ราชคฤห์
ราชคฤห์ | |
---|---|
นคร | |
พิกัด: 25°02′N 85°25′E / 25.03°N 85.42°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | พิหาร |
เขต | นาลันทา |
ความสูง | 73 เมตร (240 ฟุต) |
ประชากร (2011) | |
• ทั้งหมด | 41,619 คน |
ภาษา | |
• ทางการ | ภาษามคธี ภาษาฮินดี |
เขตเวลา | UTC+5:30 (เวลามาตรฐานอินเดีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 803116 |
รหัสโทรศัพท์ | 916112 |
ทะเบียนพาหนะ | BR |
Sex ratio | 1000/889 ♂/♀ |
อัตราการไม่รู้หนังสือ | 51.88% |
Lok Sabha constituency | Nalanda |
Vidhan Sabha constituency | Rajgir(SC)(173) |
จุดหมายแสวงบุญใน |
แดนพุทธภูมิ |
---|
ราชคฤห์ (บาลี: ราชคห; สันสกฤต: राजगिर ราชคริ; ฮินดี: राजगीर ราชคีร; อังกฤษ: Rajgir; อูรดู: راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร
ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น
สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง
ระเบียงภาพ
-
พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์
-
พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ
-
ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา
-
ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี
-
พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป
อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- maps.google