มหาวิทยาลัยมาลายา

มหาวิทยาลัยมาลายา
Universiti Malaya اونيۏرسيتي ملايا
ตราอาร์ม แห่งมหาลัยมาลายา
คติพจน์อังกฤษ
Knowledge is the Source of Progress
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐบาล
สถาปนา8 ตุลาคม พ.ศ. 2492
อธิการบดีศาสตราจารย์ ซูลตาน อัสซ์ลาน ฌาญ
อธิการบดีทานศริ ดาตัก อาชารด อรัฟ
รองอธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร. โมดฮ์ อามิน จารารูดินส์
อาจารย์2,613 ปี 2553
ปริญญาตรี13,990 ปี 2553
บัณฑิตศึกษา11,484 (ปี 2553
ที่ตั้ง,
3°07′15″N 101°39′23″E / 3.12083°N 101.65639°E / 3.12083; 101.65639
วิทยาเขตกัวลาลัมเปอร์
สีแดง, ทอง, น้ำเงิน
     
เครือข่ายACU, APRU, ASAIHL, AUN, FUIW
เว็บไซต์www.um.edu.my

มหาวิทยาลัยมาลายา (อังกฤษ: University of Malaya (UM); อักษรยาวี: اونيۏرسيتي ملايا) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ และเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 โดยปัจจุบันมีคณาจารย์จำนวน 2,613 คน และในปี ค.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยได้แยกออกมาเป็นสถาบันอิสระจากกระทรวงอุดมศึกษาของมาเลเซีย และมีอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS World University Rankings ประจำปี ค.ศ. 2021 อยู่ในอันดับที่ 59 ของโลก

ประวัติ

ประวัติของมหาวิทยาลัยมาลายานั้นเริ่มตั้งแต่ครั้งเป็นวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และวิทยาลัยราฟเฟิลส์ ในสมัยเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ โดยในช่วงปี ค.ศ. 1900 มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนฝรั่งหลายแห่งในปีนังและสิงคโปร์ และเริ่มมีการเปิดโรงเรียนการแพทย์ในเวลาต่อมาเพื่อรองรับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการขยายตัวของประเทศจนพัฒนาเป็นวิทยาลัยแพทย์ (King Edward VII Medical College of Medicine) ในปี ค.ศ. 1905 ส่วนวิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1928 เพื่อเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางภาษาและมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษอีกด้วย ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1938-1949 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลอังกฤษ British Malaya Government ได้มีการริเริ่มที่จะสร้างมหาวิทยาลัยของชาวมาเลเซียขึ้นมา โดยมีการส่งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของอังกฤษ และอีกหลายท่านมาศึกษากระบวนการพัฒนาและความเป็นไปได้ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1949 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมาลายาขึ้นมาเป็นผลสำเร็จจากการรวม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ (King Edward VII Medical College of Medicine) และวิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในปี ค.ศ. 1959 มหาวิทยาลัยถูกแบ่งออกเป็น 2 มหาวิทยาลัยอันเนื่องจากมีวิทยาเขตหนึ่งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ และมติเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1962 มหาวิทยาลัยที่กัวลาลัมเปอร์จะชื่อ มหาวิทยาลัยมาลายา ส่วนมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์จะใช้ชื่อมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ National University of Singapore)

คณะสาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาตรี

  • คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Faculty of Arts and Social Sciences)
  • คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี (Faculty of Business and Accountancy)
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Faculty of Computer Science & Information Technology)
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ (Faculty of Dentistry)
  • คณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการ (Faculty of Economics & Administration)
  • คณะครุศาสตร์ (Faculty of Education)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
  • คณะภาษาและภาษาศาสตร์ (Faculty of Languages and Linguistics)
  • คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law)
  • คณะแพทยศาสตร์ (Faculty of Medicine)
  • คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Science)
  • คณะสิ่งแวดล้อม (Faculty of Built Environment)
ตึก ทานเท็กกวน

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ระดับปริญญาตรี :

  • จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเกรด 12 หรือมีคะแนน A-Levels
  • มีคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ

ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก :

  • จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และจบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระดับปริญญาเอก
  • มีคุณสมบัติเช่น ประสบการณ์การทำงานหรือตามการร้องขอเพิ่มเติมจากทางมหาวิทยาลัย (เฉพาะบางสาขาวิชา)
  • มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 80 คะแนน หรือคะแนนสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0

ทุนการศึกษา

รัฐบาลมาเลียเซียมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ ด้วยความที่ต้องการให้ประเทศเป็นฮับทางการศึกษาในอาเซียนครับ ทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่นักเรียนไทยสามารถสมัครได้มี 2 ทุนใหญ่ๆ ได้แก่

  • 1. Malaysia International scholarship (MIS)

รัฐบาลมาเลเซียพยายามที่จะดึงดูดนักเรียนที่มีความชาญฉลาดและดีที่สุดจากทั่วโลก ให้มาเรียนต่อในประเทศมาเลเซีย และทุนการศึกษา Malaysia International scholarship (MIS) นี้ ก็ค้นหานักเรียนที่มีความสามารถที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมและมีประสบการณ์อัน น่าประทับใจ นักเรียนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้จะได้รับการต้อนรับอย่างดีในการสมัครและ สามารถเลือกเรียนสาขาใดก็ได้ที่ต้องการ ทั้งในสถาบันเอกชนและรัฐบาล สามารถเข้าไปเว็บไซต์ mohe.gov เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม ปิดรับสมัครวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี

  • 2. Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals

ทุน Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals นี้ ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อกระตุ้นการรวมตัวของความรู้ในเอเชีย โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภูมิภาคเอเชียแปซิ ฟิค และเพื่อสร้างการเติบโตของความเป็นเอเชีย ทุน API ปิดรับสมัคร 31 สิงหาคม ของทุกปี

อ้างอิง