ไซบีเรีย
ไซบีเรีย Сибирь | |
---|---|
ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ | |
เขตสหพันธ์ไซบีเรีย | |
พิกัด: 60°0′N 105°0′E / 60.000°N 105.000°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 60°0′N 105°0′E / 60.000°N 105.000°E | |
ประเทศ | รัสเซีย |
ภูมิภาค | เอเชีย |
Parts | West Siberian Plain Central Siberian Plateau others... |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 13,100,000 ตร.กม. (5,100,000 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2017) | |
• ทั้งหมด | 33,765,005 คน |
• ความหนาแน่น | 2.6 คน/ตร.กม. (6.7 คน/ตร.ไมล์) |
ไซบีเรีย (อังกฤษ: Siberia; รัสเซีย: Сибирь, อักษรโรมัน: Sibir', สัทอักษรสากล: [sʲɪˈbʲirʲ] ( ฟังเสียง)) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขว้างในเอเชียเหนือ ไซบีเรียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายหลังจากการพิชิตไซบีเรียของรัสเซียในดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขายูรัล ไซบีเรียเป็นดินแดนที่กว้างใหญ่และประชากรที่เบาบาง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 13.1 ล้าน ตารางกิโลเมตร (5,100,000 ตารางไมล์) แต่มีประชากรเพียงแค่ 1 ใน 5 ของประชากรรัสเซีย โดยมีโนโวซีบีสค์และออมสค์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
ในประวัติศาสตร์ไซบีเรียถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี ค.ศ. 630 จนต่อมาพวกมองโกลได้เข้ายึดครองในช่วงศตวรรษที่ 13 และในที่สุด ได้กลายมาเป็น Siberian Khana อำนาจที่ยิ่งใหญ่ของมองโกลในภูมิภาคตะวันออกเริ่มลดลง จนในศตวรรษที่ 16 กลุ่มแรกที่เข้ามาในเขตนี้คือพวกพ่อค้า และกลุ่มคอสแซก จากนั้นกองทัพซาร์ก็เริ่มเข้ามาสร้างป้อมปราการในเขตตะวันออกไกล เมืองหลายเมืองก็ถูกสร้างขึ้นเช่น Mangazeva Tara เป็นต้น และในช่วงกลางศตวรรษที่17 จักรวรรดิรัสเซียก็ได้ขยายดินแดนไปจรดถึงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
ไซบีเรียตะวันออกในขณะนั้นยังคงเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับการสำรวจและไม่มีการอยู่อาศัยของประชาชนสักเท่าไรนักมีเพียงแค่นักสำรวจเล็กน้อย ต่อมามีพ่อค้าเข้าไปตั้งบ้านเรือนเล็กน้อย นอกจากนี้ ดินแดนไซบีเรียยังเป็นที่คุมขังของนักโทษจากรัสเซียตะวันตกด้วย การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของไซบีเรียตะวันออกคือ การสร้างทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สอง ปี ค.ศ. 1891-1905 ซึ่งเชื่อมโยงดินแดนรัสเซียตะวันตกและรัสเซียตะวันออกเข้าด้วยกัน อันทำให้มีผู้เข้ามาอาศัยในไซบีเรียตะวันออกมากขึ้น ซึ่งดินแดนไซบีเรียเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
ในระหว่างกลางศตวรรษที่ 20 ก็ถูกพัฒนากลายเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมขึ้นทั่วทั้งเขตเนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกล รวมไปถึงสภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่าง จึงทำให้เกิดการแบ่งเขตเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ในสมัยอดีตสหภาพโซเวียต มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากเขตเศรษฐกิจตะวันออกไกล มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้ พันธุ์พืช รวมไปถึงแร่ธาตุ ปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจไซบีเรียตะวันออก เป็นเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของสหพันธรัฐรัสเซีย อันเป็นผลมาจากความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุในไซบีเรียตะวันออกนั่นเอง
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
ไซบีเรียตะวันออกมีพื้นที่ทั้งหมด 4,122,800 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 24.1 ของพื้นที่รัสเซียทั้งหมดอยู่ระหว่างเส้นละติจูด 50 องศาเหนือ ถึง 70 องศาเหนือ เส้นลองจิจูด 65 องศาตะวันออกถึง 115 องศาตะวันออก ทางด้านตะวันตกติดกับไซบีเรียตะวันตก ทางด้านตะวันออก ติดกับ เขตตะวันออกไกล ทางใต้ติดกับเทือกเขาอัลไต มองโกเลีย และจีนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนทางด้านตอนเหนือ ติดกับทะเลคารา และ ทะเลแลปเตฟ
อ้างอิง
- บทความ ไซบีเรีย เก็บถาวร 2009-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
- คู่มือการท่องเที่ยว Siberia จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Siberian Expedition website, by Benjamin Isitt
- Map of Siberia
- Summer in Siberia เก็บถาวร 2010-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน