พระเจ้ามหาปัทมนันทะ

พระเจ้ามหาปัทมนันทะ
Coin of Mahapadma Nanda
เหรียญเงิน 1 karshapana ของพระเจ้ามหาปัทมนันทะหรือบรรดาราชบุตรของพระองค์ ศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ.
จักรพรรดินันทะองค์ที่ 1
ครองราชย์ป. 345 – 329 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าพระเจ้ามหานันทิน
ถัดไปพระเจ้าปัณฑก
สวรรคต329 ปีก่อน ค.ศ.
พระราชบุตรพระราชโอรส 8 พระองค์ (รวมพระเจ้าธนนันทะ) โอรส 8 องค์ มีพระนาม ดังนี้:
  • พระเจ้าปัณฑกนันทะ
  • พระเจ้าปัณฑุกตินันทะ
  • พระเจ้าภูตปาลนันทะ
  • พระเจ้าราษฎระปาลนันทะ
  • พระเจ้าโควิสารนันทะ
  • พระเจ้าทสสิทธิกนันทะ
  • พระเจ้าไกวารตนันทะ
  • พระเจ้ากาวินกนันทะ (พระราชบุตรกับพระสนม)
ราชวงศ์นันทะ
พระราชบิดาพระเจ้ามหานันทิน

พระเจ้ามหาปัทมนันทะ (ฮินดี: महापद्म नन्द อักษรโรมัน: Mahapadma Nanda; IAST: Mahāpadmānanda; ป. กลางศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ.; สวรรคต 329 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดินันทะของอินเดียโบราณ ปุราณะบันทึกไว้ว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหานันทิน กษัตริย์ศิศุนาคองค์สุดท้าย กับสตรีวรรณะศูทร ตำรานี้ยกให้พระองค์มีส่วนถึงการพิชิตที่ขยายจักรวรรดิอย่างกว้างขวางกว่าแคว้นมคธ แต่ละปุราณะระบุช่วงเวลาครองราชย์ของพระองค์ต่างกันเป็น 28 หรือ 88 ปี และระบุว่าพระราชโอรสทั้ง 8 ขึ้นครองราชย์ถัดจากพระองค์

ตำราพุทธไม่ได้พูดถึงพระองค์ และระบุพระนามผู้ปกครองนันทะองค์แรกเป็น Ugrasena โจรผู้ผันตัวเป็นกษัตริย์ที่มีพี่น้อง 8 คนดำรงตำแหน่งต่อ โดยคนสุดท้ายคือพระเจ้าธนนันทะ

รัชสมัย

ขอบเขตโดยประมาณของจักรวรรดินันทะ ป. 325 ปีก่อน ค.ศ.

ปุราณะระบุไว้ว่า มหาปัทม หรือ มหาปัทมปติ (แปลตรงตัว "เจ้าแห่งดอกบัวใหญ่") เป็นกษัตริย์นันทะองค์แรก โดยเป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหานันทิน กษัตริย์ศิศุนาคองค์สุดท้าย กับสตรีวรรณะศูทร[1][2]

ปุราณะ กล่าวถึงพระองค์เป็น เอกรัฐ (อธิปไตยแต่เพียงองค์เดียว) และ sarva-kshatrantaka (ผู้ทำลายกษัตริย์ทั้งปวง)[2][3] กล่าวกันว่ากษัตริย์ (นักรบและผู้ปกครอง) ที่ถูกพระเจ้ามหาปัทมนันทะกำจัดได้แก่Maithala, Kasheya, Ikshvaku, ปัญจาละ, ศูรเสน, กุรุ, Haihaya, Vitihotra, กลิงคะ และ Ashmaka[4]

มัสยาปุราณะระบุรัชสมัยของพระเจ้ามหาปัทมนันทะไว้ที่ 88 ปี ส่วนวายุปุราณะระบุไว้ที่ 28 ปี[5] ปุราณะยังระบุเพิ่มเติมว่า พะรราชโอรสของพระเจ้ามหาปัทมนันทะ 8 พระองค์ขึ้นครองราชย์ถัดจากพระองค์รวมกันเป็น 12 ปี แต่มีเพียงแค่องค์เดียวเท่ากันที่ระบุพระนามไว้ คือ: Sukalpa[6]

