สโมสรฟุตบอลบอร์นมัท

เอเอฟซีบอร์นมัท
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบอร์นมัท[a]
ฉายาเดอะเชอร์รีส์
บอสคอมบ์
เทพีแดงดำ
ก่อตั้งค.ศ. 1899 (ในชื่อบอสคอมบ์)
สนามดีนคอร์ต
ความจุ11,307[7]
เจ้าของบริษัท แบล็คไนต์ฟุตบอลคลับยูเค จำกัด,[1] ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ แบล็กไนต์ฟุตบอลแอนด์เอนเทอร์เทนเมนต์[8]
ประธานบิล โฟลีย์
ผู้จัดการอันโดนี อิราโอลา
ลีกพรีเมียร์ลีก
2023–24พรีเมียร์ลีก, อันดับที่ 12 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลบอร์นมัท (อังกฤษ: AFC Bournemouth) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพตั้งอยู่ใน คิงส์พาร์ก, บอสคอมบ์, ชานเมืองของบอร์นมัท, ดอร์เซต, อังกฤษ ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1899 ในชื่อ บอสคอมบ์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันใน ค.ศ. 1971 มีฉายาว่า "เดอะเชอร์รีส์" และเรียกกันโดยทั่วไปว่า บอร์นมัท พวกเขาใช้ ดีนคอร์ต เป็นสนามเหย้าตั้งแต่ ค.ศ. 1910

สโมสรแข่งขันในลีกฟุตบอลระดับภูมิภาคก่อนที่จะไต่ระดับจาก แฮมป์เชอร์ลีก เป็น เซาเทิร์นลีก ใน ค.ศ. 1920 ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น บอร์นมัทแอนด์บอสคอมบ์แอตเลติก สโมสรได้รับเลือกเข้าสู่ ฟุตบอลลีก ใน ค.ศ. 1923 สโมสรแข่งขันใน เทิร์ดดิวิชันเซาท์ เป็นเวลา 35 ปี และชนะเลิศ เทิร์ดดิวิชันเซาท์คัพ ใน ค.ศ. 1946 ต่อมาสโมสรแข่งขันใน เทิร์ดดิวิชัน ที่ได้รับการจัดโครงสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1958 สโมสรตกชั้นลงไป โฟร์ตดิวิชัน ใน ค.ศ. 1970 แต่ก็เลื่อนชั้นขึ้นมาทันทีในฤดูกาล 1970–71 สโมสรตกชั้นไปโฟร์ตดิวิชันอีกครั้งใน ค.ศ. 1975 และเลื่อนชั้นขึ้นมาในฤดูกาล 1981–82 สโมสรชนะเลิศ แอสโซซิเอทเมมเบอร์สคัพ ใน ค.ศ. 1984 และเทิร์ดดิวิชันในฤดูกาล 1986–87 สโมสรใช้เวลาสามฤดูกาลอยู่ในลีกระดับสองก่อนจะได้รับการลงโทษทางการเงินใน ค.ศ. 1997 และตกชั้นกลับไปลีกระดับสี่ใน ค.ศ. 2002 แม้ว่าจะได้เลื่อนชั้นทันทีด้วยการชนะรอบเพลย์ออฟใน ค.ศ. 2003

บอร์นมัทได้รับการลงโทษทางการเงินเป็นครั้งที่สองและตกชั้นไป ลีกทู ใน ค.ศ. 2008 และแต่งตั้ง เอ็ดดี ฮาว เป็นผู้จัดการทีม สโมสรเลื่อนชั้นถึงสามครั้งในรอบหกปีและเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยสโมสรจบอันดับสองของลีกทูในฤดูกาล 2009–10, จบอันดับสองของลีกวัน ในฤดูกาล 2012–13 และชนะเลิศ อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ในฤดูกาล 2014–15 สโมสรแข่งขันในพรีเมียร์ลีกเป็นเวลาห้าฤดูกาลก่อนจะตกชั้นใน ค.ศ. 2020 แต่ก็กลับขึ้นมาใน ค.ศ. 2022 โดยจบอันดับสองในแชมเปียนชิป ด้วยการคุมทีมของ สก็อต พาร์กเกอร์

