พระราชวังคย็องบก
พระราชวังคย็องบก | |
---|---|
경복궁 | |
พระราชวังคย็องบกในเวลากลางคืน | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
ประเภท | พระราชวัง (อดีต) |
สถาปัตยกรรม | เกาหลี |
เมือง | Jongno District โซล |
ประเทศ | ประเทศเกาหลีใต้ |
พิกัด | 37°34′43″N 126°58′38″E / 37.57861°N 126.97722°E |
ผู้เช่าในปัจจุบัน | National Palace Museum of Korea National Folk Museum of Korea |
เปิดใช้งาน | ค.ศ. 1395 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
พื้นที่แต่ละชั้น | 415,800 ตารางเมตร (4,476,000 ตารางฟุต) |
เว็บไซต์ | |
www | |
ชื่อเกาหลี | |
ฮันกึล | 경복궁 |
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Gyeongbokgung |
เอ็มอาร์ | Kyŏngbokkung |
พระราชวังคย็องบก (เกาหลี: 경복궁; ฮันจา: 景福宮; แปล Blessing Scenery Palace) หรือที่รู้จักในชื่อ คย็องบกกุง เป็นพระราชวังหลักของราชวงศ์โชซอน สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1395 ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ พระราชวังคย็องบกมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา พระราชวังทั้งห้า ที่สร้างขึ้นโดยราชวงศ์โชซอน ทำหน้าที่เป็นที่ประทับของราชวงศ์และที่ทำการของรัฐบาล
พระราชวังคย็องบกสร้างขึ้นโดยช็อง โด-จ็อน และยังคงมีสถานะพระรางวังหลักของราชวงศ์โชซ็อนจนกระทั่งถูกไฟเผาไหม้ในช่วงสงครามอิมจิน (ค.ศ. 1592–1598) และถูกทอดทิ้งเป็นเวลาสองศตวรรษ อย่างไรก็ตาม ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ห้องทั้ง 7,700 ห้องของพระราชวังได้รับการฟื้นฟูภายใต้การนำของแทว็อนกุนฮึงซ็อนในรัชสมัยพระเจ้าโคจง อาคาร 500 แห่งได้รับการฟื้นฟูบนพื้นที่มากกว่า 40 เฮกตาร์[1][2]
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 บริเวณพระรางวังจำนวนมากถูกทำลายอย่างเป็นระบบโดยจักรวรรดิญี่ปุ่นในสมัยที่ครอบครองเกาหลี[3] ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1963 พระราชวังนี้ได้รับการบรรจุเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรม[4] และได้รับการฟื้นฟูไปเป็นรูปแบบเดิมตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990
คำว่า "คย็องบกกุง" ในภาษาเกาหลี แปลว่า "พระราชวังแห่งพรที่ส่องสว่าง (The Palace of Shining Blessings)"
สิ่งก่อสร้าง
ประตูหลัก
- ประตูควังฮวา (ประตูแรกที่เข้าสู่พระราชวังหรือประตูทิศใต้)
- ประตูฮึงนเย (ประตูที่สองเข้าสู่พระราชวัง)
- ประตูคึนจ็อง (ประตูที่สามเข้าสู่พระราชวัง)
- ประตูซินมู (ประตูทิศเหนือ)
- ประตูค็อนชุน (ประตูทิศตะวันออก)
- ประตูย็องชู (ประตูทิศตะวันตก)
เขตพระราชฐานชั้นนอก
- ประตูคึนจ็อง (ประตูที่สามเข้าสู่พระราชวัง)
- พระที่นั่งคึนจ็อง
- พระที่นั่งซาจ็อง (สถานที่ทรงงานของกษัตริย์)
- พระที่นั่งซูจ็อง
- พระที่นั่งช็อนชู
- พระที่นั่งมันชูน
เขตพระราชฐานชั้นใน
- พระที่นั่งคังนย็อง (สถานที่ประทับของกษัตริย์)
- พระที่นั่งคโยแท (สถานที่ประทับของอัครมเหสี)
- พระที่นั่งจากย็อง (สถานที่ประทับของพระราชชนนีของกษัตริย์)
วังตะวันออก (สถานที่ประทับของมกุฎราชกุมาร)
- พระตำหนักจาซ็อน (สถานที่ประทับของมกุฎราชกุมารและพระชายา)
- ตำหนักพีฮย็อน (สถานที่ศึกษาเล่าเรียนของมกุฎราชกุมาร)
สถานที่อื่น ๆ
- ศาลาคย็องเฮรู (สถานที่สำหรับจัดงานเลี้ยงของพระราชวัง)
- ศาลาฮยังว็อนจ็อง
สะพาน
- สะพานย็องเจ
- สะพานชวีฮยัง
อ้างอิง
- ↑ (PDF) http://www.royalpalace.go.kr:8080/content/guide/gyeongbokgung_eng201307.pdf. สืบค้นเมื่อ 2014-10-21.
{cite web}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "GYEONGBOKGUNG PALACE". GYEONGBOKGUNG PALACE. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
- ↑ "How Japan Took Control of Korea". 15 May 2023.
- ↑ "경복궁". terms.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
บรรณานุกรม
- Hoon, Shin Young (2008). The Royal Palaces of Korea: Six Centuries of Dynastic Grandeur (Hardback). Singapore: Stallion Press. ISBN 978-981-08-0806-8.