ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง 香港國際機場 | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพถ่ายท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงใน ค.ศ. 2010 | |||||||||||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||||||||||
เจ้าของ-ผู้ดำเนินงาน | Airport Authority Hong Kong (AAHK) | ||||||||||||||||||
พื้นที่บริการ | Pearl River Delta | ||||||||||||||||||
สถานที่ตั้ง | เกาะเช็กล้าปก๊อก นิวเทอร์รีทอรีส์ ฮ่องกง | ||||||||||||||||||
วันที่เปิดใช้งาน | 6 กรกฎาคม 1998 | ||||||||||||||||||
ฐานการบิน |
| ||||||||||||||||||
เมืองสำคัญ | |||||||||||||||||||
เขตเวลา | เวลาฮ่องกง Time (+08:00) | ||||||||||||||||||
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล | 8.5 เมตร / 27 ฟุต | ||||||||||||||||||
พิกัด | 22°18′32″N 113°54′52″E / 22.30889°N 113.91444°E | ||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
สถิติ (2021) | |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ข้อมูล: ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง[3] |
ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง | |||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 香港國際機場 | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 香港国际机场 | ||||||||||||||||||
เยลกวางตุ้ง | Hēunggóng Gwokjai Gēichèuhng | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ท่าอากาศยานนานาชาติเช็กล้าปก๊อก | |||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 赤鱲角國際機場 | ||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 赤𫚭角国际机场 | ||||||||||||||||||
เยลกวางตุ้ง | Cheklaahpgok Gwokjai Gēichèuhng | ||||||||||||||||||
|
ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง (IATA: HKG, ICAO: VHHH) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า สนามบินเช็กล้าปก๊อก เป็นท่าอากาศยานหลักของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดใช้เมื่อปีพ.ศ. 2541 แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเดิม
ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเพื่อการพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมาหลายครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2549 จึงเสียตำแหน่งในรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมที่มอบโดย Skytrax ให้แก่ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์ ปัจจุบันท่าอากาศยานแห่งนี้ได้รับการจัดอันดับจาก Skytrax ให้เป็นท่าอากาศยานระดับ 5 ดาวพร้อมกับท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์และท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน พ.ศ. 2552 ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงได้รับการลงคะแนนให้เป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก อันดับที่สองรองจากท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน [4]
ท่าอากาศยานแห่งนี้มีการปฏิบัตงานตามขั้นตอนการบริการผู้โดยสารแบบหมุนเวียน ในแต่ละปีสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 45 ล้านคน และน้ำหนักสินค้าอีก 4.3 ล้านตัน ที่นี่ยังเป็นฐานหลักของสายการบินคาเธย์แปซิฟิกและดราก้อนแอร์ และสายการบินขนาดเล็กอีกมากมาย ได้แก่ ฮ่องกงเอ็กซ์เพรสแอร์เวย์ ฮ่องกงแอร์ไลน์ โอเอซิสฮ่องกงแอร์ไลน์ และแอร์ฮ่องกง
ประวัติ