ประวัติ

ประวัติในลีก

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2024[9]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
2 DF สเปน ดีน ฮุยเซน
3 DF ฮังการี มิโลส เคอร์เคซ
4 MF อังกฤษ ลูวิส คุก (รองกัปตัน)
5 DF อาร์เจนตินา มาร์กอส เซเนซี
7 MF เวลส์ เดวิด บรูกส์
8 MF อังกฤษ อเล็กซ์ สก็อตต์
9 FW บราซิล เอวานิลซง
10 MF สกอตแลนด์ ไรอัน คริสตี (กัปตันคนที่สาม)
11 MF บูร์กินาฟาโซ ดังโก วอตตารา
12 MF สหรัฐอเมริกา ไทเลอร์ แอดัมส์
13 GK สเปน เกปา อาร์ริซาบาลากา (ยืมตัวจาก เชลซี)
15 DF อังกฤษ อดัม สมิท (กัปตัน)
16 MF อังกฤษ มาร์คัส ทาเวอร์เนียร์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
17 MF โคลอมเบีย หลุยส์ ซินิสเตอร์รา
19 FW เนเธอร์แลนด์ จัสติน ไกลเฟิร์ต
22 DF เม็กซิโก จูเลียน อาเราโฮ
23 DF อังกฤษ เจมส์ ฮิลล์
24 FW กานา อองตวน เซเมนโย
26 FW ตุรกี เอเนส อูนัล
27 DF ยูเครน อิลยา ซาบาร์นี
29 MF เดนมาร์ก ฟิลิป บิลลิง
35 DF เวลส์ โอเวน เบแวน
37 DF อังกฤษ แมกซ์ แอรอนส์
40 GK อังกฤษ วิลล์ เดนนิส
42 GK สาธารณรัฐไอร์แลนด์ มาร์ค เทรเวอร์ส

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK บราซิล แนตู (ไป อาร์เซนอล จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
6 DF เวลส์ คริส เมแฟม (ไป ซันเดอร์แลนด์ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
21 FW แคนาดา แดเนียล เจบบิสัน (ไป วอตฟอร์ด จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
32 FW อังกฤษ ไจดอน แอนโทนี (ไป เบิร์นลีย์ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
49 MF อังกฤษ โดมินิก ซาดิ (ไป คาร์ไลล์ยูไนเต็ด จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
51 FW อังกฤษ ดาเนียล อาดู-อัดเจย์ (ไป คาร์ไลล์ยูไนเต็ด จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
MF ฝรั่งเศส โรแม็ง ฟาฟร์ (ไป แบร็สต์ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
GK นิวซีแลนด์ อเล็กซ์ พอลเซน (ไป ออกแลนด์ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
MF อังกฤษ โจ ร็อทเวลล์ (ไป ลีดส์ยูไนเต็ด จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
MF โกตดิวัวร์ ฮาเหม็ด ตราโอเร (ไป โอแซร์รัวส์ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)

ชุดอายุไม่เกิน 21 ปีและชุดเยาวชน

บุคลากร

แหล่งข้อมูล:[10]
คณะกรรมการ
เจ้าของ
สหรัฐอเมริกา สโมสรฟุตบอลแบล็กไนต์
ประธาน ประธานฝ่ายปฏิบัติการฟุตบอล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคทีมชุดใหญ่ ประธานฝ่ายธุรกิจ
สหรัฐอเมริกา บิล โฟลีย์ โปรตุเกส ติอาโก ปินโต อังกฤษ ไซมอน ฟรานซิส สหรัฐอเมริกา จิม เฟรโวลา
ทีมชุดใหญ่
การจัดการ
ผู้จัดการ
สเปน อันโดนี อิราโอลา
ผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่
อังกฤษ ทอมมี เอลฟิก

