เอเชียนคัพ
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) |
---|---|
ภูมิภาค | เอเชีย (เอเอฟซี) |
จำนวนทีม | 24 |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | กาตาร์ (สมัยที่ 1) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | ญี่ปุ่น (4 สมัย) |
เว็บไซต์ | www |
การแข่งขัน | |
---|---|
เอเอฟซี เอเชียนคัพ (อังกฤษ: AFC Asian Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติของทวีปเอเชีย จัดโดย สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปที่เก่าแก่เป็นอันดับสองถัดจากการแข่งขันฟุตบอลรายการโกปาอาเมริกา ซึ่งผู้ชนะการแข่งขันจะถือว่าเป็นแชมป์ของภูมิภาคทวีปเอเชีย และจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลรายการฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นทุก 4 ปี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1956 ที่ฮ่องกง และจัดต่อเนื่องทุก 4 ปี จนกระทั่ง ค.ศ. 2004 ที่ประเทศจีน ซึ่งในปีเดียวกันนั้นมีการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ทำให้ทางสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตัดสินใจเลื่อนการจัดการแข่งขันครั้งต่อไปเป็น ค.ศ. 2007 ซึ่งครั้งนั้นมีเจ้าภาพร่วมจาก 4 ประเทศคืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม และจัดการแข่งขันครั้งต่อไปทุก 4 ปีเป็นปกติหลังจากนั้น
ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเอเชียนคัพส่วนใหญ่จะเป็นทีมชาติที่มาจากกลุ่มประเทศชั้นนำทางด้านวงการฟุตบอล ซึ่งได้แก่เกาหลีใต้และอิหร่าน จนกระทั่งหลังจาก ค.ศ. 1984 ที่มีแชมป์เป็นทีมชาติญี่ปุ่นและซาอุดิอาระเบีย นอกจากนี้ยังมีแชมป์จากทีมชาติออสเตรเลีย อิรัก คูเวต และอิสราเอล (ซึ่งภายหลังถูกขับออกและได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่า)
ประเทศออสเตรเลียเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียใน ค.ศ. 2005 และได้เป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2015 สำหรับเอเชียนคัพ 2019 ซึงจัดขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถือเป็นเอเชียนคัพครั้งแรกที่ขยายจำนวนทีมในรอบสุดท้ายจาก 16 ทีม เป็น 24 ทีม นอกจากนี้ยังถือเป็นการคัดเลือกตัวแทนโซนเอเชียในการเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายอีกด้วย
ต่างจากการแข่งขันรายการอื่น ๆ การแข่งขันเอเชียนคัพมักมีการเลื่อนวันจัดการแข่งขันในแต่ละครั้งให้สอดคล้องกับสภ่าพภูมิอากาศของประเทศเจ้าภาพ เช่นใน ค.ศ. 2007 มีจัดการแข่งขันในเดือนกรกฎาคม แต่การแข่งขันทั้ง 3 ครั้งหลังจากนั้นจะจัดการแข่งขันในเดือนมกราคม[1][2]
ประวัติ
หลังการจัดตั้งสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในปี 1954 ได้มีการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1956 ที่ฮ่องกง โดยทีมที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมในการแข่งขันจะมีทีมจากชาติเจ้าภาพและการคัดทีมผู้ชนะจากโซนต่างๆ (เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันตก) ซึ่งเป็นการชิงชัยเพียง 4 ทีมเท่านั้น ระบบการคัดเลือกนี้ถูกใช้จนกระทั่งการแข่งขันในปี 1964
ทีมชาติญี่ปุ่นทำสถิติแชมป์ในการแข่งขันเอเชียนคัพมากที่สุดถึง 4 ครั้งจากการแข่งขันใน ค.ศ. 1992, 2000, 2004 และ 2011
