สุสานหลวงราชวงศ์หมิง

สุสานหลวงราชวงศ์หมิง *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ทางเดินในสุสานราชวงศ์หมิง
พิกัด40°09′04″N 116°08′02″E / 40.1512°N 116.134°E / 40.1512; 116.134
ประเทศจีน จีน
ภูมิภาค **เอเชีย-แปซิฟิก
ประเภทวัฒนธรรม
อ้างอิง1004
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2000 (คณะกรรมการสมัยที่ 24)
เพิ่มเติม2003 ; 2004
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

สุสานหลวงราชวงศ์หมิง (อังกฤษ: Ming Tombs) หรือ สุสานสิบสามจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง (จีน: 明十三陵) เรียกสั้นๆว่า สือซานหลิง (จีน: 十三陵) เป็นพระราชสุสานที่ฝังพระศพของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงทั้งสิ้น 13 พระองค์ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์กร UNESCO เริ่มก่อสร้างในรัชสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิงเมื่อปี ค.ศ. 1420

ราชวงศ์หมิงมีจักรพรรดิ 16 พระองค์ แต่มีเพียง 13 พระองค์ ที่พระศพฝังในสุสานแห่งนี้ จักรพรรดิที่ไม่ได้ฝังอยู่ที่นี่คือ จักรพรรดิหงอู่ (จูหยวนจาง) จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน และจักรพรรดิจิ่งไท่

ในช่วงแรกเริ่มก่อตั้งราชวงศ์หมิงนั้นจักรพรรดิหงอู่ได้ใช้เมืองหนานจิงเป็นเมืองหลวง ดังนั้นสุสานของจักรพรรดิหงอู่จึงอยู่ที่เมืองหนานจิง ส่วนจักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 2 นั้น เนื่องจากถูกจักรพรรดิหย่งเล่อยึดอำนาจและลี้ภัยหายสาบสูญไปจึงไม่มีพระศพให้นำมาฝังจึงไม่มีพระสุสาน

ในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ (永乐) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 3 นั้นได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ปักกิ่ง พระองค์ได้เริ่มสร้างสุสานของตัวเองขึ้นในปี ค.ศ. 1409 และเมื่อสวรรคตลงในปี ค.ศ. 1424 สุสานแห่งนี้จึงได้เริ่มใช้งาน สุสานแรกของจักรพรรดิหย่งเล่อมีชื่อว่า ฉางหลิง (长陵) เป็นสุสานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของสุสานราชวงศ์หมิงทั้ง 13 พระองค์

ในปี 1449 จักรพรรดิจิ่งไท่ได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์หมิงแทนจักรพรรดิเจิ้งถ่งพระเชษฐา ซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันระหว่างออกรบกับชาวมองโกลเผ่าหว่าล่า ซึ่งภายหลังถูกปล่อยตัวออกมาและโดนกุมขังโดยจักรพรรดิจิ่งไท่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1457 จักรพรรดิจิ่งไท่ประชวรและสวรรคต ขณะพระชนมายุ 28 พรรษา เหล่าขุนนางและขันทีจึงประชุมหารือกันเชิญจักรพรรดิเจิ้งถ่งกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ จักรพรรดิเจิ้งถ่งจึงได้กลับมาครองราชย์ต่ออีกครั้งโดยใช้ชื่อรัชกาลใหม่ว่าเทียนซุ่น (天顺)

จักรพรรดิเจิ้งถ่งไม่ยอมรับว่าจักรพรรดิจิ่งไท่เคยเป็นจักรพรรดิ แต่ถือว่าเป็นแค่ผู้ที่มารับตำแหน่งแทนชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่ได้นำพระศพไปฝังในสุสานแห่งราชวงศ์หมิงเหมือนจักรพรรดิองค์อื่น แต่กลับนำศพไปฝังไว้ที่ในเขตไห่เตี้ยน (海淀区) ชานเมืองปักกิ่งทางตะวันตกเฉียงเหนือแทน ซึ่งเป็นสุสานเล็ก ๆ

แต่หลังจากนั้นในรัชสมัยของจักรพรรดิเจียจิ้ง (嘉靖, ปี 1522 - 1566) ทรงมองว่าจักรพรรดิจิ่งไท่ควรได้รับการยกย่องเหมือนจักรพรรดิองค์อื่น จึงได้มีการคืนตำแหน่งจักรพรรดิให้จักรพรรดิจิ่งไท่ สุสานของจักรพรรดิจิ่งไท่จึงได้รับการแต่งเติมให้สมกับเป็นสุสานของจักรพรรดิ แม้จะยังคงอยู่ที่เดิมไม่ได้ย้ายไปรวมกับจักรพรรดิองค์อื่น และต่อมาหลังจากนั้นในสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง (乾隆, ปี 1736 - 1795) แห่งราชวงศ์ชิงก็ยังได้มีการปรับปรุงที่นี่เพิ่มขึ้นอีกเรียกว่า สุสานจิ่งไท่ (景泰陵)