อังกฤษ ฌอน คูเปอร์

หัวหน้าฝ่ายผู้รักษาประตู ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตูทีมชุดใหญ่
อังกฤษ นีล มอสส์ อังกฤษ แกเร็ท สจ๊วร์ต
โค้ชฟิตเนสทีมชุดใหญ่
สเปน ปาโบล เดอ ลา โตร์เร
การแพทย์
ผู้อำนวยการฝ่ายประสิทธิภาพ หัวหน้าฝ่ายบำบัด นักกายภาพบำบัด
สหรัฐอเมริกา เจย์ เมลเลตต์ อังกฤษ สก็อต แม็กอัลลิสเตอร์ อังกฤษ ไมเคิล ฮาร์ดิง อังกฤษ โจ บาร์ตัน
อังกฤษ เดฟ การ์ดเนอร์ อังกฤษ นาตาชา โนแลน
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
หัวหน้าฝ่ายสมรรถนะและการพัฒนาร่างกาย หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพและประสิทธิภาพ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
อังกฤษ อลาสแตร์ แฮร์ริส อังกฤษ ชาร์ลี มัวร์ ไอร์แลนด์เหนือ ฌอน แมกคัลลาห์ อังกฤษ ร็อบ ลอยด์
การวิเคราะห์และประสิทธิภาพ
นักวิเคราะห์ประสิทธิภาพอาวุโสทีมชุดใหญ่ นักวิเคราะห์
อังกฤษ ไรอัน ดอว์ส อังกฤษ ทอม เว็บเบอร์ อังกฤษ แซม เมย์ อังกฤษ ลุก ซัมเมอร์ส
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้จัดการชุดเยาวชน อังกฤษ แซม กิสบอร์น
หัวหน้าฝ่ายฝึกสอนและพัฒนาของชุดเยาวชน อังกฤษ บรูซ ซูราซี
หัวหน้าฝ่ายผู้รักษาประตูของชุดเยาวชน อังกฤษ บิลลี แกรนเจอร์
ผู้จัดการทีมพัฒนา อังกฤษ อลัน คอนเนลล์
ผู้ฝึกสอนชุดอายุไม่เกิน 18 ปี อังกฤษ เจมส์ โลวี
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนชุดอายุไม่เกิน 18 ปี อังกฤษ จูเนียร์ สตานิสลาส

อดีตบุคลากร

  • เอ็ดดี มิตเชลล์ (เจ้าของตั้งแต่ ค.ศ. 2009 ถึง 2013)[11]
  • แม็กซิม เดมิน (เจ้าของตั้งแต่ ค.ศ. 2011 ถึง 2022)[12]

ผู้จัดการทีม

อันโดนี อิราโอลา ผู้จัดการทีมของบอร์นมัทในปัจจุบัน
แหล่งข้อมูล:[13]
  • อังกฤษ วินเซนต์ คิคเชอร์ (1914–1923)
  • อังกฤษ แฮร์รี คิงฮอร์น (1923–1925, 1939–1947)
  • อังกฤษ เลสลี่ ไนต์ตัน (1925–1928)
  • อังกฤษ แฟรงค์ ริชาร์ดส์ (1928–1930)
  • สกอตแลนด์ บิลลี เบอร์เรล (1930–1935)
  • อังกฤษ บ็อบ ครอมป์ตัน (1935–1936)
  • อังกฤษ ชาร์ลี เบลล์ (1936–1939)
  • สกอตแลนด์ แฮร์รี โลว์ (1947–1950)
  • อังกฤษ แจ็ก บรูตัน (1950–1956)
  • อังกฤษ เฟรดดี ค็อกซ์ (1956–1958, 1965–1970)
  • อังกฤษ ดอน เวลช์ (1958–1961)
  • อังกฤษ บิลล์ แม็กแกร์รี (1961–1963)
  • อังกฤษ เร็ก เฟลวิน (1963–1965)
  • อังกฤษ จอห์น บอนด์ (1970–1973)
  • อังกฤษ เทรเวอร์ ฮาร์ตลีย์ (1974–1975)
  • อังกฤษ โทนี เนลสัน (2–23 มกราคม 1975)
  • สกอตแลนด์ จอห์น เบนสัน (23 มกราคม 1975 – 1978)
  • อังกฤษ อเล็กซ์ สต็อก (1979–1980)
  • อังกฤษ เดวิด เว็บบ์ (1980–1982)
  • อังกฤษ ดอน เม็กสัน (มีนาคม–ตุลาคม 1983)
  • อังกฤษ แฮร์รี เรดแนปป์ (ตุลาคม 1983 – 1992)
  • เวลส์ โทนี พูลิส (1992 – สิงหาคม 1994)
  • อังกฤษ จอห์น วิลเลียมส์ (สิงหาคม–กันยายน 1994)
  • อังกฤษ เมล มาชิน (กันยายน 1994 – 2000)
  • สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ฌอน โอดริสคอลล์ (2000 – กันยายน 2006)
  • อังกฤษ สจ๊วร์ต เมอร์ด็อก และ
    อังกฤษ โจ โรช (ร่วมกัน, กันยายน–ตุลาคม 2006)
  • อังกฤษ เควิน บอนด์ (13 ตุลาคม 2006 – 1 กันยายน 2008)
  • ไอร์แลนด์เหนือ จิมมี ควินน์ (2 กันยายน 2008 – 31 ธันวาคม 2008)
  • อังกฤษ เอ็ดดี ฮาว (31 ธันวาคม 2008 – 16 มกราคม 2011, 12 ตุลาคม 2012 – 1 สิงหาคม 2020)
  • อังกฤษ ลี แบรดเบอรี (16 มกราคม 2011 – 25 มีนาคม 2012)
  • อังกฤษ พอล โกรฟส์ (25 มีนาคม 2012 – 3 ตุลาคม 2012)
  • อังกฤษ เจสัน ทินดัล (8 สิงหาคม 2020 – 3 กุมภาพันธ์ 2021)
  • อังกฤษ โจนาธาน วูดเกต (3 กุมภาพันธ์ 2021 – 28 มิถุนายน 2021)
  • อังกฤษ สก็อต พาร์กเกอร์ (28 มิถุนายน 2021 – 30 สิงหาคม 2022)
  • อังกฤษ แกรี โอนีล (30 สิงหาคม 2022 – 19 มิถุนายน 2023)
  • สเปน อันโดนี อิราโอลา (19 มิถุนายน 2023 – )

