สงคราม ค.ศ. 1812
สงคราม ค.ศ. 1812 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เรียงตามเข็มนาฬิกา:ความเสียหายของเขตเมืองหลวงอเมริกา หลังจากการเผากรุงวอชิงตัน เซอร์ไอแซค บร็อกได้รับบาดเจ็บระหว่างยุทธการที่ควีนสตัน ไฮตส์ กองเรืออเมริกันเข้าปะทะกับกองเรืออังกฤษ เทคูมเซทเสียชีวิตระหว่างการรบ แอนดรูว์ แจ๊คสันสามารถเอาชนะกองทัพอังกฤษได้ในยุทธการนิวส์ออร์ลินส์ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกาและพันธมิตร |
จักรวรรดิอังกฤษ และ พันธมิตร
| ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
|
เจ้าชายแห่งเวลส์ | ||||||
กำลัง | |||||||
|
| ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ตายในหน้าที่ 2,200-3,721 นาย
|
ตายในหน้าที่ 1,160-1,960 นาย
พันธมิตรชนเผ่า
| ||||||
กองกำลังทหารบางแห่งดำเนินการในพื้นที่ของตนเท่านั้น บางส่วนถูกสังหารในที่รบ การป้องกันชายฝั่งและการป้องกันชายฝั่งในพื้นที่แถวทะเลสาบ |
สงคราม ค.ศ. 1812 เป็นความขัดแย้งทางทหารกินเวลาสองปีครึ่ง สู้รบกันระหว่างสหรัฐอเมริกาฝ่ายหนึ่งกับสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ อาณานิคมอเมริกาเหนือและพันธมิตรอินเดียนอเมริกาเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง นักประวัติศาสตร์ในสหรัฐและแคนาดามองว่าความขัดแย้งนี้เป็นสงคราม แต่นักประวัติศาสตร์ชาวยุโรปบางทีมองว่าเป็นเขตสงครามย่อมของสงครามนโปเลียน เนื่องจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสงครามนั้น (โดยเฉพาะระบบภาคพื้นทวีป) เมื่อสงครามยุติใน ค.ศ. 1815 ปัญหาส่วนใหญ่ระงับแล้วและไม่มีการเปลี่ยนแปลงเขตแดน
สหรัฐประกาศสงครามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1812 ด้วยหลายสาเหตุ ซึ่งรวมการจำกัดการค้าซึ่งมาจากสงครามกับฝรั่งเศสของบริเตน การเกณฑ์กะลาสีวาณิชย์อเมริกันถึง 10,000 คนเข้าราชนาวี การสนับสนุนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองที่ต่อสู้กับผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอเมริกันที่ชายแดนของบริเตน ความเจ็บแค้นจากการลบหลู่เกียรติของชาติระหว่างเหตุการณ์เชซาพีก–เลพเพิร์ด และผลประโยชน์ของอเมริกันที่เป็นไปได้ในการผนวกดินแดนของบริเตน เป้าหมายสงครามหลักของบริเตน คือ ป้องกันอาณานิคมอเมริกาเหนือของตน แม้ยังหวังด้วยว่าจะตั้งรัฐกันชนอินเดียนที่เป็นกลางในมิดเวสต์
สงครามนี้รบกันในสามเขตสงคราม เขตสงครามแรก ในทะเล เรือรบและไพรวะเทียร์ (privateer) ต่างฝ่ายโจมตีเรือพาณิชย์ของอีกฝ่าย ขณะที่บริเตนปิดล้อมชายฝั่งแอตแลนติกของสหรัฐและตีโฉบฉวยขนาดใหญ่ในสงครามระยะหลัง เขตสงครามที่สอง มีการสู้รบทางบกและนาวิกตามชายแดนสหรัฐ–แคนาดา เขตสงครามที่สาม มียุทธการขนาดใหญ่ในภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาและกัล์ฟโคสต์ เมื่อสงครามยุติ ทั้งสองฝ่ายลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาเกนต์ และตามสนธิสัญญา คืนดินแดนที่ถูกยึดครอง เชลยศึกและเรือที่ถูกยึด (แม้ไม่มีฝ่ายใดคืนเรือรของอีกฝ่ายเนื่องจากมักขึ้นระวางประจำการอีกครั้งเมื่อยึดได้) แก่เจ้าของก่อนสงครามและคืนความสัมพันธ์การค้าฉันท์มิตรโดยปราศจากข้อจำกัด
ฝ่ายบริเตนใช้ยุทธศาสตร์ตั้งรับเป็นหลักในจังหวัดอัปเปอร์และโลวเออร์แคนาดา เนื่องจากกองทัพบกและเรือส่วนใหญ่ติดพันในทวีปยุโรปโดยสู้รบในสงครามนโปเลียน ชัยช่วงต้นเหนือกองทัพสหรัฐที่นำอย่างเลว เช่น ในยุทธการที่ควีนสตันไฮตส์ (Battle of Queenston Heights) แสดงว่าการพิชิตแคนาดาจะพิสูจน์ว่ายากกว่าที่คาด กระนั้น สหรัฐยังสามารถชนะพันธมิตรอเมริกันพื้นเมืองของบริเตนได้อย่างร้ายแรง ยุติโอกาสของสมาพันธรัฐอินเดียนและรัฐอเมริกันพื้นเมืองเอกราชในมิดเวสต์โดยบริเตนให้การสนับสนุน กองทัพสหรัฐยังสามารถได้กำไรและคว้าชัยหลายครั้ง ณ ชายแดนแคนาดา เข้าควบคุมทะเลสาบอีรีใน ค.