ราอุล วัลเลนแบร์ย
ราอุล วัลเลนแบร์ย | |
---|---|
![]() ภาพวัลเลนแบร์ยในหนังสือเดินทาง เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 | |
เกิด | ราอุล กุสตาฟ วัลเลนแบร์ย 4 สิงหาคม ค.ศ. 1912 เทศบาลลีดินเยอ, สวีเดน |
สาบสูญ | 17 มกราคม ค.ศ. 1945 บูดาเปสต์, ฮังการี |
เสียชีวิต | คาดว่า 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 (34 ปี)[1][2] มอสโก, สหภาพโซเวียต |
สัญชาติ | สวีเดน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยมิชิแกน |
อาชีพ | นักธุรกิจ, นักการทูต |
มีชื่อเสียงจาก | การช่วยเหลือชาวยิวฮังการีจากฮอโลคอสต์ |
บิดามารดา | ราอุล ออสการ์ วัลเลนแบร์ย มารีอา โซฟียา "มาจ" วีซิง |
ญาติ | กาย ฟอน ดาร์เดล (น้องชายต่างพ่อ) นีนา ลาเกอร์เกรน (น้องสาวต่างพ่อ) เฟรดริก อีลิอัส ออกุส ฟอน ดาร์เดล (พ่อเลี้ยง) นีลส์ ดาร์เดล (อา; ครอบครัวผสม) |
ครอบครัว | ฟอน ดาร์เดล (ครอบครัวผสม) ตระกูลวัลเลนแบร์ย (ฝ่ายพ่อโดยกำเนิด) |
รางวัล | รายการ |
ราอุล กุสตาฟ วัลเลนแบร์ย (สวีเดน: Raoul Gustaf Wallenberg; 4 สิงหาคม ค.ศ. 1912 – สาบสูญ 17 มกราคม ค.ศ. 1945)[1][2] เป็นสถาปนิก นักธุรกิจ นักการทูตและนักมนุษยธรรมชาวสวีเดน เขาช่วยเหลือชาวยิวนับพันคนจากฮอโลคอสต์โดยนาซีเยอรมันและฟาสซิสต์ฮังการีในฮังการีที่ถูกเยอรมนียึดครองช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง วัลเลนแบร์ยซึ่งเป็นผู้แทนพิเศษของสวีเดนประจำบูดาเปสต์ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม ค.ศ. 1944 ได้ออกหนังสือเดินทางและให้ที่พักพิงแก่ชาวยิวในอาคารที่กำหนดเป็นดินแดนสวีเดน[3]
วัลเลนแบร์ยหายสาบสูญหลังถูกสเมิร์ชคุมตัวด้วยข้อหาจารกรรม ระหว่างกองทัพแดงล้อมบูดาเปสต์เมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1945[4] ภายหลังมีรายงานว่าเขาเสียชีวิตในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 ขณะจองจำอยู่ที่อาคารลุปยันกาซึ่งเป็นกองบัญชาการเคจีบีในมอสโก แรงจูงใจในการจับกุมและคุมขังวัลเลนแบร์ย รวมถึงการเสียชีวิตและสายสัมพันธ์ของเขากับสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ของสหรัฐยังคงเป็นปริศนาและมีการคาดการณ์อย่างต่อเนื่อง[5]
หลายทศวรรษหลังสันนิษฐานว่าเสียชีวิต วัลเลนแบร์ยได้รับรางวัลจากความสำเร็จในการช่วยชีวิตชาวยิว ในปี ค.ศ. 1981 ทอม แลนโทส สมาชิกรัฐสภาสหรัฐผู้เป็นหนึ่งในชาวยิวที่วัลเลนแบร์ยช่วยเหลือสนับสนุนให้วัลเลนแบร์ยได้รับสภาพพลเมืองกิตติมศักดิ์ของสหรัฐ ส่งผลให้เขากลายเป็นบุคคลที่สองที่ได้รับเกียรตินี้ วัลเลนแบร์ยยังได้รับสภาพพลเมืองกิตติมศักดิ์ของแคนาดา ฮังการี ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและอิสราเอล[6] นอกจากนี้อิสราเอลยังมอบรางวัล Righteous Among the Nations เพื่อยกย่องวัลเลนแบร์ยที่เสี่ยงชีวิตช่วยเหลือชาวยิวจากฮอโลคอสต์ ในปี ค.ศ. 1981 มีการตั้งคณะกรรมการราอุล วัลเลนแบร์ยแห่งสหรัฐเพื่อ "ธำรงอุดมคติทางมนุษยธรรมนิยมและความหาญกล้าโดยไม่ใช้ความรุนแรงของราอุล วัลเลนแบร์ย"[7] ซึ่งคณะกรรมการนี้จะมอบรางวัลราอุล วัลเลนแบร์ยทุกปี ต่อมาในปี ค.ศ. 2012 วัลเลนแบร์ยได้รับเหรียญทองรัฐสภาจากรัฐสภาสหรัฐเพื่อ "รับรองความสำเร็จและการกระทำอันกล้าหาญของเขาระหว่างฮอโลคอสต์"[8]
แม้จะมีการอ้างว่าวัลเลนแบร์ยช่วยชีวิตชาวยิวมากถึง 100,000 คน แต่นักประวัติศาสตร์เห็นว่าเป็นการกล่าวเกินจริง[9][10] และตัวเลขแท้จริงมีจำนวนน้อยกว่านั้น ปัจจุบันมีอนุสรณ์และชื่อถนนที่ระลึกถึงวัลเลนแบร์ยหลายแห่งทั่วโลก
อ้างอิง

- ↑ 1.0 1.1 สันนิษฐานว่าวัลเลนแบร์ยเสียชีวิตในค.ศ. 1947 แม้ว่าการเสียชีวิตของเขาจะยังไม่ชัดเจนและวันที่ที่ระบุจะยังเป็นที่ถกเถียง บางแหล่งรายงานว่าวัลเลนแบร์ยมีชีวิตอยู่ต่อมาหลายปีหลังจากนั้น ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 สำนักงานสรรพากรสวีเดนระบุวันเสียชีวิตของวัลเลนแบร์ยเป็นวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1952
- ↑ 2.0 2.1 Stockholm, Agence France-Presse in (31 October 2016). "Sweden declares Raoul Wallenberg dead 71 years after disappearance". The Guardian.
- ↑ "A Swedish Rescuer in Budapest". Yad Vashem. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-21. สืบค้นเมื่อ 15 April 2018.
he saved the lives of tens of thousands of men, women and children by placing them under the protection of the Swedish crown.
- ↑ "Raoul Wallenberg's arrest order, signed by Bulganin in January 1945 – Searching for Raoul Wallenberg Searching for Raoul Wallenberg". Searching for Raoul Wallenberg. 17 January 1945. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-22. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.
- ↑ Nadler, John (19 May 2008). "Unraveling Raoul Wallenberg's Secrets". Time. Budapest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016.
- ↑ "Honorary Australian Citizenship to be Awarded to Raoul Wallenberg". Prime Minister's Press Office, Commonwealth of Australia. 15 เมษายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013.
- ↑ "The Raoul Wallenberg Committee of the United States – Our Mission". Raoulwallenberg.org. สืบค้นเมื่อ 8 June 2013.
- ↑ "The Library of Congress: Bill Summary & Status 112th Congress (2011–2012) H.R. 3001". 26 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2012. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
- ↑ Rubinstein, W. D. (2002). The Myth of Rescue: Why the Democracies Could Not Have Saved More Jews from the Nazis (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 194. ISBN 978-1-134-61568-1.
- ↑ Dietrich, D. J. (2012). "Raoul Wallenberg in Budapest: Myth, History and Holocaust, Paul A. Levine (London and Portland, OR: Vallentine Mitchell, 2010), xviii + 392 pp". Holocaust and Genocide Studies. 26 (1): 144–145. doi:10.1093/hgs/dcs020.