สีชุดแข่ง

สีของทีมมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตลอดประวัติศาสตร์ของสโมสร บอร์นมัทเริ่มต้นด้วยการสวมเสื้อลายทางสีแดงและขาว จากนั้นก็สวมเสื้อสีแดงล้วน แขนสีแดงและสีขาว แล้วก็สวมเสื้อลายทางสีแดงและดำเป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่ ค.ศ. 1990[14] สโมสรเลือกสวมเสื้อสีแดงเป็นหลักในฤดูกาล 2004–05 และ 2005–06 แต่เนื่องจากความต้องการของแฟนคลับ จึงได้นำลายทางกลับมาใช้อีกครั้งฤดูกาล 2006–07[15]

อัมโบร เป็นผู้ผลิตชุดแข่งขันให้กับบอร์นมัทตั้งแต่ ค.ศ. 2017 ก่อนหน้านี้ชุดแข่งขันผลิตโดย อัมโบร (1974–78, 1983–86), อาดิดาส (1978–81), ออสกา (1982–83), เฮนสัน (1986–87), สกอร์ไลน์ (1987–90), เอลเกรน (1990–92), แมตช์วินเนอร์ (1993–95), เลอค็อกสปอร์ทิฟ (1995–96), แพทริก (1996–2000), ซูเปอร์ลีก (2000-01), ทีเอฟจีสปอร์ตส์แวร์ (2001–03), บอร์นเรด (2003–08), คาร์บรินีสปอร์ตส์แวร์ (2008–11, 2014–15), ฟีลา (2011–14) และ เจดีสปอร์ตส์ (2015–17)

