ระยะเชิงมุม
ในทางคณิตศาสตร์ (หรือกล่าวให้ตรงคือในสาขาเรขาคณิตและตรีโกณมิติ) รวมถึงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติทั้งหมด (รวมถึงดาราศาสตร์, ธรณีฟิสิกส์, ฯลฯ) ระยะเชิงมุม (อังกฤษ: Angular distance) ระหว่างจุดสองจุดซึ่งสังเกตได้จากตำแหน่งที่แตกต่างกัน หมายถึง ขนาดของมุมระหว่างทิศทาง 2 ทิศทางซึ่งเกิดจากผู้สังเกตมุ่งไปยังวัตถุทั้งสองนั้น คำว่า ระยะเชิงมุม จึงมีความหมายจริงในลักษณะของ "มุม" แต่ใช้ในการอธิบายความหมายถึง "ระยะทาง" เชิงเส้นระหว่างวัตถุ (ตัวอย่างเช่น การพิจารณาระยะห่างของดาวฤกษ์ เมื่อสังเกตจากบนโลก)
การวัด
เนื่องจากระยะเชิงมุมมีความหมายจริงในลักษณะของมุม ดังนั้นการตรวจวัดจะได้หน่วยเป็นมุม เช่น องศา หรือ เรเดียน โดยใช้เครื่องมือวัดเช่น goniometer หรือทัศนูปกรณ์อื่นที่ออกแบบมาสำหรับวัดและบันทึกทิศทางโดยตรงและอ่านค่ามุมเปรียบเทียบกัน (เช่น กล้องโทรทรรศน์)
สมการ
ในการคำนวณระยะเชิงมุมในหน่วย พิลิปดา สำหรับระบบดาวคู่ ดาวเคราะห์นอกระบบ วัตถุในระบบสุริยะ และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ เราจะใช้ระยะทางโคจร (กึ่งแกนเอก) ในหน่วยดาราศาสตร์ หารด้วย ระยะห่างดาวฤกษ์ ในหน่วยพาร์เซก สมการดังนี้
ดูเพิ่ม
- Angular mil
- Grad (angle)
- Hour angle
- Central angle