รัฐสมาชิกเนโท

รัฐสมาชิกของเนโท ณ พ.ศ. 2567

รัฐสมาชิกเนโท (อังกฤษ: member states of NATO) คือพันธมิตรทางทหารระหว่างประเทศที่ประกอบไปด้วย 32 รัฐสมาชิกจากยุโรปและอเมริกาเหนือ ก่อตั้งขึ้นจากการลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 มาตรา 5 ของสนธิสัญญาระบุว่าหากเกิดการโจมตีด้วยอาวุธเกิดขึ้นกับรัฐสมาชิกรัฐใดรัฐหนึ่ง จะถือว่าเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งหมด และสมาชิกอื่น ๆ จะต้องส่งกองทัพไปช่วยเหลือสมาชิกที่ถูกโจมตีหากจำเป็น[1] มาตรา 6 ของสนธิสัญญาได้จำกัดขอบเขตของมาตรา 5 ไว้ที่เฉพาะหมู่เกาะทางตอนเหนือของทรอปิกออฟแคนเซอร์ แผ่นดินหลักของอเมริกาเหนือและยุโรป ทั่วทั้งตุรกี และแอลจีเรียของฝรั่งเศส ซึ่งข้อสุดท้ายยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ดังนั้น หากเกิดการโจมตีฮาวาย ปวยร์โตรีโก เฟรนช์เกียนา หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ เซวตา หรือเมลียา รวมถึงสถานที่อื่น ๆ จะไม่เป็นการกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองตามมาตรา 5

จากทั้งหมด 31 ประเทศสมาชิก มี 29 ประเทศอยู่ในยุโรป และ 2 ประเทศอยู่ในอเมริกาเหนือ ระหว่าง พ.ศ. 2537–2540 มีการเปิดกว้างมากขึ้นสำหรับความร่วมมือระดับภูมิภาคระหว่างเนโทกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมไปถึงหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ การหารือเมดิเตอร์เรเนียน และคณะมนตรีหุ้นส่วนยูโร-แอตแลนติก

สมาชิกทุกชาติมีกำลังทางทหาร ยกเว้นไอซ์แลนด์ซึ่งไม่มีกองทัพตามแบบปกติ (แต่มีหน่วยยามฝั่งและหน่วยปฏิบัติการพลเรือนเล็ก ๆ สำหรับปฏิบัติการของเนโท) ในขณะที่มี 3 ชาติสมาชิกของเนโทเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ คือ ฝรั่งเศส สหรัฐ และสหราชอาณาจักร โดยเนโทมีรัฐสมาชิกที่ร่วมกันก่อตั้งดั้งเดิม 12 รัฐ มีรัฐเข้าร่วมเพิ่มเติมอีก 3 รัฐในช่วง พ.ศ. 2495–2498 อีกรัฐเข้าร่วมใน พ.ศ. 2525 หลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น เนโทมีสมาชิกเพิ่มอีก 15 รัฐสมาชิกในช่วง พ.ศ. 2542–2566[2]

ปัจจุบันเนโทแสดงความประสงค์ที่จะรับจอร์เจีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และยูเครน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเปิดกว้างสำหรับการขยายตัว[3]

แผนที่เนโทในยุโรป:
  สมาชิกปัจจุบัน
  ประเทศที่อยู่ในกระบวนการภาคยานุวัติ
  ประเทศที่กำลังสนใจเป็นสมาชิก
  ประเทศที่ไม่ใช่เป้าหมายของสมาชิกภาพ

สมาชิกผู้ก่อตั้งและการขยายตัว

เนโทก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 ผ่านการลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (สนธิสัญญาวอชิงตัน) ประกอบด้วยสมาชิกผู้ก่อตั้งซึ่งอยู่ในฝ่ายสัมพันธมิตร จำนวน 12 รัฐสมาชิก ได้แก่ แคนาดา เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม โปรตุเกส ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก สหรัฐ สหราชอาณาจักร อิตาลี และไอซ์แลนด์ [4]

ฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมดนี้ได้ลงนามในข้อตกลงออตตาวา[5] ซึ่งเป็นเอกสารใน พ.ศ. 2494 กำหนดให้ความคุ้มครองพลเรือนของฝ่ายสัมพันธมิตร[5][6]

