อาการท้องผูก
อาการท้องผูก (Constipation) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Costiveness[1], dyschezia[2] |
ภาพเอ็กซเรย์แสดงอาการท้องผูกในเด็ก วงกลมแสดงอุจจาระ (อุจจาระสีขาวล้อมรอบด้วยแก๊สลำไส้สีดำ) | |
สาขาวิชา | วิทยาทางเดินอาหาร |
อาการ | ถ่ายไม่บ่อยหรือยาก ปวดท้อง ท้องขึ้น[3][2] |
ภาวะแทรกซ้อน | ริดสีดวงทวารหนัก แผลทวารหนัก อุจจาระอัดแน่น[4] |
สาเหตุ | อุจจาระเคลื่อนไปได้ช้าในลำไส้ใหญ่, กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS), celiac disease[A], การแพ้กลูเตน (NCGS)[B], ความผิดปกติของฐานเชิงกราน (pelvic floor disorders)[4][5][6] |
ปัจจัยเสี่ยง | ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, โรคเบาหวาน, โรคพาร์คินสัน, โรคเกี่ยวกับกลูเตน, มะเร็งลำไส้ใหญ่, diverticulitis[C], โรคลำไส้อักเสบ (IBD), ยาบางชนิด[4][5][6] |
การรักษา | ดื่มน้ำให้พอ ทานใยอาหารเพิ่ม ออกกำลังกาย[4] |
ยา | ยาระบายแบบเพิ่มเนื้ออุจจาระ, แบบเพิ่มน้ำ (osmotic agent), แบบทำอุจจาระให้นิ่ม, หรือแบบหล่อลื่น[4] |
ความชุก | 2-30%[7] |
อาการท้องผูก[8] (อังกฤษ: constipation) หมายถึงการถ่ายอุจจาระไม่บ่อยหรือยาก[2] อุจจาระบ่อยครั้งจะแข็งและแห้ง[4] อาการอื่น ๆ ที่อาจมีรวมปวดท้อง ท้องขึ้น (bloating) และรู้สึกเหมือนกับว่ายังถ่ายไม่หมด[3] ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งโรคริดสีดวงทวาร แผลทวารหนัก (anal fissure) และอุจจาระอัดแน่น (fecal impaction)[4] ความถี่การถ่ายอุจจาระปกติของผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 3 ครั้งต่อวัน จนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์[4] ส่วนทารกบ่อยครั้งจะถ่าย 3-4 ครั้งต่อวัน และเด็กเล็ก ๆ ปกติจะถ่าย 2-3 ครั้งต่อวัน[9]
ท้องผูกมีเหตุหลายอย่าง[4] เหตุสามัญรวมทั้งอุจจาระเคลื่อนไปในลำไส้ใหญ่ช้าเกินไป, กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น, และความผิดปกติของฐานเชิงกราน (pelvic floor disorders)[4] โรคที่เป็นมูลฐานของอาการรวมทั้งภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, โรคเบาหวาน, โรคพาร์คินสัน, celiac disease[A], การแพ้กลูเตน (NCGS)[B], มะเร็งลำไส้ใหญ่, diverticulitis[C], และโรคลำไส้อักเสบ (IBD)[4][17][5][6] ยาที่ทำให้ท้องผูกรวมทั้งโอปิออยด์ ยาลดกรดบางชนิด แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ และ anticholinergics[4] ในบรรดาคนไข้ที่ทานยาโอปิออยด์ ประมาณ 90% จะท้องผูก[18] ท้องผูกน่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นถ้าน้ำหนักลดหรือโลหิตจาง, มีเลือดในอุจจาระ, ครอบครัวมีประวัติโรคลำไส้อักเสบ (IBD) หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่, หรือเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ในผู้สูงอายุ[19]
การรักษาจะขึ้นอยู่กับเหตุและระยะเวลาที่เป็นมาแล้ว[4] พฤติกรรมที่อาจช่วยรวมทั้งการดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานใยอาหารเพิ่ม และออกกำลังกาย[4] ถ้านี่ยังไม่ได้ผล ก็แนะนำให้ใช้ยาระบายต่าง ๆ ทั้งแบบเพิ่มเนื้ออุจจาระ, แบบเพิ่มน้ำ (osmotic agent), แบบทำอุจจาระให้นิ่ม, หรือแบบหล่อลื่น[4] ส่วนยาระบายแบบ stimulant ที่กระตุ้นเยื่อเมือกลำไส้หรือข่ายประสาทลำไส้ เปลี่ยนการหลั่งน้ำและอิเล็กโทรไลต์ และเปลี่ยนการบีบตัวของลำไส้ จะเก็บไว้ใช้เป็นอย่างสุดท้ายถ้าอย่างอื่นไม่ได้ผล[4] การรักษาอย่างอื่นรวมทั้ง biofeedback (การวัดการตอบสนองทางสรีรภาพด้วยเครื่องมือโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะควบคุมการตอบสนองเช่นนั้น ๆ) หรือในกรณีที่น้อยมาก การผ่าตัด[4]
ในกลุ่มประชากรทั่วไป อัตราการท้องผูกอยู่ที่ 2-30%[7] ส่วนสำหรับผู้สูงอายุในบ้านคนชรา อัตราจะอยู่ที่ 50-75%[18]
นิยาม
ท้องผูกเป็นอาการแต่ไม่ใช่โรค บ่อยครั้งที่สุดพิจารณาว่า เป็นการถ่ายไม่บ่อยพอ คือถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่ออาทิตย์[20][21] อย่างไรก็ดี คนที่มีอาการอาจมีปัญหาอื่น ๆ รวมทั้ง[3][22]
- ต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ
- ถ่ายใช้เวลามาก
- อุจจาระแข็ง
- เจ็บเมื่อถ่ายเพราะเบ่ง
- ปวดท้อง
- ท้องขึ้น (bloating)
- รู้สึกเหมือนถ่ายยังไม่หมด
เกณฑ์วิธีคือ Rome Criteria เป็นอาการต่าง ๆ ที่ช่วยวินิจฉัยอาการท้องผูกในคนกลุ่มอายุต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐาน และช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้ตามมาตรฐาน
เหตุ
