พ.ศ. 2534
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2534 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1991 MCMXCI |
Ab urbe condita | 2744 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1440 ԹՎ ՌՆԽ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6741 |
ปฏิทินบาไฮ | 147–148 |
ปฏิทินเบงกอล | 1398 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2941 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 39 Eliz. 2 – 40 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2535 |
ปฏิทินพม่า | 1353 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7499–7500 |
ปฏิทินจีน | 庚午年 (มะเมียธาตุโลหะ) 4687 หรือ 4627 — ถึง — 辛未年 (มะแมธาตุโลหะ) 4688 หรือ 4628 |
ปฏิทินคอปติก | 1707–1708 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3157 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1983–1984 |
ปฏิทินฮีบรู | 5751–5752 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2047–2048 |
- ศกสมวัต | 1913–1914 |
- กลียุค | 5092–5093 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11991 |
ปฏิทินอิกโบ | 991–992 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1369–1370 |
ปฏิทินอิสลาม | 1411–1412 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 3 (平成3年) |
ปฏิทินจูเช | 80 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4324 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 80 民國80年 |
เวลายูนิกซ์ | 662688000–694223999 |
พุทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะแม ตรีศก จุลศักราช 1353 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำประเทศไทย
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี
- พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
- พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ (ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 23 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม พ.ศ. 2534)
- นายอานันท์ ปันยารชุน (2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535)
เหตุการณ์
มกราคม-มิถุนายน
- 12 มกราคม - สงครามอ่าวเปอร์เซีย: รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาออกรัฐบัญญัติ อนุญาตให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อขับไล่กองทัพอิรักออกจากประเทศคูเวต
- 17 มกราคม - สงครามอ่าวเปอร์เซีย: ปฏิบัติการพายุทะเลทรายเริ่มต้นขึ้น
- 15 กุมภาพันธ์ - เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกเชื้อปะทุ (แก๊ป) พลิกคว่ำ ทำให้เชื้อปะทุระเบิด ที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีผู้เสียชีวิต 207 คน
- 22 กุมภาพันธ์ - จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐ ขู่ว่าจะทำสงครามเต็มรูปแบบกับอิรัก หากอิรักไม่ยอมถอนกำลังออกจากคูเวต
- 23 กุมภาพันธ์ - รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 : พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ประธานคณะรสช. นำการก่อรัฐประหารในประเทศไทย โค่นล้มรัฐบาลที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นได้ทำการอายัติและตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตรัฐมนตรีจำนวน 23 คน ผลการตรวจสอบทรัพย์สิน สรุปให้ยึดทรัพย์ของอดีตรัฐมนตรีจำนวน 10 คน
- 28 กุมภาพันธ์ - สงครามอ่าวเปอร์เซีย: จอร์จ บุช ประกาศหยุดยิง หลังอิรักยอมรับข้อเรียกร้อง 12 ข้อขององค์การสหประชาชาติ เป็นการยุติสงครามปลดปล่อยคูเวต ซึ่งกินเวลา 6 สัปดาห์
- 9 มีนาคม - ประชาชนในกรุงเบลเกรดเดินขบวนครั้งใหญ่ เพื่อต่อต้านสโลโบดัน มิโลเชวิช ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน
- 9 เมษายน - จอร์เจียประกาศอิสรภาพหลังตกเป็นอาณานิคมของสหภาพโซเวียต
- 28 เมษายน
- ทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติจีนชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่ 8 ณ ประเทศญี่ปุ่น
- ยูห์ เมียงวู สร้างสถิติโลกของการป้องกันแชมป์โลกรุ่นไลท์ฟลายเวท เมื่อป้องกันแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์ฟลายเวท WBA ครั้งที่ 17 ชนะน็อค กาจก้อง แดนภูไท ยก 10 และยังเป็นสถิติโลกจนถึงปัจจุบัน
- 4 พฤษภาคม
- 21 พฤษภาคม - ราจีฟ คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย ถูกลอบสังหารด้วยการระเบิดพลีชีพโดยสตรีระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งในรัฐทมิฬนาดู
- 26 พฤษภาคม - เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 ประสบอุบัติเหตุระเบิดกลางอากาศและตกที่อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 223 คน เสียชีวิต
- 11 มิถุนายน - การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มเปิดเดินขบวนรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ โดยใช้รถดีเซลรางรุ่น บริทิชเรล คลาส 158 ทำขบวน
- 20 มิถุนายน - รัฐสภาเยอรมนีตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากบอนน์ไปยังเบอร์ลินอีกครั้ง
- 25 มิถุนายน - โครเอเชีย และสโลวีเนีย แยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย
- 27 มิถุนายน - ประเทศสโลวีเนียซึ่งเพิ่งประกาศเอกราชได้เพียงสองวันถูกบุกจู่โจมโดยกองทัพยูโกสลาเวีย
กรกฎาคม-ธันวาคม
- 1 กรกฎาคม – สนธิสัญญาวอร์ซอ ยุติลงอย่างเป็นทางการ
- 21 กรกฎาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 35 ณ สนามกีฬานาซีโอนัลเดชิลี กรุงซานเตียโก ประเทศชิลี
- 6 สิงหาคม – ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี เผยแพร่แฟ้มที่อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับ "เวิลด์ไวด์เว็บ"
- 10 สิงหาคม - พระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกาชาวไทยถูกฆ่าที่วัดพรหมคุณาราม เมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา
- 19 สิงหาคม – ฝ่ายคอมมิวนิสต์พยายามโค่นล้ม มิคาอิล กอร์บาชอฟ ให้ลงจากอำนาจ ในการก่อรัฐประหารที่ประสบความล้มเหลว
- 20 สิงหาคม – เอสโตเนียประกาศเอกราชหลังการปฏิวัติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
- 23 สิงหาคม - เปิดตัวอินเทอร์เน็ต
- 24 สิงหาคม - ยูเครนประกาศเอกราช
- 25 สิงหาคม - รัฐสภาสูงสุดของเบลารุสประกาศเอกราช
- 30 สิงหาคม - อาเซอร์ไบจานประกาศเอกราช
- 31 สิงหาคม - คีร์กีซสถานประกาศเอกราช
- 1 กันยายน - อุซเบกิสถานประกาศเอกราช
- 29 ตุลาคม – ยานกาลิเลโอผ่านใกล้ดาวเคราะห์น้อยแกสปรา เป็นยานอวกาศลำแรกที่ผ่านใกล้ดาวเคราะห์น้อย
- 12 พฤศจิกายน – ทหารอินโดนีเซียเปิดฉากยิงนักศึกษาผุ้ชุมนุมเรียกร้องแบ่งแยกติมอร์ตะวันออก ในเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่ดิลี
- 8 ธันวาคม – ผู้นำจากประเทศเบลารุส รัสเซีย และยูเครน หารือกันเพื่อยุบสหภาพโซเวียตและสถาปนาเครือรัฐเอกราช
- 26 ธันวาคม – สมาชิกรัฐสภาโซเวียตร่วมประชุมกัน และล้มเลิกสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ ซึ่งนํามาสู่จุดสิ้นสุดของสงครามเย็น
วันเกิด
มกราคม
- 7 มกราคม – เอแดน อาซาร์ นักฟุตบอลชาวเบลเยียม
- 11 มกราคม – ฮโยลิน นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้
- 12 มกราคม – พิกซี ลอตต์ นักร้องชาวอังกฤษ
- 13 มกราคม – คู ฮา-รา นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ (ถึงแก่กรรม 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
- 20 มกราคม - จุมพล อดุลกิตติพร นักแสดงชาวไทย
กุมภาพันธ์
- 8 กุมภาพันธ์ – นัม อูฮยอน นักร้อง นักเต้น และนักแสดงชาวเกาหลีใต้
- 10 กุมภาพันธ์ – เอมมา โรเบิตส์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 16 กุมภาพันธ์
- เจ้าหญิงอาแล็กซ็องดราแห่งลักเซมเบิร์ก
- เซร์คีโอ กานาเลส นักฟุตบอลชาวสเปน