สมาชิกปัจจุบันประกอบด้วย 32 ประเทศ นอกจาก 12 ประเทศผู้ก่อตั้งแล้ว ยังมีสมาชิกใหม่อีก 4 รายที่เข้าร่วมในช่วงสงครามเย็น ได้แก่ กรีซและตุรกี (พ.ศ. 2495) เยอรมนีตะวันตก (พ.ศ. 2498) และสเปน (พ.ศ. 2525) ใน พ.ศ. 2533 ดินแดนของอดีตเยอรมนีตะวันออกเพิ่มเข้ามาจากการรวมประเทศเยอรมนี เนโทขยายตัวเพิ่มเติมขึ้นอีกหลังสงครามเย็น ได้แก่ โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และฮังการี (พ.ศ. 2542) บัลแกเรีย โรมาเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย และเอสโตเนีย (พ.ศ. 2547) โครเอเชียและแอลเบเนีย (พ.ศ. 2552) มอนเตเนโกร (พ.ศ. 2560) มาซิโดเนียเหนือ (พ.ศ. 2563) ฟินแลนด์ (พ.ศ. 2566) และสวีเดน (พ.ศ. 2567) จากดินแดนและสมาชิกที่เพิ่มเข้ามาระหว่าง พ.ศ. 2533–2567 ทั้งหมดเคยเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาวอร์ซอ (รวมถึงรัฐบอลติกเดิมของสหภาพโซเวียต) หรือดินแดนของอดีตยูโกสลาเวียยกเว้นฟินแลนด์กับสวีเดน ไม่มีประเทศใดออกจากเนโทนับตั้งแต่ก่อตั้ง

ในปัจจุบัน องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 27,581,382 ตารางกิโลเมตร (10,649,231 ตารางไมล์) นับตั้งแต่การภาคยานุวัติของสวีเดนเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567

ความต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิก

ข้อมูลเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 มีรัฐจำนวน 4 รัฐได้แจ้งเนโทอย่างเป็นทางการถึงความต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับเนโท ได้แก่ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จอร์เจีย สวีเดน และยูเครน[3]

  • สมาชิกเนโทเห็นพ้องกันในการประชุมสุดยอดบูคาเรสต์ พ.ศ. 2551 ว่าจอร์เจียและยูเครน "จะกลายเป็นสมาชิกของเนโทในอนาคต"[7]
  • บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้รับคำเชิญจากเนโทในการเข้าร่วมแผนปฏิบัติการสมาชิกภาพ (Membership Action Plan: MAP) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553[7]
  • ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ฟินแลนด์และสวีเดนได้ยื่นหนังสือสมัครอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกเนโทพร้อมกัน[8][9]
    • ฟินแลนด์เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2566
    • สวีเดนเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567

