นกกาเหว่า

นกกาเหว่า
ตัวเมียพันธุ์ต้นแบบ (nominate)
ตัวผู้พันธุ์ต้นแแบบ (nominate)
เสียงร้องเพลงของตัวผู้ อินเดีย
เสียงร้อง สิงคโปร์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Cuculiformes
วงศ์: Cuculidae
สกุล: Eudynamys
สปีชีส์: E.  scolopaceus
ชื่อทวินาม
Eudynamys scolopaceus
(Linnaeus, 1758)
การกระจายพันธ์ของนกกาเหว่าแสดงเป็นสีดำ[2]
ชื่อพ้อง

Cuculus scolopaceus
Eudynamis honorata
Eudynamys scolopacea

นกกาเหว่า หรือ นกดุเหว่า[3] (อังกฤษ: Asian koel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eudynamys scolopaceus[4][5])

เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) พบในเอเชียใต้ จีน เอเชียอาคเนย์รวมทั้งประเทศไทย เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (อังกฤษ: black-billed koel) และกับ E. orientalis (อังกฤษ: Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นนกปรสิตที่วางไข่ให้กาและนกอื่น ๆ เลี้ยง เป็นนกจำพวกคัคคูที่ไม่เหมือนพันธุ์อื่น ๆ เพราะโดยมากกินผลไม้ (frugivore) เมื่อเติบใหญ่[6] เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[7] ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนก เป็นนกที่ใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างมากมายในวรรณกรรมอินเดีย[8]

ลักษณะ

ตัวผู้โตแล้วพันธุ์ต้นแบบ (รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย) จะมีตาแดงเข้ม ลูกนกจะมีตาที่ดำกว่า[9]

นกกาเหว่าเป็นนกวงศ์คัคคูขนาดใหญ่ ยาว 39-46 เซนติเมตร รวมหางยาว หนัก 190-327 กรัม[10][11] ตัวผู้พันธุ์ต้นแบบมีสีดำแกมน้ำเงินเป็นเงา มีปากเทาเขียว ๆ สีจาง ม่านตาเป็นสีแดงเข้ม มีขาและเท้าสีเทา ส่วนตัวเมียพันธุ์ต้นแบบมีสีออกน้ำตาลที่ยอดหัว มีลายออกแดง ๆ ที่หัว ส่วนหลัง ตะโพก และปีก เป็นสีน้ำตาลมีจุดขาว ๆ หรือเหลือง ๆ ที่ท้องมีสีขาว มีลวดลายมาก ส่วนสปีชีส์ย่อยอื่น ๆ ต่างกันไปโดยสีและขนาด[12] ขนลูกนกด้านบนออกเหมือนตัวผู้และมีปากดำ[13] นกจะร้องเก่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์ (มีนาคมถึงสิงหาคมในเอเชียใต้) มีเสียงร้องต่าง ๆ เสียงที่คุ้นเคยของตัวผู้ก็คือ "กา-เหว่า" ส่วนตัวเมียร้องเสียงสูงออกเป็น "คิก-คิก-คิก..." แต่ว่าเสียงร้องต่างกันในที่ต่าง ๆ[12]

นกมีรูปแบบการสลัดขนไม่เหมือนกับนกคัคคูปรสิตประเภทอื่น ๆ คือสลัดขนบินหลักแบบสลับ (P9-7-5-10-8-6) และสลัดขนหลักด้านในตามลำดับ (1-2-3-4) (Payne อ้าง Stresemann and Stresemann 1961[12])

บางครั้งจะเข้าใจผิดกันว่า นกกาเหว่ามีอยู่ 2 ชนิด คือ นกกาเหว่าดำ และนกกาเหว่าลาย ทั้งนี้เพราะตัวผู้มีสีดำ และตัวเมียมีสีน้ำตาลลาย ๆ แถมยังมีเสียงร้องแตกต่างกันด้วย แต่ความจริงเป็นตัวผู้ตัวเมียที่ต่างกัน[14]

