สะอ์ดี

Muslih-ud-Din Mushrif ibn-Abdullah Shirazi
สะอ์ดีในสวนกุหลาบจาก Gulistan, ประมาณ ค.ศ. 1645
เกิดค.ศ. 1210[1]
ชีราซ, อิหร่าน
เสียชีวิตค.ศ. 1291 หรือ ค.ศ. 1292[1]
ชีราซ
สำนักนักกวีเปอร์เซีย นักเขียนภาษาเปอร์เซีย
ความสนใจหลัก
กวีนิพนธ์ รหัสยลัทธิ ตรรกศาสตร์ จริยธรรม ลัทธิศูฟี
ศาสนาอิสลาม

อะบูมุฮัมหมัด มุชริฟุดดีน มุศเลี้ยะห์ บิน อับดิลลา บิน มุชัรริฟ เรียกสั้น ๆ กันว่า สะอ์ดี (ปี ฮ.ศ. 606-690) เป็นนักกวีและนักเขียนภาษาเปอร์เซียที่มีชื่อเสียงชาวอิหร่าน บรรดานักอักษรศาสตร์ให้ฉายานามท่านว่า ปรมาจารย์นักพูด กษัตริย์นักพูด ผู้อาวุโสที่สูงส่ง และเรียกขานทั่วไปกันว่า อาจารย์ ท่านศึกษาใน นิซอมียะฮ์แห่งเมืองแบกแดด ซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางวิชาการของโลกอิสลามในยุคนั้น หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางไปตามเมืองต่างๆ เช่นเมืองชาม และฮิญาซ ในฐานะนักบรรยายธรรม แล้วสะอ์ดีก็ได้เดินทางกลับมายังมาตุภูมิของท่านที่เมืองชีรอซและใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนกระทั่ววาระสุดท้ายของชีวิต สุสานของท่านอยู่ที่เมืองชีรอซ ซึ่งถูกรู้จักกันว่า สะอ์ดียะฮ์

ท่านใช้ชีวิตอยู่ในยุคการปกครองของSalghurids ในเมืองชีรอซ ช่วงการบุกของมองโกลยังอิหร่านอันเป็นเหตุให้การปกครองต่างๆ ในยุคนั้นล่มสลายลง เช่น Khwarazmian dynasty และอับบาซี ทว่ามีเพียงดินแดนฟอร์ซ รอดพ้นจากการบุกของพวกมองโกล เพราะยุทธศาสตร์ของอะบูบักร์ บิน สะอด์ ผู้ปกครองที่เลืองชื่อแห่งSalghurids และอยู่ในศัตวรรษที่หกและเจ็ดซึ่งเป็นยุคการเจริญรุ่งเรืองของแนวทางซูฟีในอิหร่าน โดยเห็นได้จากอิทธิพลทางความคิดและวัฒนธรรมของยุคนี้ได้จากผลงานของสะอ์ดี นักค้นคว้าส่วนใหญ่เชื่อว่าสะอ์ดีได้รับอิทธิพลจากคำสอนของมัซฮับชาฟิอีและอัชอะรี จึงมีแนวคิดแบบนิยัตินิยม อีกด้านหนึ่งก็ท่านเป็นผู้ที่มีความรักต่อครอบครัวท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อีกด้วย ก่อนหน้านั้นสะอ์ดี เป็นผู้ที่ยึดมั่นในจริยธรรมบนพื้นฐานของปรัชญาจริยะ เป็นนักฟื้นฟู ฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่ผู้ที่ฝักไฝ่การเชื่ออย่างหลับหูหลับตาตามที่กล่าวอ้างกัน กลุ่มIranian modern and contemporary art ถือว่าผลงานของท่านไร้ศีลธรรม ไม่มีคุณค่า ย้อนแย้งและขาดความเป็นระบบ

