ประเทศออสเตรเลียในการประกวดเพลงยูโรวิชัน
ประเทศออสเตรเลียในการประกวดเพลงยูโรวิชัน | |
---|---|
![]() | |
สถานีโทรทัศน์ที่เข้าร่วม | สเปเชียลบรอดแคสติงเซอร์วิส (เอสบีเอส) |
สรุปผลการเข้าร่วม | |
การเข้าร่วม | 9 (รอบชิงชนะเลิศ 7 ครั้ง) |
การเข้าร่วมครั้งแรก | ค.ศ. 2015 |
อันดับสูงสุด | ที่ 2 (ค.ศ. 2016) |
ประวัติการเข้าร่วม
| |
บทความที่เกี่ยวข้อง | |
ยูโรวิชัน–ออสเตรเลียดีไซด์ส | |
ลิงก์ภายนอก | |
เว็บไซต์เอสบีเอส เว็บไซต์ ยูโรวิชัน–ออสเตรเลียดีไซด์ส | |
หน้าเว็บออสเตรเลียใน Eurovision.tv ![]() | |
![]() ประเทศออสเตรเลียในการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2024 |
ประเทศออสเตรเลียได้เข้าร่วมการประกวดเพลงยูโรวิชันทั้งหมด 9 ครั้ง โดยเข้าร่วมครั้งแรกในการแข่งขันปี 2015 โดยเอสบีเอส สถานีโทรทัศน์ประจำชาติ ได้รับคำเชิญพิเศษจากสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป (อีบียู) ในการเข้าร่วม นับเป็นเพียงประเทศเดียวนอกเขตการแพร่ภาพกระจายเสียงยุโรปที่เข้าร่วมการประกวดเพลงยูโรวิชัน
ออสเตรเลียทำผลงานติดสิบอันดับแรกทั้งหมดห้าครั้ง โดยผลงานที่ดีที่สุดคืออันดับที่สองด้วยเพลง "ซาวด์ออฟไซเลนส์" โดยดามิ อิม ในการประกวดปี 2016 ตามด้วย "ทูไนต์อะเกน" ของกาย เซบาสเตียนด้วยอันดับที่ห้าในการประกวดปี 2015 รวมถึง "ดอนต์คอมอีซีย์" โดยไอเซยาห์, "ซีโร่แกร์วิตี" โดยเคต มิลเลอร์-ไฮด์เก, และ "พรอมิส" โดยวอยเอจเจอร์ ซึ่งได้อันดับที่เก้าในการประกวดปี 2017, 2019, และ 2023 ตามลำดับ
เดิมทีการเข้าร่วมการประกวดของออสเตรเลียเในปี 2015 นั้นถูกกำหนดให้เป็นกิจกรรมครั้งเดียว โดยมีแผนว่าจะทำการแสดงอีกครั้งในปีถัดไปหากได้รับชัยชนะ แต่ต่อมาได้รับการยืนยันในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015 โดยเอสเวียเทียว่าออสเตรเลียจะเข้าร่วมการประกวดปี 2016[1] และออสเตรเลียก็ได้เข้าร่วมการประกวดทุกครั้งนับแต่นั้นมา[2]
การประกวดนี้สามารถดึงดูดผู้ชมจำนวนมากให้กับเอสบีเอส และสร้างฐานแฟนคลับที่กว้างขวางทั่วประเทศ เนื่องจากความแตกต่างของเวลาในเมืองเจ้าภาพในยุโรป การประกวดจึงมักออกอากาศเวลา 05:00 น. เวลามาตรฐานตะวันออกของออสเตรเลีย (AEST) การประกวดได้รับการนำเสนอในสื่อกระแสหลักอย่างแพร่หลายในประเทศ[3][4][5]
ภาพรวม
◁ | อันดับสุดท้าย |
X | เพลงที่ได้รับเลือกแต่ไม่ได้เข้าร่วมประกวด |
ปี | ศิลปิน | เพลง | ภาษา | รอบชิงชนะเลิศ | รอบรองชนะเลิศ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
2015 | กาย เซบาสเตียน | "ทูไนต์อะเกน" | อังกฤษ | 5 | 196 | ผ่านเข้ารอบโดยอัตโนมัติ[a] | |
2016 | ดามิ อิม | "ซาวด์ออฟไซเลนส์" | อังกฤษ | 2 | 511 | 1 | 330 |
2017 | ไอเซยาห์ | "ดอนต์คอมอีซีย์" | อังกฤษ | 9 | 173 | 6 | 160 |
2018 | เจสสิกา เมาบอย | "วีกอตเลิฟ" | อังกฤษ | 20 | 99 | 4 | 212 |
2019 | เคต มิลเลอร์-ไฮด์เก | "ซีโร่แกร์วิตี" | อังกฤษ | 9 | 284 | 1 | 261 |
