อุทยานแห่งชาติจิตวัน
อุทยานแห่งชาติจิตวัน | |
---|---|
![]() | |
เมืองใกล้สุด | Bharatpur |
พิกัด | 27°30′0″N 84°20′0″E / 27.50000°N 84.33333°E |
พื้นที่ | 952.63 ตารางกิโลเมตร (595,390 ไร่) |
จัดตั้ง | 1973 |
หน่วยราชการ | กรมอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า |
ประเภท | ธรรมชาติ |
เกณฑ์ | vii, ix, x |
ขึ้นเมื่อ | 1984 (คณะกรรมการสมัยที่ 8) |
เลขอ้างอิง | 284 |
รัฐสมาชิก | ![]() |
ภูมิภาค | เอเชียใต้ |
อุทยานแห่งชาติจิตวัน (เนปาล: चितवन राष्ट्रिय निकुञ्ज) เป็นอุทยานแห่งชาติอุทยานแรกของประเทศเนปาล ตั้งอยู่เชิงเทือกเขาหิมาลัย เป็นบริเวณที่มีร่องรอยอารยธรรมของพื้นที่ที่ราบลุ่มต่ำตราอิ (Terai) ที่ยังไม่ถูกรบกวน สมัยก่อนพื้นที่ทอดยาวไปตามเชิงเขาของประเทศอินเดียและเนปาล เป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยพืชและสัตว์ประจำถิ่น ในอุทยานเป็นที่อยู่ของแรดนอเดียวพันธุ์เอเชีย และเป็นหนึ่งในที่อยู่อาศัยแห่งสุดท้ายของเสือเบงกอล
มรดกโลก
อุทยานแห่งชาติจิตวันได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 8 เมื่อปี พ.ศ. 2527 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
- (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่าง ๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
- (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
- (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
- อุทยานแห่งชาติจิตวัน
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ อุทยานแห่งชาติจิตวัน
วิกิท่องเที่ยว มีคำแนะนำการท่องเที่ยวสำหรับ Chitwan National Park