สะอ์ดีมีอิทธิพลต่อภาษาเปอร์เซียอย่างมาก ในลักษณะที่ว่าภาษาเปอร์เซียปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาของสะอ์ดีอย่างน่าสนใจ ผลงานของท่านถูกนำมาใช้สอนในโรงเรียน และหอสมุดในฐานะตำราอ้างอิงการเรียนการสอนภาษาและไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซียอยู่หลายยุคหลายสมัย คำพังเพยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอิหร่านปัจจุบันก็ได้มาจากผลงานของท่าน แนวการเขียนของท่านแตกต่างไปจากนักเขียนร่วมสมัยหรือนักเขียนก่อนหน้าท่านโดยท่านจะใช้ภาษาที่ง่าย สั้นและได้ใจความ กระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วในยุคของท่าน ผลงานของสะอ์ดีเรียกกันว่าง่ายแต่ยาก มีทั้งเกล็ดความรู้ มุกขำขันที่ซ่อนอยู่หรือกล่าวไว้อย่างเปิดเผย

ผลงานของท่านรวบรวมอยู่ในหนังสือ กุลลียอเตสะอ์ดี ซึ่งครอบคลุมทั้ง ฆุลิสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบนัษร์ หนังสือ บูสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบมัษนะวี และฆอซลียอต นอกจากนั้นท่านยังมีผลงานด้านร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์อื่นๆ อีก เช่น กอซีดะฮ์ ก็อฏอะฮ์ ตัรญีอ์บันด์ และบทเดี่ยวทั้งที่เป็นภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ส่วนมากฆอซลียอเตสะอ์ดีจะพูดถึงเรื่องของความรัก แม้ว่าท่านจะกล่าวถึงความรักในเชิงรหัสยะ (อิรฟาน) ก็ตาม ฆุลิสตอนและบูสตอน เป็นตำราจริยธรรม ซึ่งมีอิทธิต่อชาวอิหร่านและแม้แต่นักวิชาการตะวันตกเองก็ตาม เช่น วอลแตร์ และ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ

สะอ์ดี มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากในยุคของท่าน ผลงานของท่านที่เป็นภาษาเปอร์เชียหรือที่แปลแล้วไปไกลถึงอินเดีย อานาโตเลีย และเอเชียกลาง ท่านเป็นนักกวีชาวอิหร่านคนแรกที่ผลงานของท่านถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ แถบยุโรป นักกวีและนักเขียนชาวอิหร่านต่างก็ลอกเลียนแบบแนวของท่าน ฮาฟิซก็เป็นนักกวีท่านหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลการเขียนบทกวีมาจากท่านสะอ์ดี นักเขียนยุคปัจจุบัน เช่น มุฮัมหมัด อาลี ญะมอลซอเดะฮ์ และอิบรอฮีม ฆุลิสตอน ก็ได้รับอิทธิพลมาจากท่านเช่นกัน ต่อมาผลงานของสะอ์ดีถูกถ่ายทอดออกเป็นคีตะ ซึ่งมีนักขับร้องที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ทอจ อิศฟะฮอนี , มุฮัมหมัดริฎอ ชะญะริยอน และฆุลามฮุเซน บะนอน อิหร่านได้ให้วันที่ 1 เดือนอุรเดเบเฮชต์ วันแรกของการเขียนหนังสือฆุลิสตอน เป็นวันสะอ์ดี เพื่อเป็นการเทิดเกียรติท่าน

ยุคสะอ์ดี

สถานการณ์การเมือง

เส้นทางของมองโกลเข้าบุกดินแดนต่างๆซึ่งกินระเวลายาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1206-1221

เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่เจ็ด คือ มองโกลบุกโจมตีอิหร่าน การบุกโจมตีของมองโกลเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 616 โดยเจงกีสข่านและในปี ฮ.ศ. 656 ฮูลากูข่านก็สามารถยึดดินแดนส่วนใหญ่ของอิหร่านและอิรักได้สำเร็จ การบุกโจมตีครั้งนี้ได้ทำลายล้างเมืองต่างๆ เผาหอสมุดยึดทรัพย์สินและเข่นฆ่าประชาชน ผู้คนหลายล้านคนถูกฆ่าจากการบุกโจมตีของมองโกล เมืองต่างๆ ถูกทำลายล้างราบเป็นหน้ากลอง เมืองแรกที่ถูกบุกโจมตีคือ ฟะรอรูด เป็นเหตุให้ผู้คนอพยพไปยังเมือง ฟอร์ส์ อิศฟาฮาน อินเดีย และอานาโตเลีย[2]