ทีมชาติออสเตรเลียได้เข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 และสามารถผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ แต่ต้องพ่ายให้กับทีมชาติอิรัก ซึ่งภายหลังสามารถคว้าแชมป์ในการแข่งขันในครั้งนั้น และถือเป็นการคว้าแชมป์ครั้งแรกในรายการนี้ แม้ว่าจะเกิดสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศก็ตาม
การแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ครั้งล่าสุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาหลายอย่าง เช่น การใช้ระบบผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอหรือวีเออาร์ และการเพิ่มจำนวนทีมในรอบสุดท้ายจาก 16 ทีม เป็น 24 ทีม อีกทั้งยังแก้ไขกติกาให้สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นคนที่ 4 ในช่วงต่อเวลาพิเศษได้ นอกจากนี้ทีมชาติกาตาร์ยังสามารถคว้าแชมป์ในการแข่งขันครั้งนี้ด้วยการเอาชนะทีมชาติญี่ปุ่นในรอบชิงชนะเลิศ ถือเป็นแชมป์รายการเอเชียนคัพครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกาตาร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพ
ถ้วยรางวัล
ถ้วยรางวัลในการแข่งขันเอเชียนคัพแบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบแรกถูกใช้ในการแข่งขันระหว่างปี 1956 จนถึงปี 2015 ส่วนแบบที่สองเริ่มใช้ตั้งแต่การแข่งขันเอเชียนคัพ 2019
ถ้วยรางวัลแบบแรกจะเป็นลักษณะคล้ายถ้วยบนฐานทรงกระบอก มีความสูง 42 เซนติเมตร และหนัก 15 กิโลกรัม จนในการแข่งขันในปี 2000 ได้มีการบรรจุหินสลักชื่อประเทศที่ชนะเลิศในการแข่งขันทุกครั้งลงไปในฐานของถ้วยรางวัล ซึ่งภายหลังได้ถูกออกแบบใหม่ด้วยการเพิ่มเนื้อโลหะเงินและลดความหนาของฐานสีดำด้านล่าง อีกทั้งมีการเปลี่ยนเป็นการสลักชื่อลงรอบฐานของถ้วยรางวัลแทน
วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 ระหว่างการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 รอบแบ่งกลุ่มในเมืองดูไบ มีการเผยถ้วยรางวัลแบบใหม่ซึ่งสร้างและออกแบบโดย Thomas Lyte แบรนด์ออกแบบถ้วยรางวัลชั้นนำจากอังกฤษ ตัวถ้วยรางวัลมีความสูงถึง 78 เซนติเมตร กว้าง 42 เซนติเมตร วัสดุทำจากเงิน โดยน้ำหนักรวมอยู่ที่ 15 กิโลกรัม ถ้วยรางวัลถูกออกแบบให้คล้ายดอกบัวหลวงซึ่งเป็นพืชน้ำที่สื่อถึงทวีปเอเชีย กลีบดอกบัวทั้งห้าเป็นตัวแทนของ 5 สหพันธ์ฟุตบอลภายใต้การกำกับดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ยังคงมีสลักรายชื่อแชมป์ทุกครั้งจนถึงปัจจุบันลงบนฐานเหมือนแบบแรก แต่ส่วนของฐานกับตัวถ้วยรางวัลจะแยกเป็นคนละส่วน นอกจากนี้ถ้วยรางวัลแบบใหม่จะมีด้ามจับทั้งสองข้าง ต่างจากถ้วยรางวัลแบบแรก
รูปแบบการแข่งขัน
การแข่งขันรอบสุดท้าย
การแข่งขันเอเชียนคัพรอบสุดท้ายจะมีทีมเข้าร่วมชิงชัยทั้งหมด 24 ทีม การคัดเลือกแบ่งออกเป็น 2 รอบคือ รอบแบ่งกลุ่ม และรอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยรอบแบ่งกลุ่มจะทำการแข่งขันแบบพบกันหมดจากทั้งหมด 6 กลุ่ม สำหรับทีมที่ดีที่สุด 2 ทีมในแต่ละสายจะผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย อีก 4 ทีมที่เหลือจะคัดจากทีมอันดับ 3 ของแต่ละสายที่ดีที่สุด 4 ทีม สำหรับรอบ 16 ทีมสุดท้ายจะเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออกจนไปถึงรอบชิงชนะเลิศ
ผลการแข่งขัน
ความสำเร็จในการแข่งขัน
ทีม | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับสาม | อันดับสี่ | รอบรองชนะเลิศ | รวม |
---|---|---|---|---|---|---|
ญี่ปุ่น | 4 (1992*, 2000, 2004, 2011) | 1 (2019) | – | 1 (2007) | – | 6 |
