เก้ง
เก้ง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนถึงปัจจุบัน | |
---|---|
เก้งธรรมดา (M. muntjak) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
วงศ์: | Cervidae |
วงศ์ย่อย: | Muntiacinae Knottnerus-Meyer, 1907 |
เผ่า: | Muntiacini
|
สกุล: | Muntiacus Rafinesque, 1815 |
ชนิด | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเก้ง | |
ชื่อพ้อง | |
|
เก้ง อีเก้ง[1] หรือ ฟาน[2] เป็นกวางขนาดกลางและเล็กจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Muntiacinae กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, ประเทศจีนทางตอนใต้ไปจนถึงภูมิภาคอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
มีรูปร่างโดยรวมคือ มีขนตามลำตัวสีน้ำตาล อาจมีสีอื่นผสมแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด เขามีขนาดเล็กกว่ากวางในสกุลอื่น ใต้ตามีต่อมน้ำตาเห็นได้ชัดเจน เป็นเส้นสีดำเป็นร่องยาว ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีเขี้ยวงอกออกมาจากมุมปาก หางมีขนาดสั้น เวลาตกใจจะร้องว่า "เอิ๊บ ๆ" แล้วกระโดดหนีไป จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษว่า "barking deer" ("กวางเห่า")
เก้งเป็นกวางที่หากินในสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย ทั้งป่าดิบ ทุ่งหญ้า และพื้นที่ที่เป็นป่าเสื่อมโทรมหรือถูกแผ้วถาง เมื่อยังเป็นวัยอ่อนจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ตามลำตัวเหมือนกวางในสกุล Axis[3]
ในปัจจุบันพบประมาณ 10 ชนิด มีเพียงสกุลเดียว คือ Muntiacus ซึ่งหลายชนิดเป็นสัตว์ที่หายากและมีข้อมูลทางวิชาการอยู่ไม่มาก บางชนิดก็ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว [4] [5] [6]
ชนิด
- Muntiacus atherodes
- Muntiacus crinifrons
- Muntiacus gongshanensis
- Muntiacus feae**เป็นชนิดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์
- Muntiacus muntjak**เป็นชนิดที่พบได้บ่อยและกว้างขวางที่สุด
- Muntiacus putaoensis
- Muntiacus reevesi
- Muntiacus rooseveltorum**เป็นชนิดที่มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก โดยยังไม่แน่ชัดว่าอาจเป็นชนิดย่อยของชนิด M. feae หรือไม่[7]
- Muntiacus truongsonensis**เป็นชนิดที่มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก
- Muntiacus vuquangensis**เป็นชนิดที่มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก โดยเพิ่งบันทึกภาพเคลื่อนไหวได้เป็นครั้งแรกเมื่อไม่นานมานี้
อ้างอิง
- ↑ บรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร์. ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2514, หน้า 67
- ↑ "เก้ง". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. 7 April 2014. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
- ↑ หนังสือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2
- ↑ Amato, G.; Egan, M.G.; Rabinowitz, A. 1999: A new species of muntjac, Muntiacus putaoensis (Artiodactyla: Cervidae) from northern Myanmar. Animal conservation, 2: 1-7. doi:10.1111/j.1469-1795.1999.tb00042.x
- ↑ Rabinowitz, A.R.; Myint, T.; Khaing, S.T.; Rabinowitz, S. 1999: Description of the leaf deer (Muntiacus putaoensis), a new species of muntjac from northern Myanmar. Journal of zoology (London), 249: 427-435. doi:10.1111/j.1469-7998.1999.tb01212.x
- ↑ Shilai Ma, Yingxiang Wang, & Longhui Xu (1986), Taxonomic and Phylogenetic Studies on the Genus Muntiacus. Acta Theologica Sinica, 6(3)|190-209 [www.nau.edu/~qsp/will_downs/80.pdf]
- ↑ Muntiacus feae rooseveltorum
แหล่งข้อมูลอื่น
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Muntiacus ที่วิกิสปีชีส์