การจัดในอนุกรมวิธาน

ลินเนียสดั้งเดิมจัดนกเป็น Cuculus scolopaceus อาศัยตัวอย่างที่ได้จากฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ (Malabar Coast) ของประเทศอินเดีย[12] นกต่างกันในเกาะต่าง ๆ จึงมีการเสนอการจัดสปีชีส์หลายอย่าง E. melanorhynchus (black-billed koel) จากเกาะซูลาเวซี และ E. orientalis จากออสตราเลเซีย บางครั้งจัดเป็นชนิดเดียวกันกับนกกาเหว่า และมีชื่อรวม ๆ เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า E. scolopaceus และเป็นชื่ออังกฤษว่า "common koel" แต่เพราะมีขน สีปาก และเสียงต่างกัน นกทั้งสามชนิดจึงจัดให้เป็นคนละสปีชีส์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[15][16] อีกอย่างหนึ่ง black-billed koel เท่านั้นจัดเป็นชนิดต่างหาก หรือว่า asian koel จะรวมสปีชีส์ย่อยทั้งหมดที่จัดว่าเป็นของ Pacific koel ยกเว้นสปีชีส์ย่อยในประเทศออสเตรเลียซึ่งจัดอยู่ใน E. cyanocephalus (อังกฤษ: Australian koel)[17][18]

นกกาเหว่ามีรูปแบบตามภูมิภาคหลายอย่าง ที่มีขนต่างกันชัดเจน หรือแยกอยู่ในภูมิภาคต่างหากโดยที่ไม่ผสมพันธุ์กับพวกอื่น ลำดับต่อไปนี้เป็นชื่อสปีชีส์ย่อยพร้อมกับการกระจายพันธุ์และชื่อพ้อง ที่จัดกันอยู่แบบหนึ่ง[12]

การกระจายพันธุ์และที่อยู่

นกกาเหว่าอาศัยอยู่ในป่าโปร่งและในเขตเกษตรกรรม เป็นนกประจำถิ่นในเขตร้อนรวมทั้งเอเชียใต้ (ประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ศรีลังกา) ไปจนถึงจีนตอนใต้และหมู่เกาะซุนดา เป็นนกที่สามารถย้ายเข้าไปเพาะพันธุ์ในเขตใหม่ ๆ ได้ เป็นนกพวกแรกสุดที่เข้าไปในเกาะภูเขาไฟกรากะตัว[20] และเข้าไปในประเทศสิงคโปร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จนกลายเป็นนกสามัญ[12] บางพวกอาจจะอพยพไปอยู่ในที่ไกล ๆ[12]

พฤติกรรม

ลูกนกกาเหว่าพันธุ์ต้นแบบตัวเมีย ร้องขออาหารจากอีแกซึ่งเป็นผู้เลี้ยง
ตัวเมียที่เมืองจัณฑีครห์ ประเทศอินเดีย
Eudynamys scolopaceus + Corvus splendens

นกกาเหว่าเป็นปรสิตที่วางไข่ฟองหนึ่งให้นกพันธุ์ต่าง ๆ เลี้ยง รวมทั้งอีกา[21] และอีแก ในประเทศศรีลังกา นกก่อน ค.ศ. 1880 วางไข่ให้แต่อีกาเท่านั้นเลี้ยง แต่ภายหลังเปลี่ยนไปไข่ให้อีแกเลี้ยงด้วย[22] งานศึกษาในอินเดียปี ค.ศ. 1976 พบว่า รังของอีแก 5% ถูกลอบวางไข่ และรังของอีกา 0.5% ถูกลอบวางไข่[23]

ส่วนงานศึกษาในปี ค.ศ. 2011 ในประเทศบังกลาเทศพบว่า นกลอบวางไข่ในรังของนกอีเสือหัวดำ (Lanius schach) ทั้งหมด 35.7%, นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis) 31.2%, และอีแก (Corvus splendens) 10.8%[24] แม่นกจะชอบวางไข่ในรังที่ไม่สูงนักและใกล้กับต้นไม้มีผล[25] ส่วนประเทศไทยภาคใต้และแหลมมลายู นกได้เปลี่ยนนกเลี้ยง (นกที่ถูกเบียน) จากกาไปเป็นนกเอี้ยง (สกุล Acridotheres) เพราะนกเอี้ยงได้กลายเป็นนกที่สามัญกว่าในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[12] ส่วนในเอเชียใต้บางครั้งก็พบไข่ในรังของนกแซงแซวหางปลา[26] นกสาลิกาปากดำ[27] และอาจจะนกขมิ้นชนิด Oriolus larvatus [black-headed oriole])[28][29]

