สงครามปฏิวัติอเมริกา

สงครามปฏิวัติอเมริกา

เรียงตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: การยอมจำนนของลอร์ดคอร์นวอลลิสหลังการล้อมยอร์กทาวน์, ยุทธการที่เทรนตัน, การเสียชีวิตของนายพลวอร์เรน ณ ยุทธการที่บังเกอร์ฮิล, ยุทธการที่ลองไอแลนด์, ยุทธการที่สำนักงานศาลกิลเฟิร์ด
วันที่19 เมษายน 1775 – 3 กันยายน 1783
(8 ปี 4 เดือน 15 วัน)
สัตยาบันมีผล: 12 พฤษภาคม 1784
สถานที่
ทวีปอเมริกาเหนือตะวันออก, ทะเลแคริบเบียน อนุทวีปอินเดีย อเมริกากลาง ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย
ผล

สนธิสัญญาสันติภาพกรุงปารีส (ค.ศ. 1783)

  • บริเตนใหญ่รับรองเอกราชของสหรัฐอเมริกา
  • การสิ้นสุดของจักรวรรดิบริติชที่หนึ่ง
  • สมาพันธ์อิระควอยแตก
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
  • บริเตนใหญ่ยกพื้นที่ทางตะวันออกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี และทางใต้ของเกรตเลกส์และแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ให้สหรัฐ
  • คู่สงคราม
    สหอาณานิคม (ก่อนปี 1776)
    สหรัฐ (หลังปี 1776)
    เวอร์มอนต์ (หลังปี 1777)
    ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (หลังปี 1778)

    สเปน สเปน (หลังปี 1779)
     เนเธอร์แลนด์[1]
    ไมซอ[2]

    อเมริกันพื้นเมือง[3]

    ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ บริเตนใหญ่

    • ควิเบก
    • ลอยัลลิสต์
    ทหารสนับสนุนเยอรมัน

    อเมริกันพื้นเมือง[4]

    • สมาพันธ์อิระควอย
    ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

    สหรัฐอเมริกา จอร์จ วอชิงตัน
    สหรัฐอเมริกา เนธาเนียล กรีน
    สหรัฐอเมริกา โฮเรชิโอ เกตส์
    อีเซก ฮอปคินส์
    เคานต์รอช็องโบ
    ราชอาณาจักรฝรั่งเศส เคานต์เดอกราส Surrendered

    เป็นต้น

    ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ เซอร์วิลเลียม ฮาว
    ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ทอมัส เกจ
    ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ เซอร์กาย คาร์ลทัน
    ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ เซอร์เฮนรี คลินตัน
    ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ลอร์ดคอร์นอวลลิส Surrendered
    ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ จอห์น เบอร์กอยน์ Surrendered
    ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ริชาร์ด ฮาว
    วิลเฮล์ม คนึพเฮาเซิน
    บารอนรีเดเซิล Surrendered


    เป็นต้น
    กำลัง

    สหรัฐ:
    40,000 (เฉลี่ย)[5]
    กะลาสีกองทัพเรือภาคพื้นทวีป 5,000 คน (ณ จุดสูงสุดในปี 1779)[6]
    ไม่มี ships of the line
    เรืออื่น 53 ลำ (ปฏิบัติหน้าที่ช่วงใดช่วงหนึ่งในสงคราม)[6]

    พันธมิตร:
    ฝรั่งเศส 36,000 นาย (ในทวีปอเมริกา)
    ฝรั่งเศสและสเปน 63,000 นาย (ที่ยิบรอลตาร์)

    ships of the line 146 ลำ (ปฏิบัติหน้าที่ในปี 1782)[7]

    บริเตนใหญ่:
    กองทัพบก:
    48,000 (เฉลี่ย, เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ)[8]
    7,500 (ที่ยิบรอลตาร์)
    กองทัพเรือ:
    ships of the line 94 ลำ (ปฏิบัติหน้าที่ในปี 1782)[7]
    กะลาสี 171,000 นาย[9]

    กำลังลอยัลลิสต์:
    19,000 (จำนวนทั้งหมดที่รับราชการ)[10]

    ทหารสนับสนุนเยอรมัน:
    30,000 (จำนวนทั้งหมดที่รับราชการ)[11]

    พันธมิตรชนพื้นเมือง: 13,000[12]
    ความสูญเสีย

    สหรัฐ:
    เสียชีวิตในการยุทธ์ 6,824 นาย
    เสียชีวิตจากทุกสาเหตุ 25,000–70,000 คน[5][13]
    กำลังพลสูญเสียรวมมากถึง 50,000 คน[14]
    ฝรั่งเศส: เสียชีวิตในการยุทธ์ 10,000 นาย (75% ในทะเล) สเปน: เสียชีวิต 5,000 นาย

    เนเธอร์แลนด์: เสียชีวิต 500 นาย[15]

