อำเภอแม่ระมาด
อำเภอแม่ระมาด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mae Ramat |
คำขวัญ: พระพุทธรูปหินอ่อนงามซึ้ง กล้วยอบน้ำผึ้งรสดี ประเพณีขึ้นธาตุ อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ แหล่งผ้าทอชาวกะเหรี่ยง | |
แผนที่จังหวัดตาก เน้นอำเภอแม่ระมาด | |
พิกัด: 16°58′59″N 98°31′0″E / 16.98306°N 98.51667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตาก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,475.5 ตร.กม. (569.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 59,404 คน |
• ความหนาแน่น | 40.26 คน/ตร.กม. (104.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 63140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6304 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอแม่ระมาด หมู่ที่ 4 ตำบลแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 63140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
แม่ระมาด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตาก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาถนนธงชัย
ประวัติ
สันนิษฐานว่าเดิมเป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงมานานกว่า 100 ปี ต่อมามีชาวไทยจากทางภาคเหนือ ได้เเก่ จังหวัด ลำปาง จังหวัด ลำพูน จังหวัด เเพร่ จังหวัด น่าน ได้พากันอพยพลงมาหาที่ทำกิน และเห็นว่าเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ จึงได้ตั้งหลักฐานอยู่อาศัยและมีคนอพยพมาอยู่เรื่อย ๆ จนเป็นหมู่บ้านใหญ่ จึงได้ตั้งเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอแม่สอด เมื่อหมู่บ้านขยายใหญ่ขึ้นอีก พระอินทรคีรี นายอำเภอแม่สอด ในสมัยนั้น จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอแม่ระมาด และได้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ระมาด และแต่งตั้งให้ขุนโสภิตบรรณลักษณ์เป็นปลัดกิ่งอำเภอคนแรก และที่ว่าการอำเภอยังตั้งอยู่ ณ ที่เดิมจนทุกวันนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ทางราชการได้โอนกิ่งอำเภอท่าสองยางซึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มาขึ้นกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเมื่ออำเภอแม่ระมาดได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2493 ต่อมาเมื่อ 16 มกราคม 2494 กิ่งอำเภอท่าสองยางจึงได้โอนจากอำเภอแม่สอด มาขึ้นกับอำเภอแม่ระมาดด้วย และได้แยกไปเมื่อได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี 2501
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอแม่สอด อำเภอแม่สอด เป็น กิ่งอำเภอแม่ระมาศ[1]
- วันที่ 10 กันยายน 2489 ตั้งตำบลแม่จะเรา แยกออกจากตำบลแม่ระมาศ[2]
- วันที่ 28 ธันวาคม 2493 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแม่ระมาศ อำเภอแม่สอด เป็น อำเภอแม่ระมาศ[3]
- วันที่ 16 มกราคม 2494 โอนพื้นที่กิ่งอำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่สอด มาขึ้นการปกครองกับอำเภอแม่ระมาศ[4]
- วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลแม่ต้าน ในท้องที่หมู่ 1 บ้านแม่ต้าน และหมู่ 23 บ้านลำร้อง ตำบลแม่ต้าน[5] จัดตั้งสุขาภิบาลแม่ระมาศ ในท้องที่บางส่วนของตำบลแม่ระมาศ[6]
- วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาศ เป็น อำเภอท่าสองยาง[7]
- วันที่ 7 กรกฎาคม 2531 จัดตั้งสุขาภิบาลแม่จะเรา ในท้องที่หมู่ 1,2,3 และ 12 ตำบลแม่จะเรา[8]
- วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลพระธาตุ แยกออกจากตำบลแม่จะเรา[9]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลแม่ระมาด และสุขาภิบาลแม่จะเรา เป็นเทศบาลตำบลแม่ระมาด และเทศบาลตำบลแม่จะเรา ตามลำดับ[10] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 7 กันยายน 2554 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จะเรา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลทุ่งหลวง[11]
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอแม่ระมาดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าสองยาง อำเภออมก๋อย (จังหวัดเชียงใหม่) และอำเภอสามเงา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านตาก
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองตากและอำเภอแม่สอด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอแม่ระมาดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 57 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[12] |
---|---|---|---|
1. | แม่ระมาด | Mae Ramat | 11,049
|
2. | แม่จะเรา | Mae Charao | 13,258
|
3. | ขะเนจื้อ | Khane Chue | 11,126
|
4. | แม่ตื่น | Mae Tuen | 10,554
|
5. | สามหมื่น | Sam Muen | 7,235
|
6. | พระธาตุ | Phra That | 6,264
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอแม่ระมาดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลแม่ระมาด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่ระมาด
- เทศบาลตำบลแม่จะเรา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่จะเรา
- เทศบาลตำบลทุ่งหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่จะเรา (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่จะเรา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ระมาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ระมาด (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่ระมาด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลขะเนจื้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขะเนจื้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ตื่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสามหมื่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามหมื่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระธาตุทั้งตำบล
อ้างอิง
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-20.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่ระมาศ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (59 ง): 1379–1380. September 10, 1946.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่ระมาศ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (72 ง): (ฉบับพิเศษ) 1. December 28, 1950.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในท้องที่จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (6 ง): 216. January 16, 1951.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่ต้าน กิ่งอำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาศ จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 41-42. January 7, 1957.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่ระมาศ อำเภอแม่ระมาศ จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 43-44. January 7, 1957.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ก): 321–327. July 22, 1958. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-07-20.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (107 ง): 5150–5152. July 7, 1988.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าสองยางและอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 64–71. November 9, 1995.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-20.
- ↑ "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่จะเรา ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง และจัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เป็น เทศบาลตำบลทุ่งหลวง". September 7, 2011.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.