นกกาเหว่าตัวผู้อาจจะล่อความสนใจของนกที่ถูกเบียน (host) เพื่อตัวเมียจะได้โอกาสลอบวางไข่[30][31] แต่โดยมากตัวเมียจะแอบไปวางไข่ตัวเดียว[12] นกจะไม่วางไข่ในรังเปล่า งานศึกษาในประเทศปากีสถานในปี ค.ศ. 1966 พบว่า นกจะวางไข่โดยเฉลี่ยวันครึ่งหลังจากนกที่ถูกเบียนวางไข่ใบแรก[32] ปกติจะวางไข่เพียงแค่ใบเดียวหรือสองใบในรัง ๆ หนึ่ง แต่อาจจะวางมากถึง 7-11 ใบ[33][34][35] แม่นกอาจจะเอาไข่ของนกที่ถูกเบียนออกใบหนึ่งก่อนจะวางไข่

ลูกนกกาเหว่าจะออกจากไข่ภายใน 12-14 วัน ประมาณ 3 วันก่อนลูกนกที่ถูกเบียน[36] ลูกนกอาจจะไม่ดันไข่นกที่ถูกเบียนออกจากรัง และจะร้องคล้าย ๆ กาในตอนแรก ๆ และจะเริ่มหัดบินภายใน 20-28 วัน[12]

ลูกนกไม่เหมือนกับนกคัคคูประเภทอื่น ๆ ที่พยายามฆ่าลูกนกที่ถูกเบียน ซึ่งเป็นลักษณะคล้ายกับของนกคัคคูสปีชีส์ Scythrops novaehollandiae (channel-billed cuckoo) ซึ่งก็เป็นนกที่กินผลไม้โดยมากเมื่อโตแล้วเหมือนกัน[37] มีทฤษฎีว่า นกกาเหว่าจะเหมือนนกปรสิตอื่น ๆ บางประเภทที่ไม่กำจัดลูกนกที่ถูกเบียน เพราะมีข้อเสียมากกว่าข้อดี เช่น นกปรสิตตัวเล็กอาจจะไม่สามารถกำจัดไข่นกหรือลูกนกที่ถูกเบียน จากรังที่ลึก เพราะเสี่ยงจากการอดตายหรือตกออกจากรังเอง ส่วนทฤษฎีอีกอย่างหนึ่งว่า ลูกนกที่ถูกเบียนอาจจะทำประโยชน์ให้นกปรสิต ไม่ค่อยมีคนสนับสนุน[38]

แม่นกอาจจะเลี้ยงลูกนกในรังของนกที่ถูกเบียน[39][40] ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พบในนกปรสิตชนิดอื่น ๆ ด้วย แต่ว่าพ่อนกไม่มีส่วนในการเลี้ยงลูกนก[12][41][42]

นกเป็นสัตว์กินทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งแมลงต่าง ๆ ดักแด้ผีเสื้อ ไข่ และสัตว์มีกระดูกสันหลังเล็ก ๆ แต่ว่า นกที่โตแล้วมักจะกินแต่ผลไม้ และบางครั้งจะป้องกันต้นไม้มีผลที่ตนหาอาหาร โดยไล่สัตว์กินผลอื่น ๆ ไป[43] นกเป็นพาหะเมล็ดไม้จันทน์ (Santalum album) ที่สำคัญในประเทศอินเดีย มักจะสำรอกเมล็ดใหญ่ ๆ ออกใกล้ ๆ ต้น แต่จะนำเมล็ดเล็ก ๆ ไปในที่ไกล ๆ[44] นกสามารถอ้าปากได้กว้าง ดังนั้นจึงสามารถกลืนผลขนาดใหญ่แม้แต่ผลแข็งของปาลม์สกุล ชกและค้อ[6] บางครั้งจะขโมยไข่ของนกเล็ก ๆ ด้วย[45][46]

นกสามารถกินผลรำเพยซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[47][48]

มีปรสิตของนกที่รู้จักหลายอย่างรวมทั้งโพรโทซัวคล้ายของโรคมาลาเรีย แมลงเล็ก ๆ (ประเภทเหา เล็น ไร โลน) และหนอนตัวกลม[49][50][51]