รายชื่อรัฐสมาชิก

สมาชิกปัจจุบันและวันที่รับเข้าเป็นสมาชิก มีดังนี้

ธง แผนที่ ชื่อ เมืองหลวง วันที่ภาคยานุวัติ[10] ประชากร[a] เนื้อที่[12] งบประมาณการทหาร
ต่อ %จีดีพี 2563[13]
จีดีพี
(ดอลลาร์ 2563)[14]
แอลเบเนีย ติรานา 1 เม.ย. 2552 002,793,385 28,748 ตารางกิโลเมตร
11,100 ตารางไมล์
1.5 15,131,866,271
เบลเยียม บรัสเซลส์ 24 ส.ค. 2492[b] 011,778,842 30,528 ตารางกิโลเมตร
11,787 ตารางไมล์
1.1 521,676,942,135
บัลแกเรีย โซเฟีย 29 มี.ค. 2547 006,919,180 110,879 ตารางกิโลเมตร
42,811 ตารางไมล์
1.8 69,889,347,433
แคนาดา ออตตาวา 24 ส.ค. 2492[b] 038,943,231 9,984,670 ตารางกิโลเมตร
3,855,103 ตารางไมล์
1.4 1,645,423,407,568
โครเอเชีย ซาเกร็บ 1 เม.ย. 2552 003,901,833 56,594 ตารางกิโลเมตร
21,851 ตารางไมล์
1.8 79,163,000,000
เช็กเกีย ปราก 12 มี.ค. 2542 010,702,596 78,867 ตารางกิโลเมตร
30,451 ตารางไมล์
1.4 245,339,322,067
เดนมาร์ก[c] โคเปนเฮเกน 24 ส.ค. 2492[b] 005,958,380 2,210,573 ตารางกิโลเมตร
853,507 ตารางไมล์
[d]
1.4 356,084,867,686
เอสโตเนีย ทาลลินน์ 29 มี.ค. 2547 001,220,042 45,228 ตารางกิโลเมตร
17,463 ตารางไมล์
2.3 30,650,285,472
ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ 4 เม.ย. 2566 005,566,000 338,455 ตารางกิโลเมตร
130,678 ตารางไมล์
1.5 269,751,000,000
ฝรั่งเศส[e] ปารีส 24 ส.ค. 2492[b] 068,084,217 643,427 ตารางกิโลเมตร
248,429 ตารางไมล์
2.1 2,630,317,731,455
เยอรมนี[f] เบอร์ลิน 6 พ.ค. 2498
(เยอรมนีตะวันตก)
3 ต.ค. 2533
(เยอรมนี)
079,903,481 357,022 ตารางกิโลเมตร
137,847 ตารางไมล์
1.4 3,846,413,928,654
กรีซ เอเธนส์ 18 ก.พ. 2495 010,569,703 131,957 ตารางกิโลเมตร
50,949 ตารางไมล์
2.8 188,835,201,626
ฮังการี บูดาเปสต์ 12 มี.ค. 2542 009,728,337 93,028 ตารางกิโลเมตร
35,918 ตารางไมล์
1.6 156,743,134,666
ไอซ์แลนด์ เรคยาวิก 24 ส.ค. 2492[b] 000,354,234 103,000 ตารางกิโลเมตร
39,769 ตารางไมล์
0.0 21,718,075,725
อิตาลี โรม 062,390,364 301,340 ตารางกิโลเมตร
116,348 ตารางไมล์
1.6 1,892,574,064,222
ลัตเวีย รีกา 29 มี.ค. 2547 001,862,687 64,589 ตารางกิโลเมตร
24,938 ตารางไมล์
2.3 33,645,460,617
ลิทัวเนีย วิลนีอัส 002,711,566 65,300 ตารางกิโลเมตร
25,212 ตารางไมล์
2.1 56,546,957,475
ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 24 ส.ค. 2492 000,639,589 2,586 ตารางกิโลเมตร
998 ตารางไมล์
0.8 73,353,132,794
มอนเตเนโกร พอดกอรีตซา 5 มิ.ย. 2560 000,607,414 13,812 ตารางกิโลเมตร
5,333 ตารางไมล์
2.1 4,780,722,122
เนเธอร์แลนด์[g] อัมสเตอร์ดัม 24 ส.ค. 2492[b] 017,337,403 41,543 ตารางกิโลเมตร
16,040 ตารางไมล์
[h]
1.4 913,865,395,790
มาซิโดเนียเหนือ สกอเปีย 27 มี.ค. 2563 002,128,262[i] 25,713 ตารางกิโลเมตร
9,928 ตารางไมล์
1.3 12,116,981,815
นอร์เวย์[j] ออสโล 24 ส.ค. 2492[b] 005,509,591 323,802 ตารางกิโลเมตร
125,021 ตารางไมล์
1.9 362,198,318,435
โปแลนด์ วอร์ซอ 12 มี.ค. 2542 038,185,913 312,685 ตารางกิโลเมตร
120,728 ตารางไมล์
2.2 596,624,355,720
โปรตุเกส ลิสบอน 24 ส.ค. 2492[b] 010,263,850 92,090 ตารางกิโลเมตร
35,556 ตารางไมล์
2.1 228,539,245,045
โรมาเนีย บูคาเรสต์ 29 มี.ค. 2547 021,230,362 238,391 ตารางกิโลเมตร
92,043 ตารางไมล์
2.3 249,511,333,648
สโลวาเกีย บราติสลาวา 005,436,066 49,035 ตารางกิโลเมตร
18,933 ตารางไมล์
1.8 105,172,564,492
สโลวีเนีย ลูบลิยานา 002,102,106 20,273 ตารางกิโลเมตร
7,827 ตารางไมล์
1.1 53,589,609,581
สเปน[k] มาดริด 30 พ.ค. 2525 047,260,584 505,370 ตารางกิโลเมตร
195,124 ตารางไมล์
1.4 1,281,484,640,044
สวีเดน สต็อกโฮล์ม 7 มี.ค. 2567 010,540,886 450,295 ตารางกิโลเมตร
173,860 ตารางไมล์
1.3 547,050,000,000
ตุรกี อังการา 18 ก.พ. 2495 082,482,383 783,562 ตารางกิโลเมตร
302,535 ตารางไมล์
2.8 719,954,821,683
สหราชอาณาจักร[l] ลอนดอน 24 ส.ค. 2492[b] 067,081,000 243,610 ตารางกิโลเมตร
94,058 ตารางไมล์
2.2 2,756,900,214,107
สหรัฐ[m] วอชิงตัน ดี.ซี. 334,998,398 9,833,520 ตารางกิโลเมตร
3,796,743 ตารางไมล์
3.7 20,893,743,833,000

การเตรียมการพิเศษ

กลุ่มประเทศนอร์ดิกสามประเทศซึ่งเข้าร่วมกับเนโทในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ เลือกที่จะจำกัดการมีส่วนร่วมในพื้นที่ของเนโทสามพื้นที่ กล่าวคือ จะไม่มีการตั้งฐานทัพถาวรในยามสงบ ไม่มีหัวรบนิวเคลียร์ และไม่มีกิจกรรมทางการทหารของฝ่ายสัมพันธมิตร (ยกเว้นได้รับเชิญ) ในดินแดนของตน อย่างไรก็ตาม เดนมาร์กอนุญาตให้สหรัฐรักษาฐานที่มีอยู่เดิม คือ ฐานทัพอากาศทูลี (ปัจจุบันคือฐานทัพอวกาศปิตุฟฟีก) ในกรีนแลนด์[16]

ตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ฝรั่งเศสได้ดำเนินยุทธศาสตร์ทางการทหารเป็นอิสระจากเนโท ภายใต้นโยบายที่เรียกว่า "ลัทธิเดอ โกล–มีแตร็อง" (Gaullo-Mitterrandism)[17] และฝรั่งเศสยังคงเป็นสมาชิกเนโทเพียงชาติเดียวที่อยู่นอกกลุ่มวางแผนนิวเคลียร์ของเนโท (NATO Nuclear Planning Group) และต่างจากสหรัฐและสหราชอาณาจักรตรงที่จะไม่ส่งมอบเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้แก่พันธมิตร[18][19]

บุคลากรทางทหาร

การเปรียบเทียบกำลังพล ต่อ 1,000 คน
50
100
150
200
250
300
ประเทศ (ดูคำอธิบาย)
  •   เอสโตเนีย
  •   ฟินแลนด์
  •   กรีซ
  •   โปรตุเกส
  •   มอนเตเนโกร
  •   ลิทัวเนีย
  •   นอร์เวย์
  •   ตุรกี
  •   ลัตเวีย
  •   เดนมาร์ก
  •   โครเอเชีย
  •   มาซิโดเนียเหนือ
  •   โรมาเนีย
  •   ฮังการี
  •   สหรัฐ
  •   บัลแกเรีย
  •   อิตาลี
  •   ฝรั่งเศส
  •   โปแลนด์
  •   สเปน
  •   สโลวีเนีย
  •   สหราชอาณาจักร
  •   สโลวาเกีย
  •   แคนาดา
  •   เยอรมนี
  •   เนเธอร์แลนด์
  •   แอลเบเนีย
  •   เบลเยียม
  •   เช็กเกีย
  •   ลักเซมเบิร์ก
  •   ไอซ์แลนด์

รายการต่อไปนี้ จัดทำจากรายงานของ The Military Balance ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เป็นประจำทุกปีโดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาเชิงกลยุทธ์ (International Institute for Strategic Studies)

จำนวนบุคลากรทางทหาร
ประเทศ[20] ประจำการ กำลังสำรอง กำลังกึ่งทหาร รวม ต่อ 1,000 คน
รวม ประจำการ
แอลเบเนีย แอลเบเนีย 10,500 0 500 11,000 3.6 3.4
เบลเยียม เบลเยียม 29,400 5,900 0 35,300 3 2.5
บัลแกเรีย บัลแกเรีย 42,663 3,000 0 45,663 6.6 6.2
แคนาดา แคนาดา 70,500 35,600 5,500 111,600 2.9 1.9
โครเอเชีย โครเอเชีย 16,700 21,000 3,000 40,700 9.7 4
เช็กเกีย เช็กเกีย 27,400 4,200 0 31,600 3 2.6
เดนมาร์ก เดนมาร์ก 20,440 45,800 0 66,240 11.2 3.5
เอสโตเนีย เอสโตเนีย 7,600 230,000 15,800 253,400 207.7 6.2
ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 24,250 900,000 14,321 938,571 168.7 4.4
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 208,750 141,050 175,050 524,850 7.7 3.1
เยอรมนี เยอรมนี 184,100 50,050 0 234,150 2.9 2.3
กรีซ กรีซ 143,300 221,350 4,000 368,650 34.8 13.5
ฮังการี ฮังการี 41,600 20,000 12,000 73,600 7.6 4.3
ไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 250 250 250 750 2.1 0.7
อิตาลี อิตาลี[n] 175,100 18,300 182,350 375,750 6 2.8
ลัตเวีย ลัตเวีย 16,700 36,000 0 52,700 28.3 9
ลิทัวเนีย ลิทัวเนีย 23,000 90,000 14,150 127,150 46.9 8.5
ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 940 0 600 1,540 2.4 1.5
มอนเตเนโกร มอนเตเนโกร 2,350 2,800 10,100 15,250 25.1 3.9
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 41,543 6,643 6,500 54,686 3.2 2.4
มาซิโดเนียเหนือ มาซิโดเนียเหนือ 8,000 26,850 7,600 42,450 19.9 3.8
นอร์เวย์ นอร์เวย์ 25,400 40,000 0 65,400 11.9 4.6
โปแลนด์ โปแลนด์ 164,500 200,000 75,400 439,900 11.5 4.3
โปรตุเกส โปรตุเกส 33,200 211,700 24,700 269,600 26.3 3.2
โรมาเนีย โรมาเนีย 72,000 55,000 79,900 206,900 9.7 3.4
สโลวาเกีย สโลวาเกีย 19,500 0 0 19,500 3.6 3.6
สโลวีเนีย สโลวีเนีย 7,500 26,200 5,950 39,650 18.9 3.6
สเปน สเปน 133,282 15,450 75,800 224,532 4.8 2.8
สวีเดน สวีเดน 24,400 32,900 0 57,300 5.4 2.3
ตุรกี ตุรกี 640,811 378,700 156,800 1,176,311 14.3 7.8
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 196,453 78,600 0 275,053 4.2 3
สหรัฐอเมริกา สหรัฐ 1,456,870 870,760 0 2,327,630 6.9 4.3
เนโท NATO 3,869,402 3,768,103 870,271 8,507,776 1,000 454.8

ค่าใช้จ่ายทางการทหาร

ค่าใช้จ่ายทางหทารของสหรัฐ เปรียบเทียบกับ 29 ประเทศสมาชิกเนโทอื่น ๆ (ทั้งหมดยกเว้นฟินแลนด์) (ล้านเหรียญสหรัฐ)[o]

  สหรัฐ (70.46%)
  รวมประเทศเนโทอื่น ๆ ทั้งหมด[p] (29.53%)

การใช้จ่ายทางทหารทั้งหมดของประเทศสมาชิกเนโท ยกเว้นสหรัฐและฟินแลนด์ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[o][q]

  กรีซ (1.58%)
  เอสโตเนีย (0.21%)
  โปรตุเกส (1.09%)
  มอนเตเนโกร (0.03%)
  ลิทัวเนีย (0.35%)
  นอร์เวย์ (2.34%)
  ตุรกี (4.54%)
  ลัตเวีย (0.23%)
  เดนมาร์ก (1.55%)
  โครเอเชีย (0.35%)
  มาซิโดเนียเหนือ (0.035%)
  โรมาเนีย (1.64%)
  ฮังการี (0.67%)
  บัลแกเรีย (0.35%)
  อิตาลี (7.99%)
  ฝรั่งเศส (16.55%)
  โปแลนด์ (3.91%)
  สเปน (4.29%)
  สโลวีเนีย (0.18%)
  สหราชอาณาจักร (19.72%)
  สโลวาเกีย (0.62%)
  แคนาดา (7.15%)
  เยอรมนี (17.68%)
  เนเธอร์แลนด์ (4.05%)
  อื่น ๆ (2.895%)

ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมของสหรัฐนั้นมากกว่าสองเท่าของค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมของสมาชิกเนโทอื่น ๆ ทั้งหมดรวมกัน จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐสมาชิกหลายรัฐไม่ได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันตามข้อตกลงระหว่างประเทศของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกันทั้งในฝั่งอเมริกันและฝั่งยุโรปทั้งในรูปแบบของความขบขันไปจนถึงการตื่นตระหนก[21][22][23]

งบประมาณทางทหารทั้งหมดของประเทศในเนโทยุโรป (ไม่รวมตุรกี) คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของงบประมาณทางทหารของสหรัฐ โดยรวมงบประมาณทางทหารของจีนและรัสเซียเอาไว้ด้วยเพื่อเปรียบเทียบ[24]
รัฐสมาชิก ประชากร[a] จีดีพี
(ตัวเงิน)
(พันล้านดอลลาร์)[r]
ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหม (ดอลลาร์)[s] บุคลากร[s]
ทั้งหมด
(ล้านดอลลาร์)
% จีดีพีที่แท้จริง ต่อหัว ต่อ 1,000 คน
(ล้านดอลลาร์)
 แอลเบเนีย 3,074,579 20.18 198 1.26 58 29 6,800
 เบลเยียม 11,720,716 624.25 4,921 0.93 392 189 26,000
 บัลแกเรีย 6,966,899 100.64 1,079 1.61 132 43 25,000
 แคนาดา 38,436,447 2,089.67 21,885 1.27 569 304 72,000
 โครเอเชีย 4,227,746 78.89 1,072 1.75 238 71 15,000
 เช็กเกีย 10,702,498 330.48 2,969 1.19 236 114 26,000
 เดนมาร์ก 5,869,410 405.63 4,760 1.35 760 280 17,000
 เอสโตเนีย 1,228,624 41.55 669 2.13 429 106 6,300
 ฟินแลนด์ 5,566,000 301.67 4,046
 ฝรั่งเศส 67,413,000 2,923.93 50,659 1.84 709 244 208,000
 เยอรมนี 84,543,512 4,308.85 54,113 1.36 591 294 184,000
 กรีซ 10,718,565 239.30 4,844 2.24 431 46 105,000
 ฮังการี 9,771,827 188.51 2,080 1.21 178 104 20,000
 ไอซ์แลนด์ 354,234 28.63
 อิตาลี 60,317,116 2,169.75 24,482 1.22 385 137 179,000
 ลัตเวีย 1,881,232 47.40 724 2.01 325 113 6,400
 ลิทัวเนีย 2,731,464 78.35 1,084 2.13 336 53 21,000
 ลักเซมเบิร์ก 628,381 86.97 391 0.55 552 434 900
 มอนเตเนโกร 609,859 7.03 92 1.65 126 58 1,600
 เนเธอร์แลนด์ 17,674,000 1,080.88 12,419 1.35 655 303 41,000
 มาซิโดเนียเหนือ 2,125,971 15.28 108 1.09 51 15 7,200
 นอร์เวย์ 5,467,439 554.10 7,179 1.70 1,308 359 20,000
 โปแลนด์ 38,282,325 748.89 11,971 2.01 296 97 123,000
 โปรตุเกส 10,344,802 267.72 3,358 1.41 299 112 30,000
 โรมาเนีย 21,302,893 348.90 5,043 2.04 225 73 69,000
 สโลวาเกีย 5,440,602 127.53 1,905 1.74 322 147 13,000
 สโลวีเนีย 2,102,678 68.11 581 1.04 253 85 6,800
 สเปน 47,450,795 1,492.43 13,156 0.92 264 109 121,000
 สวีเดน 10,536,338
 ตุรกี 83,614,362 1,029.30 13,919 1.89 225 32 435,000
 สหราชอาณาจักร 68,897,294 3,158.94 60,376 2.13 979 419 144,000
 สหรัฐอเมริกา 334,233,854 26,854.60 730,149 3.42 2,072 546 1,338,000
 เนโท 958,935,122 49,818.36 1,036,186 2.51 1,045 317 3,268,000

