ยุทธการที่ฌ็องบลู (ค.ศ. 1940)
ยุทธการที่ฌ็องบลู | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่เบลเยียม, แนวรบด้านตะวันตก ของ สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
![]() ช่องว่างฌ็องบลู. ส่วนภาคกลางของเบลเยียมระหว่าง Namur และ Wavre เป็นที่ตั้งของเหล่าทหารม้าของฝรั่งเศส (Corps de Cavalerie) (ภายใต้การนำของนายพล René Prioux), เพื่อการป้องกันการบุกเข้าสู่ฝรั่งเศสของเยอรมัน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
![]() | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() |
![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
3 motorised divisions 3 infantry divisions |
2 panzer divisions 3 infantry divisions | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
AFV unknown ~ 2,000 killed, wounded and missing /III Corps; a few hundred casualties[3] |
unclear 33–37 percent of German tank strength lost 304 killed 413 wounded 29 missing IV Corps, a few hundred casualties.[4] | ||||||
ยุทธการที่ฌ็องบลู (หรือ ยุทธการที่ช่องว่างฌ็องบลู) เป็นการสู้รบกันระหว่างกองทัพฝรั่งเศสและกองทัพเยอรมันในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กองทัพเวร์มัคท์ (กองกำลังป้องกัน) แห่งนาซีเยอรมันได้บุกครองลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ภายใต้ปฏิบัติการแผนการกรณีสีเหลือง (Fall Gelb-Case Yellow) กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบสนองด้วยแผนการดิล (Dyle Plan) หรือ แผนการดี ด้วยความมุ่งมั่นในการหยุดยั้งเยอรมันในเบลเยียมที่เชื่อว่า เป็นการโจมตีหลักของเยอรมัน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้กระทำผิดพลาดอย่างไม่ไตร่ตรองด้วยการสั่งให้กองทัพเคลื่อนทัพเข้าสู่เบลเยียมในวันที่ 10 พฤษภาคม และ 12 พฤษภาคม เยอรมันได้เริ่มส่วนที่สองของแผนการกรณีสีเหลือง แผนการมันชไตน์ ด้วยการเคลื่อนทัพผ่านบริเวณเทือกเขาป่าอาร์แดน ไปจนถึงช่องแคบอังกฤษและทำการตัดกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเบลเยียม
ด้วยความไม่คาดคิดว่าการรุกรานของเยอรมันในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำเป็นแผนหลอกล่อ กองทัพฝรั่งเศสได้มีความมุ่งมั่นที่จะหยุดยั้งการรุกของเยอรมันในการเข้าสู่ใจกลางของเบลเยียมและฝรั่งเศสบนแนวตำแหน่งการป้องกันสองแห่งที่ฮันนัทและฌ็องบลู กองทัพที่หนึ่งของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองกำลังที่แข็งแกร่งที่สุดในกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร จะทำการป้องกันที่แกน ฌ็องบลู-วาฟวร์ เหล่าทหารม้าของฝรั่งเศส (Corps de Cavalerie) ภายใต้การนำของนายพล René Prioux ได้เดินหน้าเข้าสู่ฮันนันเพื่อตรวสอบการแปรขบวนทัพของส่วนที่เหลือของกองทัพที่หนึ่งที่ฌ็องบลู เพื่อการหยุดยั้งการรุกรานของเยอรมัน
ภายหลังจากยุทธการที่ฮันนัทซึ่งอยู่ห่างประมาณ 35 กิโลเมตร(22 ไมล์)ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฝรั่งเศสได้ถอนกำลังออกจากฌ็องบลูและตำแหน่งป้องกันหลักสำหรับฝรั่งเศสบนแนวรบเบลเยียม เป็นเวลาสองวันแล้วที่ฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้จากการโจมตีโดยกองทัพที่ 6 การโจมตีอย่างน่าประหลาดใจของเยอรมันในการผ่านบริเวณเทือกเขาป่าอาร์แดนและการก้าวข้ามแม่น้ำเมิซที่ซีดาน ได้บีบบังคับให้กองทัพหนึ่งให้ล่าถอยออกจากเกมบลูซ์ จากนั้นก็ย้อนกลับมาที่ชายแดนฝรั่งเศสไปยังลีล ด้วยการล่าถอยที่ไม่เป็นระเบียบการป้องกันของฝ่ายสัมพันธมิตรในภาคกลางจากแนวรบเบลเยียมและกองทัพเยอรมันได้เข้ายึดครองภาคกลางของเบลเยียม ด้วยกลยุทธ์ทางยุทธ์ศาสตร์ในการรบไม่เป็นผล จึงได้หันเหความสนใจไปยังกองทัพที่หนึ่งที่ซีดานซึ่งจะเป็นการช่วยให้เยอรมันนั้นสามารถบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของแผนการกรณีเหลืองได้ แต่กองทัพที่หนึ่งกลับรอดและในช่วงการปิดล้อมที่ลีลได้ทำให้กองทัพเยอรมันนั้นเกิดเบี่ยงเบนความสนใจจากยุทธการที่ดันเคิร์ก ซึ่งจะช่วยให้กองกำลังปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษ (British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.) กองกำลังฝรั่งเศสอีกจำนวนมากมายในการอพยพ.
อ้างอิง
ตัวอย่างการอ้างอิง
- ↑ "The Allied success at Gembloux was nullified by the German victory further south, but Reichenau's failure to destroy or at least defeat the Allied corps de bataille at Gembloux was crucial. It is true that the Allied high command proved unable in the days following to use the corps de bataille to restore the Allied front. But it took the Wehrmacht another two weeks of fighting to encircle and capture part of First Army, allowing the rest and the bulk of the BEF to escape to Dunkirk"[1]Frieser also regards the battle as a French victory at the tactical level.[2]