    บริเตนใหญ่:
    ทหารบกเสียชีวิตในการยุทธ์ 4,000 นาย (เฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ)
    ทหารบกเสียชีวิตจากโรค 27,000 นาย (ทวีปอเมริกาเหนือ)[5][16]
    ทหารเรือเสียชีวิตในการยุทธ์ 1,243 นาย, หนีทัพ 42,000 นาย, เสียชีวิตจากโรค 18,500 นาย (1776–1780)[17]
    เสียชีวิตจากทุกสาเหตุ 51,000 นาย

    เยอรมัน: เสียชีวิตในการยุทธ์ 1,800 นาย
    หนีทัพ 4,888 นาย
    เสียชีวิตจากทุกสาเหตุ 7,774 นาย[5]

    สงครามปฏิวัติอเมริกา (อังกฤษ: American Revolutionary War; ค.ศ. 1775–1783) หรือเรียก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา (อังกฤษ: American War of Independence) หรือสงครามปฏิวัติในสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือซึ่งหลังสงครามเปิดฉากประกาศอิสรภาพเป็นสหรัฐอเมริกา

    สงครามนี้มีจุดกำเนิดจากการต่อต้านภาษีบางชนิดและพระราชบัญญัติซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากอ้างว่าไม่ชอบธรรมและมิชอบด้วยกฎหมาย การประท้วงของกลุ่มผู้รักชาติ (Patriot) ลุกลามเป็นการคว่ำบาตร และในวันที่ 16 ธันวาคม 1773 พวกเขาทำลายการส่งสินค้าชาในท่าบอสตัน รัฐบาลบริเตนตอบโต้โดยปิดท่าบอสตัน แล้วผ่านมาตรการโดยมุ่งลงโทษอาณานิคมที่เป็นกบฏ แพทริอัตสนองโดยซัฟฟอล์กรีซอฟส์ (Suffolk Resolves) คือ การสถาปนารัฐบาลเงาซึ่งกำจัดการควบคุมมณฑลจากคราวน์นอกบอสตัน สิบสองอาณานิคมตั้งสภาภาคพื้นทวีปเพื่อประสานงานการต่อต้าน และสถาปนาคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ซึ่งยึดอำนาจชะงัด

    ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้งจอร์จ วอชิงตันให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับการทัพบอสตัน ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1776 สภาลงมติสนับสนุนเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม

    เซอร์วิลเลียม ฮาว (William Howe) เริ่มการตีโต้ตอบซึ่งมุ่งยึดนครนิวยอร์กคืน ฮาวชนะวอชิงตันด้วยอุบาย ทำให้ความมั่นใจของฝ่ายอเมริกาแตะจุดต่ำสุด วอชิงตันสามารถยึดกองทัพเฮชชัน (Hessian) ได้ที่เทรนตัน และขับบริเตนออกจากนิวเจอร์ซีย์ ฟื้นความมั่นใจของฝ่ายอเมริกา ในปี 1777 บริเตนส่งกองทัพใหม่โดยมีจอห์น เบอร์กอยน์ (John Burgoyne) เป็นผู้บังคับบัญชาให้ยกลงใต้จากแคนาดาและแยกอาณานิคมนิวอิงแลนด์ ทว่า ฮาวไม่สนับสนุนเบอร์กอยน์ แต่นำกองทัพของเขาในอีกการทัพหนึ่งต่อกรุงฟิลาเดลเฟีย เมืองหลวงฝ่ายปฏิวัติ เบอร์กอยน์หมดกำลังบำรุง ถูกล้อมและยอมจำนนในเดือนตุลาคม 1777

    ความปราชัยของบริเตนที่ซาราโทกา (Saratoga) มีผลใหญ่หลวง ฝรั่งเศสและสเปนได้จัดหาอาวุธ เครื่องกระสุนและกำลังบำรุงอื่นให้ชาวอาณานิคมอย่างลับ ๆ ตั้งแต่เดือนเมษายน 1776 บัดนี้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเป็นทางการในปี 1778 โดยลงนามพันธมิตรทางทหารซึ่งรับรองเอกราชของสหรัฐ บริเตนตัดสินใจยอมเสียอาณานิคมทางเหนือ และกู้อดีตอาณานิคมทางใต้ กำลังบริเตนโดยมีชาลส์ คอร์นวอลลิส (Charles Cornwallis) เป็นผู้บังคับบัญชายึดจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนา ยึดกองทัพอเมริกาได้ที่ชาลส์ตัน เซาท์แคโรไลนา ยุทธศาสตร์นี้อาศัยการก่อการกำเริบของลอยัลลิสต์ (Loyalist) ติดอาวุธจำนวนมาก แต่มีผู้มาเข้าร่วมน้อยเกินไป ในปี 1779 สเปนเข้าร่วมสงครามเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาตระกูล (Pacte de Famille) โดยเจตนายึดยิบรอลตาร์และอาณานิคมบริติชในแคริบเบียน บริเตนประกาศสงครามต่อสาธารณรัฐดัตช์ในปี 1780