สำหรับฤดูกาล 2024–25 ผู้สนับสนุนบนเสื้อของทีมคือ บีเจ88[16] โดยมี ลีโอส์อินเตอร์เนชันแนล เป็นผู้สนับสนุนบนแขนเสื้อ[17] ผู้สนับสนุนก่อนหน้านี้ ได้แก่ เร็ก เฮย์เนส โตโยต้า (1980–82, 1983–85), คูเปอส์เบียร์ (1985–87), แคนเบอร์ราโฮมส์ (1987–88), โนแลน (1988–89), เอวันวินด์สกรีนส์ (1990–92), เอ็กซ์เชนจ์แอนด์มาร์ต (1992–94), ฟริซเซลล์ (1994–97), ซิวาร์ด (1997–2006), โฟคัลพอยต์ (2006–08, 2011–12), คาร์บรินีสปอร์ตส์แวร์ (2008–11), เอเนอร์จีคอนซัลติง (2012–15), แมนชัน (2015–2020), ไวทาลิตี (2020), เอ็มเอสพีแคปิตัล (2020–2022) และ ดาฟาเบ็ต (2022–2024)[18] ตั้งแต่ฤดูกาล 2017–2018 จนถึง 2019–20 โลโก้ แมนชัน ปรากฏบนแขนเสื้อข้างซ้ายของชุดแข่งขันของบอร์นมัท นอกจากนี้ เดอวอลต์ เคยเป็นผู้สนับสนุนบนแขนเสื้อ ตั้งแต่ฤดูกาล 2022–23 จนถึง 2023–24

ปี ผู้ผลิตชุด ผู้สนับสนุน (ด้านหน้า) ผู้สนับสนุน (แขนเสื้อ) ผู้สนับสนุน (ด้านหลัง) ผู้สนับสนุน (กางเกง)
1974–1978 อัมโบร ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
1978–1980 อาดิดาส
1980–1981 เร็ก เฮย์เนส โตโยต้า
1981–1982 โดยสโมสร
1982–1983 ออสกา ไม่มี
1983–1985 อัมโบร เร็ก เฮย์เนส โตโยต้า
1985–1986 คูเปอส์เบียร์
1986–1987 เฮนสันส์
1987–1988 สกอร์ไลน์ แคนเบอร์ราโฮมส์
1988–1989 โนแลน
1989–1990 ไม่มี
1990–1992 เอลเกรน เอวันวินด์สกรีนส์
1992–1994 แมตช์วินเนอร์ เอ็กซ์เชนจ์แอนด์มาร์ต
1994–1995 ฟริซเซลล์
1995–1996 เลอค็อกสปอร์ทิฟ
1996–1997 แพทริก
1997–2000 ซิวาร์ดคาส์
2000–2001 ซูเปอร์ลีก
2001–2003 ทีเอฟจีสปอร์ตส์
2003–2006 บอร์นเรด
2006–2008 โฟคัลพอยต์ไฟเออส์
2008–2011 คาร์บรินีสปอร์ตส์แวร์ คาร์บรินีสปอร์ตส์แวร์ เจดีสปอร์ตส์ เจดีสปอร์ตส์
2011–2012 ฟีลา โฟคัลพอยต์ไฟเออส์ โฟคัลพอยต์ไฟเออส์ ไม่มี
2012–2014 เอเนอร์จี-คอนซัลติง เอเนอร์จี-คอนซัลติง
2014–2015 คาร์บรินีสปอร์ตส์แวร์
2015–2017 เจดีสปอร์ตส์ แมนชันเบ็ต ไม่มี
2017–2019 อัมโบร แมนชันเบ็ต
2019–2020 แมนชันเบ็ต / ไวทาลิตี
2020–2021 เอ็มเอสพีแคปิตัล ไม่มี ดีดับเบิบพีเฮาซิงพาร์ตเนอร์ชิป ยูไนเต็ดพาลเลตเน็ตเวิร์ก
2021–2022 ควินน์เบ็ต
2022–2024 ดาฟาเบ็ต เดอวอลต์ ไม่มี ไม่มี
2024– บีเจ88 ลีโอส์อินเตอร์เนชันแนล

คู่แข่ง

ตามผลสำรวจล่าสุดที่มีชื่อว่า 'เดอะลีกออฟเลิฟแอนด์เฮต' ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019 ผู้สนับสนุนบอร์นมัทได้ระบุชื่อสโมสรเพื่อนบ้านใกล้สโมสรของตน คือ เซาแทมป์ตัน เป็นคู่แข่งที่ใหญ่ที่สุด ตามมาด้วย พอร์ตสมัท, ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน, เรดิงและลีดส์ยูไนเต็ด ตามลำดับ[19] ในช่วงไม่กี่ฤดูกาลที่ผ่านมา สโมสรยังต้องเผชิญกับความตึงเครียดกับ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ โดยทั้งสองสโมสรเป็นคู่แข่งกันในแชมเปียนชิปฤดูกาล 2021–22 โดยทั้งคู่สามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ในฤดูกาลนั้น หลังจากความตึงเครียดระหว่างแฟนคลับทั้งสอง[20]

