ประเทศซามัว
13°35′S 172°20′W / 13.583°S 172.333°W
รัฐเอกราชซามัว Independent State of Samoa (อังกฤษ) Malo Sa'oloto Tuto'atasi o Samoa (ซามัว) | |
---|---|
คำขวัญ: Faavae i le Atua Samoa (ซามัวสถาปนาด้วยพระเจ้า) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | อาปีอา 13°50′S 171°45′W / 13.833°S 171.750°W |
ภาษาราชการ | ภาษาซามัวและภาษาอังกฤษ |
การปกครอง | ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา |
วาอาเลโตอา ซูอาลาอูวีที่ 2 | |
• นายกรัฐมนตรี | นาโอมี มาตาอาฟา |
เอกราช | |
• จาก นิวซีแลนด์ | 1 มกราคม พ.ศ. 2505 |
พื้นที่ | |
• รวม | 2,842 ตารางกิโลเมตร (1,097 ตารางไมล์) (167) |
0.3 | |
ประชากร | |
• สำมะโนประชากร October 2020 | 202,506[1] (176) |
70 ต่อตารางกิโลเมตร (181.3 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | $1.188 พันล้าน[2] |
• ต่อหัว | $5,962[2] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | $881 ล้าน[2] |
• ต่อหัว | $4,420[2] |
เอชดีไอ (2019) | 0.715[3] สูง · 111 |
สกุลเงิน | ตาลา (WST) |
เขตเวลา | UTC+13 |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | +14 |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | +685 |
โดเมนบนสุด | .ws |
รัฐเอกราชซามัว (ซามัว: Malo Sa‘oloto Tuto'atasi o Sāmoa; อังกฤษ: Independent State of Samoa) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ซามัว (ซามัว: Sāmoa; อังกฤษ: Samoa) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ชื่อในอดีตคือ เยอรมันซามัว ระหว่างปี พ.ศ. 2443 ถึง พ.ศ. 2457 และ ซามัวตะวันตก ระหว่างปี พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2540
ประวัติศาสตร์
ซามัวเป็นดินแดนที่เป็นที่ตั้งหนึ่งในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของชาวโพลินีเซีย สามารถขยายอาณาเขตยึดประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงได้ จนกระทั่งมีการเข้ามาของชาวยุโรปทำให้ประชากรส่วนใหญ่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ จนกระทั่ง จักรวรรดิตูอิตองงา ได้เข้ามายึดดินแดน ส่งผลให้ซามัวกลายเป็นเมืองขึ้นของตองงา ในระยะต่อมาอีก 500 ปี ซามัวได้ประกาศเอกราชและปกครองตนเองเรื่อยมา ต่อมาประเทศอังกฤษได้ยึดซามัว ในเวลาต่อมาเกิดข้อพิพาทระหว่างสหรัฐ เยอรมันและอังกฤษ ยังผลให้ประเทศเยอรมนีได้ครอบครองส่วนที่เป็นประเทศซามัวในปัจจุบัน ส่วนสหรัฐอเมริกาได้ครอบครองส่วนที่เป็นอเมริกันซามัวในปัจจุบัน สำหรับประเทศอังกฤษก็ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในซามัวอีกแล้ว ในระยะต่อมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซามัวถูกโอนให้มาขึ้นกับประเทศนิวซีแลนด์ จนประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2505 นับเป็นประเทศแรกในแปซิฟิกใต้ที่ได้รับเอกราช
การเมือง
ระบบรัฐสภา สภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน โดย 47 คน มาจากการเลือกตั้ง และผู้แทน 2 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากเผ่ามาไต (Matai) วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี เดิมประมุขรัฐมาจากการสืบตระกูลและดำรงตำแหน่งประมุขตลอดชีพ แต่ภายหลังจากที่พระประมุข มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2 ประมุขรัฐที่ได้รับการแต่งตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้สิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ด้วยพระชันษา 94 พรรษา โดยไม่มีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ทำให้ซามัวไม่มีกษัตริย์อีกต่อไป และเริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีแทน ซามัวเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองมากที่สุดในแปซิฟิกใต้
การแบ่งเขตการปกครอง
ซามัวแบ่งการปกครองเป็น 11 เขตคือ:
- อาอานา (A'ana)
- ไอกาอิเลไต (Aiga-i-le-Tai)
- อาตูอา (Atua)
- ฟาอะซาเลเลอากา (Fa'asaleleaga)
- กากาเอเมากา (Gaga'emauga)
- กาไกโฟเมากา (Gagaifomauga)
- ปาเลาลี (Palauli)
- ซาตูปาอิเตอา (Satupa'itea)
- ตัวมาซากา (Tuamasaga)
- วาอาโอโฟโนตี (Va'a-o-Fonoti)
- ไวซิกาโน (Vaisigano)
ภูมิศาสตร์
ซามัวตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอเมริกันซามัว ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตองกาและฟิจิ มีป่าไม้ค่อนข้างหนาแน่น ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายโพลินีเชีย และบางส่วนเป็นเยอรมันและจีน ชาวซามัวจำนวนมากอพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ โดยคาดว่ามีชาวซามัวในนิวซีแลนด์ประมาณ 120,000 คน และในออสเตรเลียประมาณ 40,000 คน
ข้อมูลภูมิอากาศของประเทศซามัว | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 30 (86) |
