มาร์คัส แรชฟอร์ด

มาร์คัส แรชฟอร์ด
แรชฟอร์ดขณะเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษในฟุตบอลโลก 2022
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม มาร์คัส แรชฟอร์ด
วันเกิด (1997-10-31) 31 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี)
สถานที่เกิด แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ
ส่วนสูง 5 ft 11 in (1.80 m)[1]
ตำแหน่ง กองหน้า / ปีก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
หมายเลข 10
สโมสรเยาวชน
2003–2005 เฟลตเชอร์มอสเรนเจอส์
2005–2015 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2015– แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 285 (87)
ทีมชาติ
2012 อังกฤษ รุ่นไม่เกิน 16 ปี 2 (0)
2014 อังกฤษ รุ่นไม่เกิน 18 ปี 2 (0)
2016 อังกฤษ รุ่นไม่เกิน 20 ปี 2 (0)
2016 อังกฤษ รุ่นไม่เกิน 21 ปี 1 (3)
2016– อังกฤษ 60 (17)
เกียรติประวัติ
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2024 (UTC)
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 23 มีนาคม 2024 (UTC)

มาร์คัส แรชฟอร์ด เอ็มบีอี (อังกฤษ: Marcus Rashford; เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1997) เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษที่เล่นเป็นกองหน้าและปีกให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและทีมชาติอังกฤษ

ผลผลิตจากระบบเยาวชนของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เขาเข้าร่วมสโมสรเมื่ออายุได้ 7 ขวบ แรชฟอร์ดทำ 2 ประตูในนัดเปิดตัวให้กับทีมชุดใหญ่และในฟุตบอลสโมสรยุโรปที่พบกับมิดทิลแลนด์ในยูฟ่ายูโรปาลีกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 เนื่องจากอาการบาดเจ็บของอ็องตอนี มาร์ซียาลระหว่างการฝึกซ้อม และ 2 ประตูในเกมพรีเมียร์ลีกนัดแรกของเขาเจอกับอาร์เซนอลในอีก 3 วันต่อมา เขายังทำประตูในแมนเชสเตอร์ดาร์บีครั้งแรกของเขา เช่นเดียวกับนัดเปิดตัวในลีกคัพและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แรชฟอร์ดคว้าแชมป์เอฟเอคัพ, ลีกคัพ 2 สมัย, เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์และยูฟ่ายูโรปาลีกกับยูไนเต็ด

ระดับสโมสร

เยาวชน

แรชฟอร์ดเริ่มเล่นฟุตบอลให้กับเฟลตเชอร์ มอส เรนเจอส์ เมื่ออายุ 5 ขวบ[2] โดยเริ่มต้นจากการเป็นผู้รักษาประตู และยกทิม ฮาวเวิร์ดอดีตผู้รักษาประตูของยูไนเต็ดเป็นไอดอลในตำแหน่งผู้รักษาประตูของเขา[3][4] เดฟ ฮอร์ร็อคส์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาอคาเดมี่ของเฟลตเชอร์ มอส เรนเจอส์ เล่าว่าแรชฟอร์ดอยู่ใน “ระดับที่แตกต่าง” จากเด็กคนอื่น ๆ โดยมีบทบาทสำคัญในทีมที่ชนะการแข่งขันโดยมีแมวมอง 15 คนจากสโมสรต่าง ๆ เฝ้าดูอยู่[5]

เขาใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการฝึกซ้อมกับแมนเชสเตอร์ซิตี ก่อนที่จะเข้าร่วมระบบอะคาเดมีของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เมื่ออายุ 7 ขวบ ท่ามกลางความสนใจจากเอฟเวอร์ตันและลิเวอร์พูล[6][7] เขาให้เครดิตพี่ชายของเขาในการช่วยเขาตัดสินใจเข้าร่วมยูไนเต็ด[8] พอล แมคกินเนส อดีตโค้ชเยาวชนของยูไนเต็ด (ลูกชายของวิล์ฟ แม็คกินเนส อดีตผู้จัดการทีมยูไนเต็ด) มองเห็นศักยภาพของแรชฟอร์ดอย่างรวดเร็วเนื่องจากเห็นความเป็นนักกีฬาของเขาทั้งในและนอกสนาม[5] แต่ในช่วงปีแรก ๆ ที่สโมสรเขามักจะพลาดการฝึกซ้อมอันเป็นผลมาจากความยากลำบากในการเดินทางไปที่นั่นในขณะที่แม่และพี่ชายของเขาอยู่ที่ทำงาน ในที่สุดเขาก็ได้รับความช่วยเหลือจากโค้ชเยาวชนของสโมสรเช่น Dave Bushell, Eamon Mulvey และ Tony Whelan ซึ่งช่วยหาคนขับรถให้แรชฟอร์ดเพื่อไปที่สนามฝึกซ้อม แรชฟอร์ดมีชื่ออยู่บนม้านั่งสำรองของทีมชุดใหญ่เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนโดยลูวี ฟัน คาลในการแข่งขันพรีเมียร์ลีกที่พบกับวอตฟอร์ด ซึ่งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะ 2–1 แต่เขาไม่ได้ลงเล่น[9] เขาได้รับเสื้อแข่งหมายเลข 39 เนื่องจากฟัน คาลยืนกรานว่ากองหน้าจะต้องสวมเสื้อที่มีหมายเลข 9[10] สัปดาห์ถัดมากับเลสเตอร์ซิตี เขามีชื่ออยู่บนม้านั่งสำรองอีกครั้งโดยไม่ได้ใช้ในเกมที่เสมอ 1–1[11] ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2016 แรชฟอร์ดได้รับข้อเสนอยืมตัวจากครูว์ อเล็กซานดรา สโมสรในลีกวัน แต่ข้อตกลงยืมตัวถูกปฏิเสธโดยวอร์เรน จอยซ์ ผู้จัดการทีมสำรองในเวลานั้น[12][13]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ฤดูกาล 2015–16: ฤดูกาลเปิดตัว

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2016 แรชฟอร์ดมีชื่อเป็น 1 ใน 18 ผู้เล่นของยูไนเต็ดในศึกยูฟ่ายูโรปาลีก รอบ 32 ทีม นัดที่ 2 กับมิดทิลแลนด์จากเดนมาร์กที่โอลด์แทรฟฟอร์ด เนื่องจากวิกฤตอาการบาดเจ็บซึ่งทำให้มีผู้เล่นได้รับบาดเจ็บถึง 13 คน[14] หลังจากที่อ็องตอนี มาร์ซียาล ได้รับบาดเจ็บระหว่างวอร์มอัพก่อนการแข่งขัน แรชฟอร์ดก็ถูกส่งเป็น 11 ผู้เล่นตัวจริงและประเดิมสนามในนามทีมชุดใหญ่ด้วยการยิง 2 ประตูใส่มิดทิลแลนด์ในช่วงครึ่งหลังซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของยูไนเต็ดเหนือมิดทิลแลนด์ 5–1[15] ประตูของแรชฟอร์ดทำให้เขาเป็นผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุดของยูไนเต็ดในการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรป ทำลายสถิติที่เทพบุตรมหาภัย จอร์จ เบสต์เคยทำได้[16] และต่อมาถูกทำลายโดยเมสัน กรีนวุดในฤดูกาล 2019–20[17] แรชฟอร์ดประเดิมสนามในพรีเมียร์ลีกเจอกับอาร์เซนอลในอีก 3 วันต่อมา; เขายิงได้ 2 ประตูอีกครั้งและทำ 1 แอสซิสต์ในชัยชนะในบ้าน 3–2 ทำให้เขาเป็นผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันดับ 3 ของยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีก ต่อจากเฟเดรีโก มาเกดา และแดนนี เวลเบก[18] ลูวี ฟัน คาล ผู้จัดการทีมในขณะนั้นยกย่องผลงานของเขาว่า “ยอดเยี่ยม” และดีกว่านัดแรก[19] แต่เตือนสื่อมวลชนไม่ให้รบกวนหรือล้อเลียนเขา[20]