- 17 กุมภาพันธ์ – เอ็ด ชีแรน นักร้องชาวอังกฤษ
มีนาคม
- 3 มีนาคม – พัก โช-รง นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 6 มีนาคม – นิโคล ฟ็อกซ์ นางแบบและนักแสดงชาวอเมริกัน
- 8 มีนาคม – พัฑฒิดา วงศ์โฆษวรรณ นักร้องและนักแสงดงชาวไทย
- 11 มีนาคม
- เฉียน หลิน นักร้องชาวจีน
- แจ็ก ร็อดเวลล์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 21 มีนาคม – อ็องตวน กรีแยซมาน นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- 29 มีนาคม – ไอรีน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
เมษายน
- 11 เมษายน – เตียโก อัลกันตารา นักฟุตบอลชาวสเปน
- 12 เมษายน – ณปภัช วัฒนากมลวุฒิ นักร้องและนักแสดงชาวไทย สมาชิกวงโฟร์-มด
- 20 เมษายน – แอน วอร์ด นางแบบชาวอเมริกัน
พฤษภาคม
- 19 พฤษภาคม – บริตทานี ไคลน์ นางแบบชาวอเมริกัน
- 22 พฤษภาคม – ซูโฮ นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 23 พฤษภาคม
- นาดีน อาเมส นางงามชาวอินโดนีเซีย
- เลนา เมเยอร์-ลันดรุท นักร้องชาวเยอรมัน
มิถุนายน
- 6 มิถุนายน – ซน ดง-อุน นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 16 มิถุนายน – โจ แม็กเอลเดอร์รี นักร้องและนายแบบชาวอังกฤษ
- 18 มิถุนายน – เคอ เจิ้นตง นักร้องและนักแสดงชาวไต้หวัน
- 26 มิถุนายน
- วิกเตอร์ วานยามา นักฟุตบอลชาวเคนยา
- ฮานาเอะ นัตสึกิ นักพากย์ชายชาวญี่ปุ่น
- 28 มิถุนายน – ซอฮย็อน นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 30 มิถุนายน – อามาสึกิ นักร้องชาวญี่ปุ่น
กรกฎาคม
- 3 กรกฎาคม
- โทโมมิ อิตาโนะ นักร้องและนักแสดงชาวญี่ปุ่น
- อวี๋ปิน นักร้องนักแสดงชาวจีน
- 10 กรกฎาคม – อัตสึโกะ มาเอดะ นักร้องและนักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 12 กรกฎาคม – ฮาเมส โรดรีเกซ นักฟุตบอลชาวโคลอมเบีย
- 13 กรกฎาคม - อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา นักแสดงชาวไทย
- 15 กรกฎาคม – ยูกิ คาชิวากิ นักร้องและนักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 20 กรกฎาคม – ตะวัน วิหครัตน์ นักแสดงชาวไทย
- 30 กรกฎาคม – ดาวิด การ์ไรรา นักร้อง นายแบบ และนักแสดงชาวโปรตุเกส
สิงหาคม
- 16 สิงหาคม
- ณภศศิ สุรวรรณ นักแสดงชาวไทย
- คว็อน รี-เซ นักร้องชาวเกาหลีใต้ (ถึงแก่กรรม 7 กันยายน พ.ศ. 2557)
- 26 สิงหาคม – ดีแลน โอ'ไบรอัน นักแสดงชาวอเมริกัน
- 27 สิงหาคม – อี ซอง-ยอล นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้
กันยายน
- 5 กันยายน – สแกนดาร์ เคนส์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 9 กันยายน
- 12 กันยายน – ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ นักร้องและนักแสดงแชาวไทย
- 14 กันยายน – นานา นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 17 กันยายน
- เรียว อิชิกาวะ นักกอล์ฟชาวญี่ปุ่น
- นัยรัตน์ ธนไวทย์โกเศส ยูทูเบอร์ชาวไทย
- 23 กันยายน – เมลานี อูแด็ง นักเทนนิสชาวอเมริกา
- 23 กันยายน
- คิม คิบอม นักร้องชาวเกาหลีใต้
- เมลานี อูแด็ง นักเทนนิสชาวอเมริกัน
- 27 กันยายน – ซิโมนา ฮาเล็ป นักเทนนิสชาวโรมาเนีย
ตุลาคม
- 2 ตุลาคม – โรแบร์ตู ฟีร์มีนู นักฟุตบอลชาวบราซิล
- 5 ตุลาคม - เซียว จ้าน นักร้องและนักแสดงชาวจีน
- 7 ตุลาคม
- นิโคล ช็อง นักร้องชาวเกาหลีใต้-อเมริกัน
- จาง อี้ชิง - นักร้องชาวจีน
- 8 ตุลาคม - แซมมี่ เคาวเวลล์ นักแสดงและนางแบบชาวไทย
- 10 ตุลาคม – แจร์ดัน ชาชีรี นักฟุตบอลชาวสวิสเซอร์แลนด์
- 16 ตุลาคม – เจดเวิร์ด นักร้องคู่ชาวไอร์แลนด์
- 18 ตุลาคม – มาฟุมาฟุ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 19 ตุลาคม – หลี่ เซี่ยน นักแสดงชาวจีน
- 23 ตุลาคม – เจ้าหญิงมะโกะ อะกิชิโนะ
- 30 ตุลาคม - วีรยุทธ จันทรสุข นักร้องนักแสดงชาวไทย
พฤศจิกายน
- 3 พฤศจิกายน - ปีติภัทร คูตระกูล พิธีกรชาวไทย
- 7 พฤศจิกายน - ภาณุพรรณ จันทนะวงษ์ นักแสดงชาวไทย