2020 | มอนเทน | "ดอนต์เบรกมี" | อังกฤษ | การแข่งขันถูกยกเลิก[b] | |||
2021 | มอนเทน | "เทคนิคัลเลอร์" | อังกฤษ | ตกรอบ | 14 | 28 | |
2022 | เชลดอน ไรลีย์ | "นอตเดอะเซม" | อังกฤษ | 15 | 125 | 2 | 243 |
2023 | วอยเอจเจอร์ | "พรอมิส" | อังกฤษ | 9 | 151 | 1 | 149 |
2024 | อิเล็กทริกฟีลด์ส | "วันมิลคาลี (วันบลัด)" | อังกฤษ, ยันกุนิตจาตารา | ตกรอบ | 11 | 41 | |
2025 | รอประกาศ †[8] |
สมุดภาพ
- กาย เซบาสเตียนในเวียนนา (2015)
- ดามิ อิมในสต็อกโฮล์ม (2016)
- วอยเอจเจอร์ในลิเวอร์พูล (2023)
ดูเพิ่ม
- ประเทศออสเตรเลียในการประกวดเพลงจูเนียร์ยูโรวิชัน
หมายเหตุ
- ↑ ผู้จัดงานอนุญาตให้ประเทศออสเตรเลียเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศโดยไม่ต้องผ่านรอบรองชนะเลิศเนื่องจากสถานการณ์พิเศษที่เกี่ยวข้องกับการเข้าแข่งขันของออสเตรเลียและเพื่อ "ไม่ลดโอกาส" ของผู้เข้าร่วมรอบรองชนะเลิศ[6]
- ↑ การประกวดปี 2020 ถูกยกเลิกจากการระบาดทั่วของโควิด-19[7]
- ↑ เนื่องด้วยข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศ มอนเทนเข้าร่วมการแข่งขันโดยการบันทึกวิดีโอการแสดงสดในสตูดิโอของเอสบีเอสในซิดนีย์ ซึ่งวิดีโอนี้จะนำไปฉายในรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ สถานที่จัดการประกวด[9][10]
อ้างอิง
- ↑ "Australien är klar för Eurovision Song Contest 2016 i Stockholm". Sveriges Television. สืบค้นเมื่อ 17 November 2015.
- ↑ "Australia secures a spot in Eurovision until 2023". Aussievision | Eurovision from Down Under (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-02-12.
- ↑ "In a massive upset, Australia's Electric Fields misses out on Eurovision grand final". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2024-05-07. สืบค้นเมื่อ 2024-05-08.
- ↑ "Brutal early exit for Australia at Eurovision 2024".
- ↑ Norman, James (2024-05-07). "'I'm super excited, but it's bloody expensive!' Australia's Eurovision megafans gather to cheer on Electric Fields in Sweden". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-05-08.
- ↑ "Australia to compete in the 2015 Eurovision Song Contest". eurovision.tv. EBU. 10 February 2015. สืบค้นเมื่อ 18 February 2020.
- ↑ "Eurovision 2020 in Rotterdam is cancelled". European Broadcasting Union (EBU). 18 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
- ↑ Knox, David (2024-10-30). "2025 Upfronts: SBS / NITV". TV Tonight (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2024-10-30.
- ↑ "Australia to compete from home using 'live-on-tape' performance". Eurovision.tv (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
- ↑ "Semi-final 1: Second rehearsals". Eurovisionworld. 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-15.