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม แรชฟอร์ดสร้างประวัติศาสตร์เมื่อเขายิงประตูชัยในแมนเชสเตอร์ดาร์บี ซึ่งเป็นชัยชนะในเกมเยือนนัดแรกของทีมเหนือแมนเชสเตอร์ซิตีนับตั้งแต่ปี 2012 ด้วยวัยเพียง 18 ปี 141 วัน เขากลายเป็นผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุดในการแข่งขันในยุคพรีเมียร์ลีก ทำลายสถิติของเวย์น รูนีย์ ซึ่งเป็นผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสร[21] ระหว่างการเล่นเอฟเอคัพรอบที่ 6 นัดรีเพลย์กับเวสต์แฮมยูไนเต็ดเมื่อวันที่ 13 เมษายน แรชฟอร์ดยิงประตูสุดมหัศจรรย์ในการชนะ 2–1 ช่วยให้ยูไนเต็ดผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ[22] 3 วันต่อมา เขายิงประตูชัยในเกมกับแอสตันวิลลา ซึ่งต่อมาตกชั้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1987[23] ต่อมาเขาได้ลงเล่นในเอฟเอคัพรอบชิงชนะเลิศเจอกับคริสตัลพาเลซเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะ 2–1 ถือเป็นแชมป์เอฟเอคัพสมัยที่ 12 ของยูไนเต็ดและเป็นถ้วยรางวัลใบแรกของแรชฟอร์ด[24]

วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 แรชฟอร์ดได้ต่อสัญญากับสโมสรออกไปอีก 4 ปีทำให้แรชฟอร์ดจะได้ค้าแข้งในถิ่น โอลด์แทรฟฟอร์ด จนถึงเดือน มิถุนายน ค.ศ. 2020

ในฤดูกาล 2018–19 แรชฟอร์ดเปลี่ยนไปสวมเสื้อหมายเลข 10 ให้กับทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แทนที่ เวย์น รูนีย์ กองหน้าและกัปตันทีมที่ออกจากทีมไปเมื่อจบฤดูกาล 2017-18 จากเดิมที่ใส่เสื้อหมายเลข 19 มาก่อนหน้านั้น

ระดับทีมชาติ

แรชฟอร์ดซึ่งเพิ่งจะก้าวขึ้นมาติดทีมชุดแรกของ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ได้ถูกเรียกตัวไปติด ทีมชาติอังกฤษ ชุดลุยศึกยูโร 2016 ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะ นิคกี บัตต์ โค้ชทีมเยาวชนของทีมปีศาจแดงที่ให้เหตุผลว่าแรชฟอร์ดยังเด็กเกินไปแต่ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 แรชฟอร์ดก็ได้ถูก รอย ฮอดจ์สัน กุนซือทีมชาติอังกฤษเรียกตัวมาเป็น 1 ใน 26 นักเตะรอบก่อนการตัดตัวซึ่งแรชฟอร์ดก็ได้ติดเป็น 1 ใน 23 นักเตะทีมชาติอังกฤษชุดลุยศึกยูโร 2016

ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เขาได้ลงเล่นเป็นตัวจริงในนัดอุ่นเครื่องที่ชนะ ทีมชาติออสเตรเลีย ไป 2-1โดยแรชฟอร์ดเป็นผู้ทำประตูแรกในนาทีที่ 3 นับเป็นนักเตะอายุน้อยที่สุดที่ทำประตูได้ในนามทีมชาติอังกฤษด้วยวัย 18 ปี 208 วัน ทำลายสถิติของ ทอมมี่ ลอว์ตัน ที่ทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2481 นอกจากนี้เขายังเป็นนักเตะอายุน้อยที่สุดตลอดกาลเป็นอันดับที่ 3 ที่ได้ลงเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษ

วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ในศึกยูโร 2016 นัดที่ 2 กลุ่มบีในนัดที่ทีมชาติอังกฤษเอาชนะ ทีมชาติเวลส์ ไป 2-1 แรชฟอร์ดได้ลงมาเป็นตัวสำรองแทน อดัม ลาลลานา ในนาทีที่ 75 ทำให้เขากลายเป็นนักเตะอังกฤษอายุน้อยที่สุดที่ได้ลงเล่นในศึกยูโรด้วยวัย 18 ปี 228 วันทำลายสถิติของ เวย์น รูนีย์ ที่ทำไว้ในศึก ยูโร 2004 ด้วยวัย 18 ปี 232 วัน

สถิติอาชีพ

สโมสร

ณ วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2024
สโมสร ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ อีเอฟแอลคัพ ยุโรป อื่น ๆ รวม
ดิวิชัน ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2015–16[25] พรีเมียร์ลีก 11 5 4 1 0 0 3[a] 2 18 8
2016–17[26] พรีเมียร์ลีก 32 5 3 3 6 1 11[a] 2 1[b] 0 53 11
2017–18[27] พรีเมียร์ลีก 35 7 5 1 3 2 8[c] 3 1[d] 0 52 13
2018–19[28] พรีเมียร์ลีก 33 10 4 1 0 0 10[c] 2 47 13
2019–20[29] พรีเมียร์ลีก 31 17 4 0 3 4 6[a] 1 44 22
2020–21[30] พรีเมียร์ลีก 37 11 3 1 4 1 13[e] 8 57 21
2021–22[31] พรีเมียร์ลีก 25 4 2 0 0 0 5[c] 1 32 5
2022–23[32] พรีเมียร์ลีก 35 17 6 1 6 6 9[a] 6 56 30
2023–24[33] พรีเมียร์ลีก 27 7 2 0 1 0 4[c] 0 34 7
รวมทั้งหมด 266 83 33 8 23 14 69 25 2 0 393 130
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ลงเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก
  2. ลงเล่นในเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
  4. ลงเล่นในยูฟ่าซูเปอร์คัพ
  5. ลงเล่น 6 ครั้งและได้ประตู 6 ครั้งในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ลงเล่น 7 ครั้งและได้ประตู 2 ครั้งในยูฟ่ายูโรปาลีก

นานาชาติ

ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023[34]
ทีมชาติ ปี ลงเล่น ประตู
อังกฤษ 2016 6 1
2017 9 1
2018 16 5
2019 7 4
2020 2 1
2021 6 1
2022 5 3
2023 8 2
รวม 59 17