    ในปี 1781 หลังปราชัยอย่างเด็ดขาดสองครั้งที่คิงส์เมาน์เทนและคาวเพนส์ คอร์นวอลลิสถอยไปเวอร์จิเนียโดยตั้งใจอพยพ ชัยทางเรืออย่างเด็ดขาดของฝรั่งเศสในเดือนกันยายนตัดทางหนีของบริเตน กองทัพร่วมฝรั่งเศส-อเมริกาโดยมีเคาต์รอช็องโบ (Count Rochambeau) และวอชิงตันเป็นผู้นำล้อมกองทัพบริติชที่ยอร์กทาวน์ เมื่อเห็นว่าไม่มีการช่วยเหลือและสถานการณ์ป้องกันไม่อยู่ คอร์นวอลลิสยอมจำนนในเดือนตุลาคม และทหารถูกจับเป็นเชลยประมาณ 8,000 คน

    วิกในบริเตนคัดค้านฝ่ายข้างมากทอรีนิยมสงครามในรัฐสภาอย่างยาวนาน ทว่า ความปราชัยที่ยอร์กทาวน์ทำให้วิกเป็นฝ่ายเหนือกว่า ต้นปี 1782 พวกเขาลงมติยุติปฏิบัติการบุกทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่สงครามกับฝรั่งเศสและสเปนยังดำเนินต่อ โดยบริเตนชนะทั้งสองประเทศระหว่างการล้อมใหญ่ยิบรอลตาร์ นอกเหนือจากนี้ พวกเขาชนะฝรั่งเศสทางเรือหลายครั้งโดยที่เด็ดขาดที่สุด คือ ยุทธนาวีที่ซานต์ (Battle of the Saintes) ในแคริบเบียนปีเดียวกัน วันที่ 3 กันยายน 1783 คู่สงครามลงนามสนธิสัญญากรุงปารีสซึ่งยุติสงคราม บริเตนตกลงรับรองเอกราชของสหรัฐเหนือดินแดนโดยมีขอบเขตคร่าว ๆ อยู่ที่แคนาดาทางเหนือ ฟลอริดาทางใต้และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก แม้การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของฝรั่งเศสมีผลชี้ขาดต่อสาเหตุของเอกราชอเมริกา แต่ได้ดินแดนเพียงเล็กน้อย และมีปัญหาหนี้สินมหาศาล สเปนได้อาณานิคมฟลอริดาของบริเตนและเกาะมินอร์กา แต่ไม่สามารถชิงยิบรอลตาร์คืนซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ฝ่ายดัตช์มีแต่เสีย โดยถูกบังคับให้ยกดินแดนบางส่วนให้บริติช

    อ้างอิง

    1. (1780–83)
    2. (1780–84)
    3. Oneida, Tuscarora, Catawba, Lenape, Chickasaw, Choctaw, Mahican, Mi'kmaq (until 1779), Abenaki, Cheraw, Seminole, Pee Dee, Lumbee, Watauga Association
    4. Onondaga, Mohawk, Cayuga, Seneca, Mi'kmaq (from 1779), Cherokee, Odawa, Muscogee, Susquehannock, Shawnee
    5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Duncan, Louis C. MEDICAL MEN IN THE AMERICAN REVOLUTION เก็บถาวร 2019-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1931).
    6. 6.0 6.1 Jack P. Greene and J. R. Pole. A Companion to the American Revolution (Wiley-Blackwell, 2003), p. 328.
    7. 7.0 7.1 Jonathan Dull, A Diplomatic History of the American Revolution (Yale University Press, 1985), p. 110.
    8. "Red Coats Facts – British Soldiers in the American Revolution". totallyhistory.com.
    9. Mackesy (1964), pp. 6, 176 (British seamen).
    10. Jasanoff, Maya, Liberty's Exiles: American Loyalists in the Revolutionary World (2011).
    11. A. J. Berry, A Time of Terror (2006) p. 252
    12. Greene and Pole (1999), p. 393; Boatner (1974), p. 545.
    13. Howard H. Peckham, ed., The Toll of Independence: Engagements and Battle Casualties of the American Revolution (Chicago: University of Chicago Press, 1974).
    14. American dead and wounded: Shy, pp. 249–50. The lower figure for number of wounded comes from Chambers, p. 849.
    15. "Spanish casualties in The American Revolutionary war". Necrometrics.
    16. "Eighteenth Century Death Tolls". necrometrics.com. สืบค้นเมื่อ January 7, 2016.
    17. Parliamentary Register (1781), p. 269.

    ดูเพิ่ม