สะอ์ดี อยู่ในยุคการปกครองของSalghurids หรือเรียกว่า "ซัลฆุรยอน" การปกครองนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ฮ.ศ. 543 และปกครองยาวนานกว่า 150 ปี กล่าวคือสิ้นอำนาจในปี ฮ.ศ. 685 ผู้ปกครองคนที่หกที่มีชื่อเสียงดังของการปกครองนี้คือ อะบูบักร์ บิน สะอ์ด ที่ขึ้นปกครองในปี ฮ.ศ. 623 ในวัย 35 ปี บิดาของเขาคือ สะอ์ด บิน ซันฆี มีเชื้อสายมาจาก สุลต่าน มุฮัมหมัด โครัมชอฮ์ ดินแดนฟอร์สได้รับความปลอดภัยจากการบุกของมองโกลเป็นเพราะการบริหารของอะบูบักร์สะอ์ด เขายอมจำนนต่อ เจงกีสข่าน และอนุญาตให้ปกครองในฟอร์สโดยออคไดข่าน ต่อมาฮุลากูข่านก็รับรองการปกครองของเขาในฟอร์ส ในปี ฮ.ศ. 656 ได้ส่งกองหนุนให้แก่ฮูลากูข่านในการยึดแบกแดด การบุกแบกแดดโดยฮูลากูข่านทำให้การปกครองของราชวงศ์อับบาซีล่มสลายและมุสตะอ์ซอม ซึ่งเป็นคอลีฟะฮ์คนสุดท้ายของราชวงส์อับบาซีถูกสังหาร แต่อะบูบักร์ บิน สะอ์ด เสียชีวิตที่เมืองชีรอซ ในปี ฮ.ศ. 658 ส่วนบุตรชายชองเขา สะอ์ด บิน อะบูบักร์ ก็เสียชีวิตระหว่างการเดินทางกลับจากการไปพักผ่อนที่อีลีคอนในแถบตัฟริช ต่อมาฮูลากูก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดินแดนฟอร์ส[3]

วัฒนธรรมและวรรณกรรม

ศตวรรษที่หกและเจ็ด แห่งฮิจเราะฮ์ เป็นยุคที่ซูฟี เจริญรุ่งเริอง ซึ่งปูทางมาตั้งแต่ศตวรรษที่ห้าแห่งฮิจเราะฮ์ที่ อะบูฮามิด มุฮัมหมัด ฆอซซาลี ได้ตอบข้อสงสัยต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบทบัญญัติกับแนวซูฟีได้อย่างลงตัว ในยุคนี้เกิดบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิแนวทางซูฟีขึ้นอย่างมาก เช่น อับดุลกอเดร ฆีลานี และ ชะฮาบุดดีน อุมัร สะฮ์วัรดี และเกิดสำนักคิดในแนวทางซูฟีขึ้น เช่น กอดิรียะฮ์ สะฮ์รวัรดียะฮ์ กิบร์วียะฮ์ มีการสร้างอาศรมของชาวซูฟีขึ้นมากมาย ผู้ปกครอง เช่น มุสตันซิร อับบาซี , ฏอฆรอลสัลญูกี และคอเญะฮ์ นิซอมุดดีน อัลมะลิก ต่างก็ให้การยอมรับบรรดาผู้รู้ของชาวซูฟี จึงเห็นได้ว่ามีแนวซูฟีเข้าในบทกวีของอิหร่าน และบทกวีที่ดีที่สุดคือ ฮะดีเกาะฮ์สะนาอี ต่อมาก็เป็นบทกวีของอัฏฏอร และเมาละวี ในช่วงปลายศตวรรษที่หกและช่วงต้นศตวรรษที่เจ็ด สะฮ์รวัรดี ได้วางรากฐานของปรัชญาแนวอิชรอกขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากผลงานต่างๆ ของซูฟีและแหล่งข้อมูลปรัชญากรีกและฮิกมัตโคสระวอนี ปรัชญาอิชรอก เป็นปรัชญาแนวการใช้เหตุผลผนวกกับการจาริกแนวอิรฟาน ท่านเข้ารับอิสลามและมหากาพย์แห่งพะฮ์ละวีก็จบลงด้วยมหากาพย์แห่งอิรฟาน คือหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคนี้อีกด้วย[4]