บันทึกและสถิติ

สตีฟ เฟล็ตเชอร์ ครองสถิติเป็นผู้เล่นที่ลงเล่นให้กับบอร์นมัทมากที่สุด โดยลงเล่น 726 นัดให้ทีมชุดใหญ่ระหว่าง ค.ศ. 1992 ถึง 2013[21] เขายังครองสถิติเป็นผู้เล่นที่ลงเล่นในลีกมากที่สุด จำนวน 628 นัด[22] รอน แอร์ ครองสถิติเป็นผู้ทำประตูสูงสุด 229 ประตูให้กับบอร์นมัท โดยลงเล่นให้ทีมชุดใหญ่ 337 นัดระหว่าง ค.ศ. 1924 ถึง 1933[23] เท็ด แม็กดูกัลล์ ครองสถิติเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในฤดูกาลเดียว จำนวน 42 ประตูในฤดูกาล 1970–71 ในโฟร์ตดิวิชัน[24]

ค่าตัวสูงสุดของผู้เล่นที่สโมสรฟุตบอลบอร์นมัทได้รับคือ 65 ล้านปอนด์ จากการย้ายตัวของ ดอมินิก โชลังเก ไปยัง ทอตนัมฮอตสเปอร์ เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024[25] ขณะที่ค่าตัวสูงสุดที่สโมสรฟุตบอลบอร์นมัทจ่ายไปคือ 40.2 ล้านปอนด์ จากการย้ายตัวของ เอวานิลซง จาก โปร์ตู เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 เช่นกัน[26]

สโมสรจบฤดูกาลในลีกสูงสุดด้วยอันดับที่ 9 ใน พรีเมียร์ลีก เมื่อฤดูกาล 2016–17 ซึ่งเป็นการจบฤดูกาลด้วยอันดับที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา[27]

เกียรติประวัติ

แหล่งข้อมูล:[28][29]

ลีก

  • แชมเปียนชิป (ระดับ 2)
  • เทิร์ดดิวิชันเซาท์ / เทิร์ดดิวิชัน / ลีกวัน (ระดับ 3)
    • ชนะเลิศ: 1986–87
    • รองชนะเลิศ: 1947–48, 2012–13
  • โฟร์ตดิวิชัน / เทิร์ดดิวิชัน / ลีกทู (ระดับ 4)
    • รองชนะเลิศ: 1970–71, 2009–10
    • เลื่อนชั้น: 1981–82
    • ชนะเลิศเพลย์-ออฟ: 2003
  • เซาเทิร์นลีก
    • รองชนะเลิศ: 1922–23

