มังกรหมู
มังกรหมู (จีน: 玉猪龙 zhūlóng, อังกฤษ: Pig Dragon) [1] เป็นศิลปกรรม หยก ประเภทหนึ่งจาก วัฒนธรรมหงซาน ใน ยุคหินใหม่ของจีน มังกรหมูเป็นรูปทรงสัญฐานของสัตว์ (zoomorphic) มีหัวคล้ายหมูและลำตัวยาวขดเป็นวง ซึ่งมีความหมายถึง นัยยะของทารก(ตัวอ่อน)ในครรภ์ มังกรหมูในยุคแรกมีความหนาและสั้นป้อม และศิลปกรรมในช่วงหลังจะมีสัดส่วนร่างกายที่สมส่วนและยาวเหมือนงูมากขึ้น
มังกรหมู ประดิษฐ์ขึ้นใน วัฒนธรรมหงซาน พร้อม ๆ กับรูปอินทรีหยกในวัฒนธรรมเดียวกัน ( 玉鷹 ) [1] ศิลปกรรมทั้งคู่มักจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของ สิ่งประดับหลุมศพ [2] มีการพบกระดูกหมูฝังอยู่เคียงคู่กับมนุษย์ที่สถานที่ฝังศพหงซานซึ่งบ่งบอกว่า หมู มีความสำคัญในทางพิธีกรรมศาสนา
มีการคาดเดาว่า มังกรหมู เป็นสัญลักษณ์แรกของ มังกรจีน ทั้งนี้อักขระสำหรับคำว่า "มังกร" ใน การเขียนอักษรจีน ที่เก่าแก่ที่สุดมีรูปแบบขดเป็นวงคล้ายกัน และยังคล้ายกับเครื่องรางหยกรูปมังกรในช่วงหลัง คือ สมัยราชวงศ์ชาง [3]
ดูเพิ่มเติม
- หยกจีน
- ปี้ (หยก)
- มางาตามะ
- หลิงหลิง -o
- โกกอก
- Cong (หยก)
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Ko, Patrick. Federation of Medical Studies of Hong Kong, "The History of Ancient Chinese Jade Culture เก็บถาวร 2021-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Jan 2008. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "jademed" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Howard, Angela & al. Chinese Sculpture, pp. 21 f. Yale Univ. Press, 2006. ISBN 0-300-10065-5.
- ↑ Salviati, Filippo (2002). The Language of Adornment: Chinese Ornaments of Jade, Crystal, Amber and Glass, Fig. 17. Ten Speed Press. ISBN 1-58008-587-3.