สถานะการอนุรักษ์

ในประเทศไทย นกกาเหว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[7]

ในวัฒนธรรมและสื่อ

ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนก ธาตุศัพท์ (รากศัพท์) ของภาษาสันสกฤตคือ "โกกิล" และคำที่ใช้ในภาษาอินเดียอื่น ๆ จะคล้าย ๆ กัน[8] เสียงดังไพเราะของนกคุ้นเคยกันดี จึงมีการพูดถึงนกในวรรณกรรมต่าง ๆ รวมทั้งนิทานพื้นบ้าน ตำนาน และกวีนิพนธ์[52][53] และเสียงเพลงของมันก็เป็นที่ยกย่อง[54] และเลื่อมใสในพระธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายโบราณที่อนุรักษ์นก[55] ในคัมภีร์พระเวทซึ่งเกิดก่อนคริสต์ศักราชประมาณ 2,000 ปี นกมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "อญฺญวปฺป" ซึ่งแปลว่า "ที่เลี้ยงโดยสัตว์อื่น" (หรือหว่านให้คนอื่นเก็บเกี่ยว)[56] ซึ่งตีความว่า เป็นความรู้เก่าแก่ที่สุดว่านกเป็นปรสิต (วางไข่ให้นกอื่นเลี้ยง)[12][57] นกได้รับเลือกเป็นนกประจำเขตการปกครองปุทุจเจรีของประเทศอินเดีย[58][59]

กาลครั้งหนึ่ง ชาวอินเดียนิยมเลี้ยงนกในกรง แม้เลี้ยงด้วยข้าวสุก นกก็สามารถทนทานมีชีวิตถูกขังไว้ได้นานถึง 14 ปี[60]

ในนิทานพื้นบ้านของพม่า เล่าถึงสาเหตุที่นกกาเหว่าต้องออกไข่ให้นกตัวอื่นฟัก และนกเค้าแมวออกหากินในเวลากลางคืน ว่า นกเค้าแมวและนกกาเหว่าได้ทำสัญญากัน โดยมีอีกาเป็นผู้ค้ำประกันให้แก่นกเค้าแมว ต่อมานกเค้าแมวได้เบี้ยวสัญญาต่อนกกาเหว่า อีกาในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบด้วยการฟักไข่และเลี้ยงดูลูกของนกกาเหว่านับตั้งแต่นั้น และนกเค้าแมวก็เปลี่ยนเวลาออกหากินจากกลางวันไปเป็นกลางคืนเพื่อไม่ให้อีกาตามตัวเจอ และถ้าหากเจอตัวกันในเวลากลางวันก็จะจิกตีทะเลาะวิวาทกันเสมอ ๆ[61]

ในคัมภีร์ศาสนาพุทธ

นกกาเหว่าตัวเมียที่มหาวิทยาลัยธากา ประเทศบังกลาเทศ
เสียงนกใน ประเทศสิงคโปร์
วิดีโอแสดงนกตัวเมียส่งเสียงร้อง ให้สังเกตว่าร้องไม่เหมือนตัวผู้

ภาษาบาลีก็เรียกนกดุเหว่าว่า "โกกิล"[62] (อ่านว่า โกกิละ) เช่นกัน โดยมักนิยมแปลเป็นภาษาไทยว่า "นกดุเหว่า" คัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถามักจะเปรียบเทียบเสียงนกดุเหว่ากับนกการเวกคือมีเสียงไพเราะมาก[63][64] และแสดงนกในที่ที่น่ารื่นรมย์เช่นในวิมานของเทพธิดาเป็นต้น[65]

พระพุทธเจ้าทรงแสดงนกเป็นอุทาหรณ์ในสุชาตาชาดกว่า เป็นสัตว์ที่ผู้อื่นรักใคร่เพราะมีวาจาไพเราะ[66] ในเรื่องนี้อรรถกถาจารย์อธิบายว่า เป็นเรื่องเนื่องกับการสอนนางสุชาดาสะใภ้ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้มีวาจาดุร้าย คือพระพุทธองค์ก็ได้ทรงสั่งสอนนางสุชาดาในชาติก่อน ๆ มาแล้วเช่นกัน และเป็นการยกนกดุเหว่าเทียบกับนกต้อยตีวิด (นกกระแตแต้แวด) ที่มีเสียงไม่น่าฟัง[67] คือทรงยกว่า

ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
มีเสียงอันไพเราะ น่ารักน่าชม แต่พูดจาหยาบกระด้าง
ย่อมไม่เป็นที่รักของใคร ๆ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

พระองค์ (พระราชชนนีของพระโพธิสัตว์ผู้ในชาติหลังเป็นนางสุชาดา) ทรงทอดพระเนตรแล้วมิใช่หรือ
นกดุเหว่าสีดำตัวนี้มีสีไม่สวย ลายพร้อยไปทั้งตัว
แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายจำนวนมาก
เพราะร้องด้วยเสียงอันไพเราะ

เพราะฉะนั้นบุคคลควรพูดคำอันสละสลวย
คิดก่อนพูด พูดพอประมาณ ไม่ฟุ้งซ่าน
ถ้อยคำของผู้ที่แสดงเป็นอรรถเป็นธรรม
เป็นถ้อยคำอันไพเราะ เป็นถ้อยคำที่เป็นภาษิต[66]

ทรงแสดงนกเป็นอุทาหรณ์ในโกกิลชาดกว่า ผู้ที่พูดไม่ถูกกาละจะถูกทำร้ายเหมือนกับลูกนกถูกกา (ที่เป็นสัตว์ถูกเบียน) ทอดทิ้ง[68] คือ

เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด ผู้ใดพูดเกิน
กาลไป ผู้นั้นย่อมถูกทำร้ายดุจลูกนกดุเหว่า
ฉะนั้น.

มีดที่ลับคมดีแล้ว ดุจยาพิษอันร้ายแรง
หาทำให้ตกไปทันทีทันใด เหมือนวาจาทุพภาษิตไม่.

เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรรักษาวาจาไว้
ทั้งในกาลควรพูดและไม่ควร ไม่ควรพูดให้
ล่วงเวลา แม้ในบุคคลผู้เสมอกับตน.

ผู้ใดมีความคิดเห็นเป็นเบื้องหน้า มี
ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นประจักษ์ พูดพอ
เหมาะในกาลที่ควรพูด ผู้นั้นย่อมจับศัตรูได้
ทั้งหมด ดุจครุฑจับนาคได้ ฉะนั้น.[68]

ทรงแสดงกุณาลชาดก ที่เป็นพญานกดุเหว่าเพื่อข่มความกระสันในผู้หญิงของภิกษุผู้เป็นพระญาติ 500 รูป ในชาดกนี้ มีทั้งนกดุเหว่าดำ และนกดุเหว่าลาย[69] ซึ่งเป็นลักษณะของนกดุเหว่าตัวผู้ตัวเมียดังที่กล่าวมาแล้ว

