ฮ่องกงแอร์ไลน์
| |||||||
ก่อตั้ง | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง | ||||||
สะสมไมล์ | Fortune Wings Club | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 36[1] | ||||||
จุดหมาย | 36 | ||||||
บริษัทแม่ | HNA Group | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ![]() | ||||||
บุคลากรหลัก | Liya Wang (ประธาน) Wan Ning, Zhong Guosong (EVP) Ben Ching Ho Wong (COO) Can Zhang (CFO) | ||||||
เว็บไซต์ | www.hongkongairlines.com |
ฮ่องกงแอร์ไลน์ (อังกฤษ: Hong Kong Airlines, จีน: 香港航空公司) เป็นสายการบินซึ่งมีฐานอยู่ที่ฮ่องกง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เขตตุงชุง (Tung Chung) และมีฐานการปฏิบัติการอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ก่อตั้งในปีค.ศ. 2006 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท HNA Group
ฮ่องกงแอร์ไลน์ในปัจจุบันมีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 30 เมือง รวมถึง โกลด์ โคสต์ ออคแลนด์ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพ บาหลี ไทเป โซล โตเกียว ซัปโปะโระ โอกินาวา และรวมถึงเส้นทางบินใหม่ที่เพิ่งเริ่มในปีค.ศ. 2017 ไปยังแวนคูเวอร์ และลอส แอนเจลลิส โดยมีฝูงบินประจำการถึง 35 ลำ ซึ่งรวมถึง แอร์บัส เอ350-900 แอร์บัส เอ330-300s แอร์บัส เอ330-200s และ แอร์บัส เอ320 โดยมีอายุเฉลี่ยของอากาศยานประมาณ 5 ปี (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2017) มีเครื่องบินขนส่งสินค้าจำนวน 4 ลำ โดยใช้อากาศยานรุ่น แอร์บัส เอ330-200F[2]
จุดหมายปลายทาง
ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน
ฮ่องกงแอร์ไลน์มีข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน (Codeshare) กับสายการบินต่างๆ ดังนี้[3]
- เอเชียนาแอร์ไลน์
- แอร์อัสตานา
- แอร์อินเดีย
- แอร์มอริเชียส
- บางกอกแอร์เวย์
- ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์
- แอล อัล
- เอติฮัดแอร์เวย์
- อีวีเอแอร์
- ฟิจิแอร์เวย์[4]
- การูดาอินโดนีเซีย
- แกรนไชน่าแอร์
- ไห่หนานแอร์ไลน์
- เจทแอร์เวย์[5]
- เคนย่าแอร์เวย์
- รอยัลบรูไนแอร์ไลน์
- ชางไห่แอร์ไลน์
- เวอร์จินออสเตรเลีย[6]
ฝูงบิน
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0a/Hong_Kong_Airlines_Airbus_A320_%28B-LPB%29_at_Taichung_Airport.jpg/220px-Hong_Kong_Airlines_Airbus_A320_%28B-LPB%29_at_Taichung_Airport.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c8/13-08-12-hongkong-by-RalfR-38.jpg/220px-13-08-12-hongkong-by-RalfR-38.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/74/B-LNO_-_A330-343X_-_Hong_Kong_Airlines_-_HKG_%289754502444%29.jpg/220px-B-LNO_-_A330-343X_-_Hong_Kong_Airlines_-_HKG_%289754502444%29.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/84/Hong_Kong_Airlines_A350-941_%28B-LGA%29_at_Taiwan_Taoyuan_International_Airport.jpg/220px-Hong_Kong_Airlines_A350-941_%28B-LGA%29_at_Taiwan_Taoyuan_International_Airport.jpg)
ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ฮ่องกงแอร์ไลน์ มีเครื่องบินรุ่นต่างๆ ประจำการดังนี้[7][8]
อากาศยาน | จำนวนในประจำการ | อยู่ในระหว่างสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
J | Y | รวมทั้งสิ้น | |||||
แอร์บัส เอ 320-200 | 3 | — | 8 | 144 | 152 | ||
8 | — | 174 | 174 | ||||
แอร์บัส เอ330-200 | 6 | 2 | 24 | 259 | 283 | ||
3 | 18 | 246 | 264 | ||||
แอร์บัส เอ330-300 | 5 | 9 | 32 | 260 | 292 | ||
5 | 30 | 255 | 285 | ||||
แอร์บัส เอ350-900 | 3 | 18 | 33 | 301 | 334 | เข้าประจำการตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายน ค.ศ. 2017[9] | |