ซาอุดีอาระเบีย | 3 (1984, 1988, 1996) | 3 (1992, 2000, 2007) | – | – | – | 6 |
อิหร่าน | 3 (1968*, 1972, 1976*) | – | 4 (1980, 1988, 1996, 2004) | 1 (1984) | 1 (2019) | 9 |
เกาหลีใต้ | 2 (1956, 1960*) | 4 (1972, 1980, 1988, 2015) | 4 (1964, 2000, 2007, 2011) | – | – | 10 |
อิสราเอล1 | 1 (1964*) | 2 (1956, 1960) | 1 (1968) | – | – | 4 |
คูเวต | 1 (1980*) | 1 (1976) | 1 (1984) | 1 (1996) | – | 4 |
ออสเตรเลีย | 1 (2015*) | 1 (2011) | – | – | – | 2 |
อิรัก | 1 (2007) | – | – | 2 (1976, 2015) | – | 3 |
กาตาร์ | 1 (2019) | – | – | – | – | 1 |
จีน | – | 2 (1984, 2004*) | 2 (1976, 1992) | 2 (1988, 2000) | – | 6 |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | – | 1 (1996*) | 1 (2015) | 1 (1992) | 1 (2019*) | 4 |
อินเดีย | – | 1 (1964) | – | – | – | 1 |
พม่า | – | 1 (1968) | – | – | – | 1 |
ฮ่องกง | – | – | 1 (1956*) | 1 (1964) | – | 2 |
จีนไทเป2 | – | – | 1 (1960) | 1 (1968) | – | 2 |
ไทย | – | – | 1 (1972*) | – | – | 1 |
เวียดนาม3 | – | – | – | 2 (1956, 1960) | – | 2 |
กัมพูชา | – | – | – | 1 (1972) | – | 1 |
เกาหลีเหนือ | – | – | – | 1 (1980) | – | 1 |
บาห์เรน | – | – | – | 1 (2004) | – | 1 |
อุซเบกิสถาน | – | – | – | 1 (2011) | – | 1 |
รวม | 17 | 17 | 16 | 16 | 2 | 68 |
- * เจ้าภาพ
ความสำเร็จแบ่งตามภูมิภาค
ภูมิภาค | ผลงานที่ดีที่สุด |
---|---|
เอเชียตะวันตก | ชนะเลิศ 6 ครั้ง โดย ซาอุดีอาระเบีย คูเวต อิรัก กาตาร์ (1980, 1984, 1988, 1996, 2007, 2019) |
เอเชียตะวันออก | ชนะเลิศ 6 ครั้ง โดย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (1956, 1960, 1992, 2000, 2004, 2011) |
อาเซียน | ชนะเลิศ โดย ออสเตรเลีย (2015) |
เอเชียใต้ | รองชนะเลิศ โดย อินเดีย (1964) |
เอเชียกลาง | ชนะเลิศ 3 ครั้ง โดย อิหร่าน (1968, 1972, 1976) |
ทีมที่ผ่านเข้ารอบ
ทีม | 1956 (4) |
1960 (4) |
1964 (4) |
1968 (5) |
1972 (6) |
1976 (6) |
1980 (10) |
1984 (10) |
1988 (10) |
1992 (8) |
1996 (12) |
2000 (12) |
2004 (16) |
2007 (16) |
2011 (16) |
2015 (16) |
2019 (24) |
2023 (24) |
ปี |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
West Asian Members | |||||||||||||||||||
บาห์เรน | • | × | •• | × | GS | • | × | • | 4th | GS | GS | GS | R16 | q | 7 | ||||
อิรัก | GS | 4th | × | × | × | × | QF | QF | QF | 1st | QF | 4th | R16 | q | 10 | ||||
จอร์แดน | • | × | × | • | • | × | • | • | QF | • | QF | GS | R16 | q | 5 | ||||
คูเวต | × | GS | 2nd | 1st | 3rd | GS | • | 4th | QF | GS | • | GS | GS | × | • | 10 | |||
เลบานอน | • | × | • | × | × | × | • | GS | • | × | • | • | GS | q | 3 | ||||
โอมาน | • | × | • | • | • | GS | GS | • | GS | R16 | q | 5 | |||||||
ปาเลสไตน์ | • | • | • | • | GS | GS | q | 3 | |||||||||||
กาตาร์ | • | GS | GS | GS | GS | • | QF | GS | GS | QF | GS | 1st | q | 11 | |||||
ซาอุดีอาระเบีย | •• | × | 1st | 1st | 2nd | 1st | 2nd | GS | 2nd | GS | GS | R16 | q | 11 | |||||
ซีเรีย | • | × | GS | GS | GS | • | GS | • | • | • | GS | • | GS | q | 7 | ||||
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | GS | GS | GS | 4th | 2nd | • | GS | GS | GS | 3rd | SF | q | 11 | ||||||