เหตุของอาการท้องผูกอาจแบ่งออก (1) เป็นแต่กำเนิด (2) ปฐมภูมิ (3) ทุติยภูมิ[2] แบบที่สามัญที่สุดก็คือปฐมภูมิ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต[23] เหตุยังสามารถแบ่งตามอายุเช่นในเด็ก และผู้ใหญ่
ท้องผูกปฐมภูมิหรือท้องผูกโดยหน้าที่ (functional constipation) เป็นอาการที่นานกว่า 6 เดือนโดยไม่มีเหตุต่าง ๆ รวมทั้งผลข้างเคียงของยา หรือผลของโรคอื่น ๆ[2][24] ไม่มีการปวดท้อง และดังนั้นจึงต่างกับกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น[2] เป็นอาการท้องผูกแบบสามัญที่สุด และบ่อยครั้งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง[23][25]
ในผู้ใหญ่ เหตุหลัก ๆ ก็คือ การทานอาหาร เช่น ไม่ได้ใยอาหารและน้ำพอ หรือเกิดจากพฤติกรรม เช่น อยู่เฉย ๆ มากเกินไป ในผู้สูงอายุ เหตุสามัญที่อ้างรวมทั้งการทานใยอาหารไม่เพียงพอ ทานน้ำไม่เพียงพอ อยู่เฉย ๆ มากเกินไป ผลข้างเคียงของยา ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ขวางทางอุจจาระ[26] อย่างไรก็ดี หลักฐานว่าเป็นปัจจัยเหล่านี้จริง ๆ ก็อ่อนมาก[26]
เหตุทุติยภูมิรวมทั้งผลข้างเคียงของยาเช่น สารฝิ่น, โรคต่อมไร้ท่อและโรคทางเมแทบอลิซึม เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ และสิ่งที่ขวางทางอุจจาระ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่[25] celiac disease[A] และการแพ้กลูเตน (NCGS)[B] ก็อาจมีอาการท้องผูกด้วย[5][27][6]
กระเพาะปัสสาวะเลื่อนเข้าไปในช่องคลอด (cystocele)[D] อาจเกิดโดยเป็นผลของท้องผูกเรื้อรัง[28]
อาหาร
ท้องผูกอาจมีเหตุจากหรือแย่ลงเพราะอาหารที่มีใยอาหารน้อย การทานน้ำน้อย หรือการควบคุมอาหาร[22][29] อาหารที่มีใยอาหารสูงจะช่วยลดเวลาการดำเนินผ่านลำไส้ใหญ่ และเพิ่มเนื้ออุจจาระโดยทำให้มันนิ่มไปด้วยพร้อม ๆ กัน ดังนั้น อาหารที่มีใยอาหารต่ำอาจนำไปสู่อาการท้องผูกปฐมภูมิ[25]
ยา
ยาหลายอย่างมีผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูก รวมทั้ง (แต่ไม่จำกัดแค่) โอปิออยด์, ยาขับปัสสาวะ, ยาแก้ซึมเศร้า, สารต้านฮิสตามีน, ยาแก้เกร็ง, ยากันชัก, ยาแก้ซึมเศร้าแบบ tricyclic, ยาปรับการเต้นหัวใจ (antiarrythmic), beta-adrenoceptor antagonists, ยาแก้ท้องร่วง, 5-HT3 receptor antagonist เช่น ondansetron, และยาลดกรดที่เป็นอะลูมิเนียม[22][30] แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์บางชนิด เช่น nifedipine และ verapamil สามารถทำให้ท้องผูกมากเนื่องจากการเคลื่อนไหวเอง (motility) ที่ผิดปกติของลำไส้ใหญ่ที่ไส้ตรงและไส้คด (rectosigmoid colon)[31] อาหารเสริมเช่นแคลเซียมและธาตุเหล็กก็มีผลข้างเคียงเด่นอย่างหนึ่งเป็นอาการท้องผูก
โรค
ปัญหาทางเมแทบอลิซึมและต่อมไร้ท่อที่อาจทำให้ท้องผูกรวมทั้งภาวะแคลเซียมสูงเกินในเลือด, ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงเกินในเลือด (hyperparathyroidism), porphyria[E], โรคไตเรื้อรัง, pan-hypopituitarism, โรคเบาหวาน, และซิสติก ไฟโบรซิส[22][23] อาการท้องผูกยังสามัญในบุคคลที่มีโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (muscular dystrophy) และ myotonic dystrophy[F][22] โรคทั้งกายที่อาจมีอาการท้องผูกรวมทั้ง celiac disease[A] และโรคหนังแข็ง[5][27][36]
อาการท้องผูกยังเกิดพร้อมกับปัญหาทางกายภาพ (ไม่ว่าจะโดยเชิงกล โดยโครงสร้าง หรือโดยกายวิภาค) เพราะสร้างรอยโรคซึ่งกินเนื้อที่ในลำไส้ใหญ่และขวางทางเดินของอุจจาระ ปัญหาเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่, ลำไส้ตีบ, ไส้ตรงยื่นย้อย, ความเสียหายของหูรูดทวารหนัก, สภาวะวิรูปที่ส่วนต่าง ๆ, หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังจากผ่าตัด ก้อนเนื้อนอกลำไส้ เช่น มะเร็งในที่อื่น ๆ ก็อาจทำให้ท้องผูกเพราะกดลำไส้[37]
อาการท้องผูกยังมีเหตุทางประสาท รวมทั้ง anismus[G], ฝีเย็บย้อย (descending perineum syndrome)[H], และ Hirschsprung's disease (HD)[I][7] ในทารก HD เป็นความผิดปกติที่สามัญที่สุดเมื่อท้องผูก แต่ anismus ก็เกิดในคนหมู่น้อยที่ท้องผูกอย่างเรื้อรัง หรืออุจจาระถูกขวาง[40]
รอยโรคที่ไขสันหลังและความผิดปกติทางประสาท เช่น โรคพาร์คินสัน และการทำหน้าที่ผิดปกติของฐานเชิงกราน (pelvic floor dysfunction)[23] ก็สามารถทำให้ท้องผูกได้เหมือนกัน
เหตุทางจิต
การกลั้นอุจจาระไว้ก็เป็นเหตุที่สามัญของท้องผูก[22] เหตุผลที่อั้นไว้ก็อาจจะเป็นเพราะกลัวเจ็บ ไม่อยากใช้ห้องน้ำสาธารณะ หรือขี้เกียจ[22] ถ้าเด็กอั้นอุจจาระไว้ การให้กำลังใจ ให้น้ำดื่ม ให้ใยอาหาร และให้ยาระบาย อาจช่วยแก้ปัญหา[41] การแก้ปัญหาตั้งแต่เนิ่นเป็นเรื่องสำคัญเพราะนี่อาจก่อแผลที่ทวารหนัก (anal fissure)[42]
เหตุแต่กำเนิด
