ลำน้ำโค้งตวัด
ลำน้ำโค้งตวัด[1] (อังกฤษ: meandering channel[2]) เป็นลักษณะทางธรณีสัณฐานชนิดหนึ่งของทางน้ำ ซึ่งลักษณะจะเป็นทางน้ำที่คดเคี้ยวคล้ายงูเลื้อย บ้างจึงเรียกว่าลำน้ำงูเลื้อย (snaking stream) ทางน้ำแบบนี้เกิดจากกระบวนการฟลูเวียล (Fluvial) ซึ่งจะพบบริเวณที่ราบลุ่มที่ความชันน้อยมาก จะเป็นบริเวณที่กำลังจะลงทะเลทางน้ำจะมีการกัดเซาะทางลึกน้อยกว่าทางด้านข้าง เพราะจากต้นน้ำที่มีความชันมากทางน้ำก็จะมีพลังงานมาก แต่เมื่อมาถึงบริเวณที่ราบลุ่มความชันลดลงทางน้ำจึงต้องมีการกวัดแกว่งออกทางด้านข้างเพื่อรักษาความเสถียรของมัน กระแสน้ำที่ปะทะกับตลิ่งด้านหนึ่งจะทำให้เกิดการกัดเซาะแต่จะไปเกิดการตกสะสมตัวในตลิ่งฝั่งตรงข้ามแทน แต่การกวัดแกว่งนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพตำแหน่งของท้องน้ำอยู่ในขอบเขตไม่เกินเส้นกวัดแกว่งปกติซึ่งถ้าเวลาผ่านไปเส้นก็จะมีขารเปลี่ยนตำแหน่งตามไปด้วย
ประเภท
ในบริเวณลำน้ำโค้งตวัดสามารถแบ่งบริเวณย่อยๆ ออกเป็น 3 บริเวณได้แก่
- บริเวณที่ยังมีการกระทำจากกระบวนการของธารน้ำ (Active) ได้แก่
- บริเวณที่มีการสะสมตัวของตะกอน (Point bar)
- บริเวณที่มีคลื่นกระเพื่อม (Swell)
- บริเวณที่ไม่มีคลื่นกระเพื่อม (Swale)
- บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง (Floodplain)
- บริเวณคันดินธรรมชาติ (Natural levee)
- บริเวณที่กระแสน้ำได้ไหลทะลักเข้ามายังบริเวณด้านข้าง (Crevarse spray)
- บริเวณที่มีการสะสมตัวของตะกอน (Point bar)
- บริเวณที่ก้ำกึ่ง ได้แก่
- ทางน้ำทำการตัดผ่านบริเวณที่มีการสะสมตัวของตะกอน (Chute cut-off)
- ทางน้ำทำการตัดผ่านบริเวณคอขวดแม่น้ำ (Neck cut-off)
- บริเวณที่ไม่ได้รับแรงกระทำจากกระบวนการทางน้ำ (Inactive) ได้แก่
- ทะเลสาบรูปแอก (Oxbow lake)
- รอยทางน้ำกวัดแกว่ง (Meandered scar)
- ลานตะกอนพักน้ำ (Terrace)
ทางน้ำลักษณะนี้เราจะพบได้ทั่วไปในตอนปลายของแม่น้ำ เช่น ตอนปลายของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่กรุงเทพมหานครลงมาถึงสมุทรปราการก่อนจะลงสู่อ่าวไทย หรือตอนปลายของแม่น้ำโขง, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำท่าจีน เป็นต้น
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา เก็บถาวร 2018-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หาคำว่า channel
- ↑ Channel types เก็บถาวร 2006-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University of Wisconsin, Stevens Point
- Neuendorf,K.K.E.,Mehl,J.P.,Jackson,J.A.2005.Glossary of Geology.Fifth Edition.American Geological Institute.
- คณะอนุกรรมการจัดทำพจนานุกรมธรณีวิทยา.2530.พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา อังกฤษ-ไทย.สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย