รายชื่อนครในประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากร

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก จากข้อมูลของกลุ่มวิจัยด้านประชากรศาสตร์ (Demographia) ในปี 2017 พบว่ามีนครของจีน 102 แห่ง ที่มีประชากรใน "เขตเมือง" มากกว่า 1 ล้านคน[1]

คำจำกัดความและการจำแนกประเภท

เขตการปกครองของประเทศจีนมีนครอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ นครปกครองโดยตรง (直辖市), นครระดับจังหวัด (地级市), และนครระดับอำเภอ (县级市) โดยที่เขตบริหารพิเศษ (特别行政区) ทั้ง 2 แห่ง ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง และมาเก๊า รวมถึงสาธารณรัฐจีน (หรือไต้หวัน) จะไม่รวมอยู่ในการจำแนกประเภทนี้

แต่ละนครปกครองโดยตรงและนครระดับจังหวัดนั้น ไม่ได้เป็น "นคร" ตามความหมายที่แท้จริงของมัน แต่เป็นหน่วยการปกครองที่ประกอบไปด้วย ศูนย์กลางเขตเมือง (นครในความหมายที่แท้จริง) และพื้นที่ชนบทโดยรอบหรือพื้นที่ที่ความเป็นเมืองน้อย ซึ่งโดยปกติจะมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าใจกลางเมืองหลายเท่า[2]

นครระดับจังหวัดมักจะแบ่งออกเป็น อำเภอ (), นครระดับอำเภอ, และเขตการปกครองประเภทอื่น ๆ การที่จะแยกนครระดับจังหวัดกับพื้นที่เขตเมืองจริง ๆ (นครในความหมายที่แท้จริง) จะมีการใช้คำว่า "ชื่อชวี" (市区; shì qū; urban area; เขตเมือง) อย่างไรก็ตาม คำว่า "ชื่อชวี" นี้มักจะครอบคลุมพื้นที่ชานเมืองด้วย ซึ่งอาจมีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 3,000 ตารางกิโลเมตร หรือบางครั้งก็ครอบคลุมเพียงแค่ศูนย์กลางเขตเมืองในขณะที่ชุมชนเมืองจริง ๆ ได้ขยายขนาดจนเกินเขตของเมืองแล้ว ดังนั้นคำว่า "ศูนย์กลางเขตเมือง" ในความหมายของจีนจึงเทียบเท่ากับ "เขตของเมือง" (city limit) ในความหมายของอเมริกา ส่วนคำว่า "ชื่อชวี" หรือ "เขตเมือง" (urban area) ในความหมายของจีน ก็อาจเทียบเท่ากับคำว่า "เขตมหานคร" (metropolitan area) ในความหมายของอเมริกา ส่วนคำว่านครปกครองโดยตรงในความหมายของจีน เป็นการกำหนดขึ้นทางการเมืองที่กำหนดให้พื้นที่นั้น ๆ อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ซึ่งไม่มีคำที่มีความหมายเทียบเท่า[ต้องการอ้างอิง]

รายชื่อนครเรียงตามจำนวนประชากร 50 อันดับแรก

เซี่ยงไฮ้
ปักกิ่ง
ฉงชิ่ง
เทียนจิน
กว่างโจว
เชินเจิ้น
เฉิงตู
หนานจิง
อู่ฮั่น
ซีอาน
สัญลักษณ์:

