ฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก

เดนมาร์ก
Shirt badge/Association crest
ฉายาDe Rød-Hvide
(แดงและขาว)
Danish Dynamite
โคนม (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลเดนมาร์ก (DBU)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนคัสเปอร์ ยูลมัน
กัปตันซีโมน แคร์
ติดทีมชาติสูงสุดพีเตอร์ สไมเกิล (129)
ทำประตูสูงสุดPoul "Tist" Nielsen
Jon Dahl Tomasson
(52)
สนามเหย้าสนามกีฬาพาร์เกิน
รหัสฟีฟ่าDEN
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 18 เพิ่มขึ้น 1 (21 กันยายน 2023)[1]
อันดับสูงสุด3 (พฤษภาคม ค.ศ. 1997, สิงหาคม ค.ศ. 1997)
อันดับต่ำสุด51 (เมษายน ค.ศ. 2017)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 9–0 ฝรั่งเศส เบ
(ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 19 ตุลาคม ค.ศ. 1908)
ชนะสูงสุด
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 17–1 ฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส
(ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 22 ตุลาคม ค.ศ. 1908)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 8–0 เดนมาร์ก ธงชาติเดนมาร์ก
(เบร็สเลา ประเทศเยอรมนี; 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1937)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1986)
ผลงานดีที่สุดรอบก่อนรองชนะเลิศ (1998)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม9 (ครั้งแรกใน 1964)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1992)
คอนเมบอล–ยูฟ่าคัพออฟแชมเปียน
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1993)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (1993)
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1995)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1995)

ฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Danmarks fodboldlandshold) เป็นตัวแทนของประเทศเดนมาร์กในการแข่งขันฟุตบอลชายระดับนานาชาติ ถูกควบคุมโดยสมาคมฟุตบอลเดนมาร์ก (DBU) ปัจจุบันใช้สนามกีฬาพาร์เคิน ในโคเปนเฮเกนเป็นสนามเหย้า โดยมีแคสเปอร์ ยูลมันเป็นผู้จัดการทีม

เดนมาร์กชนะเลิศกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกซ้อน 1906 และได้รับเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 และกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1912 อย่างไรก็ตาม ในฐานะมือสมัครเล่นที่ห้ามไม่ให้นักเตะทีมชาติของตนไปแล่นเป็นนักเตะอาชีพในสโมสรต่างประเทศ เดนมาร์กไม่ผ่านเข้ารอบสำหรับฟุตบอลโลกจนถึงปี ค.ศ. 1986 ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับรางวัลเงินโอลิมปิกอีกในปี ค.ศ. 1960

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 เดนมาร์กได้สร้างผลงานที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง พวกเขาชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 ที่ประเทศสวีเดน โดยเอาชนะทีมแชมป์เก่าอย่าง เนเธอร์แลนด์ ในรอบรองชนะเลิศ และแชมป์โลก เยอรมนีในรอบชิงชนะเลิศ ทีมยังชนะเลิศ คิงส์ฟาฮัดคัพ 1995 โดยเอาชนะอาร์เจนตินาในรอบชิงชนะเลิศ ผลงานฟุตบอลโลกที่ดีที่สุดของพวกเขาคือความสำเร็จในปี 1998 ซึ่งพวกเขาแพ้บราซิลอย่างหวุดหวิด 3–2 ในรอบก่อนรองชนะเลิศ เดนมาร์กยังสามารถเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลกได้ในปี 1986, 2002 และ 2018

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[2]

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ ธงชาติตูนิเซีย ตูนิเซีย

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK แคสเปอร์ สไมเกิล (รองกัปตันทีม) (1986-11-05) 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 (37 ปี) 87 0 ฝรั่งเศส นิส
16 1GK ออลิเวอร์ เครสเตินเซิน (1999-03-22) 22 มีนาคม ค.ศ. 1999 (24 ปี) 1 0 เยอรมนี แฮร์ทา เบเอ็สเซ
22 1GK เฟรดเรก เรอนอว์ (1992-08-04) 4 สิงหาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 8 0 เยอรมนี อูนีโอนแบร์ลีน