การขึ้นปกครองของราชวงศ์เซลจุคหลังจากนั้นก็จักรวรรดิข่านอิน ซึ่งไม่ค่อยหลงใหลในบทกวีมากนัก จึงทำให้นักกวีลดน้อยลงและบทกวีที่ใช้อ่านกันในยุคก่อนก็เริ่มไม่ค่อยมีความสำคัญ ในทางกลับกันบทกวีฆ็อซล์ เป็นบทกวีที่เหมาะสำหรับอธิบายความหมายด้านอิรฟานและความรัก จึงเกิดนักกวีบทกวีฆ็อซล์ขึ้น จึงทำให้บทกวีแนวฆ๊อซล์เป็นที่ได้รับความนิยม สะนออี คือนักกวีคนแรกที่เขียนบทกวีแนวฆ็อซล์แบบอิรฟานและเกี่ยวกับความรักซึ่งเป็นการปูทางให้กับบรรดานักกวีในยุคต่อมา เช่น อัฏฏอร , คอกอนี ,นิซอมี ,สะอ์ดี , เมาละวี และฮาฟิซ[5]

อีกด้านหนึ่งยุคสะอ์ดีก็เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวอิรอกีในภาษาเปอร์เซีย แนวอิรอกีได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่หกแห่งฮิจเราะฮ์ศักราชพร้อมกับการกลับมาของพวกเซลจุค ในยุคนี้บรรดานักปรัชญามากมายได้อพยพเข้ามายังส่วนกลางและทางใต้ของอิหร่าน ซึ่งถูกรู้จักกันว่าอิรักอะญัม การบุกโจมตีของมองโกลยิ่งเร่งการอพยพนี้เข้าสู่อิหร่านมากขึ้น จึงส่งผลต่อการใช้ภาษาเปอร์เซียแถบส่วนกลางและทางใต้ของอิหร่าน(รู้จักกันว่าแนวโคราซาน) ในยุคนั้นภาษาอาหรับเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาเปอร์เซียอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำ การประกอบรูปประโยคในบทกวีของภาษาเปอร์เซีย หนังสือ มะกอมอต ฮะมีดี ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งจากอิทธิพลนี้ ในศตวรรษที่หกภาษาอาหรับมีอิทธิพลต่อภาษาเปอร์เซียมากยิ่งขึ้นกระทั่งนักเขียนเปอร์เซียได้เขียนผลงานของตนเป็นภาษาอาหรับ หรือหากเขียนเป็นภาษาเปอร์เซียก็จะมีการใช้คำภาษาอาหรับและเรียงรูปประโยคตามภาษาอาหรับ เป็นยุคที่ผลงานการเขียนบทกวีที่ใช้ภาษาอาหรับและการยกเหตุผลด้วยอัลกุรอาน นักเขียนในยุคนี้เริ่มนำคำที่ไม่คุ้นชินมาใช้ในการเขียนบทกวี ทำให้คุณสมบัติหลักของการเขียนบทกวีที่ต้องการจะสื่อความหมายกับผู้อ่านนั้นไม่เข้มข้นเท่าที่ควร[6]

ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่เจ็ด เนื่องจากผู้ปกครองอาณาจักรข่านอินให้ความสำคัญกับการบันทึกประวัติศาสตร์ จึงเป็นเหตุให้มีการบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งผลงานที่โดดด่นได้แก่ ญามิอุตะวารีค และ ทอรีเค ญะฮอนฆุชอ

ประวัติ

เกี่ยวกับชีวประวัติของสะอ์ดีนั้นมีบันทึกไว้น้อยมาก แม้แต่แหล่งอ้างอิงเก่าแก่ที่สุดก็ไม่กล่าวชีวประวัติของเขาเอาไว้ในผลงานของตน และเป็นไปได้ว่า สะอ์ดีได้ทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คำพูดของเขามีอิทธิพลมากยิ่งขึ้นโดยได้ปะปนไปกับนวนิยายหรือเรื่องที่เกินจริง[7] ดังนั้นจึงยังไม่มีภาพที่ลงรายละเอียดและเด่นชัดเกี่ยวกับชีวประวัติของสะอ์ดี[8] ซึ่งมีมากกว่า 680 ข้อมูลที่วางอยู่บนการสมมติฐาน[9]

เกิดและชีวิตวัยเด็ก

เป็นได้อย่างสูงที่สะอ์ดี จะเกิดในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 606 (ประมาณปี 589 และ ค.ศ.ที่ 1210) ที่เมืองชีรอซ  อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการบางท่านที่เชื่อว่าท่านเกิดประมาณปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 585 [10] เนื่องจากว่าไม่มีแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่แน่ชัดเกี่ยวกับวันเกิดของสะอ์ดี ทั้งสองต่างก็อ้างตามการวินิจฉัยของนักวิชาการจากการวิเคราะห์ผลงานของสะอ์ดี[11]ตามความเชื่อของ Jan Rypka เป็นได้สูงที่สะอ์ดีจะเกิดในช่วงปี 610-615  ซึ่งอธิบายโดย อับบาส อิกบาล นักประวัติศาสตร์และนักอักษรศาสตร์แห่งยุคสมัย แม้ว่าตามการสมมติฐานนี้ อายุของสะอ์ดีจะยาวนานก็ตาม

แหล่งอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุด บันทึกว่า ชื่อของเขาคือ มุศลิฮุดดีน อะบูมุฮัมหมัด อับดุลลอฮ์ บิน มุชัรรัฟ บิน มุศเลี้ยะห์ บิน มุชัรรัฟ ชื่อเล่นของเขาคือ สะอ์ดี , มุศเลี้ยะห์ ที่ตั้งชื่อมาจากปู่ของเขา สะอ์ดีได้รับการศึกษาและการอบรมตั้งแต่เด็กเป็นเด็กที่ใฝ่เรียนรู้เหมือนบิดาของเขา[یادداشت 1] สะอ์ดี อายุสูญเสียบิดาไปตั้งแต่อายุได้ 12 ขวบ  และอยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของคุณตา มัสอูด บิน มุเลี้ยะห์ อัลฟารซี เขาได้เรียนหลักไวยากรณ์เบื้องต้นและบทกวีตั้งแต่เด็กที่เมืองชีรอซ  บ้างกล่าวกันว่าสะอ์ดีเป็นหลานของกุฏบุดดีน ชีรอซี นักวิชาการและนักปรัชญาที่มีชื่อเสีย วัยเด็กและวัยหนุ่มของสะอ์ดีอยู่กับสะอ์ด บิน แซงฆี ในฟอร์ส ซึ่งตรงกับยุคการบุกโจมตีของมองโกล[12] สถานการณ์ที่ไม่สงบสิ้นสุดลงในยุคสุลต่าน มุฮัมหมัด ควอร์ซัมชอฮ์ โดยเฉพาะเมื่อสุต่าน ฆิยาษุดดีน ควอร์ซัมชอฮ์ พี่ชายของ ญะลาลุดดีน ควอร์ซัมชอฮ์ บุกเมืองชีรอซในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 620 ทำให้สะอ์ดอพยพไปยังเมืองแบกแดด

การศึกษาและการเดินทาง

ประมาณปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 623  قสะอ์ดีได้เข้าเรียนในโรงเรียน นีซอมียะฮ์ของแบกแดด โรงเรียนแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 459 โดยคำสั่งของคอเญะฮ์ นิซอมุลมะลิก ฏูซี รัฐมนตรีที่มีชื่อเสียงของเซลจุค เป็นนักเรียนประจำ โดยเรียนวิชา ไวยากรณ์ภาษาอาหรับ , กุรอาน , ฟิกฮ์ , ฮะดีษ ,อุซูล, การแพทย์ , ปรัชญา และดาราศาสตร์ จุดประสงค์ของการสร้างโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นก็เพื่อผลิตผู้พิพากษา นักนิติศาสตร์อิสลามและนักฮะดีษชาวซุนนะฮ์ขึ้น อิมามฆอซซาลีสอนที่โรงเรียนแห่งนี้ในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 484  ถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อระบบการเรียนการสอนอยู่เป็นเวลานาน (แม้กระทั่งในยุคการเรียนของสะอ์ดี)  หนังสือเรียนที่สำคัญที่สุดคือ เอี้ยะห์ยา อุลูมิดดีน.  เป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมฟิกฮ์ชาฟิอีและกะลามอัชอะรี เพื่อเป็นเขื่อนกั้นแนวคิดอิสมาอีลียะฮ์