ศ. 1813 ยึดส่วนตะวันตกของอัปเปอร์แคนาดา ทว่า ความพยายามยึดมอนทรีออลขนาดใหญ่ของสหรัฐถูกขับไล่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1813 แม้ชัยสำคัญของสหรัฐที่ชิพเพวา (Chippawa) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1814 สุดท้ายความพยายามจริงจังของสหรัฐในการพิชิตอัปเปอร์แคนาดาอย่างสมบูรณ์ต้องเลิกให้หลังยุทธการที่ลันดีส์เลน (Battle of Lundy's Lane) อันนองเลือดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1814 จากนั้น สหรัฐถอยไปประมาณ 30 กิโลเมตรจากลันดีส์เลนไปฟอร์ตอีรี ที่ซึ่งต้านทานการล้อมนานหลายเดือน สุดท้ายบริเตนถอนกำลัง แต่เมื่อฤดูหนาวย่างกราย ฝ่ายอเมริกันรื้อป้อมแล้วถอยข้ามไนแอการา
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1814 ด้วยความปราชัยของนโปเลียน ฝ่ายบริเตนเริ่มใช้ยุทธศาสตร์ที่ก้าวร้าวมากขึ้น โดยส่งกองทัพบุกครองขนาดใหญ่ขึ้นและเพิ่มการปิดล้อมทางทะเลให้แน่นหนาขึ้น ทว่า เมื่อสงครามนโปเลียนยุติในทวีปยุโรป รัฐบาลทั้งสองกระตือรือร้นที่จะคืนสู่สภาพปกติและการเจรจาสันติภาพเริ่มในเกนต์เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1814 ในดีปเซาท์ พลเอก แอนดรูว์ แจ็คสันทำลายความเข้มแข้งทางทหารของชาติมัสคีกี (ครีค) (Muscogee (Creek) Nation) ที่ยุทธการที่ฮอร์สชูเบนด์ (Battle of Horseshoe Bend) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1814 ฝ่ายบริเตนชนะยุทธการที่แฮมพ์เด็น (Battle of Hampden) ทำให้ได้ยึดครองรัฐเมนตะวันออก และชัยของบริเตนที่ยุทธการที่บลาเดนสเบิร์ก (Battle of Bladensburg) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1814 ทำให้ได้ยึดและเผาวอชิงตัน ดี.ซี. ทว่า กองทัพบริเตนถูกขับไล่ในความพยายามยึดบัลติมอร์และป้อมโบว์เยอร์ (Fort Bowyer) และระหว่างการบุกฟายาล (Fayal) ชัยของอเมริกาในเดือนกันยายน ค.ศ. 1814 ที่ยทธการที่แพลตต์สเบิร์ก (Battle of Plattsburgh) ขับไล่การบุกครองนิวยอร์กของบริเตน ซึ่งร่วมกับแรงกดดันจากพ่อค้าต่อรัฐบาลบริเตน ทำให้นักการทูตบริเตนที่เกนต์เลิกเรียกร้องรัฐกันชนพื้นเมืองเอกราชและการอ้างสิทธิ์ดินแดนที่เดิมรัฐบาลแสวง เนื่องจากเรือต้องใช้เวลาข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกหกสัปดาห์ ข่าวสนธิสัญญาสันติภาพจึงมาไม่ทันบริเตนเผชิญความปราชัยสำคัญที่นิวออร์ลีนส์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1815
ในสหรัฐ ชัยระยะหลังเหนือกองทัพบริเตนที่กำลังบุกครองที่ยุทธการที่แพลตต์สเบิร์ก บัลติมอร์ (บันดาลใจให้เพลงชาติสหรัฐ "เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์") และนิวออร์ลีนส์ผลิตความรู้สึกครึ้มใจเหนือ "สงครามประกาศอิสรภาพที่สอง" ต่อบริเตน สงครามยุติโดยประสบความสำเร็จสำหรับชาวอเมริกัน โดยชนะยุทธนาการสุดท้ายของสงครามและนำพา "ยุคแห่งความรู้สึกดี" ซึ่งความเกลียดพลพรรคแทบหายไปหมดเมื่อเผชิญกับชาตินิยมอเมริกันที่เสริมให้แข็งแกร่งขึ้น สงครามนี้ยังเป็นจุดพลิกผันสำคัญในการพัฒนากองทัพสหรัฐ สมรรถนะที่เลวของหน่วยทหารอาสาสมัครสหรัฐหลายหน่วย โดยเฉพาะระหว่างการบุกครองแคนาดาค.ศ. 1812–1813 และการป้องกันวอชิงตัน ค.ศ. 1814 ชวนให้รัฐบาลสหรัฐเห็นความจำเป็นต้องเปลี่ยนการพึ่งพาทหารอาสาสมัครดังสมัยปฏิวัติและมุ่งสร้างกองทัพประจำการอาชีพมากขึ้น สเปนเข้าร่วมการสู้รบในฟลอริดาแต่ไม่เป็นคู่สงครามอย่างเป็นทางการ กองทัพสเปนบางส่วนสู้โดยอยู่ฝ่ายบริเตนระหว่างการยึดครองเพนซาโคลา (Occupation of Pensacola) สหรัฐเข้าเป็นเจ้าของเขตโมบายล์ (Mobile District) ของสเปนเป็นการถาวร
อ้างอิง
- ↑ Battle of the Thames, Encyclopædia Britannica, Many British troops were captured and Tecumseh was killed, destroying his Indian alliance and breaking the Indian power in the Ohio and Indiana territories. After this battle, most of the tribes abandoned their association with the British.
- ↑ Upton 2003.
- ↑ Allen 1996, p. 121.