มีการระบุปีทจัดทำพิธีราชาภิเษกหลายแบบ เช่น:

  • F. E. Pargiter นักภารตวิทยา: 382 ปีก่อน ค.ศ.[7]
  • R. K. Mookerji นักประวัติศาสตร์: 364 ปีก่อน ค.ศ.[7]
  • H. C. Raychaudhuri นักประวัติศาสตร์: ป. 345 ปีก่อน ค.ศ.[8]

จุดเริ่มต้นของสมัยนันทะมีการกำหนดว่าเร็วสุดถึงศตวรรษที่ 5 ก่อน ค.ศ.[9]

เอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับกษัตริย์นันทะองค์แรก

  • ตำราพุทธระบุว่า กษัตริย์องค์แรกแห่งนันทะคือ Ugrasena ไม่ใช่มหาปัทม[10] ตามทฤษฎีหนึ่งระบุไว้ว่า Ugrasena อาจเป็นอีกพระนามหนึ่งของมหาปัทม[11]
    • ตำราพุทธกล่าวถึง Ugrasena ว่า "ไม่ทราบสายสกุล" ซึ่งต่างจากปุราณะที่ระบุว่าผสมระหว่างเชื้อพระองค์-วรรณะศูทร โดย Mahavamsa-tika ระบุว่า Ugrasena มีพื้นเพจากภูมิภาคชายแดน: เขาถูกกลุ่มโจรจับตัวไป และต่อมาก็กลายเป็นผู้นำกลุ่มนั้น[2]
    • ข้อมูลกรีก-โรมันระบุว่า กษัตริย์นันทะที่ครองราชในช่วงที่อะเล็กซานเดอร์รุกราน "Agrammes" ซึ่งน่าจะเป็นรูปแปลงจากศัพท์สันสกฤตว่า "Augraseniya" (แปลตรงตัว "บุตรหรือลูกหลานของ Ugrasena")[10]
    • ตำราพุทธระบุกษัตริย์ 8 องค์ถัดไปเป็นพี่น้องของกษัตริย์นันทะองค์แรก ไม่ใช่พระโอรสตามที่ปรากฏในปุราณะ[2] และตามธรรมเนียมพุทธ นันทะปกครองเป็นเวลา 22 ปี และกษัตริย์องค์สุดท้ายคือพระเจ้าธนานันทะ[12]
  • รายงานจากตำราเชนอย่าง Parishishtaparvan และ Avashyaka sutra ที่ไม่ได้ระบุพระนาม "มหาปัทม" เช่นกัน กษัตริย์นันทะเป็นบุตรของโสเภณีกับช่างตัดผม[1][13][14] ตำราระบุว่านันทะครองราชย์ถัดจากพระเจ้าอุทัยภัทรหลังพระองค์สวรรคตจากกษัตริย์ฝ่ายตรงข้าม[15]
  • ข้อมูลกรีก-โรมันเสนอแนะว่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์นันทะเป็นช่างตัดผมที่ยึดอำนาจจากกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ก่อนหน้า[10] Curtius นักประวัติศาสตร์โรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 1) ระบุว่า พระเจ้าโปรสตรัสว่า ช่างตัดผมผู้นี้กลายเป็นอดีตคู่รักของราชินีด้วยรูปลักษณ์ที่น่าดึงดูด ทรยศด้วยการลอบสังหารกษัตริย์ในขณะนั้น แล้วแย่งชิงอำนาจสูงสุดด้วยการแสร้งทำเป็นผู้พิทักษ์เจ้าชายในขณะนั้น จากนั้นค่อยสังหารบรรดาเจ้าชาย[16] กษัตริย์นันทะที่อยู่ร่วมสมัยกับโปรสกับอะเล็กซานเดอร์เป็นบุตรของช่างตัดผมคนนี้[10]

อ้างอิง

บรรณานุกรรม


ก่อนหน้า พระเจ้ามหาปัทมนันทะ ถัดไป
พระเจ้ามหานันทิน
345 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าราชวงศ์นันทะ
(345 - 329 ปีก่อนคริสตกาล)
พระเจ้าธนนันทะ
329 ปีก่อนคริสตกาล