ภารหุต

ภารหุต

บน: แผนผังเดิมของภารหุตสถูป ล่าง: ประตูและรั้วด้านตะวันออก หินทรายสีแดง ภารหุตสถูป, 125–75 ปีก่อน ค.ศ.[1] พิพิธภัณฑ์อินเดีย โกลกาตา
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
เขตสัตนา
ภูมิภาคVindhya Range
สถานะองค์กรยังคงปรากฏซากสถูป
ปีที่อุทิศ300–200 ปีก่อน ค.ศ.
สถานะศิลปวัตถุถูกนำออก
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอินเดีย
รัฐรัฐมัธยประเทศ
ภารหุตตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ภารหุต
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
ภารหุตตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
ภารหุต
ภารหุต (รัฐมัธยประเทศ)
พิกัดภูมิศาสตร์24°26′49″N 80°50′46″E / 24.446891°N 80.846041°E / 24.446891; 80.846041

ภารหุต (อักษรโรมัน: Bharhut) เป็นหมู่บ้านในอำเภอสัตนา รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นที่รู้จักจากพระธาตุที่มีชื่อเสียงจากสถูปพุทธ สิ่งที่ทำให้แผ่นรูปภารหุตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือแต่ละแผ่นมีป้ายกำกับบรรยายสิ่งที่อยู่ในแผ่นภาพด้วยอักษรพราหมีชัดเจน ผู้บริจาครายใหญ่สำหรับภารหุตสถูปคือพระเจ้า Dhanabhuti[2][1]

ประติมากรรมภารหุตเป็นตัวแทนของตัวอย่างแรกสุดบางส่วนของศิลปะอินเดียและพุทธ ซึ่งสร้างขึ้นหลังศิลปะอนุสาวรีย์ของพระเจ้าอโศก (ป. 260 ปีก่อน ค.ศ.) และสร้างขึ้นหลังภาพนูนต่ำบนรั้วสถูปสาญจีหมายเลข 2 สมัยศุงคะตอนต้นเพียงเล็กน้อย (เริ่มสร้างประมาณ 115 ปีก่อน ค.ศ.)[1] นักเขียนล่าสุดระบุอายุรั้วภารหุตไว้ที่ประมาณ 125–100 ปีก่อน ค.ศ. และสร้างขึ้นหลังสถูปสาญจีหมายเลข 2 เมื่อเทียบกับภารหุตที่มีประติมานวิทยาที่มีการพัฒนามากกว่า[1][3] ประตูโตรณะสร้างขึ้นหลังรั้วไม่นาน และมีอายุถึง 100–75 ปีก่อน ค.ศ.[1] Ajit Kumar นักประวัติศาสตร์ ระบุอายุหลังให้กับภารหุต คือ คริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยอิงจากศิลปะของสถูปกับศิลปะมถุรา โดยเฉพาะประติมากรรมที่ระบุด้วยพระนามของ Sodasa[4] ซากภารหุตหลายส่วนปัจจุบันตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์อินเดียที่โกลกาตา ในขณะที่ส่วนอื่นอยู่ในพิพิธภัณฑ์ทั่วอินเดียและต่างประเทศ มีน้อยมากที่อยู่ในบริเวณเดิมในปัจจุบัน

ศาสนาพุทธยังคงดำรงอยู่ในภารหุตจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 วัดพุทธขนาดเล็กได้รับการขยายประมาณ ค.ศ. 1100 และมีการประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหม่[5] มีจารึกภาษาสันกฤตในยุคเดียวกันพบในพื้นที่นี้ แต่ดูเหมือนกันจารึกนั้นสูญหาย[6] จารึกนั้นแตกต่างจากจารึก Lal Pahad ใน ค.ศ. 1158 ที่ระบุถึงกษัตริย์ Kalachiri[7]

การประเมินใหม่บางส่วนเมื่อเร็ว ๆ นี้มีแนวโน้มที่จะแยกภารหุตออกจากสมัยศุงคะ และจัดให้สถูปนี้อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยอิงจากความคล้ายคลึงทางศิลปะกับศิลปะมถุราและตั้งคำถามถึงความเก่าแก่ของจารึกภารหุต (โดยเฉพาะในส่วนจารึก Dhanabhuti) ตามที่เสนอแนะในอักขรวิทยาดั้งเดิม[8][9]

สถูปภารหุต

ภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name HPL cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  2. Quintanilla, Sonya Rhie (2007). History of Early Stone Sculpture at Mathura: Ca. 150 BCE - 100 CE (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 11. ISBN 9789004155374.
  3. Didactic Narration: Jataka Iconography in Dunhuang with a Catalogue of Jataka Representations in China, Alexander Peter Bell, LIT Verlag Münster, 2000 p.18
  4. Kumar, Ajit (2014). "Bharhut Sculptures and their untenable Sunga Association". Heritage: Journal of Multidisciplinary Studies in Archaeology (ภาษาอังกฤษ). 2: 230.
  5. Report Of A Tour In The Central Provinces Vol-ix, Alexander Cunningham, 1879 p.2–4
  6. "Buddhist Sanskrit inscription slab from about the 10th century A.D., (?)Bharhut, The British Library, 26 March 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2024-06-05.
  7. Report Of A Tour In The Central Provinces In 1873–74 And 1874–75 Volume Ix, Cunningham, Alexander, 1879, p. 38
  8. Kumar, Ajit (2014). "Bharhut Sculptures and their untenable Sunga Association". Heritage: Journal of Multidisciplinary Studies in Archaeology (ภาษาอังกฤษ). 2: 223–241.
  9. Muzio, Ciro Lo (2018). Problems of chronology in Gandharan art. On the relationship between Gandhāran toilet-trays and the early Buddhist art of northern India. Oxford: Archaeopress Archaeology. pp. 123-134.

แหล่งข้อมูลอื่น