เยเมน | • | • | × | • | • | • | • | • | • | GS | • | 1 | |||||||
Central Asian Members | |||||||||||||||||||
อิหร่าน | × | • | × | 1st | 1st | 1st | 3rd | 4th | 3rd | GS | 3rd | QF | 3rd | QF | QF | QF | SF | q | 15 |
คีร์กีซสถาน | Part of the USSR | • | • | • | × | • | • | R16 | q | 2 | |||||||||
เติร์กเมนิสถาน | Part of the USSR | • | • | GS | • | • | • | GS | • | 2 | |||||||||
อุซเบกิสถาน | Part of the USSR | GS | GS | QF | QF | 4th | QF | R16 | q | 8 | |||||||||
South Asian Members | |||||||||||||||||||
บังกลาเทศ | Part of Pakistan | × | GS | • | • | • | × | • | • | • | • | • | • | • | 1 | ||||
อินเดีย | × | • | 2nd | × | • | • | • | GS | • | • | • | • | • | • | GS | • | GS | q | 5 |
East Asian Members | |||||||||||||||||||
จีน | 3rd | GS | 2nd | 4th | 3rd | QF | 4th | 2nd | GS | GS | QF | QF | q | 13 | |||||
จีนไทเป | • | 3rd | × | 4th | × | × | × | × | × | • | • | • | • | • | • | • | • | • | 2 |
ฮ่องกง | 3rd | • | 4th | 5th | • | • | • | • | • | • | • | • | • | • | • | • | • | q | 4 |
ญี่ปุ่น | × | × | × | • | × | • | × | × | GS | 1st | QF | 1st | 1st | 4th | 1st | QF | 2nd | q | 10 |
เกาหลีเหนือ | •• | 4th | × | • | GS | × | • | • | × | GS | GS | GS | × | 5 | |||||
เกาหลีใต้ | 1st | 1st | 3rd | • | 2nd | • | 2nd | GS | 2nd | • | QF | 3rd | QF | 3rd | 3rd | 2nd | QF | q | 15 |
Southeast Asian Members | |||||||||||||||||||
ออสเตรเลีย | OFC Member | QF | 2nd | 1st | QF | q | 5 | ||||||||||||
กัมพูชา | • | × | × | • | 4th | × | × | × | × | × | × | • | × | × | • | • | • | • | 1 |
อินโดนีเซีย | × | × | × | • | • | • | • | • | • | • | GS | GS | GS | GS | • | • | × | q | 5 |
มาเลเซีย | Part of Malaya | • | • | • | GS | GS | • | • | • | • | • | • | GS | • | • | • | q | 4 | |
พม่า | × | × | × | 2nd | × | × | × | × | × | × | • | • | • | × | • | • | • | • | 1 |
ฟิลิปปินส์ | • | • | × | • | × | × | • | • | × | × | • | • | × | × | • | • | GS | • | 1 |
สิงคโปร์ | × | • | × | • | × | • | • | GS | × | • | • | • | • | • | • | • | • | • | 1 |
ไทย | × | × | • | • | 3rd | •• | • | • | • | GS | GS | GS | GS | GS | • | • | R16 | q | 8 |
เวียดนาม | 4th | 4th | • | • | • | × | × | × | × | × | • | • | • | QF | • | • | QF | q | 5 |
Former AFC Members | |||||||||||||||||||
อิสราเอล | 2nd | 2nd | 1st | 3rd | •• | Expelled from AFC | UEFA Member | 4 | |||||||||||
เยเมนใต้ | GS | × | × | • | Part of Yemen | 1 |
- สัญลักษณ์
- 1st – แชมป์
- 2nd – รองแชมป์
- 3rd – ที่ 3
- 4th – ที่ 4
- QF – รอบก่อนชิงชนะเลิศ
- GS – รอบคัดเลือก
- q – เข้ารอบแต่ยังไม่ได้แข่ง
- — เจ้าภาพ
ทีมที่ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในการแข่งขันแต่ละครั้ง
ปี | ทีมปรากฏตัว | ||
---|---|---|---|
ทีม | No. | Cum. | |
1956 | ฮ่องกง, อิสราเอล, เกาหลีใต้, เวียดนามใต้ | 4 | 4 |
1960 | สาธารณรัฐจีน | 1 | 5 |
1964 | อินเดีย | 1 | 6 |
1968 | อิหร่าน, พม่า | 2 | 8 |
1972 | อิรัก, Khmer Republic, คูเวต, ไทย | 4 | 12 |
1976 | จีน, มาเลเซีย, เยเมนใต้ | 3 | 15 |