ความผิดปกติแต่กำเนิดอาจมีผลเป็นอาการท้องผูกในเด็ก โดยรวม ๆ แล้วนี่เป็นเหตุไม่สามัญของอาการ ชนิดที่เป็นเหตุสามัญที่สุดก็คือ Hirschsprung’s disease (HD)[I][43] ยังมีความผิดปกติทางโครงสร้างอื่น ๆ ที่ทำให้ท้องผูก รวมทั้งการย้ายที่ของทวารหนักมาทางด้านหน้า ทวารหนักไม่มีช่อง ลำไส้ตีบ และ small left colon syndrome[44]
วิธีการวินิจฉัย
การวินิจฉัยมักจะทำอาศัยคำบอกอาการของคนไข้ อุจจาระที่ถ่ายยาก แข็งมาก หรือเป็นเม็ดแข็ง ๆ เล็ก ๆ (คล้ายกับขี้กระต่าย) จัดว่าเป็นท้องผูก แม้จะถ่ายเช่นนี้ทุกวัน แต่อาการท้องผูกโดยปกติก็จะนิยามว่า เป็นการถ่ายอุจจาระ 3 ครั้งหรือน้อยกว่าต่ออาทิตย์[20] อาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับท้องผูกรวมทั้งท้องขึ้น ท้องพอง ปวดท้อง ปวดศีรษะ ล้า หมดแรง หรือรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด[45] แม้แพทย์อาจจะวินิจฉัยว่าท้องผูก แต่ปกติก็จัดเป็นอาการที่จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุ
รายละเอียด
แพทย์จะแยกแยะอาการแบบฉับพลัน (เป็นแล้วหลายวันถึงหลายอาทิตย์) หรือแบบเรื้อรัง (เป็นเดือน ๆ จนถึงปี ๆ) เพราะข้อมูลนี้จะเปลี่ยนการวินิจฉัยแยกโรค อาการอื่น ๆ ที่เป็นร่วมกันก็จะช่วยให้แพทย์กำหนดเหตุของอาการได้ คนไข้มักกล่าวถึงอาการท้องผูกว่า ถ่ายยาก อุจจาระแข็งเป็นก้อน ๆ หรือแข็งไปทั่ว และต้องเบ่งมากเมื่อถ่าย อาการท้องขึ้น (bloating) ท้องพอง (abdominal distension) และปวดท้องมักจะมีพร้อมกับท้องผูก[46] ท้องผูกเรื้อรัง (มีอาการอย่างน้อย 3 ครั้งต่อเดือนมากกว่า 3 เดือน) ที่สัมพันธ์กับความไม่สบายท้องมักจะวินิจฉัยเป็นกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) เมื่อไม่พบสาเหตุอื่น ๆ[47]
การทานอาหารที่ไม่ถูกสุขภาพ การผ่าตัดในอดีต หรือยาบางชนิดอาจมีบทบาทต่ออาการ โรคที่สัมพันธ์กับท้องผูกรวมทั้งภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ มะเร็งบางอย่าง และ IBS การทานอาหารที่มีใยอาหารน้อย ดื่มน้ำไม่พอ การอยู่เฉย ๆ เกินไป หรือยา ก็ล้วนแต่อาจมีบทบาทต่อท้องผูก[22][29] เมื่อแพทย์กำหนดว่าเป็นท้องผูกตามอาการดังที่กล่าวแล้ว ก็อาจพยายามหาเหตุต่อไป
การแยกเหตุที่เบากับเหตุที่หนักอาจทำได้ส่วนหนึ่งตามอาการ ยกตัวอย่างเช่น แพทย์อาจสงสัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ถ้าคนไข้มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว เป็นไข้ น้ำหนักลด และเลือดออกทางทวารหนัก[20] อาการน่าเป็นห่วงอื่น ๆ รวมทั้งประวัติ IBS ส่วนตัวหรือของครอบครัว การเริ่มมีอาการหลังอายุ 50 ปี การเปลี่ยนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของอุจจาระ คลื่นไส้ อาเจียน และอาการทางประสาท เช่น อ่อนแรง ชา และมีปัญหาถ่ายปัสสาวะ[46]
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายอย่างน้อยควรจะมีการตรวจท้องและตรวจไส้ตรง เพราะการตรวจท้องอาจพบก้อนในท้องถ้ามีอุจจาระมากและอาจพบจุดที่ท้องไม่สบาย การตรวจไส้ตรงจะทำให้รู้ถึงความตึงแน่นของหูรูดทวารหนัก และเพื่อดูว่า ไส้ตรงส่วนล่างมีอุจจาระหรือไม่ อีกทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสม่ำเสมอของอุจจาระ ว่ามีริดสีดวง มีเลือด และมีความผิดปกติต่าง ๆ ที่ฝีเย็บร่วมทั้งติ่งเนื้อ แผล หรือหูด หรือไม่[29][22][20] ข้อมูลที่ได้อาจช่วยแนะว่าควรจะตรวจวินิจฉัยเพิ่มขึ้นหรือไม่
การตรวจเพิ่ม
ท้องผูกโดยหน้าที่ (functional constipation) คือไม่มีเหตุทางกาย เป็นเรื่องสามัญ จึงไม่จำเป็นต้องตรวจเพิ่ม (diagnostic testing) การถ่ายภาพหรือการทดสอบทางแล็บอื่น ๆ ปกติจะแนะนำสำหรับคนไข้ที่มีอาการน่าเป็นห่วง[20] การทดสอบในแล็บที่ใช้จะขึ้นอยู่กับเหตุของอาการท้องผูกที่สงสัย ซึ่งอาจรวมการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือดรวมทั้งระดับแคลเซียม โพแทสเซียมเป็นต้น[22][20] การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ที่ท้อง (AXR) โดยทั่วไปจะทำเมื่อสงสัยการอุดตันในลำไส้ หรืออุจจาระอัดแน่นในลำไส้ใหญ่ และอาจยืนยันหรือกันเหตุอื่น ๆ ที่มีอาการคล้าย ๆ กัน[29][22] การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) อาจทำถ้าสงสัยความผิดปกติในลำไส้ใหญ่เช่นเนื้องอก[20] การตรวจที่แพทย์ไม่ค่อยสั่งรวมทั้งการบีบตัวของไส้ตรงและทวารหนัก (anorectal manometry), การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก (sphincter electromyography), และ defecography (การดูภาพรังสีบนจอเมื่อถ่ายอุจจาระ)[22]