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. BirdLife International (2012). "Eudynamys scolopaceus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 2013-11-26.
  2. Johnsgard, PA (1997). The avian brood parasites: deception at the nest. Oxford University Press. p. 259. ISBN 0-19-511042-0.
  3. "ดุเหว่า", พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, [-เหฺว่า] น. ชื่อนกชนิด Eudynamys scolopacea ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็กกว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายและจุดสีขาวพาดตลอดตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลำพัง กินแมลงและผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก.
  4. David, N & Gosselin, M (2002). "The grammatical gender of avian genera". Bull B.O.C. 122: 257–282.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Penard, TE (1919). "The name of the black cuckoo" (PDF). Auk. 36 (4): 569–570. doi:10.2307/4073368.
  6. 6.0 6.1 Corlett, RT; Ping, IKW (1995). "Frugivory by Koels in Hong Kong" (PDF). Mem. Hong Kong Nat. Hist. Soc. 20: 221–222. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2005-12-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 "สัตว์ป่าคุ้มครอง". โลกสีเขียว. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23. {cite web}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  8. 8.0 8.1 Yule, Henry, Sir (1903). Hobson-Jobson: A glossary of colloquial Anglo-Indian words and phrases, and of kindred terms, etymological, historical, geographical and discursive. John Murray, London. p. 490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.{cite book}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Daniels, RJR (1984). "Eye color in koels". Newsletter for Birdwatchers. 24 (9–10): 13.
  10. Dunning, John B. Jr., บ.ก. (1992). CRC Handbook of Avian Body Masses. CRC Press. ISBN 978-0-8493-4258-5.
  11. "Asian Koel". oiseaux-birds.com.
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 Payne, RB (2005). The Cuckoos. Oxford University Press.
  13. Ali, S; Ripley, SD (1981). Handbook of the birds of India and Pakistan. Volume 3 (2 ed.). Oxford University Press. pp. 227–230.{cite book}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. "นกกาเหว่า,นกดุเหว่า". บ้านมหา ดอตคอม. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-06. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  15. Gill, F.; Wright, M.; Donsker, D. (2009). "IOC World Bird Names version 2.0". สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.{cite web}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Christidis, L.; Boles, W E (2008). Systematics and Taxonomy of Australian Birds. Collingwood, Vic.: CSIRO Publishing. ISBN 978-0-643-06511-6.{cite book}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Clements, JF (2007). The Clements Checklist of the Birds of the World (7 ed.). Christopher Helm. ISBN 978-0-7136-8695-1.
  18. Penart TE (1919). "The name of the Black Cuckoo" (PDF). Auk. 36 (4): 569–570. doi:10.2307/4073368.
  19. Ripley, SD (1946). The Koels of the Bay of Bengal (PDF). The Auk. Vol. 63. pp. 240–241. doi:10.2307/4080015.
  20. Rawlinson, PA; Zann, RA; Balen, S; Thornton, IWB (1992). "Colonization of the Krakatau islands by vertebrates". GeoJournal. 28 (2): 225–231. doi:10.1007/BF00177236.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Goodwin, D. (1983). Crows of the World. Queensland University Press, St Lucia, Qld. ISBN 0-7022-1015-3.
  22. Phillips, WWA (1948). "Cuckoo problems of Ceylon". Spolia Zeylanica. 25: 45–60.
  23. Lamba, BS (1976). "The Indian crows: a contribution to their breeding biology, with notes on brood parasitism on them by the Indian Koel". Records of the Zoological Survey of India. 71: 183–300.
  24. Begum, Sajeda; Moksnes, Arne; Røskaft, Eivin; Stokke, Bård G. (2011). "Interactions between the Asian koel (Eudynamys scolopacea) and its hosts". Behaviour. 148 (3): 325–340. doi:10.1163/000579511X558400.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. Begum, S; Moksnes, A; Røskaft, E; Stokke, BG (2011). "Factors influencing host nest use by the brood parasitic Asian Koel (Eudynamys scolopacea)". Journal of Ornithology. 152 (3): 793–800. doi:10.1007/s10336-011-0652-y.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. Smith, TEH (1950). "Black drongos fostering a koel". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 49 (1): 304.
  27. Harington, HH (1904). "The Koels laying in the nest of Pica rustica, the Magpie". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 15 (3): 520.
  28. Sethi, VK; Saxena, V; Bhatt, D (2006). "An instance of the Asian Koel Eudynamys scolopacea destroying the nest of a Black-headed Oriole Oriolus xanthornus". Indian Birds. 2 (6): 173–174.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. Lowther, Peter E (2007). "Host list of avian brood parasites −2 - Cuculiformes; Cuculidae" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  30. Dewar, D (1907). "An enquiry into the parasitic habits of the Indian koel". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 17 (3): 765–782.
  31. Raju, K.S.R. Krishna (1968). "Intelligence of a pair of Koels Eudynamys scolopacea". Newsletter for Birdwatchers. 8 (10): 12.
  32. Lamba,BS (1966). "The egg-laying of the Koel Eudynamys scolopacea (Linnaeus)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 63 (3): 750–751.
  33. Jacob, JR (1915). "Seven Koel's eggs in one nest". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 24 (1): 191–192.
  34. Jones, AE (1916). "Number of Koel's E. honorata eggs found in one nest". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 24 (2): 370.
  35. Abdulali, H (1931). "Eleven Koel eggs in a Crow's nest". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 35 (2): 458.