- 9 พฤศจิกายน - บัวบูชา ปุณณนันท์ นางแบบ พิธีกรและผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- 22 พฤศจิกายน ซากิ ชิมิซุ นักร้องชาวญี่ปุ่น
ธันวาคม
- 1 ธันวาคม – ซุน หยาง นักว่ายน้ำชาวจีน
- 2 ธันวาคม – ชาร์ลี พูท นักร้องชาวอเมริกัน
- 9 ธันวาคม – ชเว มินโฮ นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 17 ธันวาคม - ณเดชน์ คูกิมิยะ นักแสดง นักร้อง และนายแบบลูกครึ่งไทย-ออสเตรีย
วันถึงแก่กรรม
- 17 มกราคม – สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ (พระราชสมภพ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2446)
- 21 มีนาคม – ลีโอ เฟนเดอร์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน (เกิด 10 สิงหาคม พ.ศ. 2452)
- 3 เมษายน – หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล (ประสูติ 17 กันยายน พ.ศ. 2447)
- 11 เมษายน – ชวลี ช่วงวิทย์ นักร้องชาวไทย (เกิด 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467)
- 16 เมษายน – เดวิด ลีน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ (เกิด 25 มีนาคม พ.ศ. 2451)
- 20 เมษายน – ฮิโระยุกิ เอะบิฮะระ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น (เกิด 26 มีนาคม พ.ศ. 2482)
- 26 เมษายน – คาร์ไมน์ คอปโปลา นักแต่งเพลงและวาทยกรชาวอเมริกัน (เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2453)
- 3 พฤษภาคม – แยชือ กอชิญสกี นักเขียนชาวโปแลนด์-อเมริกัน (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2476)
- 21 พฤษภาคม – ราชีพ คานธี นักการเมืองชาวอินเดีย (เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
- 6 มิถุนายน – สแตน เก็ตส์ นักดนตรีแจ๊สชาวอเมริกัน (เกิด 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470)
- 16 กรกฎาคม – โรเบิร์ต มาเธอร์เวลล์ จิตกรชาวอเมริกัน (เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2458)
- 29 กรกฎาคม – คริสตีย็อง เดอ กัสทรี ผู้บัญชาการกองทัพฝรั่งเศส (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2445)
- 8 สิงหาคม – เจมส์ เออร์วิน นักบินอวกาศชาวอเมริกัน (เกิด 17 มีนาคม พ.ศ. 2473)
- 3 กันยายน – แฟรงก์ คาปรา ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี-อเมริกัน (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2440)
- 28 กันยายน – เลิศ ประสมทรัพย์ นักร้องลูกกรุงชาวไทย (เกิด 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2466)
- 28 กันยายน – ไมล์ส เดวิส นักดนตรีแจ๊สชาวอเมริกัน (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2469)
- 1 ตุลาคม – พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (ประสูติ 29 เมษายน พ.ศ. 2456)
- 7 พฤศจิกายน - ทอมออฟฟินแลนด์ ศิลปินชาวฟินแลนด์ (เกิด 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2463)
- 18 พฤศจิกายน – กุสตาว ฮูซาก ประธานาธิบดีคนที่ 9 ของประเทศเชโกสโลวาเกีย (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2456)
- 24 พฤศจิกายน – เฟรดดี เมอร์คูรี นักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ (เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2489)
- 26 พฤศจิกายน – ภิญโญ สาธร นักการเมืองชาวไทย (เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2472)
- 29 พฤศจิกายน – หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (ประสูติ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453)
- 15 ธันวาคม – วาซีลี ไซเซฟ พลซุ่มยิงประจำกองทัพสหภาพโซเวียต (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2458)
- สาขาเคมี – Richard R. Ernst
- สาขาวรรณกรรม – นาดีน กอร์ดิเมอร์
- สาขาสันติภาพ – อองซานซูจี
- สาขาฟิสิกส์ – Pierre-Gilles de Gennes
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เออร์วิน เนเฮอร์, แบร์ท ซัคมานน์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Ronald Coase