ลำดับคลื่นความดันแผ่กระจาย (propagating pressure wave sequence, PS) ของลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นตัวการค่อย ๆ ขยับสิ่งที่อยู่ลำไส้ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการถ่ายอุจจาระปกติ ความบกพร่องในความถี่ ความแรง และส่วนลำไส้ที่เกิด PS ล้วนแต่เป็นหตุให้เกิดการถ่ายผิดปกติอย่างรุนแรง (severe defecatory dysfunction, SDD) วิธีการที่ช่วยบรรเทารูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเยี่ยงนี้อาจช่วยแก้ปัญหา งานปี 2007 ได้ลองใช้การบำบัดใหม่ที่เรียกว่า การกระตุ้นประสาทใต้กระเบนเหน็บ (sacral nerve stimulation, SNS) เพื่อรักษาท้องผูกแบบรุนแรง[48]
เกณฑ์วินิจฉัย
เกณฑ์ Rome III เพื่อวินิจฉัยท้องผูกโดยหน้าที่ต้องรวมอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 อย่างและต้องมีใน 3 เดือนที่ผ่านมา อีกทั้งอาการได้เริ่มขึ้นอย่างน้อย 6 เดือนก่อนจะวินิจฉัย[20]
- ต้องเบ่งถ่ายอุจจาระอย่างน้อย 25%
- อุจจาระเป็นก้อน ๆ หรือแข็งอย่างน้อย 25%
- ความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดอย่างน้อย 25%
- ความรู้สึกว่ามีอะไรขวางไส้ตรง-ทวารหนักอย่างน้อย 25%
- การต้องใช้มือช่วยถ่ายอย่างน้อย 25%
- ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- อุจจาระที่ไม่อัดแน่นมีน้อยมากถ้าไม่ใช้ยาระบาย
- ไม่มีอาการพอให้วินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS)
การป้องกัน
ท้องผูกป้องกันได้ง่ายกว่ารักษา เมื่อท้องผูกบรรเทาแล้ว การดูแลไม่ให้เกิดโรคอีกก็คือให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานน้ำให้เพียงพอ และทานอาหารมีใยอาหารสูง[22]
การรักษา
มีเหตุจำกัดจำนวนหนึ่งที่จำเป็นต้องรีบรักษา ไม่เช่นนั้นจะมีผลรุนแรง[3] ท้องผูกควรรักษาที่เหตุถ้ารู้ องค์การอนามัยสหราชอาณาจักรคือ NICE ได้แยกท้องผูกในผู้ใหญ่ออกเป็นสองหมวด คือ แบบเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ และที่เกิดจากยาฝิ่น[49]
สำหรับท้องผูกเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ การรักษาหลักก็โดยดื่มน้ำเพิ่มและทานใยอาหารเพิ่ม ไม่ว่าจะโดยเปลี่ยนอาหารหรือทานอาหารเสริม[23] การใช้ยาระบายเป็นปกติไม่แนะนำ เพราะอาจจะกลายเป็นต้องใช้ยาเพื่อจะถ่าย การสวนทวารสามารถใช้กระตุ้นการถ่าย การสวนทวารแบบใช้น้ำมาก[50] อาจใช้เพื่อล้างอุจจาระจากลำไส้ใหญ่ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[51][52] อย่างไรก็ดี การสวนทวารหนักแบบใช้น้ำน้อยปกติจะช่วยระบายอุจจาระในไส้ตรงเท่านั้น ไม่ได้กำจัดอุจจาระที่อยู่ในลำไส้[53]
ใยอาหารเสริม
อาหารเสริมที่มีใยอาหารแบบละลายได้เช่น ซิลเลียม (psyllium) โดยทั่วไปจัดเป็นการรักษาอันดับแรกสำหรับท้องผูกเรื้อรัง เทียบกับใยอาหารที่ละลายไม่ได้เช่น รำข้าว ผลข้างเคียงของใยอาหารเสริมรวมทั้งท้องขึ้น (bloating) ท้องอืด ท้องร่วง และการดูดซึมธาตุเหล็ก แคลเซียม และยาบางอย่างได้ผิดปกติ อย่างไรก็ดี คนไข้ที่ท้องผูกเนื่องจากยาฝิ่นปกติจะไม่ได้ประโยชน์จากใยอาหารเสริม[42]
ยาระบาย
เมื่อใช้ยาระบาย แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ หรือโพลีเอทิลีนไกลคอล (polyethylene glycol) แนะนำเป็นอันดับแรกเพราะราคาถูกและปลอดภัย[3] ยาแบบกระตุ้น (stimulant) ควรใช้ต่อเมื่อนี่ไม่ได้ผล[23] ในท้องผูกเรื้อรัง โพลีเอทิลีนไกลคอลดูเหมือนจะได้ผลดีกว่าแล็กทูโลส[54] ยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ (prokinetic) อาจช่วยปรับการบีบตัว (motility) ของทางเดินอาหาร
ยังมียาใหม่ ๆ ที่ได้ผลดีสำหรับท้องผูกเรื้อรัง รวมทั้ง prucalopride[55] และ lubiprostone[56] ส่วนยาเพิ่มการบีบตัวของทางเดินอาหารส่วนบน คือ cisapride มีขายอย่างแพร่หลายในประเทศกำลังพัฒนา แต่ได้เลิกขายในประเทศตะวันตกโดยมากแล้ว เพราะไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์แก่ท้องผูก และอาจสร้างปัญหาหัวใจเสียจังหวะและทำให้ถึงตายได้[57]
การใช้กายช่วย
ท้องผูกที่ดื้อวิธีรักษาที่กล่าวมาแล้วอาจจะต้องใช้กายช่วย เช่น การเอาอุจจาระที่อัดแน่นออกด้วยมือ การออกกำลังกายสม่ำเสมอก็อาจช่วยทำให้ท้องผูกเรื้อรังดีขึ้นด้วย[58]
การผ่าตัด
ในกรณีที่รักษาไม่หาย หัตถการบางอย่างอาจช่วยบรรเทาอาการ การกระตุ้นประสาทใต้กระเบนเหน็บ (sacral nerve stimulation) พบว่ามีประสิทธิผลในกรณีส่วนน้อยจำนวนหนึ่ง การตัดลำไส้ใหญ่ (colectomy) เปิดช่องระหว่างลำไส้เล็กส่วนปลายกับไส้ตรง (ileorectal anastomosis) จะทำกับแต่คนไข้ที่รู้ว่าอุจจาระผ่านลำไส้ใหญ่ไปได้ช้า และได้รักษาความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระไปแล้ว หรือว่าไม่มีโรคเช่นนั้น[3] แต่เพราะนี่เป็นการผ่าตัดใหญ่ ผลข้างเคียงอาจรวมการปวดท้องมาก การอุดตันในลำไส้เล็ก และการติดเชื้อหลังผ่าตัด นอกจากนั้น ยังมีอัตราความสำเร็จที่ต่าง ๆ กัน โดยขึ้นอยู่กับกรณีคนไข้เป็นอย่างยิ่ง[42]