1980 | บังกลาเทศ, เกาหลีเหนือ, กาตาร์, ซีเรีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 5 | 20 |
1984 | ซาอุดีอาระเบีย, สิงคโปร์ | 2 | 22 |
1988 | บาห์เรน, ญี่ปุ่น | 2 | 24 |
1992 | None | 0 | 24 |
1996 | อินโดนีเซีย, อุซเบกิสถาน | 2 | 26 |
2000 | เลบานอน | 1 | 27 |
2004 | จอร์แดน, โอมาน, เติร์กเมนิสถาน | 3 | 30 |
2007 | ออสเตรเลีย | 1 | 31 |
2011 | None | 0 | 31 |
2015 | ปาเลสไตน์ | 1 | 32 |
2019 | คีร์กีซสถาน, ฟิลิปปินส์, เยเมน | 3 | 35 |
2023 | ทาจิกิสถาน | 1 | 36 |
ความขัดแย้ง
แม้ว่าจะเป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการใหญ่ระดับทวีป แต่การแข่งขันเอเชียนคัพก็ต้องประสบกับปัญหาหลายครั้ง ทั้งการไม่สามารถโน้มน้าวให้หลายชาติเข้าร่วมการแข่งขันได้ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ค่าใช้จ่ายการเดินทางของชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันที่มหาศาล ตลอดจนความปัญหาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติที่เข้าร่วมการแข่งขัน
ความขัดแย้งทางการเมือง
การแข่งขันเอเชียนคัพมักตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างชาติสมาชิกอยู่บ่อยครั้ง เช่น กรณีของอิสราเอลซึ่งเคยเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ภายหลังสงครามยมคิปปูร์ได้ทวีความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับชาติสมาชิกในคาบสมุทรอาหรับ อิสราเอลถอนตัวออกจากสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในปี 1974 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย (โอเอซี) ซึ่งภายหลังได้รับสิทธิ์เป็นสมาชิกของสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ใน ค.ศ. 1990
กรณีคล้ายกันคือความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิหร่านภายหลังการเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงในกรุงเตหะรานในปี 2016 ซึ่งทีมชาติอิหร่านปฏิเสธที่จะทำการแข่งขันกับทีมชาติซาอุดิอาระเบีย และขู่จะถอนตัวออกจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียหากไม่ทำตามคำขอ ซึ่งได้ลุกลามเป็นความขัดแย้งในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีกรณีของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือกโซนเอเชียที่จะจัดขึ้นในกรุงเปียงยาง จนเป็นเหตุทำให้ต้องมีการเปลียนไปทำการแข่งขันที่เซี่ยงไฮ้แทน
ปัญหาจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขัน
จำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันแป็นอีกปัญหาของการแข่งขันเอเชียนคัพ เช่น ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2011 ที่ประเทศกาตาร์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปชมการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีผู้เข้าชมการแข่งขันในสนามมีไม่กี่คนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการอ้างว่าทางกาตาร์เองถึงกับต้องนำกำลังทหารมานั่งแทนผู้ชมในสนามเพื่อภาพลักษณ์ที่ดูดีอีกด้วย
อ้างอิง
- ↑ "Revamp of AFC competitions". The-afc.com. 25 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2014.
- ↑ "AFC Asian Cup changes set for 2019". Afcasiancup.com. 26 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ "About the IFA". The Israel Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-02. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.