  36. Ali, H; Hassan, SA; Rana, SA; Beg, MA; Mehmood-ul-Hassan, M (2007). "Brood parasitism of Asian koel (Eudynamys scolopacea) on the house crow (Corvus splendens) in Pothwar region of Pakistan". Pak. J. Agric. Soc. Sci. 44 (4): 627–634.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  37. Broom, M; Ruxton, G D; Kilner, Rebecca M. (2007). "Host life-history strategies and the evolution of chick-killing by brood parasitic offspring". Behavioral Ecology. 19: 22. doi:10.1093/beheco/arm096.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  38. Grim, T (2006). "Low virulence of brood parasitic chicks: adaptation or constraint" (PDF). Ornithol. Sci. 5: 237–242. doi:10.2326/osj.5.237. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  39. Lydekker, R (1895). The Royal Natural History. Volume 4. p. 8.
  40. Dixit, Dhruv (1968). "Parental instincts in Koel Eudynamys scolopacea (Linnaeus)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 65 (2): 485–486.
  41. Lorenzana, JC & SG Sealy (1998). "Adult brood parasites feeding nestlings and fledglings of their own species: A review" (PDF). J. Field Ornithol. 69 (3): 364–375.
  42. Fulton, R. (1904). "The Kohoperoa or Koekoea, Long-tailed Cuckoo (Urodynamis taitensis): an account of its habits, description of a nest containing its (supposed) egg, and a suggestion as to how the parasitic habit in birds has become established". Trans. N. Z. Inst. 36: 113–148.
  43. Pratt, Thane K., T. K. (1984-05-01). "Examples of tropical frugivores defending fruit-bearing plants" (PDF). The Condor. 86 (2): 123–129. doi:10.2307/1367024. ISSN 0010-5422. JSTOR 1367024.
  44. Hegde, S G; Shaanker, R Uma; Ganeshaiah, KN (1991). "Evolution of seed size in the bird-dispersed tree Santalum album L.: a trade off between seedling establishment and dispersal efficiency". Evol. Trends. Plants. 5: 131–135.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  45. Uttangi, JC (2004). "Robbing of eggs by female Koel, from the nest of Red-whiskered Bulbul (Pycnonotus jocosus)". Newsletter for Birdwatchers. 44 (5): 77.
  46. Purefoy, AE Bagwell (1947). "The Koel as an egg-stealer". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 46 (4): 723.
  47. Kannan, R (1991). "Koels feeding on the yellow oleander". Blackbuck. 7 (2): 48.
  48. Krishnan, M (1952). "Koels (Eudynamis scolopaceus) eating the poisonous fruit of the Yellow Oleander". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 50 (4): 943–945.
  49. Laird, Marshall; Lari, Faiyaz A. (1958). "Observations on Plasmodium circumflexum Kikuth and P. vaughani Novy and Macneal from East Pakistan". The Journal of Parasitology. 44 (2): 136–152. doi:10.2307/3274690. JSTOR 3274690. PMID 13539706.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  50. Peirce, M. A. and R. D. Adlard (2005). "The haemoproteids of the Cuculidae". Journal of Natural History. 39 (25): 2281–2287. doi:10.1080/00222930500060942.
  51. Sharma, RK (1971). "On a new nematode Spirocaudata bispiculatum gen.nov. sp.nov. (Ancyracanthidae) from the koel, Eudynamys scolopacea". Parasitology. 62: 49–52. doi:10.1017/S0031182000071286.
  52. Archer, William George (1972). The blue grove: the poetry of the Uraons. Ayer Publishing. ISBN 0-8369-6920-0.
  53. Fuchs, Stephen (2000). Thirty Korku Dancing Songs. Asian Folklore Studies. Vol. 59. pp. 109–140. doi:10.2307/1179030.
  54. Beveridge, Annette (1922). The Babur-nama in English. Luzac, London. ISBN 0-7189-0139-8.
  55. Padhy, S; Dash, SK; Mohapatra, R (2006). "Environmental Laws of Manu: A Concise Review". J. Hum. Ecol. 19 (1): 1–12.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  56. Macdonell, AA & A B Keith (1912). Vedic index of names and subjects. Volume 1. London: John Murray. p. 24.
  57. Friedmann, Herbert (1965). "The History of our Knowledge of Avian Brood Parasitism". Centaurus. 10 (4): 282–304. doi:10.1111/j.1600-0498.1965.tb00628.x. PMID 5336649.
  58. Ramakrishnan, Deepa (2007-04-21). "Puducherry comes out with list of State symbols". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  59. Anonymous (1998). "Vernacular Names of the Birds of the Indian Subcontinent" (PDF). Buceros. 3 (1): 53–109.
  60. Law, Satya Churn (1923). "Pet birds of Bengal. Vol. 1". Thacker and Spink: 315–316. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  61. หน้า 3, กาเหว่า...เอย. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21338: วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 แรม 4 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
  62. "โกกิล", พจนานุกรม บาลี - ไทย - อังกฤษ ฉบับภูมิพโลภิกขุ (ฉบับคอมพิวเตอร์ ส่วนของพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ฉบับ TPD), มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, 1987, เทียบ สัน. โกก ห่านชนิดหนึ่ง, นกกาเหว่า, มีรากศัพท์ มาจาก โกกิล นกกาเหว่า; เทียบ Gr. Lat. cuculus, E. cuckoo นกกาเหว่าอินเดีย. ท่านกล่าวไว้ 2 ชนิด ใน วิมาน.อ.57; กาฬ และ ผุสฺส นกกาเหว่าดำและด่าง. ---- ใน ชา.5/416 เป็น จิตฺร . ---- วิมาน.11 1, 58 8; วิมาน.อ. 132,163.
  63. "พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 14 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ 2 ภาคที่ 2", E-Tipitaka 2.1.2 (2010), p. 357 (อรรถกถา)
  64. "พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 16 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่มที่ 3", E-Tipitaka 2.1.2 (2010), p. 132 (พระบาลี)
  65. "พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 48 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่มที่ 2 ภาคที่ 1", E-Tipitaka 2.1.2 (2010), p. 306 (พระบาลี)
  66. 66.0 66.1 "พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 27 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1", E-Tipitaka 2.1.2 (2010), p. 132 (พระบาลี)
  67. "พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 58 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ 3 ภาคที่ 4", E-Tipitaka 2.1.2 (2010), p. 147 (พระบาลีและอรรถกถา)
  68. 68.0 68.1 "พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฎฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 58 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ 3 ภาคที่ 4", E-Tipitaka 2.1.2 (2010), p. 588 (พระบาลี)
  69. "กุณาลชาดก - ว่าด้วยโทษของหญิง - ฉบับพอกันที" (PDF).

