ปริมาณการจราจรทางอากาศของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของบริษัท มีจำนวนเที่ยวบินรวม 874,999 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.24 เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 462,225 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 412,774 เที่ยวบิน ส่วนจำนวนผู้โดยสารรวมมีทั้งหมด 139.52 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.99 เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 80.49 ล้านคนและผู้โดยสารภายในประเทศ 59.03 ล้านคน โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากเที่ยวบินและผู้โดยสารระหว่างประเทศ

บริษัทมีกำไรสุทธิงวดปี 2562 (1 ตุลาคม 2561- 30 กันยายน 2562) จำนวน 25,026.36 ล้านบาท[4]

ท่าอากาศยานภายใต้การบริหาร

ทอท. บริหารงานท่าอากาศยาน 6 แห่ง ดังต่อไปนี้[5][6][7]

ชื่อ ภูมิภาค สถิติ 2558 สถิติ 2559 สถิติ 2560
ผู้โดยสาร จำนวนเที่ยวบิน ผู้โดยสาร จำนวนเที่ยวบิน ผู้โดยสาร จำนวนเที่ยวบิน
1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (BKK) กลาง 52,902,110 317,066 55,892,428 336,354 60,860,704 350,508
2 ท่าอากาศยานดอนเมือง (DMK) กลาง 30,304,183 224,074 35,203,757 244,296 38,299,757 256,760
3 ท่าอากาศยานภูเก็ต (HKT) ใต้ 12,859,356 84,758 15,107,185 97,813 16,855,637 106,093
4 ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (CNX) เหนือ 8,365,851 63,843 9,446,320 69,202 10,230,070 71,993
5 ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (HDY) ใต้ 3,639,936 24,607 4,004,665 28,097 4,367,364 30,067
6 ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (CEI) เหนือ 1,745,568 13,402 2,038,389 14,432 2,503,375 17,661
รวม 109,817,004 727,750 121,692,744 790,194 133,116,907 833,082

ท่าอากาศยานที่ให้บริการเชิงพาณิชย์เครื่องบินขนาดใหญ่

ท่าอากาศยานเชียงใหม่, ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย, ท่าอากาศยานภูเก็ต, ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานดอนเมือง สามารถรองรับเที่ยวบินของเครื่องบินขนาดใหญ่ ชนิด โบอิง 747

ท่าอากาศยานดอนเมือง และ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ สามารถรองรับเที่ยวบิน แอร์บัส เอ380 ได้ แต่ไม่มีการทำการบินเชิงพาณิชย์ มีเพียงเที่ยวบินพิเศษเท่านั้น

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นที่เดียวที่ให้บริการเที่ยวบิน แอร์บัส เอ380 เชิงพาณิชย์

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  • ข้อมูล ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2560[8]
ลำดับ ผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น สัดส่วน
1 กระทรวงการคลัง 10,000,000,000 70.00%
2 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 611,351,816 4.28
3 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 405,711,990 2.84
4 STATE STREET EUROPE LIMITED 283,376,044 1.98
5 สำนักงานประกันสังคม 161,239,300 1.13
6 CHASE NOMINEES LIMITED 128,428,723 0.90
7 BNY MELLON NOMINEES LIMITED 79,255,848 0.55
8 HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 75,276,029 0.53
9 THE BANK OF NEW YORK MELLON 73,428,727 0.51

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น