ภาษาบันยูมาซัน

ภาษาบันยูมาซัน
Basa Banyumasan, Basa Ngapak
ประเทศที่มีการพูดฝั่งตะวันตกของชวากลาง (ประเทศอินโดนีเซีย)
ชาติพันธุ์ชาวบันยูมาซัน
จำนวนผู้พูด12–15 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)[ต้องการอ้างอิง]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่นเตอกาลัน, บันยูมาซัน, บันเติน
รหัสภาษา
ISO 639-3

ภาษาบันยูมาซัน (Basa Banyumasan) รู้จักกันตามภาษาพูดว่า งาปัก (Basa Ngapak) เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาชวา ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในเขตบันยูมาซันในชวากลาง และบริเวณรอบๆเทือกเขาซลาเมตและแม่น้ำเซอรายู บริเวณใกล้เคียงในชวาตะวันตกและทางเหนือของจังหวัดบันเติน ร่วมกับเมืองในบริเวณนั้น[1] อยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตก ลักษณะทางภาษาศาสตร์ใกล้เคียงกับภาษามลายู ภาษาซุนดา ภาษามาดูรา ภาษาบาหลี

ประวัติ

นักวิชาการแบ่งพัฒนาการของภาษาชวาเป็น 4 ระยะ คือ

  • ภาษาชวาโบราณ อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 - 18
  • ภาษาชวายุคกลาง อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 - 21
  • ภาษาชวาใหม่ อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 - 25
  • ภาษาชวาสมัยใหม่ อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 25 - ปัจจุบัน

การจัดแบ่งดังกล่าวนี้ ได้รับอิทธิพลจากการเกิดจักรวรรดิในชวา ในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชวา การเกิดจักรวรรดิทำให้เกิดการแบ่งระดับของภาษา ซึ่งแสดงฐานะทางสังคมของผู้พูด ระดับของภาษาเหล่านี้ไม่มีผลต่อชาวบันยูมาซันมาก ในบริเวณบันยูมาซัน ภาษาระดับสูงใช้กับผู้ที่มาจากทางตะวันออกของเกาะชวา

ภาษาบันยูมาซันมีลักษณะที่ต่างจากภาษาชวามาตรฐานซึ่งกำหนดตามสำเนียงสุรการ์ตาและยอร์กยาการ์ตามาก ส่วนใหญ่เป็นทางด้านสัทวิทยา การออกเสียงและคำศัพท์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้คำศัพท์จากภาษาชวาโบราณมากกว่า และการอกเสียงสระต่างกัน

ความสุภาพ

ภาษาชวามีความแตกต่างไปตามสถานะทางสังคมของผู้พูด ในแต่ละระดับจะมีคำศัพท์และกฎทางไวยากรณ์เป็นของตนเอง ลักษณะแบบนี้พบในภาษาอื่นๆของเอเชียตะวันออกด้วย เช่น ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย

ในบริเวณบันยูมาซัน ภาษาระดับกลาง (Madya) และสุภาพ (Krama) มีใช้น้อย ส่วนใหญ่ใช้กับผู้ที่มาจากทางตะวันออกของเกาะชวา

สำเนียง

ภาษาบันยูมาซันแบ่งสำเนียงย่อยได้อีก เป็น สำเนียงเหนือ สำเนียงใต้ และสำเนียงบันเติน

อ้างอิง

  1. [1] Banyumasan language threatened with extinction, (in Indonesian), Accessed date February 15, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น