ฝูงบินขนส่งสินค้า | |||||||
แอร์บัส เอ330-200F | 3 | — | [10] | ||||
รวม | 36 | 29 |
บริการต่างๆ
บริการในท่าอากาศยาน
ห้องรับรองพิเศษ
สายการบินฮ่องกงแอร์ไลน์มีห้องรับรองพิเศษจำนวนสองแห่ง คือ Club Autus และ Club Bauhinia ซึ่งทั้งสองตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
Club Autus เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2017 โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 7 ของอาคาร MFC ซึ่งเป็นอาคารหลักสำหรับสายการบินฮ่องกงแอร์ไลน์ โดยมีความกว้างถึง 1400 ตารางเมตร และมีส่วนบริการอาหารและเครื่องดื่มที่ยาวที่สุดถึง 20 เมตร เมื่อเทียบกับห้องรับรองพิเศษของสายการบินอื่นๆ ภายในท่าอากาศยาน โดยแบ่งเป็นส่วน Premier Zone สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง และ Business Zone สำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจ โดยแบ่งเป็นสัดส่วนตามลักษณะการใช้งาน รวมถึงบริเวณพักผ่อนหย่อนใจ บริเวณสำหรับครอบครัว บริเวณจุดชมวิวทิวทัศน์ ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของท่าอากาศยานยามพระอาทิตย์ตกดินแบบพาโนรามา
Club Bauhinia เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ตั้งอยู่ใกล้กับทางออกที่ 23 อาคาร 1 มีพื้นที่กว่า 506 ตารางเมตร และสามารถจุผู้โดยสารกว่า 120 คน ห้องรับรองพิเศษแห่งนี้ให้บริการเฉพาะผู้โดยสารชั้นธุรกิจ สมาชิกระดับสูง (Elite) ของ Fortune Wings Club และผู้โดยสารที่มีสิทธิใช้บริการของสายการบินพันธมิตร
บริการในห้องโดยสาร
อากาศยานเกือบทั้งหมดของสายการบินมีการติดตั้งระบบเอนเตอร์เทนเมนต์ในห้องโดยสารรุ่น AVOD และมีนิตยสารท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ชื่อ "Aspire" ไว้สำหรับให้บริการผู้โดยสารในทุกที่นั่ง
บริการในอากาศยาน
ฮ่องกงแอร์ไลน์ เปิดตัว บริษัท ลูก ฮ่องกง แอร์คาร์โก แคริเออร์ ใน ปี 2017 ใช้รหัว IATA เป็น RH
อ้างอิง
- ↑ Hong Kong Airlines – Hong Kong to Worldwide Air tickets, Online Special Air fares and Airline Reservation. "Hong Kong Airlines - About Us & Overview - The Company Profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-31. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
- ↑ Hong Kong Airlines – Hong Kong to Worldwide Air tickets, Online Special Air fares and Airline Reservation. "Hong Kong Airlines - About Us & Overview - The Company Profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-31. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
- ↑ "Profile on Hong Kong Airlines". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-10-29.
- ↑ Van Den Driessche, Maarten (August 3, 2017). "Hong Kong Airlines signs codeshare agreement with Fiji Airways".
- ↑ http://www.livemint.com/Companies/wKGH0ojG7lX5k3SkqXBhZN/Jet-Airways-signs-code-sharing-agreement-with-Hong-Kong-Airl.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 2017-12-15.
- ↑ "Our Fleets". Hong Kong Airlines. 30 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-15.
- ↑ "Hong Kong Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net. 30 August 2017. สืบค้นเมื่อ 5 September 2017.
- ↑ 2017, UBM (UK) Ltd. "Hong Kong Airlines proposes A350 Los Angeles launch in Dec 2017". Routesonline (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2017-07-02.
{cite news}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "B-LNW Hong Kong Airlines Airbus A330-243F". Planespotters.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-11. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.