ฟรีดริช นีทเชอ

ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นีทเชอ
Friedrich Wilhelm Nietzsche
เกิดฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นีทเชอ
15 ตุลาคม ค.ศ. 1844(1844-10-15)
ราชอาณาจักรปรัสเซีย
เสียชีวิต25 สิงหาคม ค.ศ. 1900(1900-08-25) (55 ปี)
ไวมาร์,ซัคเซิน จักรวรรดิเยอรมัน
อาชีพนักปรัชญา, นักเขียน
สัญชาติเยอรมัน
แนวนวนิยาย, เรื่องสั้น, บทความ
หัวข้อปรัชญา, ศาสนา
แนวร่วมในทางวรรณคดีอัตถิภาวนิยม
ผลงานที่สำคัญคือพจนาซาราทุสตรา

ลายมือชื่อ

ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นีทเชอ (เยอรมัน: Friedrich Wilhelm Nietzsche) เป็นนักปรัชญา, นักวิจารณ์วัฒนธรรม, คีตกวี, นักกวี, ปราชญ์ภาษากรีกและละติน และนักนิรุกติศาสตร์ชาวเยอรมัน ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อปรัชญาตะวันตกและองค์ปัญญายุคใหม่อย่างล้นหลาม เขาเริ่มทำงานเป็นนักนิรุกติศาสตร์คลาสสิกก่อนจะผันตัวมาเป็นนักปรัชญา นีทเชอเป็นอาจารย์นิรุกติศาสตร์ที่อายุน้อยที่สุดของมหาวิทยาลัยบาเซิลในปีค.ศ. 1869 ด้วยวัยเพียง 24 ปี[1] เขาลาออกในปีค.ศ. 1879 ด้วยปัญหาสุขภาพเรื้อรัง[2] ต่อมาในปีค.ศ. 1889 นีทเซอในวัย 44 ทุกข์ทรมานจากอาการป่วยจนสภาพจิตใจย่ำแย่ ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ใช้ชีวิตภายใต้การดูแลของมารดาและพี่สาวจนเขาเสียชีวิตในปีค.ศ. 1900[3]

เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1844 ในหมู่บ้านเริคเคิน (Röcken) ใกล้กับเมืองไลพ์ซิช ในมณฑลซัคเซิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย เป็นบุตรคนโตของคาร์ล ลูทวิช นีทเซอ (Carl Ludwig Nietzsche) บาทหลวงนิกายลูเทอแรน กับนางฟรันซิสคา เออเลอร์ (Franziska Oehler) บิดามารดาตั้งชื่อเขาตามพระนามของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 แห่งปรัสเซีย ซึ่งมีวันคล้ายวันประสูติตรงกับวันที่เด็กชายนีทเชอเกิด[4] เขายังมีน้องอีกสองคนชื่อเอลีซาเบ็ท (Elisabeth) และลูทวิช โยเซฟ (Ludwig Joseph) บิดาของเขาเสียชีวิตในปี 1849 ส่วนน้องชายคนเล็กเสียชีวิตในอีกหกเดือนให้หลังบิดา[5] สมาชิกที่เหลืออยู่จึงย้ายไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายแม่ที่เมืองนามบวร์ค (Naumburg)

ผลงานของนีทเซอครอบคลุมอยู่ในหลายศาสตร์วิชา ทั้งศิลปศาสตร์, ปรัชญา, ประวัติศาสตร์, ศาสนา, โศกนาฏกรรม, วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ งานเขียนของเขามีทั้งบทโจมตีเชิงปรัชญา, บทกวี และบทวิจารณ์วัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็แฝงไปด้วยคำคมและคำเสียดสี บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจของนีทเชอในช่วงแรกคือเหล่านักปรัชญาแถวหน้าทั้งหลายของยุคนั้น เช่นอาร์ทัวร์ โชเพินเฮาเออร์, ริชชาร์ท วากเนอร์ และโยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ เป็นต้น[6] งานด้านปรัชญาชิ้นเด่นของนีทเชอมีทั้งบทวิจารณ์สุดโต่งของความเที่ยงแท้ในแบบมุมมองนิยม (Perspectivism), บทวิจารณ์เชิงวงศ์ตระกูลของศาสนาและศีลธรรมชาวคริสต์ (Christian morality) ตลอดจนทฤษฎีศีลธรรมของนาย–บ่าว (Master–slave morality)[7] นีทเชอยังเป็นเจ้าของวลีสุดคมคายที่ว่า "พระเจ้าตายแล้ว" ("Gott ist tot") เขามองว่าสังคมยุคใหม่ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยหลักธรรมคำสอนอีกแล้ว แต่เป็นวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม แม้แต่ศีลธรรมก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่ผู้คนมักอาจจะเข้าใจผิดว่าคำกล่าวนี้เป็นการที่กล่าวอย่างก้าวร้าวว่าผู้ที่เป็นพระเจ้านั้นได้ตายลงแล้ว แต่น้ำเสียงของนีทเซอกลับไปด้วยความกังวลกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมาระยะซึ่งได้เกิดแล้วในยุคเขาคือการปฎิวัติทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสิ่งมีปัญหาคือการที่ วิทยาศาตร์นั้นมีแต่ข้อเท็จจริงซึ่งไม่ได้มอบจุดหมายในการใช้ชีวิตความหมายของจักรวาลและสิ่งต่างๆ ซึ่งมีแต่ข้อเท็จจริงหรือ Fact ที่คอยตบหน้าคน[1]

ผลงาน

  • The Birth of Tragedy (1872)
  • On Truth and Lies in a Nonmoral Sense (1873)
  • Untimely Meditations (1876)
  • Human, All Too Human (1878; เพิ่มเติม 1879, 1880)
  • Daybreak (1881)
  • The Gay Science (1882)
  • คือพจนาซาราทุสตรา Thus Spoke Zarathustra (1883–1885)
  • Beyond Good and Evil (1886)
  • On the Genealogy of Morality (1887)
  • The Case of Wagner (1888)
  • Twilight of the Idols (1888)
  • The Antichrist (1888)
  • Ecce Homo (1888)
  • Nietzsche contra Wagner (1888)
  • The Will to Power (ต้นฉบับยังไม่ได้ตีพิมพ์)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Anderson, R. Lanier (17 March 2017). "Friedrich Nietzsche". Stanford Encyclopedia of Philosophy. Metaphysics Research Lab, Stanford University.
  2. Brobjer, Thomas. Nietzsche's philosophical context: an intellectual biography, p. 42. University of Illinois Press, 2008.
  3. Robert Matthews (4 May 2003), "'Madness' of Nietzsche was cancer not syphilis", The Daily Telegraph.
  4. Kaufmann 1974, p. 22.
  5. Wicks, Robert (2014). Zalta, Edward N. (บ.ก.). Friedrich Nietzsche (Winter 2014 ed.).
  6. Dale Wilkerson. "Friedrich Nietzsche". Internet Encyclopedia of Philosophy. ISSN 2161-0002. Retrieved 9 April 2018.
  7. "Friedrich Nietzsche," by Dale Wilkerson, The Internet Encyclopedia of Philosophy, ISSN 2161-0002, http://www.iep.utm.edu/nietzch/[ลิงก์เสีย]. 14 October 2015.