ท่าอากาศยานแห่งนี้สร้างขึ้นบนเกาะขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการถมทะเลระหว่างเกาะเช็คแลปก๊กและเกาะ Lam Chau จนกลายเป็นเกาะเดียว เกาะเดิมทั้ง 2 เกาะนี้ถูกปรับพื้นผิวให้ราบเรียบ ครอบครองพื้นที่ประมาณ 25% ของพื้นที่ท่าอากาศยานทั้งหมดซึ่งมีขนาด 12.48 ตารางกิโลเมตร มีทางเชื่อมต่อกับส่วนเหนือของเกาะลันเตา ใกล้กับหมู่บ้านประวัติศาสตร์ Tung Chung ซึ่งปัจจุบันถูกขยายออกเป็นเมืองใหม่ การปรับปรุงพื้นที่สำหรับท่าอากาศยานแห่งนี้ ทำให้เกิดพื้นดินใหม่เป็นพื้นที่ 1% ของพื้นที่ทั้งหมดของฮ่องกง ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดเพื่อใช้งานแทนท่าอากาศยานไคตั๊กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเกาลูนซิตี ซึ่งจัดว่าไม่ปลอดภัยเนื่องมาจากรันเวย์เดี่ยวที่ยื่นออกไปในอ่าวเกาลูนและพื้นที่ที่ติดกับย่านที่พักอาศัย
การสร้างท่าอากาศยานใหม่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Airport Core Programme ซึ่งยังมีแผนการก่อสร้างถนนและทางรถไฟใหม่เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานด้วยสะพานและอุโมงค์ต่างๆ และโครงการพัฒนาที่ดินทั้งบนเกาะฮ่องกงและในเกาลูนอีกด้วย ตามบันทึกสถิติใน Guinness World Records แล้ว โครงการนี้เป็นโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานที่ใช้งบประมาณสูงที่สุด และการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้ยังได้รับการลงคะแนนให้เป็น 1 ใน 10 สุดยอดงานก่อสร้างแห่งศตวรรษที่ 20 ในการประชุม ConExpo เมื่อ พ.ศ. 2542
ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยใช้เวลาก่อสร้างนาน 6 ปี และงบประมาณก่อสร้างทั้งหมด 20,000 ล้านเหรีญสหรัฐ กลุ่มสถาปนิกผู้ออกแบบคือ Foster and Partners ช่วง 3-5 เดือนแรกที่เปิดใช้ ท่าอากาศยานแห่งนี้ประสบปัญหาหลายๆเรื่อง ทั้งด้านการบริหาร เทคนิค และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ปัญหาเหล่านี้เกือบทำให้การใช้งานท่าอากาศยานต้องหยุดชะงัก จนครั้งหนึ่งทางรัฐบาลต้องเปิดอาคารคลังสินค้าที่ท่าอากาศยานไขตั๊กขึ้นใช้ใหม่เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเนื่องมาจากอาคารคลังสินค้าแห่งใหม่ที่มีชื่อว่า Super Terminal 1 ไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานได้อย่างเรียบร้อย จนกระทั่งหลังจากเปิดใช้งานท่าอากาศยานได้ 6 เดือน ปัญหาต่างๆเริ่มได้รับการจัดการคลี่คลายลง และท่าอากาศยานเริ่มใช้งานได้อย่างเรียบร้อยมากขึ้น
อาคารผู้โดยสาร และสายการบิน
อาคารผู้โดยสาร 1
อาคารผู้โดยสาร 2
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | |
---|---|---|
ชื่อไทย | ชื่ออังกฤษ | |
เอมิเรตส์ | Emirates Airways | ดูไบ กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ |
โอเอซิสฮ่องกงแอร์ไลน์ | Oasia Hong Kong Airlines | ลอนดอน (เริ่มให้บริการ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550) |
อ้างอิง
- ↑ "Three-runway System Development Crosses Milestone as Runway Re-designation Completed". Three Runway System (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
- ↑ "HONG KONG INTERNATIONAL AIRPORT RUNWAY CLOSURE PROGRAMME" (PDF). Hong Kong Aeronautical Information Services (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-06.
- ↑ "Provisional Civil International - Air Traffic Statistics at HKIA" (PDF). December 2021.
- ↑ "S Korean airport 'best in world'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2009-06-15.
แหล่งข้อมูลอื่น
- คู่มือการท่องเที่ยว ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Hong Kong International Airport
- เว็บไซต์ทางการ
- "Aeronautical Information Publication (All Parts)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Civil Aviation Department. 2020.
- "Hong Kong International Airport Instrument Approach Chart – Revision2" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Air Traffic Management Division, Civil Aviation Department. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-12-27. สืบค้นเมื่อ 2024-02-10.
- สารสนเทศภูมิศาสตร์เกี่ยวกับ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ที่ โอเพินสตรีตแมป