30 (86) |
30 (86) |
30 (86) |
30 (86) |
29 (84) |
29 (84) |
29 (84) |
29 (84) |
30 (86) |
30 (86) |
30 (86) |
30 (86) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 24 (75) |
24 (75) |
24 (75) |
24 (75) |
24 (75) |
24 (75) |
23 (73) |
23 (73) |
23 (73) |
24 (75) |
24 (75) |
24 (75) |
24 (75) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 419 (16.5) |
322 (12.68) |
332 (13.07) |
261 (10.28) |
205 (8.07) |
165 (6.5) |
133 (5.24) |
155 (6.1) |
180 (7.09) |
257 (10.12) |
270 (10.63) |
372 (14.65) |
3,071 (120.91) |
แหล่งที่มา: www.weather2travel.com [4] |
เศรษฐกิจ
ซามัวเป็นหนึ่งในประเทศมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในแปซิฟิก โดยมีการท่องเที่ยวและการประมงเป็นปัจจัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ชาวซามัวส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ พืชที่สำคัญคือ มะพร้าว สาเก กล้วย โกโก้ และเผือก ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาคประมงของซามัวเติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้สูงสุดให้กับประเทศ นอกจากนี้ ซามัวยังมีรายได้จากแรงงานที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะจากนิวซีแลนด์ อเมริกันซามัว ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
ซามัวมีนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2535 (ค.ศ. 1992) แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก รัฐบาลมีนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการพัฒนา organic farming เพื่อส่งออกไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซามัวเริ่มเติบโต รวมทั้งบริษัท Partridge Pacific Investment Group ตัดสินใจลงทุนด้านการค้าปลีกขนาดใหญ่ในซามัวและฟิจิ จึงคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2549-50 จะเติบโตในระดับที่น่าพอใจ
ปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นชื่อ Yazaki ซึ่งผลิต wire harness ที่ใช้ในรถยนต์เพื่อส่งออกไปยังออสเตรเลีย เป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและเป็นแหล่งจ้างงานใหญ่ที่สุด สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ มีขนาดเล็กและผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้าเท่านั้น เป็นที่คาดกันว่า ซามัวจะถูกถอดถอนจากรายชื่อกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries) ในปี 2549 (ค.ศ. 2006) ซึ่งจะช่วยให้ซามัวสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติได้มากกว่าที่เป็นอยู่
จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2549 สูงขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 26 คิดเป็นรายได้กว่า 4.7 ล้านดอลาร์สหรัฐ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากอเมริกันซามัว และมีแนวโน้มว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนเพิ่มขึ้น จากความร่วมมือระหว่างจีนและซามัว อย่างไรก็ตาม ปัญหาสังคมของซามัวทวีความรุนแรงขึ้น เช่น การก่ออาชญากรรมของเยาวชน ปัญหายาเสพติด ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น ชาวซามัวมีอัตราการอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียและสหรัฐฯ สูงขึ้นเป็นลำดับ
ประชากร
ประชากรในซามัวนั้นประกอบด้วยชาวซามัวร้อยละ 92.6 (โพลินีเซียน) ยูโรนีเซียน (ยุโรป-โพลินีเซียน) ร้อยละ 7 และชาวยุโรปร้อยละ 0.4
วัฒนธรรม
ชาวซามัวมีความยิ่งใหญ่มากในอดีต มีวัฒนธรรมซึ่งโดดเด่นมากในกลุ่มชาติพันธุ์โพลินีเซียน มีทั้งภาษา การเต้นรำและการแต่งกายดั้งเดิม
อ้างอิง
- ↑ "Population & Demography Indicator Summary". Samoa Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 25 June 2018.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Samoa". International Monetary Fund.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Apia climate guide". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2012-06-24.
แหล่งข้อมูลอื่น
- รัฐบาล
- รัฐบาลซามัว
- Chief of State and Cabinet Members เก็บถาวร 2013-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ทั่วไป
- University of Colorado เก็บถาวร 2010-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from UCB Libraries GovPubs
- Samoa Tourism Authority
- คู่มือการท่องเที่ยว ประเทศซามัว จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Key Development Forecasts for Samoa from International Futures
- อื่นๆ
- Samoaworld.com เก็บถาวร 2010-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Online Samoan Dictionary