คัพ

หมายเหตุ

  1. ชื่อเต็มของสโมสรคือ AFC Bournemouth[1][2] คำนำหน้า AFC ไม่ใช่ตัวย่อ แต่ถูกรวมไว้ในชื่อสโมสรเพื่อให้แน่ใจว่าสโมสรฟุตบอลบอร์นมัทจะมีชื่อมาก่อน อาร์เซนอลและแอสตันวิลลา ในรายชื่อตามตัวอักษร[3] ตัวอักษรดังกล่าวอ้างอิงถึง (แต่ไม่ใช่ตัวย่อ) ชื่อเดิมของสโมสรคือ "Bournemouth and Boscombe Athletic Football Club"[4] AFC บางครั้งก็ขยายเป็น Athletic Football Club[5] หรือ Association Football Club[6] โดยบุคคลที่สาม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Company details". AFC Bournemouth. สืบค้นเมื่อ 21 June 2020.
  2. "Club trademarks". AFC Bournemouth. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2020. สืบค้นเมื่อ 21 June 2020.
  3. "AFC Bournemouth". Premier Skills English. British Council. 17 July 2015. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023. The AFC is part of the name and not an abbreviation. The name was changed by Dickie Dowsett who was the club’s commercial manager and an ex-player. He insisted that the AFC should not stand for anything because that way, the club would appear in alphabetical league lists above Arsenal and Aston Villa and is why the club is the first in the list of clubs on the Premier League and Premier Skills English websites.
  4. "AFC Bournemouth". Premier Skills English. British Council. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023. The AFC recalls the older name of the club, it represents Athletic Football Club, but it does not stand for Athletic Football Club.
  5. Burt, Jason (8 February 2018). "Ticket-price war places clubs at a tipping point". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023. Each of the 20 teams in the Premier League are clubs – from Manchester United Football Club to Athletic Football Club Bournemouth (AFC Bournemouth).
  6. "Association Football Club Bournemouth". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023.
  7. "Premier League Handbook 2022/23" (PDF). 19 July 2022. p. 4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2022. สืบค้นเมื่อ 11 April 2023.
  8. Tanner, Jack (13 January 2023). "Bill Foley outlines Black Knight Football Club structure". Bournemouth Daily Echo. สืบค้นเมื่อ 3 March 2023.
  9. "First team". AFC Bournemouth. สืบค้นเมื่อ 1 February 2024.
  10. "AFC Bournemouth Staff Profiles". AFC Bournemouth. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2017. สืบค้นเมื่อ 28 June 2021.
  11. "Bournemouth: Eddie Mitchell's 'important role in Cherries' journey'". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-02-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-02-20.
  12. Davis, Daniel (2022-12-15). "The catalyst for Bournemouth's success, Maxim Demin leaves behind a stunning legacy at the club". DorsetLive (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
  13. "Bournemouth manager history". Soccerbase. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2022. สืบค้นเมื่อ 14 January 2022.
  14. Redknapp, Harry (2014). Always Managing. p. 109. Random House
  15. "Q&A: All you need to know about AFC Bournemouth – Journalism & News from Bournemouth University". Buzz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2015. สืบค้นเมื่อ 9 May 2015.
  16. "BJ88 TO BECOME FRONT OF SHIRT PARTNER". AFC Bournemouth. 23 July 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2024. สืบค้นเมื่อ 30 July 2024.
  17. "CLUB SIGNS A TWO-YEAR PARTNERSHIP WITH LEOS INTERNATIONAL". AFC Bournemouth. 24 July 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2024. สืบค้นเมื่อ 30 July 2024.
  18. "AFC Bournemouth – Historical Kits". Historicalkits.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2016. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
  19. "The top five rivals of English football's top 92 clubs have been revealed". Givemesport.com. 27 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2019. สืบค้นเมื่อ 29 September 2019.
  20. "Weather, transfer targets and relegation rivals - Bournemouth's lingering Nottingham Forest tension". www.dorset.live. 19 January 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2023. สืบค้นเมื่อ 19 January 2023.
  21. "AFC Bournemouth legend Steve Fletcher on the honour of receiving the Sir Tom Finney Award". Greatbritishlife.co.uk. 17 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2022. สืบค้นเมื่อ 4 January 2022.
  22. "Fletcher: 29 years and counting". Afcb.co.uk. 25 July 2021.
  23. "Every Premier League club's all-time league record scorer". Talksport.com. 11 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2022. สืบค้นเมื่อ 14 February 2022.
  24. "Ted MacDougall Player Profile". Football-england.com. 11 July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2022. สืบค้นเมื่อ 4 January 2022.
  25. "Tottenham complete £65m deal for striker Solanke". BBC Sport. 10 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2024. สืบค้นเมื่อ 10 August 2024.
  26. "Bournemouth seal record deal for £40.2m Evanilson". BBC Sport. 16 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2024. สืบค้นเมื่อ 16 August 2024.
  27. "Bournemouth 2016/17 Premier League season review". Sky Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2022. สืบค้นเมื่อ 14 February 2022.
  28. "AFC Bournemouth football club honours". 11v11. AFS Enterprises. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 10 February 2024.
  29. "A F C Bournemouth". Football Club History Database. Richard Rundle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2018. สืบค้นเมื่อ 21 June 2020.
  30. Rollin, Jack (2005). Soccer at War 1939–45. Headline. p. 259. ISBN 0-7553-1431-X.

แหล่งข้อมูลอื่น