แต่เวลาผ่านไปนานต่อมาสุสานแห่งนี้ก็เสื่อมไปตามเวลา ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ดั้งเดิมนั้นไม่อยู่แล้ว ที่ยังคงเหลืออยู่ตรงนี้มีเพียงแค่ศาลาแผ่นหิน (碑亭) ที่สร้างปรับปรุงสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง และอาคารหลิงเอินเตี้ยน (祾恩殿) ซึ่งเป็นประตูหน้าทางเข้าสู่ที่ฝังศพ

รายชื่อสุสานหลวง

สุสานหลวงเรียงตามลำดับของจักรพรรดิและรายพระนามที่ถูกฝัง:

ชื่อสุสาน จีน/พินอิน จักรพรรดิ จักรพรรดินีและพระมเหสี วันที่ ภาพ ที่ตั้ง
ฉางหลิง จีน: 長陵; พินอิน: Cháng Lìng จักรพรรดิหย่งเล่อ จักรพรรดินีเหรินเซี่ยวเหวิน 1424 40°18′5.16″N 116°14′35.45″E / 40.3014333°N 116.2431806°E / 40.3014333; 116.2431806 (長陵)
เซี่ยนหลิง จีน: 獻陵; พินอิน: Xiàn Lìng จักรพรรดิหงซี 1425 40°18′18.12″N 116°14′15.61″E / 40.3050333°N 116.2376694°E / 40.3050333; 116.2376694 (献陵)
จิ่งหลิง จีน: 景陵; พินอิน: Jǐng Lìng; แปลตรงตัว: "Scenic Tomb" จักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ Empress Xiaogongzhang 1435 40°17′54.14″N 116°15′08.52″E / 40.2983722°N 116.2523667°E / 40.2983722; 116.2523667 (景陵)
ยู่วหลิง จีน: 裕陵; พินอิน: Yù Lìng จักรพรรดิหมิงอิงจง ฉื่ออี้ไทเฮา
โจวไทฮองไทเฮา
1449 40°18′49.33″N 116°13′55.56″E / 40.3137028°N 116.2321000°E / 40.3137028; 116.2321000 (裕陵)
เหมาหลิง จีน: 茂陵; พินอิน: Mào Lìng จักรพรรดิเฉิงฮว่า Empress Xiaomu
Empress Xiaozhenchun
Empress Xiaohui
1487 40°18′51.60″N 116°13′36.17″E / 40.3143333°N 116.2267139°E / 40.3143333; 116.2267139 (茂陵)
ไท่หลิง จีน: 泰陵; พินอิน: Tài Lìng จักรพรรดิหงจื้อ Empress Xiaochengjing 1505 40°19′23.33″N 116°12′59.90″E / 40.3231472°N 116.2166389°E / 40.3231472; 116.2166389 (泰陵)
คางหลิง จีน: 康陵; พินอิน: Kāng Lìng จักรพรรดิเจิ้งเต๋อ Empress Xiaojingyi 1521 40°19′10.03″N 116°12′13.40″E / 40.3194528°N 116.2037222°E / 40.3194528; 116.2037222 (康陵)
หย่งหลิง จีน: 永陵; พินอิน: Yǒng Lìng จักรพรรดิเจียจิ้ง Empress Xiaojiesu
Empress Xiaolie
Empress Xiaoke
1566 40°17′18.09″N 116°15′06.05″E / 40.2883583°N 116.2516806°E / 40.2883583; 116.2516806 (永陵)
เจาหลิง (จีน: 昭陵; พินอิน: Zhāo Lìng จักรพรรดิหลงชิ่ง Empress Xiaoyizhuang
Empress Xiao'an
Empress Dowager Xiaoding
1572 40°17′28.76″N 116°12′38.55″E / 40.2913222°N 116.2107083°E / 40.2913222; 116.2107083 (昭陵)
ชิงหลิง จีน: 慶陵; พินอิน: Qìng Lìng จักรพรรดิไท่ชาง Empress Xiaoyuanzhen
Empress Dowager Xiaohewang
Empress Dowager Xiaochun
1620 40°18′29.43″N 116°14′01.32″E / 40.3081750°N 116.2337000°E / 40.3081750; 116.2337000 (慶陵)
ติงหลิง จีน: 定陵; พินอิน: Dìng Lìng; แปลตรงตัว: "Tomb of Stability" จักรพรรดิว่านลี่ Empress Xiaoduanxian
Empress Dowager Xiaojing
1620 40°17′42.43″N 116°12′58.53″E / 40.2951194°N 116.2162583°E / 40.2951194; 116.2162583 (定陵)
เต๋อหลิง จีน: 德陵; พินอิน: Dé Lìng จักรพรรดิเทียนฉี่ Empress Xiao'aizhe 1627 40°17′15.01″N 116°15′35.91″E / 40.2875028°N 116.2599750°E / 40.2875028; 116.2599750 (徳陵)
ซือหลิง จีน: 思陵; พินอิน: Sī Lìng จักรพรรดิฉงเจิน Empress Xiaojie
Noble Consort Tian
1644 40°16′08.69″N 116°11′32.64″E / 40.2690806°N 116.1924000°E / 40.2690806; 116.1924000 (思陵)

จักรพรรดิราชวงศ์หมิงที่ไม่ได้ฝังไว้ในสุสานหนึ่งในสิบสาม ได้แก่ : จักรพรรดิหงอู่, จู เปียว, จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน, จักรพรรดิจิ่งไท่และXian Emperor

อ้างอิง