รัฐสภาโซเวียต

รัฐสภาโซเวียต

Верховный Совет СССР
ประเภท
ประเภท
สภาแห่งชนชาติ (Soviet of Nationalities) (สภาสูง)
สภาแห่งสหภาพ (Soviet of the Union) (สภาล่าง)
ประวัติ
สถาปนา2481
ยุบ2534
ก่อนหน้าสมัชชาชาวโซเวียตแห่งสหภาพโซเวียต และคณะกรรมการบริหารกลางแห่งสหภาพโซเวียต
ถัดมา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • รัฐสภายุคหลังโซเวียตหลายองค์การ:
    รายการ
    • รัสเซีย รัฐสภาโซเวียตแห่งรัสเซีย
    • ยูเครน รัฐสภาแห่งยูเครน
    • เบลารุส รัฐสภาโซเวียตแห่งเบลารุส
    • มอลโดวา รัฐสภาแห่งสาธารณรัฐมอลโดวา
    • เอสโตเนีย คณะมนตรีสูงสุดแห่งเอสโตเนีย
    • ลัตเวีย คณะมนตรีสูงสุดแห่งลัตเวีย
    • ลิทัวเนีย คณะมนตรีสูงสุดแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย
    • คาซัคสถาน รัฐสภาคาซัคสถาน
    • อาร์มีเนีย คณะมนตรีสูงสุดแห่งชาติอาร์มีเนีย
    • อาเซอร์ไบจาน คณะมนตรีสูงสุดแห่งชาติเซอร์ไบจาน
    • ประเทศจอร์เจีย คณะมนตรีสูงสุดแห่งสาธารณรัฐจอร์เจีย
    • คีร์กีซสถาน คณะมนตรีสูงสุดแห่งคีร์กีซสถาน
    • อุซเบกิสถาน คณะมนตรีสูงสุดอุซเบกิสถาน
    • ทาจิกิสถาน คณะมนตรีสูงสุดทาจิกีสถาน
    • เติร์กเมนิสถาน สภาเติร์กเมนิสถาน
สมาชิก542 (เมื่อยุบ)
2250 (เมื่อมากที่สุด)
การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งแบบไม่แข่งขันโดยตรง (2479—2532)
ได้รับเลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎรสหภาพโซเวียต (2532—2534)
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
4 มีนาคม 2527 (การเลือกตั้งโดยตรงครั้งสุดท้าย)
25 พฤษภาคม 2533 (การเลือกตั้งโดยอ้อม)
ที่ประชุม
พระราชวังเครมลิน มอสโกเครมลิน

รัฐสภาโซเวียต (อังกฤษ: Supreme Soviet of Union of Soviet Socialist Republics, All-Union Supreme Soviet, Supreme Council (ไทย: สภาสูงสุดแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต; (รัสเซีย: Верхо́вный Сове́т Союза Советских Социалистических Республик, อักษรโรมัน: Verkhovnyy Sovet Soyuza Sovetskikh Sotsialisticheskikh Respublik) บ้างเรียก สภาสูงสุด หรือโซเวียตสูงสุด[1] เป็นรัฐสภาระบบสภาคู่ในสหภาพโซเวียต และเป็นสถาบันเดียวที่มีอำนาจผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐสภาโซเวียตมีอำนาจสรรหาและแต่งตั้งคณะผู้บริหารสูงสุด (Presidium) ประกอบด้วยประธาน (ประมุขแห่งรัฐ) รองประธานและสมาชิกสมทบอื่นๆ สภารัฐมนตรี (Council of Ministers) ~เทียบเท่ากับคณะรัฐมนตรีในโลกที่ 1 ประกอบด้วยประธานสภารัฐมนตรี หรือ "นายกรัฐมนตรี" (หัวหน้ารัฐบาล) รองประธานสภารัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้พิพากษาศาลสูงสุด (Supreme Court) เอกอัครราชฑูตประจำในต่างประเทศ (Ambassador of the USSR to the ... ) ผู้แทนถาวรของสหภาพโซเวียตประจำสหประชาชาติ (Permanent Representative of the USSR to the United Nations) และรวมถึงอัยการสูงสุด (Procurator General) รัฐสภาโซเวียต โดยพื้นฐานวางบนหลักการอำนาจรวมศูนย์ (unified power) หรือ องค์กรสูงสุดแห่งอำนาจรัฐ (highest organ of state power) กล่าวคือเป็นสาขาเดียวในรัฐบาลที่มีอำนาจสูงสุดเหนือสาขาอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การตัดสินของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีเลขาธิการเป็นผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ และโดยส่วนมากเป็นผู้นำในทางพฤตินัยของประเทศในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล และรวมถึงการแต่งตั้งคณะผู้ปกครอง (เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในสาขาย่อยระดับสาธารณรัฐสหภาพ) ส่วนท้องถิ่นในระดับสาธารณรัฐสหภาพ (Union Republic).

โครงสร้าง

รัฐสภาโซเวียตประกอบด้วยสองสภา ทั้งสองมีอำนาจนิติบัญญัติเท่ากัน สมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็นวาระสี่ปี[2]

  • สภาโซเวียตแห่งสหภาพ (Soviet of the Union) ได้รับเลือกตั้งตามจำนวนประชากร โดยมีผู้แทน 1 คนต่อประชากร 300,000 คนจากแต่ละรัฐในสหภาพ
  • สภาโซเวียตแห่งชนชาติ (Soviet of Nationalities) เป็นสภาผู้แทนของชนชาติต่างๆในสหภาพ โดยสมาชิกแต่ละคนได้รับเลือกมาจากสาธารณรัฐสหภาพแห่งละ 33 คน, สาธารณรัฐปกครองตนเองแห่งละ 11 คน แคว้น ปกครองตนเอง (oblast) แห่งละ 5 คน และเขตปกครองตนเอง (autonomous okrug) แห่งละ 1 คน หน่วยบริหารชนิดเดียวกันจะส่งสมาชิกจำนวนเท่ากันโดยไม่ขึ้นกับขนาดหรือประชากร

ภายหลัง ค.ศ. 1989 รัฐสภาโซเวียตมีผู้แทน 542 คน (ลดจากเดิม 1,500 คน) การประชุมรัฐสภายังจัดบ่อยขึ้นจาก 6 เป็น 8 เดือนต่อปี[3] คณะผู้บริหารสูงสุดดำเนินปฏิบัติการวันต่อวันของรัฐสภาโซเวียตเมื่อไม่อยู่ในสมัยประชุม

อ้างอิง

  1. นฤมิตร สอดศุข. "หลังม่านเหล็กสหภาพโซเวียต: พัฒนาการทางการเมือง การต่างประเทศ และเศรษฐกิจจากเลนินถึงกอร์บาชอฟ" (PDF). สืบค้นเมื่อ 12 December 2021. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. Great Soviet Encyclopedia, 3rd edition, entry on "Верховный Совет СССР", available online here[ลิงก์เสีย]
  3. Peter Lentini (1991) in: The Journal of Communist Studies, Vol. 7, No.1, pp. 69-94