ตลอดระยะเวลาที่สะอ์ดีได้เรียนอยู่ที่แบกแดดนั้น เขาได้เรียนกับอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ สับฏ์ บิน เญาซี (หมายถึง อิบนุเญาซีที่สอง เป็นหลานของอิบนุเญาซี ที่มีชื่อเสียง) ชะฮาบุดดีน อุมัร สะฮ์ร วัรดี ซูฟีที่มีชื่อเสียง ในช่วงที่เขาเป็นนักเรียนอยู่นั้นก็รับเงินเบี้ยเลี้ยง ด้วยเช่นกัน  หลังจากเรียนจบแล้วเขาก็ได้เดินทางไปบรรยายและชี้นำผู้คนตามเมืองต่างๆ ตามข้อมูลที่มีอยู่มากมายในบสตอนและฆุลิสตอน กล่าวว่า สะอ์ดีได้เดินทางไปยังเมืองต่างๆ สักระยะหนึ่งในเมืองชาม เช่น เมืองดามัสกัส เมืองบะอ์ละบัก และเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่นั่น[13]  แน่นอนว่าสะอ์ดี ได้เดินทางไปยัง ฮิญาซ ชาม อานาโตเลีย มาแล้ว  อย่างไรก็ตามก็ยังพบว่าเขาได้เดินทางไปยัง อินเดีย ตุรกี กัซนี อาเซอร์ไบจาน ปาเลสไตน์ จีน เยเมน และแอฟริกาเหนือ แต่ดูเหมือนว่าบางการเดินทางนี้เป็นเพียงเรื่องเล่าเท่านั้น เพื่อเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับด้านของจริยธรรมนั่นเอง Jan Rypka เชื่อว่าเป็นไปได้น้อยมากที่เขาจะเดินทางไปยังตอนเหนือของอิหร่าน ตุรกีและอินเดีย นักเดินทางผู้นี้ตามการบันทึกหนึ่งระบุว่าท่านใช้เวลาในการเดินทางกว่า 30 ปี[14]

กลับสู่เมืองชีรอซ

สะอ์ดีเดินทางกลับมายังเมืองชีรอซประมาณปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 655 และพำนักอยู่ในอาศรม อะบูอับดิลลาฮ์ บิน คอฟีฟ ถือเป็นคนใกล้ชิดผู้ปกครองแห่งเมืองชีรอซ อะบูบักร์ สะอ์ด แซงฆี เรียกได้ว่าเปรียบดัง บิดา เลยทีเดียว แต่ ษะบีฮุลลอฮ์ ซอฟี เชื่อว่าสะอ์ดีไม่ได้เป็นนักกวีให้กับในพระราชวัง ในช่วงนี้สะอ์ดีได้เขียนบทกวีของท่านออกมามากมาย