เมืองหลวง

# นครศูนย์กลางแห่งชาติ

* เมืองหลวงของมณฑล

~ เมืองเปิดชายฝั่ง

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

นครปกครองโดยตรง
นครที่มีสถานะการวางแผนอิสระ
นครระดับกิ่งมณฑล
นครระดับจังหวัด
นครใหญ่สุด 50 อันดับแรกในจีนแผ่นดินใหญ่
เรียงตามจำนวนประชากรในเขตเมือง
อันดับ นคร มณฑล ประมาณการล่าสุด[3] สำมะโนปี 2010[4]
1 เซี่ยงไฮ้#~ 26,917,322 20,217,748
2 ปักกิ่ง# 20,381,745 16,704,306
3 ฉงชิ่ง# 15,773,658 6,263,790
4 เทียนจิน#~ 13,552,359 9,583,277
5 กว่างโจว#*~ กวางตุ้ง 13,238,590 10,641,408
6 เชินเจิ้น กวางตุ้ง 12,313,714 10,358,381
7 เฉิงตู#* เสฉวน 9,104,865 7,791,692
8 หนานจิง* เจียงซู 8,789,855 5,827,888
9 อู่ฮั่น#* หูเป่ย์ 8,346,205 7,541,527
10 ซีอาน#* ฉ่านซี 7,948,032 5,403,052
11 หางโจว* เจ้อเจียง 7,603,271 5,849,537
12 ตงกว่าน กวางตุ้ง 7,402,305 7,271,322
13 ฝัวชาน กวางตุ้ง 7,313,711 6,771,895
14 เฉิ่นหยาง* เหลียวหนิง 7,191,333 5,718,232
15 ฮาร์บิน* เฮย์หลงเจียง 6,360,991 4,596,313
16 ชิงเต่า~ ชานตง 5,597,028 4,556,077
17 ต้าเหลียน~ เหลียวหนิง 5,587,814 3,902,467
18 จี่หนาน* ชานตง 5,330,573 3,641,562
19 เจิ้งโจว#* เหอหนาน 5,286,549 3,677,032
20 ฉางชา* หูหนาน 4,555,788 3,193,354
21 คุนหมิง* ยูนนาน 4,422,686 3,385,363
22 ฉางชุน* จิ๋หลิน 4,408,154 3,411,209
23 อุรุมชี* ซินเจียง 4,335,017 2,853,398
24 ซัวเถา กวางตุ้ง 4,312,192 3,644,017
25 เหอเฝย์* อานฮุย 4,216,940 3,098,727
26 ฉือเจียจวง* เหอเป่ย์ 4,098,243 3,095,219
27 หนิงปัว~ เจ้อเจียง 4,087,523 2,583,073
28 ไท่หยวน* ชานซี 3,875,053 3,154,157
29 หนานหนิง* กวางซี 3,837,978 2,660,833
30 เซี่ยเหมิน ฝูเจี้ยน 3,707,090 3,119,110
31 ฝูโจว*~ ฝูเจี้ยน 3,671,192 3,102,421
32 เวินโจว~ เจ้อเจียง 3,604,446 2,686,825
33 ฉางโจว เจียงซู 3,601,079 2,257,376
34 หนานชาง* เจียงซี 3,576,547 2,614,380
35 ถังชาน เหอเป่ย์ 3,399,231 2,128,191
36 กุ้ยหยาง* กุ้ยโจว 3,299,724 2,520,061
37 อู๋ซี เจียงซู 3,245,179 2,757,736
38 หลานโจว* กานซู่ 3,067,141 2,438,595
39 จงชาน กวางตุ้ง 2,909,633 2,740,994
40 หานตาน เหอเป่ย์ 2,708,015 1,830,000
41 เหวย์ฟาง ชานตง 2,636,154 2,044,028
42 หฺวายอาน เจียงซู 2,632,788 2,494,013
43 จือปั๋ว ชานตง 2,631,647 2,261,717
44 เช่าซิง เจ้อเจียง 2,521,964 1,725,726
45 ยานไถ~ ชานตง 2,511,053 1,797,861
46 ฮุ่ยโจว กวางตุ้ง 2,509,243 1,807,858
47 ลั่วหยาง เหอหนาน 2,372,571 1,584,463
48 หนานทง~ เจียงซู 2,261,382 1,612,385
49 เปาโถว มองโกเลียใน 2,181,077 1,900,373
50 หลิ่วโจว กว่างซี 2,153,419 1,624,571

หมายเหตุ: ในแหล่งข้อมูลไม่มีนครซูโจวในรายชื่อนี้ ซึ่งมีประชากร 4,242,500 คน[5] ซูโจวเป็นนครใหญ่อันดับสองในมณฑลเจียงซู เป็นรองเพียงหนานจิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑล ถ้ารวมซูโจวในรายชื่อ ซูโจวจะอยู่ในอันดับที่ 25 โดยอยู่ก่อนเหอเฝย์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลอานฮุย

ที่ตั้งของนครที่มีประชากรมากสุด 50 อันดับแรกในจีนแผ่นดินใหญ่

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "More than 100 Chinese cities now above 1 million people". Guardian. March 20, 2017.
  2. Zhang, L.; Zhao, Simon X. B. (June 1998). "Re-examining China's "Urban" Concept and the Level of Urbanization". The China Quarterly (ภาษาอังกฤษ). 154: 330–381. doi:10.1017/S030574100000206X.
  3. "China Population (2020)". PopulationStat. สืบค้นเมื่อ 2020-02-28.
  4. "China: Provinces and Major Cities - Population Statistics, Maps, Charts, Weather and Web Information". www.citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 2019-06-18.
  5. 苏州

แหล่งข้อมูลอื่น