ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
Shirt badge/Association crest
ฉายาThe Whites
Eyal Zayed (Zayed's sons)
นักรบชุดขาวแห่งตะวันออกกลาง (ในภาษาไทย)[1][2]
สมาคมสมาคมฟุตบอลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สมาพันธ์ย่อยสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก
สมาพันธ์สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
หัวหน้าผู้ฝึกสอนRodolfo Arruabarrena
กัปตันWalid Abbas
ติดทีมชาติสูงสุดAdnan Al Talyani (161)
ทำประตูสูงสุดAli Mabkhout (79)
รหัสฟีฟ่าUAE
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 70 เพิ่มขึ้น 2 (21 กันยายน 2023)[3]
อันดับสูงสุด42 (พฤศจิกายน ค.ศ. 1998)
อันดับต่ำสุด138 (มกราคม ค.ศ. 2012)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1–0 กาตาร์ ธงชาติประเทศกาตาร์
(ริยาด, ซาอุดีอาระเบีย; 17 มีนาคม ค.ศ. 1972)
ชนะสูงสุด
ธงชาติบรูไน บรูไน 0–12 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
(บันดาร์เซอรีเบอกาวัน, บรูไน; 14 เมษายน ค.ศ. 2001)
แพ้สูงสุด
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 0–8 บราซิล ธงชาติบราซิล
(อาบูดาบี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์; 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1990)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม; 1990
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม10 (ครั้งแรกใน 1980)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ; 1996
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1997)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม; 1997

ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (อาหรับ: منتخب الإمارات العربية المتحدة لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลประจำชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีสนามเหย้าหลายสนาม ได้แก่ สนามกีฬาซายิดสปอร์ตซิตี กับสนามกีฬามูฮัมหมัด บิน ซายิด ในอาบูดาบี และสนามกีฬาฮัซซา บิน ซายิด ในอัล ไอน์

เคยเข้าแข่งขันฟุตบอลโลก 1 ครั้ง ในปี 1990 ที่ประเทศอิตาลี แต่แพ้รวดในรอบแบ่งกลุ่ม โดยพ่ายแพ้ให้กับโคลอมเบีย, เยอรมนีตะวันตก และยูโกสลาเวีย แต่ในอีกหลายปีถัดมา ทีมได้ที่สี่ในการแข่งขันเอเชียนคัพ ปี 1992 และรองชนะเลิศในปี 1996 โดยแพ้การยิงลูกโทษ นอกจากนี้พวกเขายังชนะเลิศ กัลฟ์คัพออฟเนชัน 2 ครั้ง ในปี 2007 และ 2013 พวกเขาได้ที่สามในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 และเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019

ฉายา

ฉายาที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ "กองทัพชุดขาว" "บุตรของซายิด" และ "นักรบชุดขาวแห่งตะวันออกกลาง"[1][2]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) ได้ประกาศข่าวเกี่ยวกับการผ่านเข้ารอบเอเชียนคัพ 2015 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งปรากฏฉายา "ลิงทราย" ในข่าว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก จนเอเอฟซีต้องออกมาขอโทษเรื่องดังกล่าว[4]

สนามเหย้า

สนามเหย้าหลักที่สำคัญ ได้แก่ สนามกีฬาซายิดสปอร์ตซิตี ในอาบูดาบี นอกจากนี้ พวกเขายังใช้สนามกีฬามูฮัมหมัด บิน ซายิด และสนามกีฬาฮัซซา บิน ซายิด ซึ่งสร้างใหม่ เป็นสนามเหย้ารอง

ผลงานที่สำคัญ

ฟุตบอลโลก

ฟุตบอลโลก
ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
อุรุกวัย 1930 ถึง เยอรมนี 1974 ไม่ผ่านคุณสมบัติ - - - - - - -
อาร์เจนตินา 1978 ถอนตัว - - - - - - -
สเปน 1982 ไม่ได้เข้าร่วม - - - - - - -
เม็กซิโก 1986 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - -
อิตาลี 1990 รอบแบ่งกลุ่ม 24th 3 0 0 3 2 11
สหรัฐ 1994 ถึง ประเทศกาตาร์ 2022 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - -
ทั้งหมด รอบแรก 1/20 3 0 0 3 2 11

เอเอฟซี เอเชียนคัพ

ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
ฮ่องกง 1956 ถึง อิหร่าน 1976 ไม่ได้เข้าร่วม
คูเวต 1980 รอบแบ่งกลุ่ม 9th 4 0 1 3 3 9
สิงคโปร์1984 รอบแบ่งกลุ่ม 6th 4 2 0 2 3 8
ประเทศกาตาร์ 1988 รอบแบ่งกลุ่ม 8th 4 1 0 3 2 4
ญี่ปุ่น 1992 อันดับที่สี่ 4th 3 1 2 0 2 1
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1996 รองชนะเลิศ 2nd 6 4 2 0 8 3
เลบานอน 2000 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
จีน 2004 รอบแบ่งกลุ่ม 15th 3 0 1 2 1 5
อินโดนีเซียมาเลเซียไทยเวียดนาม 2007 รอบแบ่งกลุ่ม 12th 3 1 0 2 3 6
ประเทศกาตาร์ 2011 รอบแบ่งกลุ่ม 13th 3 0 1 2 0 4
ออสเตรเลีย 2015 อันดับที่สาม 3rd 6 3 1 2 10 8
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2019 อันดับที่สี่ 4th 6 3 2 1 8 8
ทั้งหมด 10/17 รองชนะเลิศ 42 15 10 17 40 56

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
ซาอุดีอาระเบีย 1992 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
ซาอุดีอาระเบีย 1995
ซาอุดีอาระเบีย 1997 รอบแบ่งกลุ่ม 6th 3 1 0 2 2 8
เม็กซิโก 1999 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 2001
ฝรั่งเศส 2003
เยอรมนี 2005
แอฟริกาใต้ 2009
บราซิล 2013
รัสเซีย 2017
ทั้งหมด รอบแบ่งกลุ่ม 1/10 3 1 0 2 2 8

สถิติ

ผู้เล่นในชุดปัจจุบัน แสดงด้วย ตัวหนา สถิติเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015

ดูเพิ่ม

  • ฟุตบอลในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • ฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี
  • ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี
  • ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "กุนซือยูเออีลั่นจะพาทีมคว้าทองประวัติศาสตร์บอลอชก". www.siamsport.co.th. 27 Jun 2018. สืบค้นเมื่อ 11 Jul 2022.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "เปิด 2 สถิติสุดโหด "เวียดนาม" ก่อนฟัดเดือด "ทีมชาติไทย"". www.thairath.co.th. 19 Nov 2019. สืบค้นเมื่อ 11 Jul 2022.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 21 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2023.
  4. Yahoo! Sports: Asian Football Confederation apologize for calling UAE national team ‘Sand Monkeys’
  5. Roberto Mamrud; Karel Stokkermans. "Players with 100+ Caps and 30+ International Goals". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.{cite web}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:ทีมฟุตบอลในเอเชียนคัพ 2023