ตามหลักฐานที่มีอยู่ในบุสตอน หลังจากกลับจากการเดินทาง สะอ์ดี ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะนำคำพูดที่หวานยิ่งกว่าน้ำตาลมาฝากเป็นของที่ระลึกเขาจึงเขียนหนังสือ บุสตอนขึ้น ในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 655 แล้วมอบให้กับผู้ปกครองเมืองชีรอซ อะบักร์ บิน สะอ์ด แซงฆี  มุฮัมหมัด อาลี ฮุมอยูน กาตูซิยอน ผู้เชี่ยวชาญด้านไวยากรณ์ เชื่อตามหลักฐานในฆุลิสตอนว่าหลังจากที่สะอ์ดีเขียนบุสตอนแล้วก็เกิดความกังวลขึ้นว่าอายุของตนเองนั้นก็ล่วงเลยมาเข้าสู่วัยชราแล้ว จึงต้องการจะวางมือ แต่สหายของเขาคะยั้นคะยอให้เขาเขียนหนังสือเล่มใหม่ สะอ์ดีจึงใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งปีสำหรับการเขียนหนังสือฆุลิสตอน  โดยเริ่มเขียนในวันที่ 1 เดือนโอรเดเบเฮช ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 6546  (กลิ่นไอของบุสตอนยังไม่ทันจางหาย) การเขียนหนังสือเล่มนี้ก็แล้วเสร็จ ดังนั้นพอสรุปได้ว่าใช้เวลาเขียนประมาณ 5-6 เดือน ซึ่ง มุฮัมหมัด อาลี ฮุมอยูน กาตูซิยอน ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์เลยทีเดียว และบ่งบอกถึงชัยชนะหลังจากที่เกิดความกังวลระยะหนึ่ง สะอ์ดีได้มอบหนังสือเล่มให้แก่ สะอ์ด บิน อะบูบักร์ แซงฆี โดยหวังว่าจะเป็นที่ยอมรับของเขา[15] Jan Rypka กล่าวว่า การที่สะอ์ดีสามารถเขียนหนังสือเล่มนี้แล้วเสร็จในระยะเวลาสั้น ๆ นั้น ชี้ให้เห็นว่าเขาได้เขียนเนื้อหามันไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

ก่อนที่สะอ์ดี จะเขียนบุสตอนและฆุลิสตอนนั้น ยังเป็นนักกวีที่ไม่มีชื่อเสียง แต่หลังจากที่ได้เขียนหนังสือสองเล่มนี้ก็ถูกรู้จักมากขึ้น หลังจากที่กลับมาอาศัยที่เมืองชีรอซ เขาก็ได้ใช้ชีวิตไปกับการเขียนบทกวี และจะมอบของขวัญให้แก่บรรดาผู้นำ บรรดาผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่ชื่นชอบท่านด้วยการเขียนบทกวีหรือการกล่าวให้โอวาส

สะอ์ดี กล่าวไว้ในฆุลิสตอนว่า  เขาเป็นสหายกับรัฐมนตรีของราชวงศ์ข่านอินในยุคนั้น คือ ชัมซุดดีน มุฮัมหมัด ญุวัยนี และอะฏอ มะลิก ญุวัยนี ทั้งสองท่านนี้เป็นนักพูดและนักกวี ซึ่งได้พบกับสะอ์ดีอยู่บ่อยครั้ง หลังจากที่สะอ์ดี กลับมายังเมืองชีรอซ ได้เดินทางไปทำพิธีฮัจญ์หนึ่งคร้ง ขากลับได้ใช้เส้นทางอาเซอร์ไบจานเพื่อไปพบสองท่านนี้  ทั้งสองพาสะอ์ดีเข้าพบกษัตริย์ของราวงศ์ข่านอิน อะกอคอน และกษัตริย์ก็ขอให้สะอ์ดีทำการตักเตือนเขา[16]  ตลอดระยะเวลาที่อยู่เมืองชีรอซ สะอ์ดีได้พบกับนักวิชาการแห่งยุคหลายท่าน เช่น เชคซอฟียุดดีน อิรดิบีลีแต่Jan Rypka ไม่เชื่อว่าการพบปะต่างๆ จะเป็นที่น่าเชื่อถือ

กอฎี นูรุลลอฮ์ ชูชตะรี ไดับันทึกการพบกันระหว่างสะอ์ดีกับคอเญะฮ์นะซีรุดดีน ฏูซี ในเมืองชีรอซ ไว้ในหนังสือ กิซอซุลอุละมา เนื่องจากสะอ์ดีได้อ่านบทสรรเสริญแก่มุสตะอ์ซอม คอลีฟะฮ์อับบาซี จึงถูกสั่งโบยฝ่าเท้า จากนั้นไม่กี่วันทำให้เขาเสียชีวิตจากการลงโทษนี้ อย่างไรก็ตาม ในทรรศนะของ อิบรอฮีม นักโบราณคดีเปอร์เซีย แม้ว่าการลงโทษสะอ์ดีเนื่องจากการกล่าวสรรเสริญมุสตะอ์ซอม อับบาซี จะเป็นเรื่องจริง แต่รายละเอียดของเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สร้างขึ้น เพราะไม่เคยมีระบุว่าคอเญะฮ์เดินทางไปชีรอซ นอกจากนั้นสะอ์ดีก็ยังมีชีวิตอยู่หลังจากการเสียชีวิตของคอเญะฮ์นะซีรอีกหลายปี[17]