เกียรติประวัติ

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

อังกฤษ

ส่วนตัว

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Marcus Rashford: Overview". Premier League. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2023.
  2. Fordyce, Tom (2 March 2017). "Manchester's cold war". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2 March 2017.
  3. Shread, Joe (19 November 2017). "Marcus Rashford reveals surprise Manchester United idol". Sky Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2021. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  4. Dawson, Rob (17 December 2019). "Man United star Rashford maps out journey from academy standout to world-class talent". ESPN. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  5. 5.0 5.1 Fenn, Alec (6 April 2018). "Marcus Rashford – by the men who made him". FourFourTwo. สืบค้นเมื่อ 17 January 2021.
  6. Luckhurst, Samuel (26 February 2016). "Marcus Rashford rejected Liverpool to join Manchester United". Manchester Evening News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 April 2017.
  7. Flanagan, Chris (15 June 2020). "Marcus Rashford interview: Why the 2020s are going to belong to the Manchester United forward". FourFourTwo. Future. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2021. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  8. Stone, Simon (13 December 2019). "Marcus Rashford on helping Man Utd academy reach landmark". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  9. Hafez, Shamoon (21 November 2015). "Watford 1–2 Manchester United". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2017. สืบค้นเมื่อ 26 February 2016.
  10. Dawson, Rob (21 November 2015). "Marcus Rashford: The story behind Manchester United youngster's new squad number". Manchester Evening News. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
  11. McNulty, Phil (28 November 2015). "Leicester City 1–1 Manchester United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 February 2021.
  12. "Marcus Rashford: Manchester United turned down Crewe Alexandra loan bid for striker". BBC Sport. 8 June 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2021.
  13. Lustig, Nick (9 June 2016). "Man Utd forward Marcus Rashford subject of Crewe loan bid". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 17 January 2021.
  14. Luckhurst, Samuel (25 February 2016). "Manchester United include Marcus Rashford in Midtjylland squad". Manchester Evening News. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  15. Johnston, Neil (25 February 2016). "Manchester United 5–1 FC Midtjylland: Teenager Marcus Rashford scores twice on his debut as Manchester United thrash FC Midtjylland in the Europa League". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2018. สืบค้นเมื่อ 25 February 2016.
  16. Rej, Arindam (26 February 2016). "Rashford joins Rooney and Martial as the latest teen United wonder". ESPN. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  17. Wilson, Paul (19 September 2019). "Mason Greenwood's first Manchester United goal earns win over Astana". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  18. Jurejko, Jonathan (28 February 2016). "Manchester United 3–2 Arsenal". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2018. สืบค้นเมื่อ 11 April 2017.
  19. Jackson, Jamie (28 February 2016). "Louis van Gaal: Marcus Rashford's second match even better than his first". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  20. Jackson, Jamie (1 March 2016). "Don't harass Marcus Rashford, urges Manchester United's Louis van Gaal". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  21. Masefield, Fraser (20 March 2016). "Marcus Rashford hits winner as Manchester United turn up heat on City in Champions League race". Eurosport. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  22. McNulty, Phil (13 April 2016). "West Ham 1–2 Man Utd". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 14 August 2017.
  23. Jennings, Patrick (16 April 2016). "Manchester United 1–0 Aston Villa: Aston Villa are relegated to English football's second tier for the first time since 1987 after defeat by Manchester United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  24. 24.0 24.1 McNulty, Phil (21 May 2016). "Crystal Palace 1–2 Manchester United". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 15 December 2017.
  25. "Games played by มาร์คัส แรชฟอร์ด in 2015/2016". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  26. "Games played by มาร์คัส แรชฟอร์ด in 2016/2017". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  27. "Games played by มาร์คัส แรชฟอร์ด in 2017/2018". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  28. "Games played by มาร์คัส แรชฟอร์ด in 2018/2019". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 6 June 2019.
  29. "Games played by มาร์คัส แรชฟอร์ด in 2019/2020". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
  30. "Games played by มาร์คัส แรชฟอร์ด in 2020/2021". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 3 July 2021.
  31. "Games played by มาร์คัส แรชฟอร์ด in 2021/2022". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 28 April 2022.
  32. "Games played by มาร์คัส แรชฟอร์ด in 2022/2023". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 8 April 2023.
  33. "Games played by มาร์คัส แรชฟอร์ด in 2023/2024". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 3 March 2024.
  34. "Marcus Rashford: Internationals". worldfootball.net. HEIM:SPIEL. สืบค้นเมื่อ 20 November 2023.
  35. Murray, Scott (19 May 2018). "Chelsea 1–0 Manchester United: 2018 FA Cup final – as it happened". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 December 2023.
  36. McNulty, Phil (3 June 2023). "Manchester City 2–1 Manchester United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 27 December 2023.
  37. McNulty, Phil (26 February 2017). "Manchester United 3–2 Southampton". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2017.
  38. McNulty, Phil (26 February 2023). "Manchester United 2–0 Newcastle United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 26 February 2023.
  39. Bevan, Chris (7 August 2016). "Community Shield: Leicester City 1–2 Manchester United". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 September 2016.
  40. McNulty, Phil (24 May 2017). "Ajax 0–2 Manchester United". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2017.
  41. Stone, Simon (26 May 2021). "Villarreal 1-1 Manchester United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  42. McNulty, Phil (11 July 2021). "Euro 2020 final: England beaten by Italy on penalties". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 13 July 2021.
  43. McNulty, Phil (9 June 2019). "Switzerland 0–0 England". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น