พยากรณ์โรค
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากท้องผูกรวมทั้งโรคริดสีดวงทวาร แผลทวารหนัก (anal fissure) ไส้ตรงปลิ้น และอุจจาระอัดแน่น[22][29][59][60] การเบ่งถ่ายอุจจาระอาจทำให้เป็นริดสีดวงทวารหนัก ในระยะหลัง ๆ ของอาการท้องผูก ท้องเองอาจจะป่อง แข็ง และกดเจ็บโดยกระจายไปทั่ว กรณีที่รุนแรง (เช่น เมื่ออุจจาระอัดแน่น หรือเป็น "ท้องผูกแบบร้าย") อาจมีอาการของการอุดตันในลำไส้ (เวียนศีรษะ อาเจียน ท้องกดเจ็บ) และอาการอุจจาระรด (encopresis) ที่อุจจาระนิ่มจะไหลอ้อมอุจจาระแข็งในลำไส้ใหญ่แล้วไหลออกจากทวารหนักแบบกลั้นไม่ได้
การระบาด
อาการท้องผูกเป็นความผิดปกติทางเดินอาหารเรื้อรังซึ่งสามัญที่สุดในผู้ใหญ่ คือเกิดกับประชากร 2-20% โดยขึ้นอยู่กับนิยามที่ใช้[23][61] มันสามัญกว่าในหญิง ผู้สูงอายุ และเด็ก[61] โดยเฉพาะท้องผูกที่ไม่มีสาเหตุ ซึ่งเกิดในหญิงมากกว่าชาย[62] เหตุผลที่เกิดในผู้สูงอายุมากกว่าเชื่อว่า เพราะมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มากขึ้นเหตุสูงอายุและออกกำลังน้อยลง[24]
- ประชากร 12% ทั่วโลกรายงานว่ามีท้องผูก[63]
- ท้องผูกเรื้อรังทำให้เด็กต้องไปแผนกผู้ป่วยนอก (กุมารเวช) 3% ในแต่ละปี[22]
- ในสหรัฐ การพยาบาลรักษาอาการเกี่ยวกับท้องผูกมีค่าใช้จ่ายถึง 6,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (277,270 ล้านบาทในปี 2000) ต่อปี[23]
- คนอเมริกันมากกว่า 4 ล้านคน (ในบรรดาประมาณ 309 ล้านคน) ท้องผูกบ่อย ทำให้ไปหาแพทย์ 2.5 ครั้งต่อปี[60]
- ในสหรัฐ มีการซื้อยาระบายเป็นมูลค่า 725 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 23,488 ล้านบาทปี 2007) ต่อปี[60]
ประวัติ
ตั้งแต่สมัยโบราณ สังคมต่าง ๆ ได้บันทึกความเห็นของแพทย์ว่าควรจะรักษาอาการท้องผูกในคนไข้อย่างไร[64] หมอในเวลาต่าง ๆ และในที่ต่าง ๆ ได้อ้างว่า ท้องผูกมีเหตุทางการแพทย์หรือเหตุทางสังคมต่าง ๆ นา ๆ[64] และได้รักษาด้วยวิธีที่สมเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล (เช่น ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Spatula Mundani[J])[64]
ต่อมาหลังจากเกิดทฤษฎีการเกิดโรคเหตุเชื้อโรค แนวคิดของการทำพิษให้ตนเอง (auto-intoxication) ก็กลายเป็นเรื่องนิยมในความคิดชนตะวันตก[64] การสวนทวารจึงกลายเป็นวิธีการรักษา "ทางวิทยาศาสตร์" และการล้างลำไส้ใหญ่ซึ่งเคยเป็นวิธีการแพทย์ทางเลือกก็กลายเป็นเรื่องสามัญในการแพทย์หลัก[64] ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1700 ยังมีแนวคิดยอดนิยมในชาวตะวันตกว่า คนที่ท้องผูกมีปัญหาทางศีลธรรมในเรื่องการกินไม่เลือกและเกียจคร้าน[65]
กลุ่มพิเศษ
เด็ก
เด็กประมาณ 3% ท้องผูก โดยทั้งหญิงทั้งชายเท่ากัน[44] ท้องผูกเป็นเหตุให้ไปหากุมารแพทย์ทั่วไปประมาณ 5% และกุมารแพทย์ทางเดินอาหาร 25% ดังนั้น อาการนี้จึงเป็นภาระแก่ระบบสาธารณสุขออย่างสำคัญ[9]
แม้จะกำหนดช่วงอายุที่เกิดท้องผูกมากที่สุดได้ยาก แต่เด็กบ่อยครั้งจะท้องผูกเมื่อชีวิตเปลี่ยนไป ตัวอย่างรวมทั้งการฝึกใช้ส้วม การเริ่มหรือการย้ายโรงเรียน และการเปลี่ยนอาหาร[9] โดยเฉพาะในทารก การเปลี่ยนสูตรนมหรือการเปลี่ยนจากให้นมแม่ไปเป็นนมกระป๋องอาจเป็นเหตุให้ท้องผูก ยังดีว่า กรณีท้องผูกโดยมากไม่ใช่โรคจริง ๆ และการรักษาก็คือแค่บรรเทาอาการเท่านั้น[44]
มารดาหลังคลอด
6 อาทิตย์หลังการตั้งครรภ์จัดเป็นระยะหลังคลอด (postpartum stage)[66] ในช่วงเวลานี้ หญิงจะเสี่ยงท้องผูกมากขึ้น งานศึกษาหลายงานได้ประเมินความชุกของท้องผูกที่ราว ๆ 25% ใน 3 เดือนแรก[67] ท้องผูกอาจทำให้หญิงไม่สบายเพิ่ม เพราะกำลังฟื้นสภาพจากการคลอดลูกโดยเฉพาะถ้าฝีเย็บฉีกหรือถ้าต้องผ่าขยายปากช่องคลอดเมื่อคลอดลูก[68]
ปัจจัยเสี่ยงต่อการท้องผูกในกลุ่มนี้รวมทั้ง[68]
- กล้ามเนื้อฐานเชิงกราน (levator ani muscle) เสียหายเพราะคลอดลูก
- ต้องใช้คีมเพื่อช่วยคลอดเด็ก
- การคลอดระยะสองยาว
- เด็กตัวโต
- โรคริดสีดวงทวาร
โรคริดสีดวงทวารเป็นเรื่องสามัญเมื่อมีครรภ์ และอาจแย่ลงเมื่อท้องผูก ดังนั้น อะไรที่ทำให้เจ็บเมื่อถ่ายอุจจาระ (รวมทั้งริดสีดวง ฝีเย็บฉีก และแผลที่ผ่าขยายช่องคลอด) อาจทำให้ท้องผูกเพราะคนไข้อาจกลั้นอุจจาระเพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บ[68] กล้ามเนื้อฐานเชิงกรานมีบทบาทสำคัญในการถ่ายอุจจาระ ดังนั้น เมื่อกล้ามเนื้อบาดเจ็บเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงดังที่ว่าบางอย่าง (เช่น เด็กตัวโต การคลอดระยะสองยาวนาน การใช้คีมช่วยคลอด) จะมีผลให้ท้องผูก[68] หญิงบางครั้งยังได้รับสวนทวารในช่วงการคลอด ที่อาจเปลี่ยนกระบวนการขับถ่ายของลำไส้หลังจากคลอดบุตรแล้ว[66] อย่างไรก็ดี ก็ยังไม่มีหลักฐานพอสรุปประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาระบายสำหรับคนไข้กลุ่มนี้[68]
เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 coeliac disease หรือ celiac disease เป็นโรคภูมิต้านตนเองระยะยาวที่โดยหลักมีผลต่อลำไส้เล็กและเกิดในบุคคลที่มีปัจจัยทางพันธุกรรม[10] อาการคลาสสิกรวมทั้งปัญหาในทางเดินอาหารเช่นท้องร่วงเรื้อรัง ท้องป่อง ดูดซึมอาหารผิดปกติ ไม่อยากอาหาร และไม่โตตามวัยในเด็ก[11]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 non-celiac gluten sensitivity (NCGS) หรือ gluten sensitivity[12] เป็น "โรค/อาการที่เกิดเนื่องจากการทานกลูเตน แล้วก่ออาการภายในลำไส้หรือนอกลำไส้ที่จะดีขึ้นหลังจากเลิกทานอาหารที่มีกลูเตน และได้กันโรค celiac disease และโรคแพ้ข้าวสาลีออกแล้ว"[13]
- ↑ 3.0 3.1 diverticulitis หรือ colonic diverticulitis เป็นโรคทางเดินอาหาร ที่ส่วนยื่นออกจากเยื่อเมือกและชั้นใต้เยื่อเมือกของลำไส้ใหญ่เนื่องจากกล้ามเนื้อผนังลำไส้ไม่แข็งแรง เกิดการอักเสบ[14] อาการปกติรวมการปวดท้องด้านล่างที่เกิดอย่างฉับพลัน แต่ก็อาจใช้เวลาเกิดเป็นเวลา 2-3 วัน[14] ในอเมริกาเหนือและยุโรป มักจะปวดท้องทางด้านซ้าย และในเอเชีย บ่อยครั้งจะปวดทางด้านขวา[15][16] บางครั้งจะเป็นไข้ คลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องผูก หรือมีเลือดในอุจจาระ[14] และอาจเกิดอย่างซ้ำ ๆ[15]
- ↑ cystocele เป็นภาวะที่เกิดเมื่อผนังที่เป็นเส้นใยแข็งระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับช่องคลอด คือ pubocervical fascia ฉีก ทำให้กระเพาะปัสสาวะเลื่อนผ่านช่องเข้าไปในช่องคลอดได้
- ↑ porphyria เป็นกลุ่มโรค ที่สาร porphyrin สะสมแล้วก่อปัญหาที่ผิวหนังหรือระบบประสาท แบบที่มีผลต่อระบบประสาทยังเรียกด้วยว่า acute porphyria[32] ซึ่งมีอาการปวดท้อง เจ็บหน้าอก อาเจียน สับสน ท้องผูก เป็นไข้ และชัก[32][33] อาการเช่นนี้ปกติจะเป็น ๆ หาย ๆ เป็นวัน ๆ หรืออาทิตย์ ๆ อาการอาจจุดชนวนด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เครียด หรือยาบางชนิด ถ้ามีผลต่อผิวหนังด้วย เมื่อถูกแดดอาจเกิดตุ่มพองและคัน[33]
- ↑ myotonic dystrophy เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่เป็นในระยะยาวและมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ อาการรวมทั้งการเสียกล้ามเนื้อที่แย่ลงเรื่อย ๆ และรู้สึกอ่อนแรง กล้ามเนื้อบ่อยครั้งจะหดเกร็งโดยไม่สามารถคลายได้[34] อาการอย่างอื่นอาจรวมต้อกระจก อ่อนสติปัญญา และปัญหาการนำไฟฟ้าในหัวใจ[34][35] ในชาย อาจจะหัวล้านก่อนวัยและเป็นหมัน[34]
- ↑ anismus หรือ dyssynergic defecation หมายถึงกล้ามเนื้อฐานเชิงกรานไม่คลายตัวเหมือนปกติเมื่อพยายามจะอุจจาระ
- ↑ ฝีเย็บย้อย (descending perineum syndrome หรือ levator plate sagging)[38] หมายถึงภาวะที่ฝีเย็บพองเป็นลูกโป่งขนาดหลายเซนติเมตรลงจากช่องกระดูกของเชิงกรานเมื่อเบ่งถ่ายอุจจาระ แม้การย้อยนี้ก็อาจเกิดโดยไม่ต้องเบ่งด้วย[39]
- ↑ 9.0 9.1 Hirschsprung's disease เป็นรูปแบบหนึ่งของ megacolon (ลำไส้ใหญ่บวมเกินปกติ) ที่เกิดเมื่อลำไส้ใหญ่บางส่วนหรือทั้งหมด หรือโครงสร้างที่เกิดขึ้นก่อนพัฒนาเป็นทางเดินอาหาร ไม่มี ganglion cells และดังนั้น จึงไม่สามารถทำงานได้
- ↑ Spatula Mundani เป็นอุปกรณ์เหล็กที่ยาวประมาณ 12 นิ้ว ข้างหนึ่งมีรูปร่างเหมือนไม้พาย อีกข้างหนึ่งเหมือนช้อนแต่ตรงกลางเอาออกและปลายสุดเป็นลูกตุ้ม ส่วนที่เป็นช้อนเอาไว้คว้านอุจจาระแข็งออก อีกข้างหนึ่งเอาไว้สำหรับทายา ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะต้องทาหลังจากทำหัตถการด้วยเครื่องมือนี้ เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์โดยศัลยแพทย์ชาวลอนดอน James Woodall
อ้างอิง
- ↑ "Costiveness - Definition and More from the Free Merriam-Webster Dictionary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2010.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Chatoor, D; Emmnauel, A (2009). "Constipation and evacuation disorders". Best Pract Res Clin Gastroenterol. 23 (4): 517–30. doi:10.1016/j.bpg.2009.05.001. PMID 19647687.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 American Gastroenterological Association,; Bharucha, AE; Dorn, SD; Lembo, A; Pressman, A (January 2013). "American Gastroenterological Association medical position statement on constipation". Gastroenterology (Review). 144 (1): 211–217. doi:10.1053/j.gastro.2012.10.029. PMID 23261064.
{cite journal}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 "Constipation". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2017. สืบค้นเมื่อ 14 March 2017.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Symptoms & Causes of Celiac Disease | NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2017. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3
Makharia, A; Catassi, C; Makharia, GK (2015). "The Overlap between Irritable Bowel Syndrome and Non-Celiac Gluten Sensitivity: A Clinical Dilemma". Nutrients (Review). 7 (12): 10417–26. doi:10.3390/nu7125541. PMC 4690093. PMID 26690475.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 7.2 Andromanakos, N; Skandalakis, P; Troupis, T; Filippou, D (2006). "Constipation of anorectal outlet obstruction: Pathophysiology, evaluation and management". Journal of Gastroenterology and Hepatology. 21 (4): 638–646. doi:10.1111/j.1440-1746.2006.04333.x. PMID 16677147.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "constipation", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546,
อาการท้องผูก
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Colombo, Jennifer M.; Wassom, Matthew C.; Rosen, John M. (1 September 2015). "Constipation and Encopresis in Childhood". Pediatrics in Review. 36 (9): 392–401, quiz 402. doi:10.1542/pir.36-9-392. ISSN 1526-3347. PMID 26330473.
- ↑ "Celiac Disease". NIDDKD. June 2015. สืบค้นเมื่อ 17 March 2016.
- ↑ "Clinical presentation of celiac disease in the pediatric population". April 2005. PMID 15825129.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "The Oslo definitions for coeliac disease and related terms". 2013. PMID 22345659.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Nonceliac gluten sensitivity". 2015. PMID 25583468.
Since 2010, the definition of NCGS has been discussed at 3 consensus conferences, which led to 3 publications. Given the uncertainties about this clinical entity and the lack of diagnostic biomarkers, all 3 reports concluded that NCGS should be defined by the following exclusionary criteria: a clinical entity induced by the ingestion of gluten leading to intestinal and/or extraintestinal symptoms that resolve once the gluten-containing foodstuff is eliminated from the diet, and when celiac disease and wheat allergy have been ruled out.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 14.0 14.1 14.2 "Diverticular Disease". niddk.nih.gov. September 2013.
- ↑ 15.0 15.1
"Diverticulosis today: unfashionable and still under-researched". 2016. PMID 26929783.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑
Feldman, Mark (2010). Sleisenger & Fordtran's Gastrointestinal and liver disease pathophysiology, diagnosis, management (9th ed.). MD Consult. p. 2084. ISBN 9781437727678.
{cite book}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Bharucha, AE; Pemberton, JH; Locke GR, 3rd (January 2013). "American Gastroenterological Association technical review on constipation". Gastroenterology. 144 (1): 218–38. doi:10.1053/j.gastro.2012.10.028. PMC 3531555. PMID 23261065.
- ↑ 18.0 18.1 Canadian Agency for Drugs and Technologies in Health (26 June 2014). "Dioctyl Sulfosuccinate or Docusate (Calcium or Sodium) for the Prevention or Management of Constipation: A Review of the Clinical Effectiveness". PMID 25520993.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Brenner, DM; Shah, M (June 2016). "Chronic Constipation". Gastroenterology clinics of North America. 45 (2): 205–16. doi:10.1016/j.gtc.2016.02.013. PMID 27261894.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 20.6 20.7 Jamshed, Namirah; Lee, Zone-En; Olden, Kevin W. (1 August 2011). "Diagnostic approach to chronic constipation in adults". American Family Physician. 84 (3): 299–306. ISSN 1532-0650. PMID 21842777.
- ↑ "Constipation". eMedicine. 29 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2007.
- ↑ 22.00 22.01 22.02 22.03 22.04 22.05 22.06 22.07 22.08 22.09 22.10 22.11 22.12 22.13 22.14 Walia, R; Mahajan, L; Steffen, R (October 2009). "Recent advances in chronic constipation". Curr Opin Pediatr. 21 (5): 661–6. doi:10.1097/MOP.0b013e32832ff241. PMID 19606041.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 23.6 23.7
Locke, GR; Pemberton, JH; Phillips, SF (December 2000). "American Gastroenterological Association Medical Position Statement: guidelines on constipation". Gastroenterology. 119 (6): 1761–6. doi:10.1053/gast.2000.20390. PMID 11113098.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 24.0 24.1 Hsieh, C (December 2005). "Treatment of constipation in older adults". Am Fam Physician. 72 (11): 2277–84. PMID 16342852. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2012.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Basilisco, Guido; Coletta, Marina (2013). "Chronic constipation: A critical review". Digestive and Liver Disease. 45 (11): 886–893. doi:10.1016/j.dld.2013.03.016.
- ↑ 26.0 26.1 Leung, FW (February 2007). "Etiologic factors of chronic constipation: review of the scientific evidence". Dig. Dis. Sci. 52 (2): 313–6. doi:10.1007/s10620-006-9298-7. PMID 17219073.
- ↑ 27.0 27.1 "Celiac disease". World Gastroenterology Organisation Global Guidelines. July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2017. สืบค้นเมื่อ 23 April 2017.
- ↑ "Cystocele (Prolapsed Bladder) | NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 McCallum, IJ; Ong, S; Mercer-Jones, M (2009). "Chronic constipation in adults". BMJ. 338: b831. doi:10.1136/bmj.b831. PMID 19304766.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Selby, Warwick; Corte, Crispin (August 2010). "Managing constipation in adults". Australian Prescriber. 33 (4): 116–9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2011. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010.
- ↑ Gallegos-Orozco, JF; Foxx-Orenstein, AE; Sterler, SM; Stoa, JM (January 2012). "Chronic constipation in the elderly". The American Journal of Gastroenterology (Review). 107 (1): 18–25. doi:10.1038/ajg.2011.349. PMID 21989145.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 32.0 32.1 "porphyria". GHR. July 2009.
- ↑ 33.0 33.1 "Porphyria". NIDDK. February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2016. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 "myotonic dystrophy". GHR. 11 October 2016.
- ↑ "Myotonic dystrophies: An update on clinical aspects, genetic, pathology, and molecular pathomechanisms". 2015. PMID 24882752.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Gyger, G; Baron, M (2015). "Systemic Sclerosis: Gastrointestinal Disease and Its Management". Rheum Dis Clin North Am (Review). 41 (3): 459–73. doi:10.1016/j.rdc.2015.04.007. PMID 26210129.
{cite journal}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Rao, Satish S. C.; Rattanakovit, Kulthep; Patcharatrakul, Tanisa (2016). "Diagnosis and management of chronic constipation in adults". Nature Reviews Gastroenterology & Hepatology. 13 (5): 295–305. doi:10.1038/nrgastro.2016.53.
- ↑ "Interest of retro-anal levator plate myorrhaphy in selected cases of descending perineum syndrome with positive anti-sagging test". 2008. doi:10.1186/1471-2482-8-13.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Perineal descent and patients' symptoms of anorectal dysfunction, pelvic organ prolapse, and urinary incontinence". 2010. doi:10.1007/s00192-010-1099-z.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Schouten, WR; Briel, JW; Auwerda, JJ; van Dam, JH; Gosselink, MJ; Ginai, AZ; Hop, WC (1997). "Anismus: fact or fiction?". Diseases of the colon and rectum. 40 (9): 1033–1041. doi:10.1007/BF02050925. PMID 9293931.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Cohn, A (2010). "Stool withholding" (PDF). Journal of Pediatric Neurology. 8 (1): 29–30. doi:10.3233/JPN-2010-0350. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 September 2011. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 Bharucha, Adil E.; Pemberton, John H.; Locke, G. Richard (2013). "American Gastroenterological Association Technical Review on Constipation". Gastroenterology. 144 (1): 218–238. doi:10.1053/j.gastro.2012.10.028. PMC 3531555. PMID 23261065.
- ↑ Wexner, Steven (2006). Constipation: etiology, evaluation and management. New York: Springer.
- ↑ 44.0 44.1 44.2 Tabbers, M.M.; DiLorenzo, C.; Berger, M.Y.; Faure, C.; Langendam, M.W.; Nurko, S.; Staiano, A.; Vandenplas, Y.; Benninga, M.A. (2014). "Evaluation and Treatment of Functional Constipation in Infants and Children". Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition. 58 (2): 265–281. doi:10.1097/mpg.0000000000000266.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Constipation". MedicineNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2007.
- ↑ 46.0 46.1 Tierney, LM; Henderson, MC; Smetana, GW (2012). The patient history : an evidence-based approach to differential diagnosis (2nd ed.). New York: McGraw-Hill Medical. p. Chapter 32. ISBN 9780071624947.
{cite book}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Longstreth, GF; Thompson, WG; Chey, WD; Houghton, LA; Mearin, F; Spiller, RC (2006). "Functional bowel disorders". Gastroenterology. 130 (5): 1480–91. doi:10.1053/j.gastro.2005.11.061. PMID 16678561.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Dinning, PG (September 2007). "Colonic manometry and sacral nerve stimulation in patients with severe constipation". Pelviperineology. 26 (3): 114–116. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2008.
- ↑ "Constipation overview". National Institute for Health and Car Excellence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2015. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
- ↑ "high enema". Medical Dictionary. Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
- ↑ "Administering an Enema". Care of patients. Ternopil State Medical University. 14 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2018. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
- ↑ Cruz, Rhodora. "Types of Enemas". Fundamentals of Nursing Practice. Professional Education, Testing and Certification Organization International. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
- ↑ "low enema". Medical Dictionary. Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
- ↑ Lee-Robichaud, H; Thomas, K; Morgan, J; Nelson, RL (7 July 2010). "Lactulose versus Polyethylene Glycol for Chronic Constipation". Cochrane Database of Systematic Reviews (7): CD007570. doi:10.1002/14651858.CD007570.pub2. PMID 20614462.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Camilleri, M; Deiteren, A (February 2010). "Prucalopride for constipation". Expert Opin Pharmacother. 11 (3): 451–61. doi:10.1517/14656560903567057. PMID 20102308.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Barish, CF; Drossman, D; Johanson, JF; Ueno, R (April 2010). "Efficacy and safety of lubiprostone in patients with chronic constipation". Dig. Dis. Sci. 55 (4): 1090–7. doi:10.1007/s10620-009-1068-x. PMID 20012484.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Aboumarzouk, Omar M; Agarwal, Trisha; Antakia, Ramez; Shariff, Umar; Nelson, Richard L (2011-01-19). Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1002/14651858.cd007780.pub2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2017.
- ↑ Canberra Hospital - Gastroenterology Unit. "constipation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2013.
- ↑ Bharucha, AE (2007). "Constipation". Best Practice & Research Clinical Gastroenterology. 21 (4): 709–31. doi:10.1016/j.bpg.2007.07.001. PMID 17643910.
- ↑ 60.0 60.1 60.2 "NIH Publication No. 07-2754". National Digestive Diseases Information Clearinghouse. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2010. สืบค้นเมื่อ 18 July 2010.
- ↑ 61.0 61.1
Sonnenberg, A; Koch, TR (1989). "Epidemiology of constipation in the United States". Dis Colon Rectum. 32 (1): 1–8. doi:10.1007/BF02554713. PMID 2910654.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Chang, L; Toner, BB; Fukudo, S; Guthrie, E; Locke, GR; Norton, NJ; Sperber, AD (2006). "Gender, age, society, culture, and the patient's perspective in the functional gastrointestinal disorders". Gastroenterology. 130 (5): 1435–46. doi:10.1053/j.gastro.2005.09.071. PMID 16678557.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Wald, A.; Scarpignato, C.; Mueller-Lissner, S.; Kamm, M. A.; Hinkel, U.; Helfrich, I.; Schuijt, C.; Mandel, K. G. (1 October 2008). "A multinational survey of prevalence and patterns of laxative use among adults with self-defined constipation". Alimentary Pharmacology & Therapeutics (ภาษาอังกฤษ). 28 (7): 917–930. doi:10.1111/j.1365-2036.2008.03806.x. ISSN 1365-2036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2017.
- ↑ 64.0 64.1 64.2 64.3 64.4 Whorton, James C. (2000). Inner hygiene : constipation and the pursuit of health in modern society. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0195135817.
- ↑ Hornibrook, F. A. (1929). The culture of the abdomen;: The cure of obesity and constipation. Heinemann.
- ↑ 66.0 66.1 Turawa, Eunice B; Musekiwa, Alfred; Rohwer, Anke C (23 September 2014). Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1002/14651858.cd010273.pub2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2017.
- ↑ Rome II: the Functional Gastrointestinal Disorders. Diagnosis, Pathophysiology and Treatment: a Multinational Consensus (2nd ed.). McLean: Degnon Associates. 2000.
{cite book}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) (help) - ↑ 68.0 68.1 68.2 68.3 68.4 Turawa, EB; Musekiwa, A; Rohwer, AC (18 September 2015). "Interventions for preventing postpartum constipation". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 9: CD011625. doi:10.1002/14651858.CD011625.pub2. PMID 26387487.
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- Constipation - Introduction เก็บถาวร 2012-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (UK NHS site)
- MedlinePlus Overview constipation
- Constipation Guideline - the World Gastroenterology Organisation (WGO)