เสียชีวิต

มีแหล่งข้อมูลหลากหลายเกี่ยวกับการเสียชีวิตของสะอ์ดี บ้างก็ระบุว่าเสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 690-695  แต่การบันทึกที่น่าเชื่อถือมากที่สุดที่ท่านสะอีด นะฟีซี อธิบายไว้ คือ เขาเสียชีวิตในวันที่ 27 เดือน ซุลฮัจญะฮ์ ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 690 هและฝังท่านไว้ในอาศรมของท่าน

บันทึกย่อ

แม่แบบ:پانویس

ท้ายกระดาษ

แม่แบบ:پانویس

  1. 1.0 1.1 http://www.iranicaonline.org/articles/sadi-sirazi
  2. แม่แบบ:یادکرد کتاب
  3. {cite web}: Citation ว่างเปล่า (help)
  4. هانری کربن. «از حماسه پهلوانی تا حماسه عرفانی (بخش پنجم)» เก็บถาวร 2017-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. اطلاعات حکمت و معرفت. ترجمهٔ انشاءاله رحمتی. ۴ اسفند ۱۳۸۹. بازبینی‌شده در ۱۲ سپتامبر ۲۰۱۷. {cite web}: Citation ว่างเปล่า (help)
  5. شمیسا، سیروس. «فصل سوم (رواج غزل)». در سیر غزل در شعر فارسی. تهران: انتشارات فردوس، ۱۳۷۰. ۶۷ تا ۷۵.แม่แบบ:یادکرد کتاب
  6. دشتی، علی. «فصل سوم (ابداع سعدی)». در قلمرو سعدی. تهران: امیرکبیر، ۱۳۵۶. ۶۳ تا ۷۸.แม่แบบ:یادکرد کتاب
  7. “SAʿDI”. In Encyclopædia Iranica. Bibliotheca Persica Press, February 1, 2012. Retrieved 09-04-2017.แม่แบบ:یادکرد دانشنامه
  8. แม่แบบ:یادکرد ژورنال
  9. แม่แบบ:یادکرد کتاب
  10. แม่แบบ:یادکرد کتاب
  11. แม่แบบ:یادکرد کتاب
  12. แม่แบบ:یادکرد کتاب
  13. แม่แบบ:یادکرد کتاب
  14. แม่แบบ:یادکرد کتاب
  15. แม่แบบ:یادکرد کتاب
  16. همایون کاتوزیان، محمدعلی. «فصل دوازدهم (سعدی و وزیران)». در سعدی، شاعر عشق و زندگی. تهران: نشر مرکز، ۱۳۹۳. ۲۲۱ تا ۲۴۹. شابک ‎۹۷۸-۹۶۴-۳۰۵-۸۹۴-۴.แม่แบบ:یادکرد کتاب
  17. แม่แบบ:یادکرد ژورنال

ตัวอย่างการอ้างอิง

  1. به عنوان نمونه حکایت شماره ۷ از باب دوم کتاب گلستان:
    «یاد دارم که در ایام طفولیت متعبد بودمی و شب‌خیز و مولع زهد و پرهیز، شبی در خدمت پدر رحمةالله‌علیه نشسته‌بودم و همه‌شب دیده برهم نبسته و مصحف عزیز بر کنار گرفته و طایفه‌ای گرد ما خفته. پدر را گفتم از اینان یکی سر برنمی‌دارد که دوگانه‌ای بگزارد چنان خواب غفلت برده‌اند که گویی نخفته‌اند که مرده‌اند! گفت جان پدر تو نیز اگر بخفتی به از آن که در پوستین خلق افتی.
    نبیند مدعی جز خویشتن را
    که دارد پرده پندار در پیش
    گرت چشم خدا بینی ببخشند
    نبینی هیچ‌کس عاجزتر از خویش»