การสนับสนุนทางการเมืองและความนิยม

จากการสำรวจของสำนักวิจัยพิวเมื่อ พ.ศ. 2559 ในกลุ่มประเทศสมาชิกพบว่า แม้ว่าประเทศส่วนใหญ่มองเนโทในแง่บวก แต่สมาชิกเนโทส่วนใหญ่กับเลือกที่จะใช้จ่ายในด้านการทหารเท่าเดิม ความคิดเห็นที่ว่าประเทศของตนควรตอบสนองทางด้านการทหารแก่ประเทศสมาชิกเนโทอื่นหรือไม่หากเกิดความขัดแย้งทางการทหารร้ายแรงกับรัสเซียก็มีหลากหลายเช่นกัน ครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่านั้นใน 6 จาก 8 ประเทศที่สำรวจกล่าวว่าประเทศของตนควรใช้กำลังทหารหากรัสเซียโจมตีประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นพันธมิตรกับเนโท และอย่างน้อยครึ่งหนึ่งใน 3 จาก 8 ประเทศของเนโทกล่าวว่า รัฐบาลของตนไม่ควรใช้กำลังทหารในสถานการณ์ดังกล่าว

คำตอบที่ต้องการให้ตอบโต้ทางการทหารที่รุนแรงมาจากเยอรมนี (58%) ตามมาด้วยฝรั่งเศส (53%) และอิตาลี (51%) ในขณะที่ชาวอเมริกันมากกว่าครึ่ง (56%) และชาวแคนาดา (53%) เต็มใจที่จะร่วมตอบสนองด้วยกำลังทางหทารหากรัสเซียรุกรานประเทศสมาชิกเนโท ความเห็นจากชาวอังกฤษ (49%) และชาวโปแลนด์ (48%) ส่วนใหญ่เลือกที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับในมาตรา 5 ที่มีผลผูกพันกันไว้ และความเห็นของชาวสเปนมีความเห็นที่แตกต่างกันในอัตราส่วน 48% สนับสนุน และ 47% คัดค้าน[27][28]

หมายเหตุ

  1. 1.0 1.1 ข้อมูลประชากรอิงจากการประมาณการเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 โดย สำนักข่าวกรองกลาง ใน เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก[11]
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 สมาชิกผู้ก่อตั้งเนโท
  3. เดนมาร์กประกอบไปด้วยแผ่นดินหลักเดนมาร์ก กรีนแลนด์ และหมู่เกาะแฟโร
  4. รวมถึงหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์
  5. ไม่รวมดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศสทั้งหมด ยกเว้นแซ็งปีแยร์และมีเกอลง
  6. เยอรมนีเข้าร่วมกับเนโทในชื่อเยอรมนีตะวันตก ซึ่งดินแดนส่วนของเยอรมนีตะวันออกรวมเป็นส่วนหนึ่งกับเนโทหลังการรวมประเทศเยอรมนี
  7. เฉพาะราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ส่วนยุโรปเท่านั้นที่เป็นส่วนหนึ่งของเนโท
  8. ตัวเลขนี้รวมซาบา ซินต์เอิสตาซียึส และโบแนเรอไว้ด้วย แต่ดินแดนเหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้สนธิสัญญาเนโท
  9. การประมาณการประชากรของมาซิโดเนียเหนือขาดหายไปจากรายการเปรียบเทียบประเทศของสำนักข่าวกรองกลางใน เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก แต่มีปรากฎในรายการของประเทศ[15]
  10. รวมถึงยานไมเอนและสฟาลบาร์ แต่ไม่รวมเกาะบูเว
  11. ไม่รวมเซวตาและเมลียา
  12. รวมถึงยิบรอลตาร์และเบอร์มิวดา ในขณะที่ดินแดนภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักรและดินแดนโพ้นทะเลไม่รวมอยู่ด้วย
  13. รวมเฉพาะสหรัฐที่อยู่ติดกัน อะแลสกา และวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ฮาวายและดินแดนของสหรัฐไม่อยู่ภายใต้สนธิสัญญาเนโท
  14. กองกำลังกึ่งทหารของอิตาลีประกอบไปด้วยกองทัพสารวัตรทหารอิตาลี (Carabinieri) และกองสารวัตรทหารด้านการเงิน (Guardia di Finanza)
  15. 15.0 15.1 ลำดับประเทศจะเหมือนกับแผนภูมิก่อนหน้า (บุคลากรทหารต่อ 1,000 คน) เพื่อให้สีของแต่ละประเทศตรงกันในแผนภูมิต่าง ๆ
  16. ยกเว้นประเทศฟินแลนด์
  17. รูปแบบแผนภูมิวงกลมไม่อนุญาตให้มีการแบ่งส่วนมากเท่ากับประเทศต่าง ๆ ในเนโท ดังนั้นประเทศที่มีกำลังทหารต่อหัวน้อยที่สุด (เช็กเกีย เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก แอลเบเนีย และไอซ์แลนด์) จึงถูกรวมเข้าเป็นชิ้นเดียว
  18. ข้อมูล (ตัวเงิน) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ในหน่วยพันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อ้างอิงตาม World Economic Outlook ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ซึ่งตีพิมพ์โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ[25]
  19. 19.0 19.1 ข้อมูลรายจ่ายด้านกลาโหมและกำลังพลอ้างอิงจากข่าวประชาสัมพันธ์เดือนมิถุนายน 2019 จากเนโท[26]