2 2DF โยแอคิม อาเนอร์เซิน (1996-05-31) 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 20 0 อังกฤษ คริสตัลพาเลซ
3 2DF วิคเตอร์ เนลส์สัน (1998-10-14) 14 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 7 0 ตุรกี กาลาทาซาไร
4 2DF ซีโมน แคร์ (กัปตันทีม) (1989-03-26) 26 มีนาคม ค.ศ. 1989 (34 ปี) 122 5 อิตาลี เอซี มิลาน
5 2DF โยแอคิม เมเลอ (1997-05-20) 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 32 9 อิตาลี อาตาลันตา
6 2DF แอนเตรแอส เครสเตินเซิน (1996-04-10) 10 เมษายน ค.ศ. 1996 (27 ปี) 59 2 สเปน บาร์เซโลนา
13 2DF ราสมุส คริสเตนเซ่น (1997-07-11) 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 11 0 อังกฤษ ลีดส์ยูไนเต็ด
17 2DF เยนส์ สตรือเออร์ ลาร์เซิน (1991-02-21) 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 (32 ปี) 49 3 ตุรกี ทรับซอนสปอร์
18 2DF เตเนียล แวส (1989-05-31) 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1989 (34 ปี) 44 1 เดนมาร์ก บรอนด์บี้
26 2DF แอเลกแซนเตอร์ แป (1997-12-09) 9 ธันวาคม ค.ศ. 1997 (25 ปี) 4 1 โปรตุเกส ไบฟีกา

7 3MF แมทีแอส เยนเซิน (1996-01-01) 1 มกราคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 21 1 อังกฤษ เบรนต์ฟอร์ด
8 3MF ทอมัส ดิเลนีย์ (1991-09-03) 3 กันยายน ค.ศ. 1991 (32 ปี) 72 7 สเปน เซบิยา
10 3MF เครสแจน อีเรกเซิน (1992-02-14) 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 (31 ปี) 118 39 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
15 3MF เครสแจน เนอร์กอร์ (1994-04-10) 10 เมษายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 17 1 อังกฤษ เบรนต์ฟอร์ด
23 3MF พีแยร์-เอมิล ฮอยปีแยร์ (1995-08-05) 5 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 61 5 อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์
24 3MF โรปอร์ต สกอว์ (1996-05-20) 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 11 5 เยอรมนี 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์
25 3MF เยสเปอร์ ลินสเตริม (2000-02-29) 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 (23 ปี) 7 1 เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท

9 4FW มาร์ติน แบรทเวต (1991-06-05) 5 มิถุนายน ค.ศ. 1991 (32 ปี) 62 10 สเปน อัสปัญญ็อล
11 4FW แอนเตรแอส สกอว์ โอลเซิน (1999-12-29) 29 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (23 ปี) 24 8 เบลเยียม กลึบบรึคเคอ
12 4FW แคสเปอร์ ตอลแปร์ (1997-10-06) 6 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 38 11 สเปน เซบิยา
14 4FW มีเกิล ตัมส์กอร์ (2000-07-03) 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี) 19 4 อังกฤษ เบรนต์ฟอร์ด
19 4FW โยนัส วิน (1999-02-07) 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 (24 ปี) 15 5 เยอรมนี ว็อลฟส์บวร์ค
20 4FW ยูซุฟ พออุลเซิน (1994-06-15) 15 มิถุนายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 68 11 เยอรมนี แอร์เบ ไลพ์ซิช
21 4FW แอนเตรแอส คอร์เนลียุส (1993-03-16) 16 มีนาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 42 9 เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน

อ้างอิง

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 21 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2023.
  2. "De første spillere til VM-truppen er fundet" [The first players for the World Cup squad have been found] (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Football Association. 7 November 2022. สืบค้นเมื่อ 7 November 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น