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Eates, KR (1938) The status of the Koel (Eudynamys scolopaceus L.) in Sind. J. Bombay Nat. Hist. Soc. 40 (2):328.
  • Jose,TV (1980) Koels. Newsletter for Birdwatchers. 20 (4), 17.
  • Menon, G.K.; Shah, R.V. (1979) Adaptive features in juvenal plumage pattern of the Indian Koel Eudynamys scolopacea: host mimesis and hawk-pattern. Journal of the Yamashina Institute for Ornithology 11 (2):87-95
  • Neelakantan,KK (1980) The breeding of the Indian Koel Eudynamys scolopacea. Newsletter for Birdwatchers . 20 (1):7.
  • Parasharya,BM (1985) Comments on eye color in the Koel Eudynamys scolopacea. Newsletter for Birdwatchers . 25 (1-2), 11-12.
  • Ray-Chaudhuri, R. (1967) Mitotic and meiotic chromosomes of the koel Eudynamys scolopacea scolopacea. Nucleus 10: 179-189. (Study notes that the W chromosome is the 6th largest one and has the centromere in a subterminal position.)
  • Ryall C (2003) Mimicry of a crow chick by an Asian koel Eudynamys scolopacea as a defence against attack by house crows Corvus splendens. J. Bombay Nat. Hist. Soc. 100 (1):136-137
  • Santharam,V (1979) Crows feeding young koel. Newsletter for Birdwatchers . 19 (7), 4.
  • Sarkar AK, Maitra SK, Midya T. (1976) Histological, histochemical and biochemical effects of cadmium chloride in female koel (Eudynamys scolopacea). Acta Histochem. 57 (2):205-11.
  • Sarkar AK, Maitra SK, Midya T. (1977) Effects of reserpine on female reproductive organs of the Indian koel Eudynamys scolopacea scolopacea (L). Indian J Exp Biol.15 (5):349-51.
เว็บไซต์

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Eudynamys scolopaceus ที่วิกิสปีชีส์