อ้างอิง

การอ้างอิง
  1. "The North Atlantic Treaty". North Atlantic Treaty Organization. 1949-04-04. สืบค้นเมื่อ 2008-06-16.
  2. Center, Notre Dame International Security (2023-03-23). "The Addition of NATO Members Over Time (1949-2023)". ND International Security Center (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-11.
  3. 3.0 3.1 "Enlargement and Article 10". NATO. June 10, 2022. สืบค้นเมื่อ July 1, 2022. Currently, five partner countries have declared their aspirations to NATO membership: Bosnia and Herzegovina, Finland, Georgia, Sweden and Ukraine.
  4. NATO. "Member countries". NATO (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
  5. 5.0 5.1 Mosquera, Andrés B. Muñoz (2019). "The North Atlantic Treaty: Article 9 and NATO's Institutionalization". Volume 34. Emory International Law Review. Really, the Agreement on the Status of the North Atlantic Treaty Organisation, National Representatives and International Staff signed in Ottawa
  6. "03. Agreement on the Status of the North Atlantic Treaty Organisation, National Representatives and International Staff, done at Ottawa September 20, 1951". US Department of State.
  7. 7.0 7.1 NATO. "Enlargement and Article 10". NATO (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
  8. NATO. "Relations with Finland". NATO (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
  9. NATO. "Relations with Sweden". NATO (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
  10. "Member countries". NATO. 4 October 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2022. สืบค้นเมื่อ 6 November 2022.
  11. "Country Comparisons — Population". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 1 January 2022.
  12. "Field Listing :: Area". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2014. สืบค้นเมื่อ 3 March 2011.
  13. "Military expenditure by country as percentage of gross domestic product, 1949-2020" (XLSX). Stockholm International Peace Research Institute. 26 April 2021. สืบค้นเมื่อ 6 May 2021.
  14. "DataBank: World Development Indicators". World Bank. สืบค้นเมื่อ 14 December 2022.
  15. "North Macedonia — People and Society". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 1 January 2022.
  16. "Denmark and NATO - 1949".
  17. "Why the concept of Gaullo-Mitterrandism is still relevant". IRIS. 29 April 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2022.
  18. Cody, Edward (12 March 2009). "After 43 Years, France to Rejoin NATO as Full Member". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2011.
  19. Stratton, Allegra (17 June 2008). "Sarkozy military plan unveiled". The Guardian. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016. สืบค้นเมื่อ 17 December 2016.
  20. The International Institute for Strategic Studies (February 2022). The Military Balance 2022. London: Routledge. ISBN 978-1-032-27900-8. ISSN 0459-7222.
  21. NATO allies boost defense spending in the wake of Trump criticism, The Washington Post
  22. Former US ambassador to Nato in withering criticism of Donald Trump, The Independent
  23. Shaken by Trump's Criticism of NATO, Europe Mulls Building Own Military Force, Voice Of America
  24. "SIPRI Military Expenditure Database". SIPRI The independent resource on global security. STOCKHOLM INTERNATIONAL PEACE RESEARCH INSTITUTE.
  25. "GDP, current prices". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 11 July 2023.
  26. "Defence Expenditure of NATO Countries (2012-2019)" (PDF). NATO. 25 June 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  27. Support for NATO is widespread among member nations, Pew Research
  28. U.S. would defend NATO despite Trump's criticism, Europeans believe: study, Reuters
บรรณานุกรม
  • International Institute for Strategic Studies (14 February 2018). The Military Balance 2018. London: Routledge. ISBN 9781857439557.